ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Rapiphan/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนระดับปฐมวัย

แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. ทฤษฎีการเรียนรู้กับการเรียนการสอนระดับอนุบาล

1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของบูม
1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ของบัค
1.3 แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย


1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของบูม

   ทฤษฎีการเรียนรู้ของบูม (Boom) ได้แบ่งลักษณะพฤติกรรมของบุคคลออกตามทฤษฎีการเรียนรู้เป็น 3 ลักษณะ คือ ด้านพุทธพิสัย เป็นพฤติกรรมทางด้านการใช้ความจำ ความคิดและการแก้ปัญหาด้วยการใช้สมองและสติปัญญา ด้านทักษะพิสัยเป็นพฤติกรรมทางด้านการใช้ทักษะ การเคลื่อนไหวและการใช้กล้ามเนื้อของร่างกาย และด้านจิตพิสัยเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทางด้านจิตใจ เจตคติ อารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นดังนี้ (อดุลย์ จาตุรงคกุลและดลยา จาตุรงคกุล, 2546[1])

1.1 ปัจจัยด้านวัฒนธรรม เป็นสัญลักษณ์และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยเป็นที่ยอมรับจากคนรุ่นหนึ่งจนถึงอีกรุ่นหนึ่งมนุษย์จะเรียนรู้วัฒนธรรมของตนเองภายใต้กระบวนการทางสังคม วัฒนธรรมเป็นสิ่งกำหนดความต้องการและพฤติกรรมของแต่ละบุคคล

1.1.1 วัฒนธรรมพื้นฐาน มีลักษณะพื้นฐานที่สุดในการกำหนดความต้องการและพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งจะเรียนรู้ถึงสิ่งต่างๆในเรื่องค่านิยมการรับรู้ ความพึงพอใจ และพฤติกรรมผ่านทางสถาบันครอบครัวและสถาบันหลักอื่นๆ

1.1.2 วัฒนธรรมย่อย หมายถึงวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะด้านเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทำให้วัฒนธรรมย่อย แต่ละกลุ่มจะมีพฤติกรรมการใช้บริการแตกต่างกัน และในกลุ่มเดียวกันจะมีพฤติกรรมที่คล้ายกัน

1.1.3 ชั้นของสังคม หมายถึงการจัดลำดับบุคคลในสังคมออกเป็นกลุ่ม ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันจากสูงไปต่ำ สิ่งที่นำมาแบ่งชั้นของสังคม เช่น อาชีพ รายได้ ฐานะ ตระกูล ตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นต้น

1.2 ปัจจัยด้านสังคม คือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ แบ่งออกได้เป็น

1.2.1 กลุ่มอ้างอิง เป็นกลุ่มที่บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย กลุ่มนี้จะมีอิทธิพลต่อทัศนคติความคิดเห็น และค่านิยมของบุคคลทั้งทางตรงและทางอ้อม กลุ่มอ้างอิงแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มปฐมภูมิ เช่น ครอบครัว เพื่อนสนิท เพื่อบ้าน และกลุ่มทุติยภูมิ เช่น กลุ่มบุคคลชั้นนำในสังคม เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมสถาบัน กลุ่มบุคคลกลุ่มต่างๆในสังคม

1.2.2 ครอบครัว มีบทบาทสำคัญมากที่สุดต่อทัศนคติ ความคิดเห็น และค่านิยมของบุคคล ครอบครัวเป็นกลุ่มอ้างอิงแบบปฐมภูมิที่มีอิทธิพลมากที่สุด โดยสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างครอบครัวที่อยู่ในชีวิตของบุคคล

1.2.3 บทบาทและสถานะ บุคคลจะเกี่ยวข้องกับหลายกลุ่มตลอดชั่วชีวิตของเขา เช่น ครอบครัว ชมรม องค์กร และสถาบันต่างๆ โดยบุคคลจะมีบทบาทและสถานะที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม

1.3 ปัจจัยส่วนบุคคล การตัดสินใจของผู้ซื้อจะได้รับอิทธิพลจากลักษณะส่วนบุคคลของคนทางด้านต่างๆ อันได้แก่

1.3.1 อายุและวัฎจักรชีวิตครอบครัว มนุษย์แต่ละคนจะซื้อสินค้าและบริการแตกต่างกันไปตลอดช่วงชีวิตของตน การมีครอบครัวและอายุที่แตกต่างกันย่อมส่งผลต่อลักษณะการดำเนินชีวิต ความจำเป็น ความต้องการ รวมถึงรสนิยมที่แตกต่างกัน

1.3.2 อาชีพการงาน อาชีพการงานของแต่ละบุคคลจะนำไปสู่ความจำเป็น และความต้องการสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน

1.3.3 โอกาสทางเศรษฐกิจ โอกาสทางเศรษฐกิจของบุคคลจะกระทบต่อสินค้าและบริการที่เขาตัดสินใจซื้อ โอกาสเหล่านี้ประกอบไปด้วย รายได้ การออมทรัพย์ อำนาจการซื้อ และทัศนคติเกี่ยวกับการจ่ายเงิน ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องสนใจแนวโน้มรายได้ของบุคคลและเศรษฐกิจ

1.3.4 การศึกษา ผู้ที่มีการศึกษาสูงมักมีแนวโน้มจะบริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำ

1.3.5 รูปแบบการดำรงชีวิต รูปแบบการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลมักแสดงออกมาในรูปของกิจกรรม ความสนใจ และความคิดเห็นของบุคคลนั้นๆ โดยรูปแบบการดำเนินชีวิตจะแสดงออกถึงตัวบุคคลนั้นที่มีปฎิสัมพัน์กับสิ่งแวดล้อมของบุคคล

1.4 ปัจจัยทางจิตวิทยา การตัดสินใจซื้อของบุคคลได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านจิตวิทยาซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยภายในตัวผู้บริโภค ได้แก่ การจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ บุคลิกภาพ แนวความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.4.1 การจูงใจ เป็นแรงขับที่ใช้กระตุ้นบุคคลเพื่อชักนำพฤติกรรมของเขาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ การจูงใจนั้นจะเกิดภายในตัวบุคคล แต่อาจถูกกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น วัฒนธรรม ชั้นทางสังคม ฯลฯ

1.4.2 การรับรู้ เป็นกระบวนการที่บุคคลได้เลือกสรร จัดระเบียบ และตีความหมายข้อมูลที่ได้รับจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 อัน ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน ได้กลิ่น ได้รสชาติ และได้สัมผัส เพื่อที่จะสร้างภาพที่มีความหมาย หรืออาจหมายถึงกระบวนการของความเข้าใจ ของบุคคลที่มีต่อโลกที่เขาอาศัยอยู่ แต่ละคนจะเกิดการรับรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน เช่น ประสบการณ์ ความเชื่อ ความต้องการ และอารมณ์ และยังขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยภายนอกต่างๆ

1.4.3 การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือความโน้มเอียงพฤติกรรม จากประสบการณืที่ผ่านมา การเรียนรู้ของบุคคลเกิดขึ้นเมื่อได้รับสิงกระตุ่ม และจะเกิดการตอบสนอง

1.4.4 ความเชื่อ เป็นความคิดที่บุคคลยึดถือเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณืในอดีต พฤติกรรมการใช้บริการของบุคคลส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อ

1.4.5 ทัศนคติ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด สิ่งหนึ่ง หรืออาจหมายถึงความโน้นมเอียงที่เกิดจากการเรียนรู้ในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นไปในทิศทางที่สม่ำเสมอ ทัศนคติเป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อความเชื่อ

1.4.6 บุคลิกภาพ เป็นรูปแบบลักษณะของบุคคลที่จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการตอบสนอง หรืออาจหมายถึงลักษณะด้านจิตวิทยาที่มีลักษณะแตกต่างกันของบุคคล อันนำไปสู่การตอบสนองที่สม่ำเสมอและมีปฏิกิริยาต่อสิ่งกระตุ้น

1.4.7 แนวคิดของตนเอง หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดที่บุคคล มีต่อตนเอง หรือความคิดที่บุคคลคิดว่าบุคคลอื่นมีความคิดเห็นต่อตนอย่างไร


1.2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของบัค

 ทฤษฎีการเรียนรู้ของบัค (Cronbach) กล่าวถึงการเรียนรู้ว่า ก่อให้เกิดผลของการเรียนรู้ 5 ประการ ซึ่งสังเกตได้จากพฤติกรรมในรูปของการกระทำของมนุษย์ (เยาวภา เดชะคุปต์, 2542[2])

1.2.1 ทักษะทางปัญญา (Intellectual Skills) คนเราจะเรียนรู้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยใช้สัญลักษณ์ที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน การเรียนรู้ดังกล่าวเรียกว่า การเรียนรู้หรือทักษทางปัญญาหรือกระบวนการในการแสวงหาความรู้

1.2.2 การใช้คำพูดแสดงข้อมูล (Vebal Information) การที่คนเราสามารถแสดงความคิดเห็นหรือความรู้ออกมาเป็นคำพูด นับเป็นความสามารถในการเรียนรู้อย่างหนึ่ง

1.2.3 กลวิธีทางการคิด (Cognitive Strategies) การเรียนรู้ในข้อนี้คือ การที่คนเราสามารถที่จะใช้ทักษะในการเรียนรู้ที่จะจำและคิดโดยการหาความสัมพันธ์ การโยงความสัมพันธ์การวิเคราะห์และแก้ปัญหาซึ่งเป็นกลวิธีในการคิด

1.2.4 ทักษะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Motor Skills) คนเราจะเรียนรู้ที่จะเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น สนเข็ม เล่นบอล ตีเทนนิส ขับรถ เป็นต้น ทักษะดังกล่างนี้เรียกว่า ทักษะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

       1.2.5 ทัศนคติ (Attitudes) คือ แนวโน้มที่คนเราจะเลือกทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยสมองส่วนที่มีอิทธิพลต่อการเลือกกระทำของมนุษย์ ทัศนคติประกอบด้วย อารมณ์ความรู้สึก ความคิด และผลของพฤติกรรม ซึ่งบางคนเชื่อว่าหมายถึง ความเชื่อ (Belief) และความคิด (Idea) ซึ่งผลของทัศนคตินี้จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่อการเลือกกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคล

วิธีการเรียนรู้ของเด็กในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างมาก คือจะเน้นตัวผู้เรียนเป็นหลักแทนการเน้นตัวผู้สอนที่สอนนักเรียนจำนวนมากพร้อมกันทั้งห้อง ซึ่งเป็นวิธีที่เกิดขึ้นพร้อมกับการปฏิบัติอุตสาหกรรมเมื่อประมาณสองศตวรรษก่อน วิธีการเรียนในคริสต์ศตวรรษที่ 21 นี้จะเป็นการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์ โดยเน้นให้ผู้เรียนค้นพบตัวเอง เป็นการศึกษาที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ว่าจะเรียนรู้เองต่อไปได้อย่างไร ที่เป็นดังนี้ได้ เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทำงานมัลติมีเดียจะทำให้เราสามารถกลับไปใช้ระบบที่ครูทำหน้าที่สำคัญในการสอน และชี้นำผู้เรียนเป็นรายบุคคล คอมพิวเตอร์จะช่วยให้ครูไม่ต้องทำงานซ้ำๆกันในการสอนกิจกรรมอย่างง่าย และสามารถใช้เวลามากขึ้นกับผู้เรียนที่ต้องการความเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา (2545[3]) นำหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ไว้ดังนี้

1) หลักการจูงใจ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน ส่งเสริม และเพิ่มพูนกระบวนการจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ความปรารถนา และความคาดหวังของผู้เรียนที่จะศึกษา

2) การพัฒนามโนทัศน (Concept) ส่วนบุคคล วัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความคิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน ดังนั้น การเลือก การผลิต และการใช้วัสดุการเรียนการสอนควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่กำหนด

3) กระบวนการเลือกและการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างการปฎิบัติเกี่ยวกับสื่อ จะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้น การเลือก การใช้ การตอบสนองและผลิตผลจึงจะต้องพิจารณาเป็นแบบแผนรวมเพื่อสนองความต้องการและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างสอดคล้องกัน

4) การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อเทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความสามารถตามความสามารถของเขา

5) การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วมและการปฎิบัติด้วยตนเองมากที่สุดจากกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การจัดสื่อเทคโนโลยีควรคำนึงถึงหลักการเหล่านี้

6) การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพื่อความคงทนในการจำ ยั่วยุความสนใจและทำให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง

7) อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอความรู้ต่างๆ จะต้องมีความสอดคล้องกับความสามารถ อัตราการเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน

8) ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อที่ลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการและสัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี

9) การถ่ายโยงที่ดี โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายโยงไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่างอัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยง เพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติเพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้สอนจะต้องวางแผนจัดประสบการณ์ที่จะส่งเสริมการถ่ายโยงความรู้ใหม่และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้นั้นที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในสถานการณืจริง

10) การให้รู้ผลการเรียนรู้ จะดีขึ้น ถ้าหากเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที หลังจากที่ได้ปฎิบัติกิจกรรมไปแล้ว

ดังนั้นการเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนจะช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้สอนในการสร้างสื่อการเรียนรู้ที่ต้องมีความสอดคล้องกับธรรมชาติและความต้องการของผู้เรียนโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ที่กล่าวมา เป็นแนวทางให้ครูและผู้จัดการศึกษาปฐมวัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนด้วยความรอบคอบเหมาะสมกับผู้เรียน


1.3 แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย

   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ส. 2542 กล่าวว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
   แนวความคิดและหลักการจัดการศึกษา ระดับปฐมวัยที่กรมวิชาการใช้ยึดถือเป็นหลักในการจัดทำแนวประสบการณ์ หรือหลักสูตรสำหรับเด็กระดับก่อนประถมศึกษา (อายุ 3-6 ปี) ครูผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจในการพัฒนาการปกติของเด็กวัย 3-6 ปี เพื่อนำไปพิจารณาจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อนำไปช่วยในการพัฒนาเด็กให้เต็มความสามารถ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2544[4])
   การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยให้เด็กแต่ละคนได้รับการส่งเสริม เกิดการพัฒนาและเรียนรู้ ก้าวหน้าอย่างสูงสุดเท่าที่เด็กทำได้เต็มศักยภาพครูผู้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องต้องสร้างแนวคิดพื้นฐานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยคำนึงถึงหลักการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ส. 2542 ที่มุ่งเน้นรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ เน้นพัฒนาการและธรรมชาติของเด็กส่งเสริมพัฒนาการให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย สังคม อารมณ์จิตใจและสติปัญญา โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม เล่นอย่างสนุกสนานกลมกลืนไปกับการสอนเกิดการเรียนรู้และก้าวหน้าอย่างสูงสุด
   3.1 จุดมุ่งหมายสำคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัย

3.1.1 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางกายของเด็กอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นพลเมืองไทยที่มีอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง

3.1.2 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางบุคลิภาพ อารมณ์และสังคมของเด็ก เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์มีความเข้มแข็งทางจิตใจที่จะเผชิญอุปสรรคและอันตรายได้

3.1.3 เพื่อให้เด็กมีนิสัยขยันแข็งแรง ซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัยและประหยัด

3.1.4 เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านต่างๆ

3.1.5 เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนหรือศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก

3.1.6 เพื่อตระหนักในปัญหาความเบี่ยงเบนของพัฒนาการเสียแต่แรกและดำเนินการต่อไปโดยเหมาะสม

   3.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์

3.2.1 มีสุขภาพดี เจริญเติบโตตามวัยและพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม

3.2.2 ใช้กล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

3.2.3 ร่าเริง แจ่มใส มีความสุขและความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

3.2.4 มีคุณธรรมและจริยธรรม มีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบ

3.2.5 ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมสภาพและวัย

3.2.6 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

3.2.7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่งและความเป็นไทย

3.2.8 ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

3.2.9 มีความสามารถในการคิดการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับวัยและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้สิ่งต่างๆ

3.2.10 มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

จุดมุ่งหมายของการศึกษาปฐมวัยเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม ร่างกายและสติปัญญาควบคู่กันไปพร้อมๆกัน โดยคำนึงถึงลักษณะที่พึงประสงค์ในการจัดการศึกษาประกอบด้วยการรู้จักช่วยเหลือตนเอง การอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีคุณธรรม จริยธรรม ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เติบโตขึ้นเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ เป็นผู้มีจินตนาการและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

  1. อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
  2. เยาวพา เดชะคุปต. (2542). การจัดการศึกษาส าหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอพีกราฟฟคสดีไซน
  3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา. (2545). จิตวิทยาส าหรับเด็ก, การสัมมนาวิชาการเรื่องพัฒนาสื่ออย่างไรให้เด็กไทยเก่ง ดีและมีความสุข. หน้า 29-41.
  4. กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). คู่มือหลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540 (อายุ 3-6ปี).