ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Raknaruemol/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม[แก้]

นวัตกรรมไทยในอดีตที่ผ่านมา มีขึ้นเพื่อความอยู่รอด และพัฒนาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคของโลกจากหลักฐานที่ค้นพบ ทั้งในวัด วังและในหมู่บ้าน เช่น ท่าฤษีดัดตน และยาสมุนไพร ในวัดโพธิ์เครื่องปั้นดินเผาจากบ้านเชียง การสร้างบ้านเรือนไทยทรงสูงเพื่อรับลม เป็นนวัตกรรมอันยาวนานของไทยที่ถูกค้น พบแล้วถูกนำมาเผยแพร่เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ไม่เหมือนใคร นอกจากนี้ยังมีการค้นพบนวัตกรรม และอารยธรรมอันเก่าแก่ เป็นระยะเวลาอันยาวนานของประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย อียิปต์และกรีก เป็นต้น นวัตกรรมใหม่ ๆ ของไทยทุกวันนี้ได้อ้างอิงอารยธรรมเก่าแก่เพื่อความอยู่รอด ทั้งจากฝั่งตะวันออก หรือฝั่งตะวันตกก็ตาม แต่นวัตกรรมใหม่ ๆ นี้ก็มีการขยายขอบเขตจากฝั่งตะวันตกสู่ตะวันออกด้วย (Silvio L. Emery, Wyn Ellis, and Montri Chulavatnatol, 2005, p. 6-9)

สำหรับการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาของประเทศไทย มีจุดเริ่มต้นโดยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น และศูนย์สิ่งเสริมนวัตกรรมการศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งในองค์การสหประชาชาติ (UNESCO) ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2493 มีการแนะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้เร็ว และการเรียนรู้ด้วยตนเองตามทฤษฎีบทเรียนโปรแกรม (บทเรียนสำเร็จรูป) โดยได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจาก Innotech และUNESCO ผลจากโครงการจากประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาถึงประเทศไทยภายใต้ชื่อ RIT (Reducted Instrational Times) หรือการลดเวลาในการเรียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาตลอดชีวิต และชีวิตเพื่อการศึกษา “Education for All” and “Life-Long” Education ซึ่งส่งผลต่อการตั้งมหาวิทยาลัยเปิด และการจัดการศึกษาทางไกลขึ้นในประเทศไทยในปี  พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นผลที่ริเริ่มต่อเนื่องมา นวัตกรรมการศึกษาประเทศไทยในศตวรรษที่ 20 จึงมีจุดเน้นไปที่นวัตกรรมการเรียนการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ประเทศไทยได้ออกกฎหมายเพื่อการปฏิรูปการศึกษาในอนาคต อย่างไรก็ตามรัฐบาล และนักการศึกษาให้ความสนใจในมุมมองที่แตกต่างในการบริหารจัดการการบริการด้านนวัตกรรมการศึกษา ก่อให้เกิดผลที่ดีเป็นประโยชน์และถูกต้องการบริหารแบบโรงเรียนี้เป็นฐานเป็นการบริหารจัดการที่ถ่ายโอนจากส่วนกลางลงสู่การบริหารท้องถิ่นอย่างเป็นระบบภายใต้โปรแกรมและผู้รับผิดชอบตามกรอบและแนวทางสู่การปฏิบัติจริง ได้แก่ วิทยาลัยชุมชน (Community Colleges) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนนี้เป็นสำคัญ (Learner-Centered Education Schools) โฮมสคูล (Home School) โรงเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (Education Linkages with SME and Industry) โปรแกรมสอนภาษาในโรงเรียน (Tele-Education) การประกันคุณภาพการศึกษา (School Quality Assurance) และการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (on-Line Education) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่กำลังปฏิบัติการจริงในโรงเรียนซึ่งเป็นทั้งความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยของประเทศไทยและต่างประเทศในโครงการต่างๆ เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นองค์ประกอบความสำเร็จในนวัตกรรมการศึกษา (Nipone Sookpreedee, 2005,    p. 53-54)

การศึกษายุค 4.0 เป็นการเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม สถานศึกษาเป็นจุดรวมของการประสานงานระหว่างผู้เรียนและผู้สอน อุปกรณ์การเรียนรู้จะเป็นลักษณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้งานได้จริง และมีความคุ้นเคยในการใช้งานเป็นอย่างดีในชีวิตประจำวัน มีพื้นที่การเรียนรู้ที่ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ แต่อาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ เข้ามาเป็นสิ่งที่ช่วยในการอำนวยความสะดวกในการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ สร้างความสะดวกและง่ายดายแก่ผู้เรียนในการเป็นช่องทางการเรียนรู้ร่วมกันผ่านเครือข่ายการสื่อสารที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งเป็นองค์ประกอหนึ่งที่ช่วยสร้างระบบการเรียนรู้ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างไม่จำกัดสถานที่และเวลา (Wattanakul and Mungsing 2017, p. 160-175)

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงในอดีตที่ผ่านมาซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นอย่างมาก การบริหารสถานศึกษาเพื่อให้เกิดคุณภาพตามมาตรฐานด้วยกระบวนการที่หลากหลายตามบริบท ทรัพยากรและศักยภาพที่สถานศึกษามีอยู่ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง ประชาชน และหน่วยงานองค์กรในท้องถิ่น สถานศึกษาควรมีการกำหนดทิศทางและเป้าหมายของสถานศึกษาให้ชัดเจน และดำเนินงานตามทิศทางที่สถานศึกษากำหนดไว้ ผลที่เกิดจากการดำเนินการตามทิศทางและเป้าหมายของสถานศึกษานั้นเป็นประสิทธิผลที่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนทัศนคติและแนวคิดการบริหารของตนเองให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้สถานศึกษามีความทันสมัยสามารถบริหารจัดการสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพในทุกๆด้านดังนั้นในการบริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง การนำนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาใหม่มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาซึ่ง ประกอบด้วย การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management: SBM) องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) เครือข่ายความร่วมมือ (Co-operate Networking) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC) การบริหารสถานศึกษายุคดิจิตอล และการบริหารและกระบวนการบริหาร (สุวิมล โพธิ์กลิ่น, 2564, หน้า 976-984)

นวัตกรรมใหม่ช่วยอำนวยความสะดวกให้เรา เช่นวันนี้ผมออกจากบ้านที่กรุงเทพฯ มาที่นี่ผมเชื่อไอโฟนหมดเลยครับ ผมให้ไอโฟนนำทางมาตลอดเลยครับ วันนี้ไอโฟนพามาทางลัดครับเข้าดงข้าวโพด ลัดมาจนมาถึงมหาวิทยาลัยได้ดังนั้นเรารู้ว่า การทำงานในวันนี้ของเรานั้นเปลี่ยนแปลงไปมาก เรารู้ว่าการศึกษาของเรานั้นต้องตอบสนองต่อแนวโน้มของอนาคต อนาคตของเรานั้นเราอยู่ในเมืองที่เรียกว่า Smart City เรากำลังเดินไปสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ชื่อว่า Digital  Economic เรากำลังยุ่งเกี่ยวกับ digital รอบ ๆ ตัวเรา วิธีการเรียนรู้ของเราก็เปลี่ยนไปใช้ดิจิทัลซึ่งเป็นการเปลี่ยนไปแบบสิ้นเชิง เช่น การอ่านก็เป็นการอ่านแบบเป็นส่วน ๆ ไม่อ่านแบบ Completestory คืออ่านไม่ครบทุกตัวอักษรตั้งแต่ต้นจนจบ คนยุคก่อนอ่านแบบจบ มีเท่าไหร่ก็อ่านจนจบ อ่านบน Physical media แต่วันนี้เด็กอ่านแบบเป็นส่วน ๆ อ่านที่ตัวหนังสือน้อย ดูรูปมาก เราต้องเข้าใจว่า การอ่านยุคใหม่เน้นแบบ Entertain Experience เอาหนังสือนวนิยายเป็นเล่ม เช่น คู่กรรม ของ ทมยันตีให้เด็กรุ่นใหม่อ่านจะอ่านไหมครับ ไม่อ่านแน่นอน เด็กรุ่นใหม่ยังอ่านแบบลักษณะของจินตภาพ Visualization ชอบดูมากกว่าอ่าน วิธีการเรียนรู้นั้นเปลี่ยนไปตามยุคสมัยอย่าดึงเด็กกลับไปในอดีต เพราะว่าเขามีเทคนิคการอ่านของเขา เราเองต้องเรียนรู้ ปรับตัวหาวิธีการไปกับเขาให้ได้แล้วไปช่วยเสริมต่าง ๆ แต่วันนี้ครูพยายามจะดึงเด็กให้ถอยกลับ ย้อนยุคการศึกษาวันนี้ต้องเดินไปข้างหน้า การศึกษาต้องสมาร์ท มีโรงเรียนที่สมาร์ท ห้องเรียนที่สมาร์ทเพื่อสร้างนักเรียนที่สมาร์ท (ยืน ภู่วรวรรณ, 2558, หน้า 133-156.)

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 นี้ เป็นการจัดการศึกษายุคใหม่ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะแห่งอนาคต เป็นการศึกษาเพื่อความเปลี่ยนแปลง (Education for Change) เน้นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเป้าการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนยุคใหม่อย่างสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) เรียนรู้ด้วยการคิดสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เป็นพื้นฐานของกระบวนการคิด (2) เรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ด้วยตนเอง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (3) เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความหลากหลายของคนในสังคมที่มีความแตกต่างกันทั้งเชื้อชาติ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ให้เรียนรู้วิธีอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และ (4) เรียนรู้ที่จะแบ่งปันและรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นความท้าทายของโรงเรียนหรือสถาบันศึกษาต่าง ๆ ในการพัฒนากระบวนทัศน์ใหม่เพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารการศึกษาสู่การพัฒนาการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่สามารถเชื่อมโยงการพัฒนาคนและการพัฒนาชุมชน และสร้างกระบวนการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์โลกอนาคต แนวคิดการพัฒนานวัตกรรมบริหารการศึกษาที่เน้นการพัฒนากระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารการศึกษา ที่เน้นการขับเคลื่อนด้วยปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สามารถนำไปปรับใช้ตามแต่ละบริบทของแต่ละองค์กร เรียกว่า “นวัตกรรมการบริหารการศึกษาสู่การเปลี่ยนแปลง 4 เรียนรู้” ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบริหารสำหรับการจัดการศึกษาแบบองค์รวมที่มีแนวคิดในการพัฒนาการดำเนินงาน 2 มิติ คือ มิติแนวนอน ซึ่งเป็นมิติด้านกระบวนการ ได้แก่ แรงจูงใจ สร้างแนวคิดใหม่ ประยุกต์ใช้จริง และกำหนดกระบวนการ มิติแนวตั้ง ซึ่งเป็นมิติของผู้เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ผู้เปลี่ยนแปลงภายในองค์กร และผู้เปลี่ยนแปลงภายนอกองค์กร  ทั้งนี้ การนำไปประยุกต์ใช้จะมีความแตกต่างตามสมมติฐานที่ออกแบบขึ้นบนพื้นฐานของบริบทที่แตกต่างของแต่ละองค์ ซึ่งต้องทดลองใช้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในการบริหารจัดการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ (ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ, 2561, หน้า 534-553.)

นวัตกรรม หมายถึงสิ่งใหม่ หรือวิธีการใหม่ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้นนวัตกรรมการศึกษาจึงหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน และวิธีการสอนแบบใหม่ๆ นวัตกรรมการศึกษาเป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ อาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ วิธีสอนและสื่อการสอน นวัตกรรมการศึกษาเป็นสิ่งที่ผู้สอนใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้ทั้ง 3 ขั้น คือ ขั้นการรับรู้ ขั้นการทำความเข้าใจในสิ่งที่รับรู้มา และขั้นการปรับเปลี่ยน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้สอนได้คิดค้นสร้างสรรค์ นวัตกรรมการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่เป้าหมาย คือ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง ดีและมีสุข (Muchimapiro, V., 2014, p. 1-9)

         นวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษายุคใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการนำ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้การใช้และการเกิดของนวัตกรรมการศึกษามีมากมาย ทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน และนวัตกรรมที่กำลังจะเผยแพร่ ซึ่งนวัตกรรมการศึกษาถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้จากสื่อความรู้ทางการศึกษาหลากหลายรูปแบบ จนเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์อย่างเต็มรูปแบบ ที่ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ เท่าที่ผู้เรียนจะมีกำลังความสามารถในการที่จะค้นคว้าหาความรู้ก็ว่าได้ การทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาหรือเทคโนโลยีการศึกษา เกิดจากการนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก รวมถึงเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียนผู้ศึกษา ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และความก้าวหน้าทางวิชาการต่อไป (วรวุฒิ รามจันทร์, 2555, หน้า 117-138.)    

                    โดยสรุปว่า นวัตกรรมหมายถึง สิ่งที่มีอยู่ หรือเกิดขึ้นมาใหม่นั้นได้ผ่านกระบวนการคิดและพัฒนาเปลี่ยนเปลงนวัตกรรมที่มีอยู่เดิมให้ทันสมัยเหมาะสมกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงนี้เข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ยุคดิจิทัล