ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Rachen1880/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลท่าสองยาง ประวัติ และความเป็นมาของโรงพยาบาลท่าสองยาง โรงพยาบาลท่าสองยาง เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง เดิมทีมีที่ทำการอยู่ที่ บ้านเลขที่ 196 หมู่ที่ 2 ถนนสายแม่สอด-แม่สะเรียง ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในขณะนั้นยังเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง ได้เปิดบริการให้แก่ประชาชนเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2528 โดยนายแพทย์โกมล สายชุ่มอินทร์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตาก ในขณะนั้น และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2528 โดยนายเทอดพงษ์ ไชยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น โดยมีนายแพทย์วีระกิจ หิรัญวิวัฒน์กุล เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 13 คน ต่อมาขอบข่ายการให้บริการได้เพิ่มขึ้นและการทำงานได้ขยายขอบเขตออกไป แต่มีข้อจำกัดของเนื้อที่และอาคารสถานที่ของโรงพยาบาลที่มีอยู่ไม่สามารถขยายหรือก่อสร้างได้ ในปี 2534 จึงได้มีโครงการขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง โดยใช้พื้นที่สาธารณะ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ต้าน บนเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน แบ่งเป็น 2 แปลง โดยแปลงที่ 1 เป็นตัวอาคารโรงพยาบาล ส่วนแปลงที่ 2 เป็นตัวอาคารบ้านพัก ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2535 แล้วเสร็จในปี 2536 ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 15,000,000 บาท ได้ทำการเปิดให้บริการแก่ประชาชน เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2539 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2539 และเนื่องจากการที่มีผู้รับบริการเป็นจำนวนมาก เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาอนุมัติให้โรงพยาบาลท่าสองยาง ปรับระดับสถานบริการ ปรับจำนวนเตียง และเปิดสถานบริการจากจำนวนเตียง 30 เตียง เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง สืบเนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมโรงพยาบาล ท่าสองยาง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าสองยางได้ถวายรายงาน งานด้านกายภาพบำบัด การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก รวมถึงสถานที่ให้บริการยังมีขนาดจำกัด ได้รายงานการขอก่อสร้างอาคารส่งเสริมสุขภาพ และเอนกประสงค์ เพื่อใช้ในการจัดบริการด้านกายภาพบำบัด การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกให้ได้มาตรฐาน ครบวงจร รองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสรับสั่งให้สร้างในที่ดินที่นายอุดร ตันติสุนทร บริจาคให้โรงพยาบาลท่าสองยาง ซึ่งมีขนาดที่ดิน 10 ไร่ 83 ตารางวา เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2560 ทางโรงพยาบาลท่าสองยางได้ทำหนังสือถึงสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก และทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก ได้ทำหนังสือขอพระราชทานถึงสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อขอพระราชทานสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้ในการจัดบริการด้านกายภาพบำบัด การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารส่งเสริมสุขภาพ และเอนกประสงค์ โดยท่านสำเริง เอี่ยมสะอาด รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพฯ เป็นประธาน และติดตามดำเนินการก่อสร้าง อาคารได้แล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2561 สมเด็จรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามอาคารว่า อาคารพระราชทาน 22 และได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์เพื่อเปิดอาคารพระราชทาน 22 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 ด้วยนายแพทย์ธวัชชัย ยิ่งทวีศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าสองยาง กราบบังคมทูล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วย จำนวน 5 ชั้น เพื่อรองรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น กองงานในพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จึงให้มีการจัดประชุมเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงและความเหมาะสมในการก่อสร้างอาคารดังกล่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยงบประมาณในการก่อสร้างอาคาร นายสำเริง เอี่ยมสะอาด รองเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จะนำความกราบบังคมทูล เพื่อขอพระราชทานงบประมาณในการก่อสร้างจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยให้กองแบบแผนออกแบบและประเมินราคา ประชุมเริ่มงานก่อสร้างอาคารพระราชทานโรงพยาบาลท่าสองยาง เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 โดยมีนายสำเริง เอี่ยมสะอาด รองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป็นประธานการประชุมและมอบผังก่อสร้างโดยท่านสำเริงเป็นผู้ลงนามมอบผังและส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้แก่ หจก.ตากขาวละออ ทั้งนี้ เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563