ผู้ใช้:Piyarat.k/กระบะทราย
นี่คือหน้าทดลองเขียนของ Piyarat.k หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |
ทฤษฎีหลักการบริหาร Henri Fayol
[แก้]ประวัติ
Henri Fayol เป็นนักบริหารงานอุตสาหกรรมและวิศวกรชาวฝรั้งเศส เกิดเมื่อ ค.ศ.1841 ที่เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส จบการศึกษาด้านวิศวกรรมเหมืองแร่จาก National School of Mines เมื่อ ค.ศ.1860 หลังจากจบการศึกษาได้ประกอบอาชีพในบริษัทเหมืองแร่ในตำแหน่งวิศวกร จนได้เลื่อนตำแหน่งจากเดิมที่เป็นวิศวกรด้านเทคนิคทางอุตสาหกรรมขึ้นมาเป็นผู้บริหาร ถึงปี ค.ศ.1888 ภายหลังจึงได้เปลี่ยนงานมาเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัท Commontry-Fourchambault และด้วยความรู้ความสามารถในการบริหารงานนั้นจึงทำให้เขาสามารถกู้หน้าบริษัทที่กำลังจะล้มละลายอยู่ในขณะนั้นกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แม้ว่า Henri Fayol จะมีประสมการณ์ด้านอุสาหกรรมอยู่มากก็ตามเขากลับผันตัวมาเริ่มเขียนหนังสือเล่มแรกที่มีชื่อว่า Administration industrielle et générale ที่แปลว่า หลักการบริหารอุตสาหกรรม เพื่อเสนอแนวคิดเห็นอ้างถึงหลักการบริหารโดยทั่วไปต่อสาธารณชนเมื่อปี ค.ศ.1916 ขณะที่มีอายุ 75 ปี โดยภายหลังหนังสือเล่มนี้ได้ถูกนำแปลมาเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อ ค.ศ.1949[1] ในฐานที่ Henri Fayol เป็นผู้บริหารงานด้านอุตสาหกรรมและมีความเชื่อหลักสากลของการบริหารจึงมองเรื่องของการบริหารจากเบื่องบนลงมาเบื่องล่าง ในที่นี้หมายถึง "การวางแผน การจัดการองค์การ การสั่งการ การประสานงาน และการควบคุม"[2]
โดย Henri Fayol ได้เสนอแนวคิดหลักๆในเรื่องทฤษฎีหลักการบริหารโดยจำแนกออกมาเป็น 4 ข้อ คือ
- 1.)หน้าที่หลักการบริหารที่สำคัญ 5 ประการ POCCC[3]
POCCC ย่อมาจากคำต้นฉบับ 5 คำ ประบอกด้วย
1.1.P = (Planning) การวางแผน การกำหนดทิศทางคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดรูปแบบ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการรับมือผลกระทบต่างๆในอนาคตการทำงานไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
1.2.O = (Organizing) การจัการองค์การ การจัการโครงสร้างองค์กรเกี่ยวกับการจัดการตำแหน่งอำนาจหน้าที่ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เพื่อการแบ่งงานกันทำ
1.3.C = (Commanding) การบังคับบัญชา การสั่งการเพื่อดำเนินงานตามที่กำหนดไว้
1.4.C = (Coordinating) การประสานงาน การผนวกเชื่องโยงงานของทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกัน
1.5.C = (Controlling) การควบคุม การกำกับการกำหนดควบคุมงานให้เป็นไปตามเป้าหมายดังที่กำหนดไว้
จากหลักการ POCCC นั้นสรุปได้ว่าเป็นหลักที่เอื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้จัดการองค์กรเป็นอย่างมาก Henri Fayol ได้กล่าวว่า "หลักการของผมไม่ใช่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ"[4]
- 2.)การประสานงานในองค์กร (Coordinating)
การประสานงาน (ทุกทิศ) จำต้องมีการเชื่อมโยงระหว่างทุกภาคส่วนเข้าด้วยกันเป็นองค์เดียวและต้องใช้หลักการต่างๆประกอบด้วย
2.1.สายบังคับบัญชา (Scalar principle) คือ การควบคุมแบบดดยรวมเป็นโครงสร้างการบริหารแบบ "ปิรามิด"
2.2.เอกภาพสายบังคับบัญชา (Unity of Commoand) คือ การมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
2.3.ช่วงการควบคุม (Span of Control) คือ ผู้บังคับบัญชาหนึ่งคนจะต้องมีผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้องหลายคน เพื่อดูแลและควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพ
2.4.หลักข้อยกเว้น (Except Principal) คือ แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน
1.งานประจำจะต้องเป็นภาระหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา 2.งานการแก้ไขต่างๆเป็นภาระหน้าที่ของผู้ให้บริการ
- 3.)หลักการจัดการบุคลากรตามความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialzation)
คือ การแบ่งลักษณะการทำงานของบุคคลออกเป็นกลุ่ม เพื่อหาคนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทำงานประเภทเดียวกันเพื่อให้เกิดความชำนาญ
- 4.หลักการบริหาร (The Principle of Management) หรือ กฎของการบริหารสู่ประสิทธิผล (Effectivess)
หลักทั้ง 14 ประการที่ Henri Fayol เสนอนั้นกล่าวเกี่ยวกับเรื่องต่อไปโดยย่อได้ดังนี้
4.1.การแบ่งงานกันทำ (Division of work) การแบ่งงานกันทำเพื่อที่จะ "เพิ่มผลผลิตในการ ทำงานแต่ยังใช้พลังงานเท่าเดิม" เหตุที่ทำดังวิธีดังกล่าวเพราะเพื่อที่จะเป็ยการลดเวลาในการเรียนรู้งานให้น้อยลง แต่พัฒนางานเพิ่มมากขึเนเพื่อที่จะได้เสริมสร้างทักษะในการทำงานให้มากขึ้น การแบ่งงานกันทำจึงใช้ได้หลากหลายตามความสามารถและเหมาะสำหรับผู้ร่วมงานหรือบุคลากรหลายคนได้
4.2.อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibillity) อำนาจหน้าที่ให้สิทธิ์แก่การสั่งการ และอำนาจบารมีจะมีหน้าที่ให้คนปฎิบัติตาม การที่จะมีอำนาขหน้าที่ได้ต้องสัมพันธ์กับภาระหน้าที่ บุคคลผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบ กล่าวคือ บุคคลใดที่ถูกมอบอำนาจหน้าที่ บุคคลผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งและจำต้องยอมรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ การรับคำสั่งหรือออกคำสั่งให้ผู้อื่นปฏิบัติ ซึ่งการทำงานขององค์กรจะไม่มีประสิทธิภาพถ้าหากการมอบหมายอำนาจและหน้าที่ไม่สัมพันธ์ต่อกันอย่างไรก็ตาม Henri Fayol ได้กล่าวไว้ว่า "การป้องกันการใช้อำนาจหน้าที่ที่ไม่ถูกต้องก็อยู่ที่ตัวบุคคลนั้นว่าจะมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนและมีคุณธรรมมากน้อยเพียงใดเท่านั้น"
4.3.เอกภาพการบังคับบัญชา (Unity of Command) Henri Fayol มีความคิดเห็นที่ค้านกับ Taylor เรื่องการบังคับบัญชา คือ ผู้ที่อยู่ในการบังคับบัญชาต้องรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว หากไม่รักษาหลักการนี้ไว้จะทำลายอำนาจหน้าที่และระเบียบวินัยของการบริหารงานได้ การยอมรับและปฏิบัติตามหลักข้อนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยขจัดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆและในส่วนของตัวบุคคลได้
4.4.เอกภาพในการอำนวยการ (Unity of Driection) หลักการเอกภาพในการอำนวยการ หมายถึง การมีแผนงานหนึ่งเดียวมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวรับผิดชอบต่อกิจกรรมหรือมีวัตถุประสงค์หนึ่งเดียว Henri Fayol ชี้ว่า ไม่ควรนำหลักการข้อนี้ไปสับสนกับข้อเอกภาพในการบังคับบัญชา เพราะ หลักการข้อนี้มาจากโครงสร้างขององค์กรที่ชัดเจน มีการจัดการวางแผนงานที่เหมาะสม ขณะที่เอกภาพการบังคับบัญชากล่าวถึงการทำงานของบุคคลต่างๆ
4.5.การรวมอำนาจ (Centralization) การรวมอำนาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในองค์กรเสมอ เพียงแต่ว่าจะเกิดการเกิดขึ้นมากหรือน้อยเพียงใดเท่านั้นเอง ซึ่งกล่าวได้โดยนัยได้อีกอย่างหนึ่งว่า ในทุกๆสถานการณ์จะต้องมีความสมดุลระหว่างการกระจายอำนาจและการรวมอำนาจ (Decentralization) ทั้งนี้ต้องผนวกกับความสามารถประสบการณ์ ความฉับไวในการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นปัจจัยพิจารณาว่าจะเกิดการรวมอำนาจหรือการกระจายอำนาจในองค์กรอย่างไร นอกจากนี้การรวมอำนาจหรือการกระจายอำนาจก็จะเป็นลักษณะหลักขององค์กรที่เป็นอยู่
4.6.วินัย (Discipline) หมายถึง การยอมรับข้อตกลงระหว่างองค์กรกับผู้ปฏิบัติงานซึ่งอาจหาข้อสรุปหรืออภิปรายมาก่อนหรือนำมาจกาประเพณีทำมาแต่เดิมก็ได้ วินัยของผู้ปฏิบัตืงานถือเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อการบริหารงานที่ราบรื่นภายในองค์กร การที่จะทำให้เกิดวินัยในผู้ปฏิบัติงานขององค์กรนั้นมีวิธีการดังต่อไปนี้
1.สร้างผู้บังคับบัญชาที่ดีที่สุดในทุกระดับ
2.กำหนดข้อตกลงที่ชัดเจนและยุติธรรมมากที่สุด
3.กำหนดการลงโทษด้วยวิธีที่ระมัดระวัง
4.7.ผลประโยชน์ของบุคคลควรเป็นผลตอบแทน (Subordination of the individual interest to the general interest) Henri Fayol ได้ให้ความสำคัญกับหลักการข้อนี้ เพราะ ความทะเยอทะยาน ความเห็นแก่ตัว ความเกลียดค้าน ฯลฯ เป็นเหตุที่ทำให้คนเราไม่ให้ความสำคัญต่อประโยชน์ส่วนรวม และเมื่อใดที่มีความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ฝ่ายบริหารจะต้องพยายามหาวิธีแก้ประสานงาน เพื่อให้ผลประโยชน์เป็นกลางที่สุดให้จงได้ โดยอาจจะทำโดยวิธีการเป็นตัวอย่างที่ดีคือให้ตกลงกันโดยยุติธรรมที่สุด และมีการควบคุมเรื่องผลประโยชน์อยู่สม่ำเสมอ
4.8.การให้ผลตอบแทน (Remuneration of personnel) การให้ผลตอบแทนหรือการจ่ายค่าจ้างแก่ผู้ที่ปฏิบัติงาน ควรจำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ยุติธรรมและพึงพอใจต่อทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้ทำงานและฝ่ายผู้บริหาร และควรจ่ายให้เหมาะสมกับผลงานไม่ควรจ่ายค่าจ้างเกินขอบเขตและความเหมาะสม
4.9.ความเป็นระเบียบเรียบร้อน (Order) Henri Fayol ได้ใช้หลักการนี้ครอบคลุมไปถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม (Social order) คือ การปฏิบัติงานตามที่ทางของจชตำแหน่งของตนเพื่อให้ครอบคลุมในเรื่องการจัดสรรปันส่วนงานที่ดี และคัดเลือกคนเพื่อปฏิบัติงานนั้นๆได้ถูกต้อง การเน้นหลักการความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคมนั้นก็เพื่อที่จะป้องกันการจัดหางานให้ปฏิบัติที่ผิดตำแหน่ง
4.10.ความเสมอภาค (Equity) คือ ความยุติธรรมและความเมตตาที่ต้องมีแก่ทุกฝ่ายหลักการนี้จะสามารถจูงใจให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานด้วยความจงรักภักดีได้ เพื่อใดที่ต้องร่วมงานกับผู้ร่วมงานปฏิบัติงานหรือลูกน้องจะต้องนำหลักการดังกล่าวมาพิจารณาเสมอ
4.11.ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of Tenure of Personal) คือ หลักการนี้เป็นหลักการที่ชี้ขอบการกำหนดให้ฝ่ายผู้บริหารให้ระยะเวลาแก่ผุ้ปฏิบัติงานขณะหนึ่งให้ได้สามารถเรียนรู้งานเพื่อสามารถพัฒนาการปฏิบัติงานได้ในอนาคต นอกจากนี้จะต้องให้หลักประกันกับฝ่ายบริหารระดับสูงเช่นเดียวกัน เพราะ ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และพัฒนาประสิทธิผลของงาน แต่อย่างไรก็ตามการทำงานก็ต้องมีการสับเปลี่ยนบุคลากรเช่นกัน เช่น การเปลี่ยนตัวเนื่องจากบุคลากรมีอายุที่มากแล้ว หรือเจ็บป่วย เป็นต้น
4.12.ความริเริ่ม (Initiative) คือ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นความคิดริเริ่มต่างๆ ในการแก้ปัญหาขององค์กร ฝ่ายบริหารควรมีกลยุทธในการกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มแต่ควรอยู่ภายใต้หน้าที่และขอบเขตของงาน
4.13.สายบังคับบัญชา (Scalar Chain) คือ สายอำนาจที่ทำงานกันโดยลดหลั่นกันลงมาเป็นตำแหน่งจากตำแหน่งผู้บังคับบัญชาระดับสูงถึงระดับล่าง โดยการดำเนินงานต่างๆจะเป็นไปตามลำดับเพื่อสนับสนุนหลักเอกภาพการบังคับบัญชา แต่ถ้าสายบังคับบัญชามีจำนวนบุคลากรที่มาก Henri Fayol ได้เสนอว่า เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้นควรมีการติดต่อข้ามสายบังคับบัญชาในแบบแนวนอน (Gang plank) ทั้งนี้ต้องผ่านการอนุมัติของผู้บังคับบัญชาทั้งสองฝ่าย
4.14.ความสามัคคี (Esprit de Corps) คือ การสร้างความสามัคคีโดยการปฏิบัติงานเป็นทีม และบุคลากรของทีมเข้าใจวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานในแนวเดียวกัน การสร้างความสามัคคีต้องยึดหลักการเอกภาพในการบังคับบัญชา ควบคู่กันไปด้วย[5]
ในเรื่องหลักการบริหาร 14 ประการดังกล่าว Henri Fayol ได้อธิบายความสัมพันธ์หลักๆ ดังนี้ "การแบ่งงานกันทำมีประโยชน์ เพราะ เป็นการแบ่งเบาภาระในองค์กร องค์กรต้องมีหัวหน้างานซึ่งหัวหน้ามีอำนาจโดยชอบธรรมตามตำแหน่ง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่จะเกิดขึ้นมีบทลงโทษและรักาาระเบียบวินัยในองค์กรต้องอาศัยการมีผู้บังคับบัญชาที่ดีในทุกระดับขององค์กร ผู้บังคับบัญชาที่ดีจะต้องมีข้อตกลงที่แน่ชัดและยุติธรรมระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ลูกจ้างจะต้องทำงานและรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวตามหลักเอกภาพของสายบังคับบัญชา และไม่มีมนุษย์คนไหนที่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาสองคนขึ้นไป ตามหลักเอกภาพคำสั่งขอองค์กรควรมีผุ้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวและมีแผนการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์อย่างใดอบ่างหนึ่ง และให้คำนึงถึงว่าผลประโยชน์ของส่วนรวมย่อมมีความสำคัญเหนือกว่าผลประยชน์ของส่วนตน การให้รงวัลเป็นสิ่งตอบแทนที่เที่ยงธรรมและพอใจต่อทั้งสองฝ่าย องค์กรจะมีการกระจายอำนาจมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โครงสร้างขององค์กรจะมีลักษณะเป็นลำดับชั้นตามสายการบังคับบัญชา การที่ผู้ใต้บังคับบัญชาสองฝ่ายจะติดต่อกันได้ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาอนุญาตและรับทราบทั้งสองฝ่าย ความเป็นระเบียบของลำดับชั้นการบังคับบัญชานั้นมีความสัมคัญมาก ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่สร้างบรรยากาศให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกว่าภายในองค์กรมีความเสมอภาค และสุดท้ายความสามัคคีกลมเกลียวกันของสมาชิกภายในองค์กรมีความสำคัญมากและเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีขององค์กร"[6]
จากหลักการทั้ง 14 หลักการของ Henri Fayol พบว่าการเสนอนี้เป็นการเสนอที่ปะปนระหว่างหลักการเกี่ยวกับโครงส้รางการบริหารงาน และหลักการเกี่ยวกับกระบวนการบริหาร หลักต่างๆได้เสนอเพื่อให้ผู้บริหารในระดับสูงและผู้ปฏิบัติงานร่วมเลือกพิจารณาตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม Henri Fayol ไม่เน้นว่าหลักการที่เสนอนั้นจะเป็นหลักตามตัวหรือไม่สามารถปรับได้ ดังคำกล่าวว่า "หลักการก็เปรียบเสมือนกระโจมไฟเพื่อใช้นำร่องมักจะมีผลประโยชน์สำหรับผู้ที่รู้วิธีการว่าจะนำเรือเข้าเทียบท่าได้อย่างไรเท่านั้น"[7]
- ↑ สมพร เฟื่องจันทร์. (2529). ทฤษฎีและแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์. หน้า35
- ↑ Henri Fayol. (2492). General and Industrail Management (London:Pitman). Page2
- ↑ โสภา นาคสะโร (6 ตุลาคม 2555)."ความคิดเห็นของผู้บริหารระดับต้นและพนักงานระดับปฎิบัติการฯ". การจัดการ-การวิจัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560
- ↑ Henri Fayol. (2480). The Administrative Theory in The State (edited by Luther Gulick and Lyndall Urwick). Page101
- ↑ สมพร เฟื่องจันทร์. (2529). ทฤษฎีและแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์. หน้า36-40
- ↑ พิทยา บวรวัฒนา.(2546).รัฐประศาสนศาสตร์ทฤษฎีและแนวการศึกษา (ค.ศ.1887-1970). หน้า37
- ↑ Henri Fayol. (2524). General Principles of Management (edited by D.S.Pugh). Page101-102