ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Phet9999/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หลวงพ่อหวล หรือ พระครูนวการโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดพิกุล ผู้สืบทอดวิชายันต์เกราะเพชร จาก หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

ประวัติ[แก้]

หลวงพ่อหวล หาริโต วัดพิกุล

พระครูนวการโกศล (หลวงพ่อหวล หาริโต) นามเดิมชื่อ นายหวล เป็นบุตรของ นายโบ้ และ นางเจิม บัวเล็ก เกิดเมื่อวันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2451 เดือน 5 ปีวอก ที่ตำบลหลักสอง อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (ที่อยู่ในสมัยนั้น) ท่านมีพี่น้องเกิดร่วมท้องเดียวกันทั้งหมด 6 คน คือ

1. นายผ่อง ทรัพย์สำรวย

2. นายทรัพย์ บัวเล็ก

3. พระครูนวการโกศล (นายหวล บัวเล็ก)

4. นายช้อย บัวเล็ก

5. นางจวน เขม้นงาน

6. นางสำเภา บัวแดง

เมื่อเยาว์วัยไม่เคยศึกษาจากโรงเรียนใดเลย แต่มีความสามารถมานะพยายามศึกษาเล่าเรียนเองอยู่กับบ้าน จนสามารถอ่านหนังสือออกเขียนหนังสือได้ เมื่อเติบใหญ่ได้ช่วยบิดามารดาทำสวนมาโดยตลอด จนกระทั่งอายุได้ 25 ปี ได้ขออุปสมบท ณ วัดรางบัว อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี มีพระพุทธพยากรณ์ เป็นอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพึ่ง วัดรางบัว เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอธิการหนู วัดนิมมานรดี เป็นอนุสาวนาจารย์ อยู่ศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อพึ่ง นั้น 3 พรรษา เพื่อแทนคุณของบุพพการรี และด้วยศรัทธาอันแน่วแน่ของท่านเพื่อเรียนวิชาแพทย์โบราณมารักษามารดาที่ป่วยอยู่

ด้วยแรงกตัญญูกตเวที ที่มีต่อมารดาท่านจึงได้เดินทางมาเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณที่ วัดโพธิ์ล้ม (วัดโพธิ์บางระมาด) ตำบลบ้านไทร (บางระมาด) อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ทั้งที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดรางบัว ด้วยความวิริยะอุตสาหะท่านก็ประสบความสำเร็จในการศึกษาและได้กลับมารักษาโรคของมารดาจนทุเลาจากอาการป่วย และมีชีวิตต่อมาได้อีกหลายปี หลวงพ่อหวลท่านเป็นหนึ่งที่ทรงวิทยาคุณทางด้านแพทย์แผนโบราณ ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดรางบัว เป็นเวลา 3 พรรษา ต่อจากนั้นท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่ วัดโพธิ์ล้ม เป็นเวลา 9 พรรษา และในขณะที่ท่านอยู่ที่วัดโพธิ์ล้ม ท่านได้ช่วยเจ้าอาวาสหลวงพ่อนวล บูรณปฏิสังขรณ์

ต่อจากนั้นท่านได้กลับไปเรียนวิชากับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ผู้ทรงคุณวิทยาอันเลิศ และท่านก็กลับไปจำพรรษอยู่ที่วัดโพธิ์ล้ม จนอยู่ที่วัดได้ 9 พรรษา จนถึง พ.ศ. 2487 ด้วยความสามารถทางด้านการก่อสร้างและพัฒนา พระมหาโพธิวงศาจารย์ (หลวงพ่อสาลี) วัดอนงคาราม เจ้าคณะจังหวัดธนบุรี เกรงว่าวัดพิกุล จะเป็นวัดร้าง เพราะพระน้อยและเจ้าอาวาสได้ลาสิกขาไป พระมหาโพธิวงศาจารย์ และชาวบ้านร่วมกันขอให้หลวงพ่อหวลมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุล

ในที่สุดท่านก็ตอบตกลงตอนนั้นท่านอายุ ราว 40 เห็นจะได้ เป็นเจ้าอาวาสให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นมา ท่านได้พัฒนาวัดพิกุลให้เจริญเป็นอันมาก เช่น สร้างโรงเรียนประชาบาล (โรงเรียนวัดพิกุล) สร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิ หอระฆัง ถนน สะพาน เมรุ ฯลฯ

วัตถุมงคล[แก้]

ปี 2494 - 2495

รูปหล่อโบราณ ปี 2515

- พระหล่อประจำวันเกิด

ปี 2496

- พระสมเด็จ รุ่นเเรก

- นางพญา รุ่นเเรก

ปี 2500

- พระสมเด็จ รุ่น 2

- นางพญา รุ่น 2

- ผ้ายันต์ รุ่นเเรก

ปี 2502

- เหรียญ รุ่นเเรก

ปี 2505

- เหรียญ รุ่น 2

- พระบูชา หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

- ล็อกเก็ต รุ่นเเรก

ปี 2506

- พระสมเด็จ รุ่น 3

ปี 2508 - 2509

- นางพญา รุ่น 3

ปี 2513 - 2514

- พระสมเด็จ รุ่น 4

- พระนางพญา รุ่น 4

- พระขุนเเผน

ปี 2515

- รูปหล่อโบาราณ

ปี 2517

- พระบูชาหลวงพ่อหวล วัดพิกุล รุ่นเเรก

- เหรียญ รุ่น 3

- เเหวน

- รูปเลี่ยมกันน้ำ

- ตะกรุด

ปี 2518

- กริ่งนวการโกศล

- พระบูชาเชียงเเสน

- ล็อกเก็ต รุ่น 2

- ผ้ายันต์ รุ่น 2

- ปั้มหลวงพ่อโต

- เเหนบหลวงพ่อโต

มรณะภาพ[แก้]

จนกระทั้งถึงปี พ.ศ. 2518 ท่านก็เริ่มล้มป่วยลงด้วยโรคปอด และโรคแทรกอื่นๆ เนื่อกจากท่านได้ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานและรักษาสีลาจารวัตรอย่างเคร่งครัด จึงไม่ใคร่ยินยอมที่จะไปรับการรักษายังโรงบาล แต่กลับพอใจที่จะรักษาตัวเองอยู่ที่วัด และมิเคยได้หยุดพักงานต่างๆ หากยังสามารถลุกเหินเดินได้ จึงเป็นเหตุให้โรคไม่หายขาด และทรุดลงเรื่อยๆจนในที่สุดเมื่อเวลา 08.05 น. วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2522 ท่านก็ได้มรณภาพลง โดยเสมือนทราบเวลาล่วงหน้า จึงได้กำหนดเวลาให้ลูกศิษย์ที่เฝ้ารักษาพยาบาลท่านให้ทราบล่วงหน้า และได้สั่งเสียการงานที่ยังไม่สำเร็จให้ช่วยดำเนินการก่อสร้างให้สำเร็จ ได้แก่ เมรุ และศาลาบำเพ็ญการกุศล รวมทั้งกิจการดูแลในวัดด้วยสติปชัญญะอันสมบูรณ์ พอถึงเวลาที่กำหนดคือ เวลาประมาณ 08.05 น. ท่านมรณภาพด้วยอาการสงบหลับไปไม่มีวันตื่น แต่วัตถุพยานและความเป็นเลิศในทางวิทยาคุณของท่านยังคงอยู่เป็นพยานให้สาธุชนและศิษยานุศิษย์ได้น้อมรำลึกเคารพสักการบูชาชั่วกาลนาน