ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Orawanpam1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธาตุฟอสฟอรัส

[แก้]

Phosphorus

[แก้]

• ฟอสฟอรัส (Phosphorus) เป็นแร่ธาตุที่สามารถพบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันกับกระบวนการทางเคมีของร่างกายในเกือบทุกส่วน มีความสำคัญต่อการทำงานที่เป็นปกติสม่ำเสมอของหัวใจ และสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของไต ต่อโครงสร้างของกระดูกและฟัน ร่างกายจำเป็นต้องใช้ฟอสฟอรัสในกระบวนการส่งต่อสัญญาณประสาท • แหล่งที่พบฟอสฟอรัสตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่ ปลา สัตว์ปีก เนื้อสัตว์ ถั่ว เมล็ดพืช ธัญพืชไม่ขัดสี เป็นต้น • วิตามินดีและแคลเซียม มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของฟอสฟอรัส ถ้าหากร่างกายขาดฟอสฟอรัส วิตามินบี3 จะไม่สามารถดูดซึมได้ และโรคจากการขาดฟอสฟอรัส ได้แก่ โรคเหงือกอักเสบและโรคกระดูกอ่อนในเด็ก โดยศัตรูของฟอสฟอรัส ได้แก่ การรับประทาน ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม อลูมิเนียม มากเกินไป อาจทำให้ฟอสฟอรัสด้อยประสิทธิภาพลง • จะพบการขาดแคลเซียมจึงเป็นไปได้สูง ดังนั้น ควรพยายามปรับการรับประทานอาหารให้เหมาะสมด้วย

ฟอสฟอรัสเป็นอโลหะอยู่ในหมู่ที่ VA หมู่เดียวกับธาตุไนโตรเจนในธรรมชาติไม่พบฟอสฟอรัสในรูปของธาตุอิสระแต่จะพบในรูปของสารประกอบฟอสเฟตที่สำคัญได้แก่หินฟอสเฟต หรือแคลเซียมฟอสเฟต(Ca2(PO4) 2) ฟลูออไรอะปาไทต์ (Ca5F(PO4) 3) นอกจากนี้ยังพบฟอสฟอรัสในไข่แดง กระดูก ฟัน สมองเส้นประสาทของคนและสัตว์ฟอสฟอรัสสามารถเตรียมได้จาก Ca3(PO4) 2 โดยใช้ Ca3(PO4) 2 ทำปฏิกิริยากับคาร์บอนในรูปถ่านโค๊ก และซิลิคอนไดออกไซด์(SiO2) ในเตาไฟฟ้า 2Ca(PO4) 2 + 6SiO2 + 10C -----> P4 + 6CaSiO3 + 10CO P4 ที่ได้เป็นฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสมี 3 ประเภท คือ 1. ฟอสฟอรัสขาวหรือฟอสฟอรัสเหลือง 2. ฟอสฟอรัสแดง 3. ฟอสฟอรัสดำ

ฟอสฟอรัสขาว

[แก้]

สมบัติของฟอสฟอรัสขาว โมเลกุลของฟอสฟอรัสขาวประกอบด้วยฟอสฟอรัส 4 อะตอม มีสูตรโมเลกุล P4 1. เป็นของแข็งสีขาวหรือเหลือง ว่องไวในการเกิดปฏิกิรยามาก 2. มีจุดหลอมเหลว 44 C 3. มีความหนาแน่น 1.82 g/cm3 4. ไม่นำไฟฟ้า 5. ไม่ละลายน้ำ ละลายได้ในคาร์บอนไดซัลไฟด์(CS2) หรือตัวทำละลายอื่นที่โมเลกุลไม่มีขั้ว เช่น CCI4 6. ลุกไหม้ในอากาศได้เองที่อุณหภูมิ 35 C จึงต้องเก็บไว้ในน้ำไม่ให้สัมผัสกับ O2 7. มีกลิ่นคล้ายกระเทียมเป็นพิษ ถ้าหายใจเข้าไปจะเป็นโรคขากรรไกรผุ 8. ต้มกับสารละลาย NaOH หรือ KOH ได้ PH3

ฟอสฟอรัสแดง

[แก้]

สมบัติของฟอสฟอรัสแดง โมเลกุลมีโครงสร้างเป็นสายยาวคล้ายลูกโซ่ เป็นพอลิเมอร์ของ P4 1. เป็นของแข็งสีแดง เป็นรูปที่เสถียรกว่าฟอสฟอรัสขาว 2. มีจุดหลอมเหลว 590 C ที่ 43 บรรยากาศ 3. มีความหนาแน่น 2.34 g/cm3 4. ไม่นำไฟฟ้า 5. ไม่ละลายในน้ำและ CS2 6. ลุกไหม้ในอากาศที่อุณหภูมิ 250 C

ฟอสฟอรัสดำ

[แก้]

ฟอสฟอรัสดำ มีโครงสร้างแบบโครงร่างตาข่าย มีสมบัติดังนี้ 1. เป็นของแข็งสีดำ 2. มีจุดหลอมเหลว 610 C 3. มีความหนาแน่น 2.699 g/cm3 4. เสถียรกว่าฟอสฟอรัสแดง และติดไฟยาก 5. นำไฟฟ้าได้เล็กน้อยเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะนำไฟฟ้าได้ดีขึ้น

ประโยชน์ของฟอสฟอรัส

[แก้]

1. ฟอสฟอรัส สามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง 2. ช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย 3. ฟอสฟอรัส ช่วยบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบได้ มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญไขมันและแป้ง ทำให้ร่างกายมีพลังงานและกระปี้กระเปร่า ประโยชน์ ฟอสฟอรัสแดงใช้ในอุตสาหกรรมทำไม้ขีดไฟ ธูป ประทัด ระเบิดเพลิง หมอกควัน ใช้เตรียม P2O5 เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการเตรียมกรดฟอสฟอริก (H3PO4) ฟอสฟอรัสในรูปฟอสเฟตช่วยทำหน้าที่ ควบคุมความเป็นกรด- เบสในเลือดและของเหลวในร่างกายของสิ่งมีชีวิตใช้ทำปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต Ca(H2PO4) 2 ใช้ทำสารฆ่าแมลงพวกออแกโน-ฟอสเฟต ซึ่งสลายตัวได้ง่าย ใช้ผสมในผงซักฟอกเพื่อช่วยกำจัดไอออนในน้ำกระด้าง ช่วยปรับสภาพความเป็นเบสของน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการซักล้างและยังช่วยจับกับสิ่งสกปรกอื่นไม่ให้กลับไปจับกับเสื้อผ้าได้อีก

คำแนะนำในการรับประทานฟอสฟอรัส

[แก้]

• ฟอสฟอรัส ในรูปแบบอาหารเสริม อาหารเสริมจากธรรมชาติที่มีฟอสฟอรัสสูงก็คือ โบนมีล (Bonemeal) แต่ควรเลือกที่มีวิตามินดีรวมอยู่ด้วย เพื่อช่วยในการดูดซึม และข้อสำคัญ ไม่ควรมีสารตะกั่วเจือปน • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานสำหรับผู้ใหญ่ต่อวันคือ 800 – 1,200 มิลลิกรัม และสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรรับประทานมากกว่า 1,200 มิลลิกรัม ต่อวัน • ควรรับประทานแคลเซียมเป็น 2 เท่าของฟอสฟอรัส • สำหรับผู้สูงอายุ หรือมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ที่มักรับประทานเนื้อสัตว์ ควรหันมารับประทานผักใบเขียวและดื่มนมแทน เพราะในช่วงที่อายุมากไตจะไม่สามารถขับฟอสฟอรัสออกมาได้ดีเท่าที่ควร จึงส่งผลให้แคลเซียมต่ำลง • สำหรับผู้ที่รับประทานฟอสฟอรัสมากเกินไป อาจทำให้แร่ธาตุในร่างกายเสียสมดุลและทำให้แคลเซียมลดลง ซึ่งโดยทั่วไปอาหารที่เรารับประทานก็มักมีฟอสฟอรัสสูงอยู่แล้ว ดังนั้นแนวโน้มว่าจะพบการขาดแคลเซียมจึงเป็นไปได้สูง ดังนั้น ควรพยายามปรับการรับประทานอาหารให้เหมาะสมด้วย

ธาตุอาหารพืชฟอสฟอรัส

[แก้]

ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับไนโตรเจน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H2PO4- และ HPO4-) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก ดังนั้นจึงมักจะมีปัญหาเสมอว่าดินถึงแม้จะมีฟอสฟอรัสมากก็จริงแต่พืชก็ยังขาดฟอสฟอรัส เพราะส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำยากนั่นเอง นอกจากนั้นแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินชอบที่จะทำปฏิกิริยากับอนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้เมื่อใส่ลงไปดินประมาณ 80-90% จะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากไม่อาจเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตจึงไม่ควรคลุกเคล้าให้เข้ากับดินเพราะยิ่งจะทำให้ปุ๋ยทำปฏิกิริยากับธาตุต่าง ๆ ในดินได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ควรจะใส่แบบเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ลึกลงไปในดินในบริเวณรากของพืช ปุ๋ยฟอสเฟตนี้ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกับรากก็จะไม่เป็นอันตรายแก่รากแต่อย่างใด ปุ๋ยคอกจะช่วยป้องกันไม่ให้ปุ๋ยฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินและสูญเสียความเป็นประโยชน์ต่อพืชเร็วจนเกินไป

อ้างอิง

[แก้]

[1]

  1. http://www.kme10.com/mo4y2552/mo403/noname21.htm