ผู้ใช้:Nickaloha/ทดลองเขียน
ยินดีต้อนรับสู่ หน้าวิกิกระดาษทด หน้านี้เปิดโอกาสให้คุณได้ทดลองเขียน ลองแก้ไข ลองคำสั่ง เริ่มการแก้ไขได้โดยการกด ที่นี่ หรือเลือก แก้ไข ในส่วนบนสุดของหน้านี้ เมื่อได้ลองทำการแก้ไขเสร็จแล้วอย่าลืมกด "ดูตัวอย่าง" และหลังจากนั้นกด "บันทึก" ในด้านล่างของหน้า และคุณจะได้เห็นสิ่งที่คุณได้ลองทำลงไป เนื่องจากหน้านี้เป็นหน้าทดลองเท่านั้น ข้อความในหน้าจะถูกลบออกเป็นระยะ
รายละเอียดเพิ่มเติม:
หรือคุณสามารถทดลองใช้หน้ากระดาษทดอื่น ๆ ได้ที่: ทดลองเขียน | ทดลองแก้ไข | ทดลองจัดรูปแบบ | ทดลองใส่วิกิพีเดียลิงก์ | ทดลองใส่แหล่งข้อมูลอื่น |
โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม | |
---|---|
Maerimwittayakom School |
โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม ( Maerimwittayakom School) เป็นโรงเรียนสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 668 หมู่ที่ 1 บ้านน้ำงาม ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50180 โทรศัพท์ 860292 โทรสาร 297520 โรงเรียนแห่งนี้มีอายุแล้ว 40 ปี
ประวัติ
[แก้]วันที่ 7 เมษายน 2514 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคมได้เริ่มก่อตั้งขึ้น ตามคำสั่งกระทรวง ศึกษาธิการ โดยให้ทางอำเภอแม่ริม มีนายเอิบ สโรบล นายอำเภอแม่ริม นายรังสรรค์ เลสัก ศึกษาธิการอำเภอแม่ริม ร่วมกับกำนันตำบลริมใต้ นายคำปัน ตุ้ยคำภีร์ หาสถานที่ก่อสร้าง โรงเรียนซึ่งในบริเวณอำเภอแม่ริมมีที่ของราชพัสดุกระทรวงการคลังอยู่ 2 แห่ง คือบริเวณหน้าแผนกกองพันสัตว์ต่าง ตำบลแม่สา กับบริเวณที่ตั้งปัจจุบัน คณะกรรมการอำเภอตกลงเลือกบริเวณที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อที่ 34 ไร่ 78 ตารางวา จึงขอใช้ที่ราชพัสดุนี้จากกระทรวงการคลัง และกระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 6,000 บาท สำหรับปรับปรุง พื้นที่รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากพ่อค้า ประชาชนและส่วนราชการต่าง ๆ ปรับพื้นที่จนสำเร็จเรียบร้อย กรมสามัญศึกษาได้ให้งบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 จำนวน 4 ห้องเรียน (เต็มรูปแบบ 16 ห้องเรียน) บ้านพักครู 2 หลัง ห้องน้ำห้องส้วม 1 หลัง พร้อมกันนี้ทางอำเภอแม่ริมได้รับงบประมาณจากกรมพลศึกษา ให้สร้างสนามฟุตบอลและศาลาที่พักนักกีฬาจึงมา จัดสร้าง ณ โรงเรียนแม่ริมเปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นแรกปีการศึกษา 2514 ได้นักเรียน 81 คน 2 ห้องเรียน ครู 4 คน โดยมีนายชำนาญ จินตสกุล เป็นครูใหญ่ ได้อาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านริมใต้ เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว และได้ย้ายมาเรียนยังที่ตั้งปัจจุบันในปีการศึกษา 2515 เริ่มแรกใช้ชื่อ โรงเรียนแม่ริม อักษรย่อ "ม.ร." ในปีการศึกษา 2520 ได้เติมชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม ใช้อักษรย่อ "ม.ร.ว." จนถึงปัจจุบัน
รายละเอียด
[แก้]- มีเนื้อที่ทั้งหมด 34 ไร่ 78 ตารางวา
ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนแม่ริมวิทยาคม
[แก้]- ตราโรงเรียน รูปช้างสองเชือกหันหน้าไปทางขวาและซ้าย ตรงกลางเป็นรูปสองมือประคองเสมาธรรมจักร และมีรัศมีอยู่เหนือเสมาธรรมจักร
- ช้างสองเชือก ความมีพลังอำนาจ และความเข้มแข็งในการจัดการศึกษาของโรงเรียนแม่ริมวิทยาคม
- สองมือประคองเสมาธรรมจักร ความร่วมมือสามัคคีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนแม่ริมวิทยาคม
- รัศมี ความเจริญก้าวหน้า ความสำเร็จ ความมีคุณภาพของนักเรียน โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม
ระดับมัธยมปลาย
[แก้]- แผนกมัธยมปลายมีแผนการเรียนที่เปิดในช่วงชั้นที่4 ม.4-ม.6 ดังนี้
- วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- อังกฤษ - คณิตศาสตร์
- อังกฤษ - ฝรั่งเศส
- ภาษาไทย - สังคมวิทยา
- อังกฤษ - จีน
คณะสี
[แก้]โรงเรียนแม่ริมวิทยาคมได้แบ่งนักเรียนออกเป็นคณะสีต่างๆได้แก่ คณะสีพยับเฆม คณะสีฉัตรมรกต คณะสีโสมส่องแสง คณะสีตะวันฉาน คณะสีฑิฆัมพร และมีการแข่งขันกีฬาภายในภายใต้ชื่อว่า "ดารารัศมีเกมส์"
โครงการเด่นของโรงเรียน
[แก้]- ห้องน้ำเพื่อชีวิต
- ห้องน้ำเพื่อชีวิต
- ลีลาวดี บิวตี้แคร์
โครงการลีลาวดีเริ่มต้นขึ้นจากการที่นักเรียนกลุ่ม หนึ่งรวมตัวกันขึ้น โดยมีจุดประสงค์ที่ จะหารายได้ในระหว่างเรียน เนื่องจากส่วนหนึ่งของนักเรียนในกลุ่มนี้ มีปัญหาทางด้านค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันเนื่องจากมีปัญหาครอบครัว พ่อแม่แยกทางกัน บางคนพ่อหรือแม่เสียชีวิต หรือบางคนไม่มีทั้งพ่อและแม่ ต้องอาศัยอยู่กับมูลนิธิบ้าง และในกลุ่มนี้ยังมีนักเรียนที่ไม่มีปัญหาครอบครัวใดๆ แต่ต้องการเรียนรู้และฝึกประสบการณ ์ด้วยใจรักและเพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต ในปีการศึกษา 2547 ทางโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกลงเรียนวิชาชีพ ที่นักเรียนชอบและถนัด โดยเปิดเป็นลักษณะ OSOP ( One Student One Product หรือ One School One Product และ One Opportunity One Product) โดยนำเข้าสู่โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษและ ทักษะการทำงานของนักเรียน (ว.02) นักเรียนที่สนใจกลุ่มดังกล่าวข้างต้นได้สมัครเข้ามาเรียน OSOP เสริมสวยสระ ไดร์ โดยนักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการในการทำงาน ในรูปแบบต่างๆ เช่น การผลิต การจำหน่าย การให้บริการ การเงิน และการบัญชี การจัดการ ปรากฏว่านักเรียนมีความตั้งใจเรียนและฝึกปฏิบัติจนสามารถทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหารายได้ในคาบการเรียน OSOP นี้โดยนักเรียนได้ให้บริการทางด้าน สระผม เซทผม ถอนงอก ในเบื้องต้นผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ก็คือ คณะครู บุคลากร และนักเรียนในโรงเรียนซึ่งจะมารับบริการในคาบที่มี OSOP คือ 2 คาบสุดท้ายในวันศุกร์ ต่อมาก็มีครูอาจารย์ และนักเรียน ต้องการใช้บริการเพิ่มขึ้น จึงได้เปิดบริการในช่วงพักรับประทานอาหารกลางวันอีกช่วงหนึ่ง จากการทำงานที่ผ่านๆมาทำให้พบปัญหาในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะในเรื่องของเวลา และอาคารสถานที่ อุปกรณ์ไม่เพียงพอที่จะให้บริการแก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการ เนื่องจากมีข้อจำกัด เพราะสถานประกอบการอยู่ในสถานศึกษา และข้อจำกัดในเวลาเรียนของนักเรียน ทางโครงการได้นำเสนอปัญหาต่อ ทางโรงเรียนตลอดมาด้วยข้อจำกัดดังกล่าวทางโรงเรียน ได้พยายามแก้ไขปัญหาและหาทางสนับสนุนโครงการให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ อย่างสมบูรณ์แบบภายในสถานศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ นำไปสู่การพัฒนาและการแก้ปัญหาโดยสามารถมองเห็นจุดเด่นจุดด้อย ของการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต
ผลงานที่มีชื่อเสียง
[แก้]Bayer Young Environmental Envoy Award (รางวัลไบเออร์ยุวทูตเพื่อ สิ่งแวดล้อม 4 ปีซ้อน)
[แก้]- ผลงานจากการเรียนรู้แบบบูรณาการโครงการเสริมสร้าง สิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน เรื่อง "รักษ์ แม่สา เพื่อการพัฒนาแม่ริม"ได้รับความร่วมมือจากครูผู้สอนทุกกลุ่ม สาระ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงการบูรณาการ ในหน่วย "รักษ์แม่สา" ได้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์สภาพปัญหา และสร้างความตระหนักในกลุ่มชนลุ่มน้ำสา โดยรูปแบบของการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการและขยายผลสู่ชุมชน เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์สังคม จนได้รับการยกย่องระดับประเทศ ดังนี้
- 1) รางวัลของครูผู้พัฒนากิจกรรม ครูศิราภรณ์ จันทรสิริกุล ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดหน่วยบูรณาการการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 "ถ้วยรางวัลพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี" เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2549
- 2) รางวัลไบเออร์ยุวทูตเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย 4 ปีการศึกษาติดต่อกัน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 - 2549 ส่งผลให้นักเรียนได้รับคัดเลือกเป็นยุวทูตผู้แทนประเทศไทยไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี คือ
-
- นางสาวดรุณี พิงคำ (ไบเออร์ยุวทูตฯ ปี 2546 )
- นางสาวอรอนงค์ เมธาอนันต์กุล (ไบเออร์ยุวทูตฯ ปี 2547 )
- นายวัฒนา ดวงหทัย (ไบเออร์ยุวทูตฯ ปี 2548 )
- นายมงคล จงเอื้อกลาง (ไบเออร์ยุวทูตฯ ปี 2549 )