ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Nattapumin.ment/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ประวัติส่วนตัว[แก้]

นายณัฐภูมินทร์ ชุ่มวงจันทร์ (Mr.Nattapumin Chumwongjan) ชื่อเล่น เม่น (ment)
เกิดวันศุกร์ ที่ 31 ธันวาคม 2536 (ปีระกา อายุ 21 ปี) ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 144 หมู่ 3 ตำบล โชคชัย
อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30190

ประวัติการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน - 2556 // สาขา ระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์กลางนครราชสีมา วุฒิ ปริญญาตรี

2556 – 2553 // แผนก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา วุฒิ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช)

2553 – 2549 // แผนการเรียน ทั่วไป โรงเรียน โชคชัยสามัคคี วุฒิ มัธยมต้น

2549 – 2543 // โรงเรียนโชคชัยพรหมบุตรบริหาร วุฒิ ประถมศึกษา

2543 – 2541 // โรงเรียนโชคชัยพรหมบุตรบริหาร วุฒิ อนุบาล

ตำแหน่งงานด้านไอที[แก้]

คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphic) เป็นสายงานที่ใช้ความคิดที่สร้างสรรค์เพื่อที่จะออกแบบวัตถุต่างๆ เช่น ออกแบบเว็บ ภาพยนตร์ ป้าย และอื่นๆ เป็นต้น


บทความด้านไอที[แก้]

วิธีง่ายๆ กับการจัดการ Chrome Bookmark bar ให้อยู่หมัด[แก้]

Bookmark bar ที่อยู่บน Google Chrome เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การใช้งานและเข้าถึงเว็บไซต์ที่ใช้งานบ่อยหรือเว็บสุดโปรดได้รวดเร็วขึ้น
โดยเฉพาะคนที่มีเว็บไซต์ที่ใช้งานบ่อย การต้องพิมพ์ URL ทุกครั้งก็คงจะไม่สนุกนัก เพียงแต่การใช้งาน Bookmark bar ก็คงต้องอาศัยการ
จัดเตรียมและปรับแต่งเล็กน้อย เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ จัดวาง URL ที่ชอบหรือปรับให้เหมาะสมกับการทำงาน
ให้มากที่สุด ซึ่งผู้ใช้เลือกแก้ไขสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง

จัดเก็บ URL ของเว็บไซต์โปรดเอาไว้บน Bookmark bar : โดยปกติเราจะสามารถเลือกเก็บ URL หรือลิงก์เว็บไซต์ที่ชื่นชอบสุดโปรดเอาไว้บน
Bookmark bar ได้จากการที่คลิกเมาส์ที่ไอคอนด้านขวาบนหลังช่อง Assress bar แล้วเลือกที่ Bookmarks และเลือกที่ Bookmarks bar

แต่ก็มีอีกทางเลือกที่ง่ายกว่านั้น สำหรับจับเอาเว็บที่ชอบนั้นมาใส่ไว้บน Bookmark bar ด้วยการเปิดไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการ จากนั้นคลิก
เมาส์ซ้ายค้างไว้ที่ไอคอนหน้า Address bar จากนั้นลากลงมาไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ของ Bookmark bar เท่านี้ก็พร้อมสำหรับการใช้งานได้แล้ว

ส่วนถ้าเป็นเว็บไซต์ที่เคยทำ Bookmark เอาไว้แล้ว แต่ต้องการที่จะนำมาไว้บน Bookmark bar ก็ให้คลิกขวาที่ว่างๆ บน Bookmark bar
จากนั้นเลือก Add page แล้วเลือก Link URL ที่เคยเก็บเอาไว้ คลิก Save ก็ใช้งานได้แล้ว

ส่วนถ้าต้องการจัดตำแหน่งให้อยู่ในส่วนที่ใช้งานง่าย เช่น การเลื่อนมาไว้ทางด้านหน้าสุด ซ้ายสุด ขวาสุด ก็เพียงคลิกซ้ายค้างไว้ที่ URL
ของเว็บไซต์ที่ต้องการ แล้วเลื่อนตำแหน่งไปยังทางด้านซ้ายหรือขวา เมื่อได้ตามต้องการให้ปล่อยที่คลิกค้างไว้ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

ในกรณีที่ต้องการจัดการบนแถบ Bookmark bar ด้วยการลดจำนวนของเว็บที่เก็บเอาไว้ลงบ้าง เพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็น ก็เลือก Delete ได้ทันที

แต่ถ้าต้องการจัดการกับ URL ทั้งหมดที่เคยจัดเก็บเอาไว้เป็น Bookmark ให้คลิกเมาส์ที่ไอคอนด้านขวาบนหลังช่อง Assress bar แล้วเลือกที่
Bookmarks และเลือกที่ Bookmarks Manager

กำจัดไวรัส ที่มากวนใจด้วย Norton Power Eraser[แก้]

Norton Power Eraser เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสแกนไวรัส ซึ่งเน้นที่การทำงานร่วมกับเบราว์เซอร์ได้ดี ได้การปรับปรุงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
เรียกได้ว่าแทบจะอยู่คู่กับคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตบ่อยๆ และมีความเสี่ยงกับการใช้งานธุรกรรมออนไลน์ ด้วยเครื่องมือสำหรับการป้องกัน ซึ่งสามารถทำงานร่วมกัน
กับเบราว์เซอร์ได้ดี และไม่ดึงทรัพยากรมากเกินไปจนเครื่องทำงานช้าลง Norton Power Eraser ในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้
สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://security.symantec.com/nbrt/npe.aspx

1. เมื่อติดตั้งแล้ว เปิดโปรแกรมขึ้นมาทำงาน จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เฟสแทบจะไม่มีความวุ่นวาย เพราะมีแค่ปุ่ม Scan และฟังก์ชั่นการตั้งค่าเท่านั้น
หากต้องการใช้งานก็แค่คลิก Scan of Risk เท่านั้น

2. ส่วนถ้าต้องการเลือกสแกนแยกในแต่ละส่วน สามารถเลือกที่ฟีเจอร์พิเศษ ใน Advanced Options จากเมนูด้านขวาได้ทันที โดยในส่วนของ
Advance Options นั้น มีฟังก์ชั่นการทำงานให้เลือกใช้มากมาย ประกอบด้วย
• Repution Scan สแกนการเชื่อมต่อไฟล์บน Cloud
• System Scan สแกนไฟล์ระบบ
• Multi-Boot Scan สแกนระบบกรณีที่ใช้งาน Multiple Windows
• Unwanted Application Scan สแกนการทำงานของเบราว์เซอร์

3. เมื่อเลือกการสแกนปกติ จะมีให้เลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการตรวจสอบ

4. ขณะที่โปรแกรมทำการสแกน ซึ่งใช้เวลาไม่นาน แม้จะมีไฟล์จำนวนมากก็ตาม

5. เมื่อสแกนเสร็จสิ้น ก็จะมีรายงานให้เราได้ทราบข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ โดยที่เราสามารถแก้ไขด้วยการ Fix Now ได้จากหน้านี้

แรมเสียดูอย่างไร ตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง[แก้]

การที่ใช้แรมไปนานๆ โอกาสที่เกิดความผิดพลาดในการใช้งานหรือเกิดความเสียหายระหว่างการติดตั้งเคลื่อนย้าย ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ โดยบางครั้ง
ก็แสดงอาการผิดปกติมาให้เห็นทันทีที่เริ่มใช้งาน แต่บางครั้งก็มีอาการต่อเมื่อมีการเรียกใช้งานแรมอย่างเต็มกำลัง อย่างไรก็ดีทั้งหมดนี้เมื่อเกิดปัญหาขึ้น
ก็ต้องวิเคราะห์ให้ออกว่าเกิดจากสาเหตุใด

ในเรื่องของอาการที่เมื่อแรมมีปัญหา เกิดขึ้นได้ไม่หลากหลายนัก ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากการไม่บูตระบบ การเด้งออกจากโปรแกรมหรือเครื่องช้าลงกว่าเดิม
แบบเห็นได้ชัด ไม่ใช่ว่าแรมทำงานช้าลง แต่เป็นเพราะแรมที่เสียนั้นไม่ทำงานนั่นเอง แรมที่มีอยู่เลยน้อยลงไป

วิธีการตรวจเช็คในเบื้องต้นก็ทำได้โดย การเปิด System ด้วยการคลิกขวาที่ My Computer แล้วเลือก Properties หรือหากเป็น Windows 8 ขึ้นไป
ให้คลิกขวาที่มุมล่างซ้ายของหน้าจอ แล้วเลือก System ดูในส่วนของแรม ว่ามีจำนวนครบตามที่ติดตั้งไว้หรือไม่

การใช้วิธีเรียกใช้ Windows Memory Diagnostic ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มากับ Windows ในการตรวจสอบความผิดปกติในการทำงานของแรมได้ วิธีการใช้ก็เพียงพิมพ์
Memory ในช่อง Smart Search จากนั้นเลือก Windows Memory Diagnostic ระบบจะให้รีสตาร์ทหนึ่งครั้ง จากนั้นก็เข้าสู่โหมดการทำงานได้ทันที หากเกิดความ
ผิดพลาดในจุดใด ระบบจะรายงานให้ได้ทราบ

อีกวิธีหนึ่งในการตรวจเช็คแรมว่าสามารถทำงานได้ตามปกติหรือไม่ ก็คือ การเปิดหน้าต่างโปรแกรมขึ้นมาจำนวนมาก เพื่อลองโหลดการทำงานของแรม
ในกรณีที่เมื่อใช้งานไปแล้ว มีอาการโหลดค้างหรือบางครั้งเกิดบลูสกรีน ให้ลองรีสตาร์ทเครื่อง แล้วเปิดโปรแกรมขึ้นมาโหลดการใช้งานของแรมดูอีกครั้ง
เพื่อเช็คว่าเกิดปัญหาจากแรมหรือไม่

LAN TOPOLOGY[แก้]

โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)[แก้]

โทโปโลยีแบบบัส บางทีก็เรียกว่า Linear bus เพราะมีการเชื่อมต่อแบบเส้นตรงซึ่งเป็นลักษณะการเชื่อมต่อที่ง่ายที่สุด
และเป็นโทโปโลยีที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยแรกๆ

ไฟล์:Bus topology 1.png

ลักษณะการส่งข้อมูล
การส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งสัญญาณนี้จะเดินทางไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับสื่อกลางบัสแต่ เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องที่มีอยู่ตรงกับ
ที่อยู่ของผู้รับที่อยู่ในข้อมูลเท่านั้น จึงจะนำข้อมูลนั้นไปทำการโพรเซสส์ต่อไป ส่วนเครื่องอื่นๆ ก็จะไม่สนใจข้อมูลนั้น
เนื่องจากสายสัญญาณเป็น สื่อกลางที่ใช้ร่วมกัน ดังนั้น คอมพิวเตอร์แค่เครื่องเดียวเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง
ข้อดี
1.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
2.มีโครงสร้างง่ายและระบบก็มีความน่าเชื่อถือเพราะใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
3.ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ
ข้อเสีย
1.การตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก
2.ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบ ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้

โทโปโลยีแบบดวงดาว (Star Topology)[แก้]

โทโปโลยีแบบดวงดาว (Star Topology) นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์รวมศูนย์ที่เรียกว่า “ ฮับ”

ไฟล์:Star topology 1.png

โดยการเชื่อมต่อแบบดวงดาวคือ เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องใด จะส่งข้อมูลก็จะส่งไปที่ฮับก่อน แล้วฮับจะทำหน้าที่กระจายข้อมูลไปยังทุกเครื่อง
ที่เชื่อมเข้ากับฮับ

ข้อดี
- ง่ายในการให้บริการ
- อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่ง 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ในระบบไม่มีผลกระทบต่อการทำงานในจุดอื่นๆ
- ตรวจหาข้อผิดพลาดได้ง่าย
ข้อเสีย
-ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมาก
-ถ้าจุดศูนย์กลางเกิดการเสียหาย จะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถจะทำงานได้

โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)[แก้]

โทโปโลยีแบบวงแหวนนี้จะใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นห่วงหรือวงแหวน การเชื่อมต่อแบบนี้สัญญาณจะเดินทางเป็นวงกลมในทิศทางเดียว
และจะวิ่งผ่านคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องซึ่งจะทำหน้าที่ทวนสัญญาณไปในตัวแล้วส่งผ่านไปเครื่องถัดไป ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดหยุดทำงาน
ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายล่มเช่นกัน การส่งต่อโทเคน (Token Passing) วิธีที่จะส่งข้อมูลในโทโปโลยีแบบวงแหวนเรียกว่าการส่งต่อโทเคน โทเคนเป็นข้อมูลพิเศษ

ไฟล์:Ring topology 1.jpg

ที่ส่งผ่านในเครือข่ายแบบวงแหวน แต่ละเครือข่ายจะมีเพียงโทเคนเดียวเท่านั้น โทเคนนี้จะส่งต่อกันไปเรื่อยๆ สำหรับเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลเมื่อได้รับโทเคน
แล้วก็จะมีสิทธิ์ที่จะส่งข้อมูล การส่งข้อมูลก็ทำได้โดยใส่ที่อยู่ของเครื่องรับไว้ในข้อมูลแล้วส่งต่อๆ กันไป เมื่อข้อมูลมาถึงเครื่องปลายทางหรือเครื่องที่มีที่อยู่ตรงกับ
ที่ระบุในเฟรมข้อมูล เครื่องนั้นก็จะนำข้อมูลไปโพรเซสส์ และส่งเฟรมข้อมูลตอบรับกลับไปยังเครื่องส่งเพื่อบอกให้ทราบว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เมื่อเครื่องส่งได้รับ
การตอบรับแล้ว ก็จะส่งผ่านโทเคนต่อไปยังเครื่องถัดไป เพื่อเครื่องอื่นจะได้มีโอกาสส่งข้อมูลบ้าง
ข้อดี
-ใช้สายส่งข้อมูลน้อยจะใกล้เคียงกับแบบ Bus
-ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
-ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ
ข้อเสีย
-ถ้าจุดใดจุดหนึ่งเสียหายจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้
-ยากในการตรวจสอบข้อผิดพลาด

โทโปโลยีแบบเมซ (Mesh Topology)[แก้]

ไฟล์:Mesh-topology 1.jpg

โทโปโลยีเมซคือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบสมบูรณ์ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะเชื่อมต่อถึงกันหมดโดยใช้สายสัญญาณทุกการเชื่อต่อ
วิธีการนี้จะเป็นการสำรองเส้นทางเดินทางข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้าสายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่งขาด ก็ยังมีเส้นทางอื่นที่สามารถส่งข้อมูลได้ นอกจากนี้
ยังเป็นระบบที่มีความเชื่อถือได้สูง แต่ข้อเสียก็คือ เครือข่ายแบบนี้จะใช้สัญญาณมาก ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบก็เพิ่มขึ้น ในการเชื่อมต่อจริงๆ
นั้นการเชื่อมต่อแบบเมซนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
ข้อดี
-การมีเส้นทางสำรองข้อมูล จึงได้มีการประยุกต์ใช้การเชื่อมต่อแบบเมซบางส่วน หรือการเชื่อมต่อแบบเมซที่ไม่สมบูรณ์ กล่าว คือ จะเชื่อมต่อเฉพาะสิ่งที่จำเป็น
หรือสำคัญเท่านั้น
ข้อเสีย
-การเชื่อมต่อหลายจุด

WAN TECHNOLOGY[แก้]

เครือข่ายเซอร์กิตสวิตช์ circuit switching[แก้]

ลักษณะที่สำคัญ คือก่อนจะเริ่มส่งข้อมูลจะต้องกำหนดเส้นทางการส่งข้อมูลก่อน โดยต้นทางจะมีการร้องขอ (Request) ว่าจะส่งข้อมูลให้ และปลายทางจะต้องตอบรับ (Acknowledge)
ว่าพร้อมจะรับข้อมูลนั้น ดังนั้นจึงสูญเสียเวลาช่วงหนึ่งสำหรับการติดต่อนี้ ก่อนเริ่มส่งข้อมูลกันจริงๆ ตัวอย่างของเครือข่ายเซอร์กิตสวิตช์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในปัจจุบันคือ
เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ ข้อเสียของการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเซอร์กิตสวิตช์คือ เนื่องจากเทอร์มินัลอื่นไม่สามารถเข้ามาร่วมใช้สายเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ และเวลาส่วนหนึ่ง
จะสูญเสียไปกับการร้องขอและการตอบรับการส่งข้อมูล ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับการส่งไฟล์ข้อมูลที่ต่อเนื่อง และใช้งานตลอดเวลา เช่น ระบบ ATM ระบบการเงิน ตลาดหลักทรัพย์
บริการดาต้าเนต

เครือข่ายแมสเสดสวิตช์ Message switching[แก้]

การส่งข้อมูลในเครือข่ายแมสเสดสวิตช์จะเหมาะสำหรับการส่งข้อมูลแบบ ดิจิตอล ซื่งผู้ส่งจะส่งข้อมูลไปทีละบล็อกข้อมูลซื่งเรียกว่า แมสเสด (Message) ตัวอย่างของแมสเสดได้แก่ โทรเลข
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Email) หรือไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ บางครั้งเราเรียกเครือข่ายแมสเสดสวิตช์นี้ว่า " เครือข่าย store - and - forward "

เครือข่ายแพ็กเกจสวิตช์ Packet switching[แก้]

การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเกจสวิตช์ ขนาดของบล็อกของข้อมูลจะถูกจำกัดขนาด จึงจำเป็นต้องแบ่งบล็อกข้อมูลออกเป็นแพ็กเกจ (Packet) เพื่อทำให้มีขนาดเล็กลงในการส่งข้อมูลนั้น
ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละแพ็กเกจเรียงลำดับตามกันโดยแต่ละสถานีจะเป็น store - and - forward หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในแพ็กเกจใดสถานีสวิตช์ชิ่งนั้นก็จะทำการ้องขอให้สถานีก่อน
หน้านั้นส่งเฉพาะแพ็กเกจที่ผิดพลาดนั้นมาใหม่ ลักษณะอย่างหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับเครือข่ายแพ็กเกจสวิตช์คือการเลือกการจัดวงจร (เส้นทาง) ของข้อมูลเป็นแบบ วงจรเสมือน (Virtual Circuit)
และแบบ วงจรดาต้าแกรม (Datagram Circuit)

ข้อดีของการสื่อสารข้อมูลแบบผ่านเครือข่ายแพ็กเกจสวิตช์ ได้แก่
1.ก่อนเริ่มต้นการส่งข้อมูล วงจรไม่จำเป็นต้องมีการยืนยันการตอบรับจากคู่สายก่อน อย่างเช่น เครือข่ายเซอร์กิตสวิตช์
2.ข้อมูลจะถูกส่ง เป็นแพ็กเกจขนาดไม่ใหญ่นัก ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นทำให้ไม่เสียเวลามากนั้นในการส่งให้ใหม่
3.สามารถตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขี้นได้ง่าย
4.การกำหนดวงจรหรือเส้นทางก็ไม่จำเป็นต้องตายตัว จึงมีความยืดหยุ่นกว่าเครือข่ายแบบเซอร์กิตสวิตช์และแบบแมสเสดสวิตช์

OSI model + TCP/IP model[แก้]

OSI Model[แก้]

คือ องค์ประกอบ ที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเพียงชั้นเดียวจากจำนวน 7 ชั้นแล้วนำไปใช้งานร่วมกับชั้นอื่นที่มีการพัฒนาไว้แล้วโดยหลักการแต่ละชั้นจะติดต่อกับชั้นในระดับเดียวกันที่อยู่บนเครื่องอีก เครื่องหนึ่ง

Open Systems Interconnection (OSI) จัดตั้งและกำหนดโดย องค์การกำหนดมาตรฐานสากล หรือ ISO ( International Standards Organization ) เริ่มนำมาใช้งานราว ๆ กลางปี ค.ศ. 1970 และใช้อ้างอิงมาจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมาย
เพื่อเปิดช่องทางให้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ รับส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบเดียวกันหรือต่างระบบได้โดยอิสระ ไม่ขึ้นกับผู้ผลิตสร้างการทำงานที่เป็นระบบเปิด (Open System)

แนวคิดของการกำหนดมาตรฐานเป็นแบบชั้นสื่อสาร (layers) คือ
1.ชั้นสื่อสารแต่ละชั้นถูกกำหนดขึ้นมาตามบทบาที่แตกต่างกัน
2.แต่ละชั้นสื่อสารจะต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างดียิ่ง
3.แต่ละฟังก์ชั่นในชั้นสื่อสารใดๆจะต้องกำหนดขึ้นมาโดยใช้แนวความคิดใน ระดับสากลเป็นวัตถุประสงค์หลัก

TCP/IP[แก้]

TCP/IP Model มีแนวคิดพื้นฐานแตกต่างจาก OSI Model คือไม่ได้มีพื้นฐานของการสื่อสารแบบการสนทนา TCP/IP Model เป็นภาพแสดงถึงโลกของระบบเครื่อข่ายสากล (Internetworking)
จะพบว่ามีบางเลเยอร์ที่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เทียบได้ไกล้เคียงกัน แต่บางเลเยอร์ก็ไม่สามารถเทียบหาความสัมพันธ์กัน

1. Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ
2. Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล
3. Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป
4. Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model