ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Nattape3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การออกแบบการจัดการเรียนรู้[แก้]

การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ดีและมีคุณภาพนั้น ผลที่ปรากฏได้ชัดเจนคือ ตัวผู้เรียนนั่นเอง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้นั้นต้องมีการออกแบบเป็นอย่างดี รัดกุม และรอบคอบ เพื่อมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง กระทั่งนำไปสู่การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญและมีความจำเป็นของครูผู้สอน เนื่องจากแผนการจัดการเรียนรู้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้สอนได้จัดทำขึ้นไว้ล่วงหน้าทำให้ผู้สอนมีความพร้อมและมั่นใจว่าจะสอนได้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้และสามารถดำเนินการสอนได้อย่างราบรื่น

การออกแบบการจัดการเรียนรู้

o  ความหมายของการออกแบบการจัดการเรียนรู้

o  แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้

o  แนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้

o  ขั้นตอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

o  ความหมายและความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้

o  องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้

o  ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

o  ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้


1. การออกแบบการจัดการเรียนรู้[แก้]

1.1 ความหมายและความสำคัญของการออกแบบการจัดการเรียนรู้[แก้]

ความหมายของการออกแบบการจัดการเรียนรู้

         ชนาธิป พรกุล (2555)[1] ได้ให้ความหมายของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ว่าเป็นการออกแบบการเรียนการสอนเป็นการวางเค้าโครงของการสอนทำให้เห็นภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนเป็นขั้นตอน การเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสอน วิธีสอน เทคนิคการสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้

สมจิตร จันทร์ฉาย (2557)[2] กล่าวว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีลักษณะที่สำคัญ คือ

เป็นกระบวนการที่เป็นระบบที่นำมาใช้ในการศึกษาความต้องการของผู้เรียนและปัญหาการเรียนการสอนเพื่อแสวงหาแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่หรือสร้างสิ่งใหม่โดยนำหลักการเรียนรู้และหลักการสอนมาใช้ในการดำเนินการ เป้าหมายของการออกแบบการเรียนการสอน คือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

สรุปได้ว่า การออกแบบการจัดการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นลักษณะการวางโครงสร้างในภาพรวมของการเรียนการสอน อย่างเป็นระบบตั้งแต่ศึกษาหน่วยการเรียนรู้ ไปจนถึงการวัดผลและประเมินผล โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อส่งผลให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาการเรียนรู้ตามที่กำหนดเป้าหมายไว้

ความสำคัญของการออกแบบการจัดการเรียนรู้

อภิณห์พร สถิตภาคีกุล (2561: 109)[3] กล่าวถึงความสำคัญของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อครูผู้สอนและนักเรียน ดังนี้

1. ความสำคัญของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ต่อครูผู้สอน

1.1 เป็นการแสดงถึงความรู้ ความสามารถ ของครูในการประยุกต์และบูรณาการความรู้ ทักษะ เจตคติ และประสบการณ์ในการสอน มากําหนดองค์ประกอบต่าง ๆ ของการจัดการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับ สภาพความต้องการและบริบทของผู้เรียน

1.2 เป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู กล่าวคือเป็นการปฏิบัติงานสอนที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ด้านเนื้อหาวิชาที่สอนวิชาชีพครู ทักษะการคิด การสื่อสาร การแก้ปัญหา ที่ได้รับฝึกฝนมาเป็น เวลานานตามลักษณะของวิชาชีพมากขึ้น

1.3 เป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ พยายามของครูในการพัฒนาตนเองและงานที่รับผิดชอบ

ให้เห็นถึงความรักความปรารถนาดีต่อศิษย์ การอุทิศเวลาเพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมสําหรับการออกแบบ

การจัดการเรียนการสอน

2. ความสำคัญของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ต่อนักเรียน

2.1 เป็นการช่วยผู้เรียนได้เรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และเกิด ประสิทธิผลต่อผู้เรียนมากขึ้น

2.2 ช่วยให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนเพราะได้เรียนจากกิจกรรมที่สอดคล้อง กับพัฒนาการ ความสนใจ และความถนัดมากขึ้น

1.2 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้[แก้]

ในการออกแบบการเรียนการสอนมีหลักการพื้นฐานที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควรคำนึงถึงเพื่อช่วยให้การออกแบบการเรียนการสอนมีคุณภาพ ดังนี้ (Gagné, Wager, Golas, & Keller ; 2005, Smith & Ragan; 1999)[4]

1. คำนึงถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญ การออกแบบการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ มากกว่ากระบวนการสอน ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องพิจารณาผลการเรียนรู้อย่างชัดเจน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการเลือกกระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. คำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ได้แก่ การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เวลาที่ใช้ คุณภาพการสอน เจตคติและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ปัจจัยเหล่านี้ควรนำ

มาพิจารณาในการออกแบบการเรียนการสอน

3. รู้จักประยุกต์ใช้หลักการเรียนการสอน วิธีสอน รูปแบบการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับระดับวัยของผู้เรียนและเนื้อหาสาระ เพื่อให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจในกิจกรรมการเรียนการสอน

4. ใช้วิธีการและสื่อที่หลากหลาย ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควรเลือกใช้สื่อที่ช่วยให้

การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และความแตกต่างในการเรียนรู้ของผู้เรียน

ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น

5. มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเรียนการสอนที่มีคุณภาพควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเริ่มจากการวางแผน การนำไปทดลองใช้จริง และนำผลการทดลองและข้อเสนอแนะจากผู้เรียนมาปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้จะทำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ

6. มีการประเมินผลครอบคลุมทั้งกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียน

ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และน่าสนใจมากขึ้น การประเมินผลผู้เรียนไม่ควรมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อทราบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเท่านั้น แต่ควรให้ได้ข้อมูลที่นำไปพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้

7. องค์ประกอบการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์กัน องค์ประกอบการเรียนการสอน เช่นจุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ควรมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน และเหมาะสมกับผู้เรียนและบริบทการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการ

หลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนที่นำมากล่าวข้างต้นนี้เป็นแนวทางทั่วไปสำหรับนักออกแบบการเรียนการสอนที่เริ่มต้นการทำงานในด้านนี้ได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพและบริบทการเรียนการสอน

1.3 แนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้[แก้]

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์และคณะ (2562)[5] ได้เสนอแนะแนวทางการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ไว้ดังนี้

1. การจัดกิจกรรมเอื้ออำนวยให้เกิดการสร้างความรู้ (Construct) จากความคิดพื้นฐานที่เชื่อว่า ในสมองของผู้เรียนมิได้มีแต่ความว่างเปล่าแต่ทุกคนมีประสบการณ์เดิมของตนเอง เมื่อได้รับประสบการณ์ใหม่สมองจะพยายามปรับข้อมูลเดิมที่มีอยู่โดยการต่อเติมเข้าไปในกรณีที่ข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่ไม่มีความขัดแย้งกัน แต่ถ้าขัดแย้งกันก็จะปรับโครงสร้างของข้อมูลเดิมเพื่อให้สามารถรับข้อมูลใหม่ได้ ซึ่งอาจทำให้โครงสร้างของข้อมูลเดิมเปลี่ยนแปลงไป และถ้าผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความรู้ที่สร้างได้นั้นออกมาด้วยคำพูดของตนเองการสร้างความรู้นั้นก็จะสมบูรณ์ ดังนั้น ถ้าครูสามารถออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำตามแนวความคิดนี้ผู้เรียนก็จะสามารถสร้างความรู้ได้ พฤติกรรมที่ครูควรออกแบบในกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน มีดังนี้

1.1 ให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้เดิม

1.2 ให้ผู้เรียนได้รับ แสวงหา รวบรวมข้อมูล ประสบการณ์ต่าง ๆ

1.3 ให้ผู้เรียนได้ศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจ และสร้างความหมายข้อมูล ประสบการณ์ต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการคิดและกระบวนการอื่น ๆ ที่จำเป็น

1.4 ให้ผู้เรียนได้สรุปจัดระเบียบ โครงสร้างความรู้

1.5 ให้ผู้เรียนได้แสดงออกในสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ

ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั่วไป ครูสามารถออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องตามลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ในขณะที่ให้ความรู้ โดยเปลี่ยนบทบาทจากที่เคยบอกความรู้โดยตรง ให้ผู้เรียนบันทึกหรือคัดลอกเป็นการใช้คำสั่งและคำถามดำเนินกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำเพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยครูเตรียมสื่อการสอนที่เป็นตัวอย่างเครื่องมือหรือการปฏิบัติงานในลักษณะต่าง ๆ เป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เข้าใจ ครูอาจชี้แนะข้อมูลที่ควรสังเกตและวิธีการจัดระบบระเบียบโครงสร้างความรู้ให้ เช่น สอนให้เขียนโครงสร้างความรู้เป็นแผนผังที่ตนเองเข้าใจ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เรื่องใด เช่น ให้อธิบายแผนผังความคิดที่ตนเองเขียนขึ้นตามความเข้าใจหรือให้เล่าถึงสิ่งที่เรียนรู้มา โดยครูใช้คำถามหรือคำสั่งเป็นสื่อและมีการเสริมแรงอย่างเหมาะสม ในภายหลังก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ เกิดความสนุก และต้องการเรียนรู้อีก

2. การจัดกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) คือ การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้กระทำสิ่งต่าง ๆ หรือกระทำบางสิ่งบางอย่างดังต่อไปนี้

2.1 ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ การพูดอภิปรายกับเพื่อน กับครู หรือผู้เกี่ยวข้องกับการทำงาน ผู้ที่สามารถให้ข้อมูลบางอย่างที่ผู้เรียนต้องการได้

2.2 ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น กำหนดให้ผู้เรียนได้สำรวจอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณโรงเรียน

2.3 ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น กำหนดให้ผู้เรียนสังเกต    การกินอาหารของสัตว์ หรือรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของต้นไม้ชนิดต่าง ๆ

2.4 ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางด้านสื่อโสตทัศน์ วัสดุ และเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ให้ผู้เรียนไปหาข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ หรือให้อ่านใบความรู้ใบงาน หรือใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเรียน

3. การจัดกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย (Physical Participation) คือ การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวอวัยวะหรือกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะและความสนใจของผู้เรียน โดยกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวอาจเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้

3.1 กล้ามเนื้อมัดย่อย เช่น การพิมพ์ดีด ร้อยมาลัย พับกระดาษ วาดรูป เย็บผ้า

ใช้ไขควง เขียนแบบเรียงตัวหนังสือ ปฏิบัติการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์

3.2 กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น กิจกรรมย้ายกลุ่ม ย้ายเก้าอี้ จัดโต๊ะ ทุบโลหะ ตอกตะปู     ยกของ ก่ออิฐ ฉาบปูน ขุดดิน ฯลฯ

4. การจัดกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการ คือ การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการศึกษาด้วยตนเอง กระบวนการจัดการ กระบวนการแก้ปัญหาและตัดสินใจ กระบวนการทำงาน หรือกระบวนการอื่น ๆ โดยครูจัดกิจกรรม สถานการณ์ หรือกำหนดให้ผู้เรียนหาข้อมูลหรือความรู้โดยใช้กระบวนการดังกล่าวเป็นเครื่องมือ ผลของการเรียนรู้ นอกจากผู้เรียนจะได้รับรู้ข้อมูลที่ต้องการแล้วยังมีความรู้เกี่ยวกับการใช้กระบวนการเหล่านี้เพื่อหาข้อมูลหรือความรู้อื่น ๆ ได้ด้วยตนเองในโอกาสอื่น ๆ เปรียบเหมือนการให้เครื่องมือในการจับปลากับชาวประมงแทนที่จะเอาปลามาให้ เมื่อชาวประมงมีเครื่องมือจับปลาแล้ว ย่อมหาปลามากินเองได้ หรือวางแผนจัดสรรเวลาของการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือได้ลงมือแก้ไขงานบางอย่างในขณะลงมือปฏิบัติงาน ซึ่งต้องใช้การพิจารณาข้อมูลรอบด้านเพื่อการตัดสินใจ ข้อสำคัญคือ ครูจะต้องช่วยให้ผู้เรียนได้สรุปขั้นตอนในการทำงาน ผู้เรียนต้องบอกได้ว่าการทำงานนี้สำเร็จได้ เขาใช้ขั้นตอนและวิธีการใดบ้าง แต่ละขั้นตอนมีปัญหาและอุปสรรคใด เขาใช้วิธีการใดแก้ปัญหา และได้ผลของการปฏิบัติออกมาอย่างไร พอใจหรือไม่ ถ้ามีการทำงานอย่างนี้อีกในครั้งต่อไปเขาจะปฏิบัติอย่างไร

อีกประเด็นหนึ่งคือ การใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน ต้องแบ่งหน้าที่การทำงาน สมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมทำให้งานชิ้นนั้นสำเร็จ มิใช่ให้ผู้เรียนมานั่งรวมกลุ่มกันแต่ทำงานแบบต่างคนต่างทำ เพราะผู้เรียนจะได้มีโอกาสรู้บทบาทของตนเองในการทำงานร่วมกับคนอื่น ตลอดจนรู้วิธีการจัดระบบระเบียบการทำงานในกลุ่มเพื่อให้งานกลุ่มบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป นักเรียนจะสามารถใช้กระบวนการกลุ่มนี้ในการทำงานกับคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคมที่ผู้เรียนเป็นสมาชิกอยู่ได้

5. การจัดกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการประยุกต์ใช้ความรู้ (Application) คือ การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสได้กระทำสิ่งต่าง ๆ คือ

5.1 ได้นำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ที่หลากหลาย

5.2 ได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนรู้จนเกิดความชำนาญ โดยครูจัดสถานการณ์ แบบฝึกหัด หรือโจทย์ปัญหาให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและเกิดความชำนาญ ในการนำเอาความรู้นั้นมาใช้เป็นประจำในชีวิตจริง โดยการจัดกิจกรรมในขั้นตอนนี้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญแต่กลับเป็นจุดอ่อนของการจัดการเรียนการสอนของไทยทุกระดับ เพราะมีการปฏิบัติหรือมีพฤติกรรมการนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ เนื่องจากในการเรียนการสอนผู้เรียนยังขาดการฝึกฝนการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1.4 ขั้นตอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้[แก้]

ชนาธิป พรกุล (2555) [6]กล่าวว่า ขั้นตอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้

1. ศึกษาหน่วยการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

2. ศึกษาผู้เรียนในเรื่องวิธีเรียนรู้และความแตกต่างระหว่างบุคคล

3. ศึกษารูปแบบการสอนวิธีสอนและเทคนิคการสอน ที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและทำให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง

4. เลือกรูปแบบหรือวิธีหรือเทคนิคการสอนใน 1 หน่วยการเรียนรู้มากใช้รูปแบบการสอน 1 รูปแบบร่วมกับหลายวิธีการสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ

5. กําหนดสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้

6. เลือกวิธีและเครื่องมือวัดผล และตั้งเกณฑ์การประเมินผล

2. การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้[แก้]

2.1 ความหมายและความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้[แก้]

ชวลิต ชูกําแพง (2553)[7] ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง เอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรของครูผู้สอนซึ่งเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในแต่ละครั้ง โดยใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เนื้อหา เวลา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2553) [8]ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้ คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียน การจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลให้สอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ในหลักสูตรหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้เป็นแผนที่ผู้จัดการเรียนรู้จัดทําขึ้นจากคู่มือครู หรือแนวการจัดการเรียนรู้ของกรมวิชาการ ทําให้ผู้จัดการเรียนรู้ทราบว่าจะจัดการเรียนรู้ เนื้อหาใด เพื่อจุดประสงค์ใด จัดการเรียนรู้อย่างไร ใช้สื่ออะไร และวัดผลประเมินผลโดยวิธีใด รวมไปถึงศศิธร เวียงวะลัย (2556)[9] กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนในการจัดการเรียนการสอนที่ครูหรือผู้สอนเป็นผู้จัดทําขึ้นจากแนวการจัดการเรียนการสอนของคู่มือครู หรือกรมวิชาการภายใต้กรอบเนื้อหาสาระที่ผู้สอน ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยกําหนดจุดประสงค์ วิธีการดําเนินการหรือกิจกรรม ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ สื่อการเรียนรู้ และวิธีวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์

จากความหมายดังกล่าว แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสําคัญสําหรับผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ แนวทางในการดําเนินกิจกรรม ตั้งแต่การเริ่มชั้นเรียนจนกระทั่งสิ้นสุดชั่วโมงเรียน : ผู้สอนต้องมีความรู้ความสามารถในการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้อย่างพิถีพิถัน เพื่อน วัตถุประสงค์ในแต่ละรายชั่วโมง รายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งจะทําให้บรรลเป้า ของหลักสูตรที่กําหนดไว้ แผนการจัดการเรียนรู้มีความสําคัญดังนี้ (นนทลี พรธาดาวิทย์, 2559)[10]

1. เป็นเสมือนแผนที่เดินทางสําหรับผู้สอนเพื่อนําพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย ที่มีการ วิเคราะห์บริบทแวดล้อมอย่างชัดเจน ทั้งหลักสูตร ผู้สอน ผู้เรียน และสิ่งอํานวยความสะดวก ในการเรียนรู้ นําไปสู่การกําหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหา ผู้เรียน และบริบทแวดล้อมที่ได้วิเคราะห์ไว้

2. ทําให้ผู้สอนมีแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตรง และสอดคล้อง กับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตร ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และผลการเรียนรู้ที่ คาดหวังในสาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่ม

3. ทําให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการสอน เพราะได้มีการเตรียมการล่วงหน้าอย่างมี ระบบ และมีการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ

4. ทําให้ผู้สอนสอนสบาย และสนุกเพราะได้วางแผนไว้ล่วงหน้า 5. ทําให้ผู้อื่นสามารถสอนแทนได้ กรณีที่ผู้สอนมีเหตุจําเป็นไม่สามารถสอนได้

6. ทําให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เกิดความคงทนของทักษะ และ พฤติกรรมการเรียนรู้

7. ทําให้ผู้เรียนมีความศรัทธา และมีเจตคติที่ดีต่อผู้สอน เพราะการสอนที่มีการ จัดเตรียมอย่างเป็นระบบ ผู้เรียนสามารถสัมผัสถึงความตั้งใจของผู้สอนได้

8. ทําให้ผู้สอนเตรียมสื่อ/อุปกรณ์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

9. ทําให้มีแนวทางวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตรงตามวัตถุประสงค์ การเรียนรู้

2.2 องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้[แก้]

อาภรณ์ ใจเที่ยง (2553), ชนาธิป พรกุล (2555),ศศิธร เวียงวะลัย (2556), จุติมา รัตนพลแสนย์ และคณะ (2558) และนนทลี พรธาดาวิทย์ (2559)[11] ได้เสนอองค์ประกอบที่สำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้

ไว้ 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ส่วนต้นของแผนการจัดการเรียนรู้ (Heading) ประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง/หัวข้อ ระบุชื่อเรื่องหรือหัวข้อที่สอน โดยอาจระบุว่าหัวข้อนี้อยู่ในหน่วย การเรียนที่เท่าไร เรื่องอะไร

2. ชื่อรายวิชา ระบุรายวิชาที่สอนและรหัสรายวิชา

3. ชั้นเรียน ระบุระดับชั้นที่สอน

4. จํานวนชั่วโมงที่สอนแต่ละครั้ง

ส่วนที่ 2 ส่วนตัวแผนการจัดการเรียนรู้ (Body) ประกอบด้วย

5. คุณลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์ ระบุคุณลักษณะผู้เรียนที่ผู้สอนต้องการให้เกิดขึ้น ใน 8 คุณลักษณะตามหลักสูตร (สําหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน) โดยไม่จําเป็นต้องกําหนดทั้ง 8 ด้าน แต่เลือกเฉพาะคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดในชั่วโมงนั้น

6. สมรรถนะ นํามาจากหลักสูตรที่กําหนดทักษะที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดขึ้นภายหลังการเรียน โดยเลือกเฉพาะทักษะที่ผู้สอนต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในชั่วโมงนั้น ๆ

7. มาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง นํามาจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ กําหนดไว้ในหลักสูตรเพื่อเป็นแนวทางในการกําหนดขอบเขต สาระที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

8. สาระสําคัญ/ความคิดรวบยอด (Concept) เขียนสรุปแนวคิดสําคัญของเนื้อหา ที่สอนในชั่วโมงที่ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้รับ

9. จุดประสงค์การเรียนรู้ กําหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อสิ้นสุด การเรียนการสอน โดยการกําหนด ควรเขียนวัตถุประสงค์ปลายทาง (วัตถุประสงค์ทั่วไป) และวัตถุประสงค์นําทาง (วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม) ที่ครอบคลุมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย

10. เนื้อหาสาระ เขียนสรุปหัวข้อหลักและหัวข้อย่อย และนัยทั่วไปแต่ละหัวข้อ เพื่อแสดงขอบเขตเนื้อหาที่ชัดเจนในการสอน

11. กระบวนการจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้ เขียนขั้นตอนการจัดกิจกรรมให้เกิดการ เรียนรู้โดยละเอียด ตั้งแต่เริ่มสอนจนถึงสิ้นสุดการสอนในแต่ละชั่วโมง แสดงให้เห็นบทบาทของ ผู้สอน บทบาทของผู้เรียน และการใช้สื่อ หรือเครื่องมือประกอบการจัดกิจกรรม โดยอาจเขียน เป็นขั้น ๆ คือ ขั้นนํา ขั้นสอน และขั้นสรุป

12. สื่อและอุปกรณ์ เขียนชื่อสื่อหรือเครื่องมือที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

13. การวัดและประเมินผล ระบุวิธีการ และเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ การประเมิน การเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงระบุเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลที่ชัดเจน

ส่วนที่ 3 ส่วนท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ (Conclusion) ประกอบด้วย

14. บันทึกหลังสอน ได้แก่ ผลการเรียน ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทาง แก้ไข เป็นส่วนที่ผู้สอนบันทึกข้อมูลต่าง ๆ จากการจัดการเรียนรู้เมื่อเสร็จสิ้นตามแผน อาจบันทึก ความสําเร็จ ปัญหา ผลการเรียนที่ควรแก้ไขปรับปรุง เรื่องที่ควรเพิ่มเติมในแผนการจัดการ เรียนรู้ต่อไป หรืออื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

15. ความคิดเห็นของผู้บริหาร เป็นส่วนที่ผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทําการ ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้เขียนบันทึกความเห็น ผลการตรวจ หรือข้อเสนอแนะเพื่อให้ ผู้สอนนําไปใช้ในการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ๆ

2.3 ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้[แก้]

นนทลี พรธาดาวิทย์ (2559) [12]ได้กล่าวถึงขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. การกําหนดวัตถุประสงค์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีควรกําหนดวัตถุประสงค์ ที่สามารถบ่งบอกการจัดกิจกรรม และการวัดประเมินผลได้

2. การกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน และสมรรถนะกระบวนการที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ควรเลือกคุณลักษณะและกระบวนการที่ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนเกิด ในชั่วโมงนั้น ๆ ไม่ควรนําคุณลักษณะทั้งหมดที่กําหนดไว้ในหลักสูตรมาในการทําแผนครั้งเดียว

3. การเขียนเนื้อหาสาระควรเขียนในรูปแบบนัยทั่วไป (Generalization) กําหนดทั้งหัวข้อหลัก หัวข้อรอง และเนื้อหาโดยสังเขปในแต่ละหัวข้อ

4. การเลือกวิธีสอน/กิจกรรมควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ กําหนด กิจกรรมที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ และมีส่วนร่วมในกิจกรรม และควรเขียน รายละเอียดของกิจกรรมให้สามารถสะท้อนภาพของการดําเนินกิจกรรมในชั้นเรียนอย่างชัดเจน

5. กําหนดสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนรู้ที่ชัดเจน

6. กําหนดวิธีการ/เครื่องมือการวัดผล/ประเมินผลที่หลากหลาย สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ กําหนดเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจน

2.4 ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้[แก้]

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้


[แก้]

  1. ชนาธิป พรกุล. (2555). การออกแบบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  2. สมจิตร จันทร์ฉาย. (2557). การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. นครปฐม : เพชรเกษมพนิ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
  3. อภิณห์พร สถิตภาคีกุล. (2561). การออกแบบการเรียนการสอน : ทักษะเพื่อความสำเร็จของครู. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 10(1), 107-115.
  4. (Gagné, Wager, Golas, & Keller ; 2005, Smith & Ragan; 1999)
  5. นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์และคณะ (2562)
  6. ชนาธิป พรกุล. (2555). การออกแบบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  7. ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน.พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
  8. วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
  9. ศศิธร เวียงวะลัย. (2556).การจัดการเรียนรู้ (Learning Management). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
  10. (นนทลี พรธาดาวิทย์, 2559)
  11. อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ชนาธิป พรกุล. (2555). การออกแบบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศศิธร เวียงวะลัย. (2556).การจัดการเรียนรู้ (Learning Management). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. จุติมา รัตนพลแสนย์ และคณะ. (2558). การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (Learning Management in Classroom). กรุงเทพฯ : สหธรรมมิก จำกัด. นนทลี พรธาดาวิทย์ (2559)
  12. นนทลี พรธาดาวิทย์ (2559)