ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:NattamonG1859/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ต่อเนื่อง)

(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559)

       

ชื่อสถาบันการอาชีวศึกษา   :     สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3

                                     สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

วิทยาลัย/คณะ/ภาควิชา     :     วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา

หมวดที่ 1  ข้อมูลทั่วไป

1.   รหัสและชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย       :  หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

     สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ต่อเนื่อง)

ชื่อภาษาอังกฤษ    :   Bachelor of Technology Program in Business Computer                                                   

                                   (Continuing  Program)

2.    ชื่อปริญญาและสาขาวิชา 

         ชื่อเต็ม (ไทย)      :    เทคโนโลยีบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

                                 ชื่อย่อ (ไทย)       :                ทล.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

       ชื่อเต็ม (อังกฤษ)  :    Bachelor  of  Technology (Business Computer)

        ชื่อย่อ (อังกฤษ)   :    B.Tech. (Business Computer)

3.   วิชาเอก

         ไม่มี

4.   จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

         75 หน่วยกิต

5.  รูปแบบของหลักสูตร

         5.1  รูปแบบ 

              หลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

         5.2  ประเภทของหลักสูตร

               หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ

5.3  ภาษาที่ใช้ 

   ภาษาไทย

         5.4  การรับเข้าศึกษา  

                รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้

         5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

               เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยร่วมกับสถานประกอบการที่ทำความร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา  ได้แก่ บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด

บริษัท ไอทีซี คอมพิวเตอร์ จำกัด สาขาสงขลา  บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด (สาขาเซ็นทรัล หาดใหญ่) 

บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด (สาขาเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่)  บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด (สาขาโรบินสัน หาดใหญ่) หจก. ทูเวย์-คอนแท็คท. สาขาหาดใหญ่  บริษัท 24 คอมมูนิเคชั่น จำกัด   และ หจก. อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ แอนด์ซอฟต์แวร์  (ภาคผนวก ช)

5.6  การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

     ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6.  สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

           6.1  สถานภาพหลักสูตร

                หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต  สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ(ต่อเนื่อง) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559   เปิดดำเนินการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559

           6.2  การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

                  6.2.1 ได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ในการประชุมครั้งที่ 11/2558 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558

                  6.2.2  ได้รับพิจารณากลั่นกรองโดยคณะอนุกรรมการการอาชีวศึกษา ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษาและมาตรฐานคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา   ในการประชุมครั้งที่ 4/2559   เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559

                 6.2.3  ได้รับอนุมัติใช้หลักสูตรจากคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 6/2559  เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

         หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552  ในปีการศึกษา 2560

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

           8.1  ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

           8.2  นักออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

           8.3  ผู้ดูแลเว็บไซต์ 


9.  ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ที่ ชื่อ-สกุล

เลขประจำตัวประชาชน

ตำแหน่ง

ทาง

วิชาการ

คุณวุฒิ สถาบัน ปีที่จบ
1   นางจงศิริ 

 เรืองทองเมือง

  3-9101-0033X-XXX

   อาจารย์ ค.อ.ม. (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอม 

 เกล้าพระนครเหนือ

2546
บ.ธ.บ.(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2536
2 นางสาวนิภาพร

  บุญยศ

3-5703-0025X-XXX

อาจารย์ วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยี 

สารสนเทศ)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2551
บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 2547
3   นางพีฤดา 

  กาญจนะไพโรจน์

 3-9002-0004X-XXX

  อาจารย์ บธ.ม. (การตลาด) มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2550
บธ.ม. (การจัดการสารสนเทศ  

 คอมพิวเตอร์)

มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 2539
4 นางสาวสุลักษณี     

  รัตนะ

  3-9098-0078X-XXX

อาจารย์ บธ.ม. (การตลาด) มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2548
บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2537
5 นางสุวิมล สุวรรณรัศมี

3-9099-0022X-XXX

อาจารย์ ค.อ.ม. (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอม 

 เกล้าพระนครเหนือ

2546
ปทส. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) วิทยาลัยอาชีวศึกษา

 มหาสารคาม

2539

10.  สถานที่จัดการเรียนการสอน

           10.1  วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3  เลขที่ 74 ถนนรามวิถี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

           10.2  สถานประกอบการที่ลงนามความร่วมมือจัดการศึกษาได้แก่  บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด

บริษัท ไอทีซี คอมพิวเตอร์ จำกัด สาขาสงขลา  บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด (สาขาเซ็นทรัล หาดใหญ่) 

บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด (สาขาเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่)  บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด (สาขาโรบินสัน หาดใหญ่) หจก. ทูเวย์-คอนแท็คท. สาขาหาดใหญ่  บริษัท 24 คอมมูนิเคชั่น จำกัด  และ หจก. อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ แอนด์ซอฟต์แวร์  (ภาคผนวก ช)

11.   สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

          11.1  สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

                  การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ทำให้ทุกองค์กรมีความจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้จัดการข้อมูล   ให้มีความถูกต้อง สะดวกและรวดเร็ว เพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจในการดำเนินงาน   ดังนั้นจึงมึความจำเป็นต้องพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

          11.2  สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

                  ปัจจุบันประเทศมีการสื่อสารแบบไร้พรมแดนและการเดินทางภายในประเทศ                         ที่ สะดวกสบาย สามารถเข้าถึงข้อมูลและข่าวสาร สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ทำให้เปิดกว้างทางสังคม เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานและเกิดวัฒนธรรมที่ผสมผสาน

12.   ผลกระทบจากข้อ 11  ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

           12.1  การพัฒนาหลักสูตร

                   พัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พัฒนาผลิตกำลังคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ และความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

           12.2  ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน 

                    ให้ความสำคัญต่อการผลิตและพัฒนาบุคลากร ที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะตามมาตรฐานสากล พัฒนางานวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ

13.  ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน

           13.1  กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น

                   การศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จะต้องมีความสัมพันธ์กับแผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ทักษะชีวิต)

           13.2  กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนให้ภาควิชา/หลักสูตรอื่นต้องมาเรียน

                        ไม่มี

           13.3  การบริหารจัดการ

                   อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีหน้าที่ประสานงานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และครูฝึกในสถานประกอบการ ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ กระบวนการจัดการเรียนการสอน  ตารางเรียน  ตารางสอบ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  การประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้  ตามมาตรฐานคุณวุฒิ  ระดับปริญญาตรี



หมวดที่ 2   ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

1.  ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

           1.1 ปรัชญา

        มุ่งผลิตบัณฑิตด้านอาชีวศึกษาที่มีความรอบรู้และมีสมรรถนะในการปฏิบัติ  และพัฒนางานระดับเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สามารถจัดการและควบคุมการทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงานสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ชุมชน และสถานประกอบการ สามารถประกอบอาชีพอิสระพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ

           1.2  ความสำคัญ

                 ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องมีบุคลากรด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน ดูแล และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์  เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กร  ด้านการสื่อสาร และจัดการสารสนเทศ เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหาร  ได้ใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหารงาน  ในการพัฒนาองค์กร ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า พร้อมแข่งขัน และรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในอนาคตต่อไป  

           1.3  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                  1.3.1  เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  

                  1.3.2  เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะในการบริหารจัดการ ควบคุมการทำงาน สามารถบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนางานทางเทคโนโลยีในภาคธุรกิจได้  

                  1.3.3  เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ตระหนักถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง ทั้งด้านวิทยการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  

                  13.4 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมในการศึกษาค้นคว้า สร้างสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ที่เป็นประโยชนต่องานอาชีพ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ

2.  แผนพัฒนาปรับปรุง

แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ ตัวบ่งชี้/หลักฐาน
1. ปรับปรุงหลักสูตร สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ให้มีมาตรฐาน  ตามที่  สกอ. กำหนด 1.1 พัฒนาหลักสูตรโดย มีพื้นฐานจาก หลักฐานในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ และติดตามประเมินหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ ตัวบ่งชี้

1.1   มีการประชุมเพื่อทบทวนหลักสูตร

อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

1.2   มีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี

1.3   สกอ.รับทราบการพิจารณาให้ความ

เห็นชอบหลักสูตร

หลักฐาน

1.1 รายงานการประชุมทบทวนหลักสูตร

1.2 รายงานผลการประเมินหลักสูตร

1.3 เอกสารปรับปรุงหลักสูตร

2. ปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต 2.1 ติดตามความเปลี่ยนแปลง       ในการความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต

2.2 สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิต

ตัวบ่งชี้

2.1 ผลการประเมินความพึงพอใจ          

ในการใช้บัณฑิตของสถาน   

ประกอบการ ไม่น้อยกว่าระดับ  3.51

2.2 จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำภายใน      

1 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

หลักฐาน

2.1 รายงานการประเมินความ         

พึงพอใจในการใช้บัณฑิตของสถาน

ประกอบการ

2.2 รายงานสรุปผลการมีงานทำของ 

บัณฑิต

3. พัฒนาบุคลากรสายผู้สอนให้มีคุณภาพทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ 3.1 สนับสนุนให้บุคลากรสายผู้สอน ได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ    ได้แก่ การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น การศึกษาดูงาน  การฝึกอบรม  สัมมนา เพื่อเพิ่มความรู้และประสบการณ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการขอตำแหน่ง ทางวิชาการ ตัวบ่งชี้

3.1 จำนวนบุคลากรที่ผ่านการอบรมทาง

วิชาการและวิชาชีพ

3.2 จำนวนผลงานทางวิชาการของ  

อาจารย์

หลักฐาน

3.1 รายงานผลการฝึกอบรม

3.2 ผลงานทางวิชการ

แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ ตัวบ่งชี้/หลักฐาน
4. ปรับปรุงปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน 4.1 จัดหางบประมาน เพื่อปรับปรุงปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น วัสดุครุภัณฑ์ โสตทัศนูปกรณ์ อาหารและห้องสมุดให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4.2 สำรวจความต้องการของนักศึกษา และอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน

ตัวบ่งชี้

4.1 จำนวนรายการสิ่งสนับสนุนตาม 

เกณฑ์ในการจัดการศึกษาในระดับ

ปริญญาตรี

4.2 ผลการประเมินความต้องการของ

อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา

หลักฐาน

4.1 รายการสิ่งสนับสนุน

4.2 รายงานความต้องการของอาจารย์

ผู้สอนและนักศึกษาเกี่ยวกับปัจจัย

สนับสนุนการเรียนการสอน

หมวดที่ 3  ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

1.  ระบบการจัดการศึกษา

           1.1  ระบบ

                  การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดยกำหนดให้ 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ  1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาการศึกษา ไม่น้อยกว่า 18 สัปดาห์ สำหรับภาคฤดูร้อน การกำหนดระยะเวลา และจำนวนหน่วยกิต ให้มีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับภาคการศึกษาปกติ

           1.2   การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน

                  ไม่มี

           1.3   การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

                    ไม่มี

           1.4  การกำหนดจำนวนหน่วยกิตและจำนวนชั่วโมงเรียนต่อสัปดาห์

                  1.4.1  การคิดหน่วยกิตต่อภาคการศึกษา

                           1)  รายวิชาภาคทฤษฏี ที่ใช้เวลาบรรยาย หรืออภิปรายปัญหา ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

                           2)  รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาในการทดลอง หรือฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

                           3)  รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติในโรงฝึกงานหรือภาคสนาม ไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

                           4)  การฝึกอาชีพในการศึกษาแบบทวิภาคี ไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1  หน่วยกิตระบบทวิภาค

                            5) การทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ  ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

                    1.4.2   การระบุจำนวนหน่วยกิต  ให้ระบุตามความหมายของ  น (ท-ป-ศ)

                             น         หมายถึง       จำนวนหน่วยกิต

                             ท         หมายถึง       จำนวนชั่วโมงทฤษฎีต่อสัปดาห์

                             ป         หมายถึง       จำนวนชั่วโมงปฏิบัติต่อสัปดาห์

                             ศ          หมายถึง       จำนวนชั่วโมงศึกษาค้นคว้านอกเวลาต่อสัปดาห์

                  1.4.3   การจัดชั่วโมงเรียน

                          ในการจัดชั่วโมงเรียนนั้น ให้พิจารณาถึงลักษณะการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ดังนั้นจึงควรจัดชั่วโมงให้ได้ศึกษาทั้งในและนอกเวลาเรียน โดยจำแนกการจัดเวลาเรียนรู้ประจำรายวิชา รูปแบบและวิธีการคำนวณชั่วโมงศึกษาค้นคว้านอกเวลาต่อสัปดาห์ ดังนี้

                          1)   ชั่วโมงเรียนทฤษฎี

                          2)            ชั่วโมงเรียนปฏิบัติ

                          3)   ชั่วโมงศึกษาค้นคว้านอกเวลา

จำนวนหน่วยกิต

            รหัสวิชา                ให้ใช้ตัวเลข 10 ตัว ในลักษณะ  XX-XXXX–XXXX   ตามคำชี้แจงการกำหนดรหัสวิชา  ระดับปริญญาตรี

              ชื่อวิชา                 ให้เขียนชื่อวิชาเป็นภาษาไทยในบรรทัดแรก  และวงเล็บชื่อวิชาเป็นภาษาอังกฤษในบรรทัดต่อไป   หากมีรายวิชาที่ต้องเรียนก่อน ให้ระบุรหัสวิชาและชื่อวิชานั้นด้วย

              เวลา-หน่วยกิต       ให้ระบุจำนวนหน่วยกิต จำนวนชั่วโมงเรียนภาคทฤษฎีภาคปฏิบัติ และจำนวน ชั่วโมงศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  น (ท-ป-ศ)  โดยคิดค่าหน่วยกิตตามที่กำหนด

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป(ทักษะชีวิต)                                  18 หน่วยกิต

   ให้เลือกศึกษาจากกลุ่มวิชาต่อไปนี้

                         1.1 กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร                                6 หน่วยกิต

                               (ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ)

          รหัสวิชา                  ชื่อวิชา                                                     น (ท-ป-ศ)

22-4000-1101      ภาษาไทยเพื่อปฏิบัติงานอาชีพ                                      3 (3-0-6)

                       (Thai for Careers)

22-4000-1102      ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการนำเสนอ                          3 (3-0-6)

                       (Thai for Communication and Presentation)

22-4000-1201      ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียนรู้                  3 (2-2-5)

                       (English for Communication and Study Skills)

22-4000-1203      ภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอในงานอาชีพ                         3 (2-2-5)     

                       (English for Presentation in Careers)

                         1.2 กลุ่มทักษะการคิดและการแก้ปัญหา                           6 หน่วยกิต

                             (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์)                                        

          รหัสวิชา                 ชื่อวิชา                                                     น (ท-ป-ศ)

22-4000-1302      วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีประยุกต์                                    3 (2-2-5)

                       (Science for Applied Technology)

22-4000-1404      สถิติเพื่อการวิจัย                                                     3 (3-0-6)      

                       (Statistics for  Research)  

22-4000-1405      สถิติเพื่องานอาชีพ                                                   3 (3-0-6)

                       (Statistics for Careers)

                        1.3 กลุ่มทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต                        6 หน่วยกิต    

                             (สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์)                                            

          รหัสวิชา                 ชื่อวิชา                                                     น (ท-ป-ศ)

22-4000-1501      ประชาคมอาเซียนศึกษา                                             3 (3-0-6)

                  (Asian Community Study)

22-4000-1508      การบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ                            3 (3-0-6)      

                      (Modern Management and Leadership)

22-4000-1512      สังคมและวัฒนธรรมชายแดนใต้                                     3 (3-0-6)

                      (The Social and Culture of the Southern Moste)

                      2. หมวดวิชาเฉพาะ (ทักษะวิชาชีพ)                                 51 หน่วยกิต

   ให้ศึกษาจากกลุ่มวิชาต่อไปนี้

                        2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ                                       30 หน่วยกิต

          รหัสวิชา                 ชื่อวิชา                                                       (ท-ป-ศ)

22-4204-2001      การพัฒนาเว็บไซต์เพื่องานธุรกิจ                                    3 (2-2-5)

                      (Web Development for Business)

22-4204-2002      การบริหารจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต                            3 (0-9-4)

                      (Management of Internet Network)

22-4204-2003      การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในงานธุรกิจ                    3 (0-9-4)

                      (Software Packages in Business)

22-4204-2004      การพัฒนาสื่อประสมปฏิสัมพันธ์                                    3 (2-2-5)

                      (Interactive Multimedia Development)

22-4204-2005      การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางธุรกิจ             3 (2-2-5)

                      (Information Systems Analysis and Design)

22-4204-2006      ความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ    3 (2-2-5)

                      (Information System Security and Risk Management)

22-4204-2007      เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการความรู้                        3 (2-2-5)

                      (Technology for Knowledge Management)

22-4204-2008      การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศในงานธุรกิจ          3 (0-9-4)

                      (Business Data Exchange)

22-4204-2009      การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ                                        3 (2-2-5)

                      (Cloud Computing)

22-4204-2010      การพัฒนาโปรแกรมในระบบงานธุรกิจด้วยภาษาเชิงวัตถุ          3 (2-2-5)

                      (Business Application Development Using OOPL)

                        2.2  กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก                                       15 หน่วยกิต

          รหัสวิชา                 ชื่อวิชา                                                     น (ท-ป-ศ)

22-4204-2101      ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลลูกค้า                       3 (0-9-4)

                      (Information System for Customer Management)

22-4204-2102      จริยธรรมในวิชาชีพคอมพิวเตอร์                                    1 (1-0-2)

                      (Computer Professional Ethics)

22-4204-2103      การจัดการสารสนเทศกระบวนการทางธุรกิจ                      3 (0-9-4)

                      (Business Process Information Management)

22-4204-2104      กฎหมายเกี่ยวกับสารสนเทศ                                        2 (2-0-4)

                      (Information Law)


        รหัสวิชา                    ชื่อวิชา                                                     น (ท-ป-ศ)

22-4204-2105      โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี                                      3 (2-2-5)

                      (Data Structure and Algorithms)

22-4204-2106      เครือข่ายคอมพิวเตอร์                                               3 (0-9-4)

                      (Computer Network)

22-4204-2107      เทคโนโลยีระบบฐานข้อมูล                                          3 (2-2-5)

                      (Database System Technology)

22-4204-2108      การใช้โปรแกรมประยุกต์พัฒนางานสำนักงานธุรกิจ               3 (0-9-4)

                      (Business Applications for Office Development)

22-4204-2109      การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์                      3 (0-9-4)

                      (Entrepreneur and Business Computing)

22-4204-2110      สัมมนาวิชาชีพคอมพิวเตอร์ธุรกิจ                                   3 (3-0-6)

                      (Seminar for Business Computer)

                        2.3  โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ                                  6 หน่วยกิต            

          รหัสวิชา                 ชื่อวิชา                                                     น (ท-ป-ศ)

22-4204-8501      โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 1                                    2 (2-0-4)

                      (Development of Professional Skill Project 1)

22-4204-8502      โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 2                                        4 (0-12-5)

                      (Development of Professional Skill Project 2)

                     3. หมวดวิชาเลือกเสรี                                                    6 หน่วยกิต

                    ให้เลือกศึกษาจากรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตของสถาบัน

การอาชีวศึกษาภาคใต้ 3



            3.1.4 แสดงแผนการศึกษา

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาที่ 1   
รหัสวิชา ชื่อวิชา น (ท-ป-ศ) หมายเหตุ
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ทักษะชีวิต)
22-4000-1102 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการนำเสนอ

(Thai for Careers)

3 (3-0-6) สถานศึกษา
22-4000-1203 ภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอในงานอาชีพ

(English for Presentation in Careers)

3 (2-2-5) สถานศึกษา
22-4000-1501 ประชาคมอาเซียนศึกษา

(Asian Community Study)

3 (3-0-6) สถานศึกษา
หมวดวิชาเฉพาะ (กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ)
22-4204-2004 การพัฒนาสื่อประสมปฏิสัมพันธ์

(Interactive Multimedia Development)

3 (2-2-5) สถานศึกษา
22-4204-2007 เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการความรู้

(Technology for Knowledge Management)

3 (2-2-5) สถานศึกษา
หมวดวิชาเฉพาะ (กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก)
22-4204-2105 โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี (Data Structure and Algorithms) 3 (2-2-5) สถานศึกษา
รวม 18(14-8-32)
ปีที่ 1  ภาคการศึกษาที่ 2 
รหัสวิชา ชื่อวิชา น (ท-ป-ศ) หมายเหตุ
หมวดวิชาเฉพาะ (กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ)
22-4204-2002 การบริหารจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

(Management of Internet Network)

3 (0-9-4) สถานประกอบการ
22-4204-2003 การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในงานธุรกิจ

(Software Packages in Business)

3 (0-9-4) สถานประกอบการ
22-4204-2009 การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ

(Cloud Computing)

3 (2-2-5) สถานศึกษา
หมวดวิชาเฉพาะ (กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก)
22-4204-2106 เครือข่ายคอมพิวเตอร์

(Computer Network)

3 (0-9-4) สถานประกอบการ
22-4204-2108 การใช้โปรแกรมประยุกต์พัฒนางานสำนักงานธุรกิจ

(Business Applications for Office Development)

3 (0-9-4) สถานประกอบการ
หมวดวิชาเฉพาะ  (โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ)
22-4204-8501 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 1

(Development of Professional Skill Project 1)

2 (2-0-4) สถานศึกษา
หมวดวิชาเลือกเสรี
22-4204-XXXX ......................................................................... 3 (X-X-X) สถานศึกษา
รวม XX(X-XX-XX)    20(4-47-29)
ปีที่ 2  ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา ชื่อวิชา น (ท-ป-ศ) หมายเหตุ
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ทักษะชีวิต)
22-4000-1512 สังคมและวัฒนธรรมชายแดนใต้

(The Social and Culture of the Southern Moste)

3 (3-0-6) สถานศึกษา
หมวดวิชาเฉพาะ (กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ)
22-4204-2006 ความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ (Information System Security and Risk Management) 3 (2-2-5) สถานศึกษา
22-4204-2008 การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศในงานธุรกิจ

(Business Data Exchange)

3 (0-9-4) สถานประกอบการ
หมวดวิชาเฉพาะ (กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก)
22-4204-2101 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลลูกค้า

(Mobile Commerce Technology)

3 (0-9-4) สถานประกอบการ
22-4204-2103 การจัดการสารสนเทศกระบวนการทางธุรกิจ

(Object Orientation and Methodology)

3 (0-9-4) สถานประกอบการ
หมวดวิชาเฉพาะ (โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ)
22-4204-8502 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 2

(Development of Professional Skill Project 2)

4 (0-12-5) สถานประกอบการ
รวม 19(5-41-28)
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา ชื่อวิชา น (ท-ป-ศ) หมายเหตุ
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ทักษะชีวิต)
22-4000-1302 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีประยุกต์

(Science for Applied Technology)

3 (2-2-5) สถานศึกษา
22-4000-1405 สถิติเพื่องานอาชีพ

(Statistics for Careers)

3 (3-0-6) สถานศึกษา
หมวดวิชาเฉพาะ (กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ)
22-4204-2001 การพัฒนาเว็บไซต์เพื่องานธุรกิจ

(Web Development for Business)

3(2-2-5) สถานศึกษา
22-4204-2005 การวิเคราะห์และออกแบบระบสารสนเทศทางธุรกิจ

(Information Systems Security and Risk Management)

3 (2-2-5) สถานศึกษา
22-4204-2010 การพัฒนาโปรแกรมในระบบงานธุรกิจด้วยภาษา       เชิงวัตถุ (Business Application Development Using OOPL) 3 (2-2-5) สถานศึกษา
หมวดวิชาเลือกเสรี
22-4204-XXXX ................................................................ 3 (X-X-X) สถานศึกษา
รวม 18(X-X-X)
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 75(XX-XX-XX)

          3.1.5 คำอธิบายรายวิชา

                   คำอธิบายรายวิชา (ภาคผนวก ก.)

           3.2  ชื่อ สกุล  เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่งและคุณวุฒิของอาจารย์

                   3.2.1  อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่ ชื่อ-สกุล

เลขประจำตัวประชาชน

ตำแหน่ง

ทาง

วิชาการ

คุณวุฒิ สถาบัน ปีที่จบ
1 นางจงศิริ 

 เรืองทองเมือง

3-9101-0033X-XXX

     

 อาจารย์

ค.อ.ม. (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอม  

 เกล้าพระนครเหนือ

2546
บ.ธ.บ.(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2536
2 นางสาวนิภาพร

บุญยศ

3-5703-0025X-XXX

อาจารย์ วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยี 

สารสนเทศ)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2551
บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 2547
3   นางพีฤดา 

  กาญจนะไพโรจน์

  3-9002-0004X-XXX

  อาจารย์ บธ.ม. (การตลาด) มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2550
บธ.ม. (การจัดการสารสนเทศ 

 คอมพิวเตอร์)

มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 2539
4 นางสาวสุลักษณี     

  รัตนะ

  3-9098-0078X-XXX

อาจารย์ บธ.ม. (การตลาด) มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2548
บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2537
5 นางสุวิมล สุวรรณรัศมี

3-9099-0022X-XXX

อาจารย์ ค.อ.ม. (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอม 

 เกล้าพระนครเหนือ

2546
ปทส. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) วิทยาลัยอาชีวศึกษา

 มหาสารคาม

2539

หมายเหตุ   1.  ประวัติ สถานที่ทำงาน  ผลงานทางวิชาการ และภาระงานสอนดูที่ ภาคผนวก ฌ


                 3.2.2  อาจารย์พิเศษ

                           -ไม่มี- 

4.  องค์ประกอบเกี่ยวกับประสบการณ์ภาคสนาม

         วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3  ใช้กระบวนการสร้างประสบการณ์ในสถานประกอบการโดยให้นักศึกษาฝึกทักษะประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการเป็นเวลา 1 ปีการศึกษา โดยในการปฏิบัติงานนักศึกษาจะมีครูฝึกในสถานประกอบการ และอาจารย์นิเทศในสาขาวิชา

เป็นผู้ดูแลให้นักศึกษาได้รับความรู้ทักษะและประสบการณ์ในวิชาชีพอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์

        4.1  มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม

              ความคาดหวังในผลการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษา มีดังนี้

              4.1.1  มีทักษะในการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ตลอดจนมีความเข้าใจในหลักการ

                      ความจำเป็นในการเรียนรู้ทฤษฎีมากยิ่งขึ้น

              4.1.2  บูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อนำไปแก้ปัญหาทางธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                      เป็นเครื่องมือได้อย่างเหมาะสม

              4.1.3  มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี

              4.1.4  มีระเบียบวินัย ตรงเวลา เข้าใจวัฒนธรรมและสามารถปรับตัวเข้ากับ

                      สถานประกอบการได้

              4.1.5  มีความกล้าในการแสดงออก และนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์ในงานได้

        4.2  ช่วงเวลา

              ภาคการศึกษาที่ 2 ปีที่ 1 และ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีที่ 2    

        4.3  การจัดเวลาและตารางสอน

นักศึกษาจะต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาในปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 และปีที่ 2 ภาคการศึกษา ที่ 2 จำนวน 5 วันต่อสัปดาห์ และปฏิบัติงานในสถานประกอบการในปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 และปีที่ 2  ภาคการศึกษาที่ 1 ไม่น้อยกว่า 6 วันต่อสัปดาห์ โดยจัดให้มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบเต็มเวลาทั้งภาคการศึกษาครบตามจำนวนชั่วโมงที่กำหนด นักศึกษา ศึกษางานและปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ โดยมีครูฝึกในสถานประกอบการเป็นผู้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีอาจารย์ประจำวิชานิเทศและจัดสอนเสริมให้มีสมรรถนะรายวิชาครบถ้วน ในกรณีที่สถานประกอบการไม่สามารถจัดฝึกให้ได้

5.  ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำโครงงานหรืองานวิจัย

ข้อกำหนดในการทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์  ควรเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบการ และมีรายงานที่ต้องนำส่งตามรูปแบบ และระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนดอย่างเคร่งครัด หรือเป็นโครงงานที่มุ่งเน้นการสร้างผลงานวิจัย เพื่อพัฒนางานด้านคอมพิวเตอร์

        5.1  คำอธิบายโดยย่อ

โครงงานหรือโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์ ที่นักศึกษาสนใจ ซึ่งสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนบูรณาการความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เพื่อแก้ปัญหา ลดต้นทุนหรือเพิ่มประสิทธิภาพของงาน และพัฒนาคุณภาพงานในองค์กรหรือสถานประกอบการ ด้วยกระบวนการทดลอง สำรวจ ประดิษฐ์คิดค้น หรือการปฏิบัติงานเชิงระบบในลักษณะการวิจัย

        5.2  มาตรฐานผลการเรียนรู้

              นักศึกษาสามารถทำงานเป็นทีม มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์  โปรแกรม ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะ  ในการทำโครงงาน หรือโครงการวิชาชีพ  โดยโครงการสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อไปได้

        5.3  ช่วงเวลา

              ภาคการศึกษาที่ 2 ปีที่ 1 และ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีที่ 2    

        5.4  จำนวนหน่วยกิต

              6  หน่วยกิต

        5.5  การเตรียมการ

มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานในการจัดทำโครงงานหรือโครงการทักษะวิชาชีพ จัดให้มีการสัมมนาในรายวิชาโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ เพื่อให้นักศึกษาสามารถหาหัวข้อโครงงานที่สนใจ นำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมทั้งแนะแนวทางการเขียนรายงาน การนำเสนอโครงการ และการสอบหัวข้อโครงงาน

        5.6  กระบวนการประเมินผล

การวัดผลและประเมินผล กระทำโดยอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอนวิชาโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพและคณะกรรมการสอบโครงการ โดยในระหว่างการทำโครงการ นักศึกษาจะต้องมีการรายงานความก้าวหน้าตามปฏิทินการปฏิบัติงาน และจะมีการสอบโครงการ โดยพิจารณาจากรายงานโครงการ และการนำเสนอโครงการ

หมวดที่ 4  ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล

1.  การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา

คุณลักษณะพิเศษ กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนักศึกษา
(1) มีความรู้พื้นฐานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้ง

   ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดี   

   สามารถประยุกต์ได้อย่างเหมาะสมในการ

   ประกอบวิชาชีพและศึกษาต่อในระดับสูง

รายวิชาบังคับของหลักสูตรต้องเตรียมพื้นฐานของศาสตร์และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มีปฏิบัติการ แบบฝึกหัด โครงงาน และกรณีศึกษาให้นักศึกษาเข้าใจการประยุกต์

องค์ความรู้กับปัญหาจริง

(2) มีความรู้ทันสมัย ใฝ่รู้ และมีความสามารถพัฒนา

    ความรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางานและพัฒนา

    สังคม

รายวิชาเลือกที่เปิดสอนต้องพัฒนาความรู้พื้นฐานในภาคบังคับ และปรับตามวิวัฒนาการของศาสตร์ มีโจทย์ปัญหาที่ท้าทายให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในการพัฒนาศักยภาพ
(3) คิดเป็น ทำเป็น และเลือกวิธีการแก้ปัญหา     

    ได้อย่างเป็นระบบและเหมาะสม

ทุกรายวิชาต้องมีโจทย์ปัญหา แบบฝึกหัด หรือโครงงาน ให้นักศึกษาได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ           ฝึกแก้ปัญหา
(4) มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะ    

    การบริหารจัดการและทำงานเป็นหมู่คณะ

โจทย์ปัญหาและโครงงานของรายวิชาต่าง ๆ

ควรจัดแบบคณะทำงาน แทนงานเดี่ยว เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการทำงานเป็นหมู่คณะ

(5) รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และสามารถ

    ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

ต้องมีการมอบหมายงานให้นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูล รวบรวมความรู้ที่นอกเหนือจากที่ได้นำเสนอในชั้นเรียน และเผยแพร่ความรู้ที่ได้ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน หรือให้กับผู้สนใจภายนอก
(6) มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษา

   ต่างประเทศในการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีได้ดี

มีระบบสนับสนุนการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหมู่นักศึกษาหรือบุคคลภายนอกที่ส่งเสริมให้เกิดการแสวงหาความรู้ที่ทันสมัย การเผยแพร่ การถามตอบ และการแลกเปลี่ยนความรู้
(7) มีความสามารถวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา  

    ติดตั้ง และปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรง

    ตามข้อกำหนด

ต้องมีวิชาที่บูรณาการองค์ความรู้ที่ได้ศึกษามา

ในการวิเคราะห์ออกแบบ พัฒนา ติดตั้ง และปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ตามข้อกำหนด

ของโจทย์ปัญหาที่ได้รับ

2.  การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน

    2.1  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ทักษะชีวิต)

         2.1.1  ด้านคุณธรรม จริยธรรม

                  2.1.1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

                            1) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต

                           2) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม

                            3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไข

                                  ข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ      

                            4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและ

                                  ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของ  

                                  องค์กรและสังคม

                   2.1.1.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

                              1) กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบ

                                   วินัยโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตาม

                                    ระเบียบของวิทยาลัยและสถาบัน

                              2) นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่

                                   ของการเป็นผู้นำกลุ่ม และการเป็นสมาชิกกลุ่ม

                              3) ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดจิตสำนึก ความซื่อสัตย์ โดยต้องไม่กระทำการทุจริต

                                    ในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น

                              4) อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอน

                         ทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น

                         การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ

                   2.1.1.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

                              1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน

                                   ตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม

                              2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วม

                                   กิจกรรมเสริมหลักสูตร

                              3) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ

                              4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

        2.1.2  ด้านความรู้

              2.1.2.1  ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

                        1)  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของชีวิต และสามารถ

                              นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้

                        2)  รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่อง

                         3)  มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชา เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจ

                              ผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                            4)  มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ใช้งานในศาสตร์ได้จริง

              2.1.2.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้

                        1)  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และ

                              ประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทาง

                              เทคโนโลยีทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา ตลอดจนเนื้อหาสาระของ

                              รายวิชานั้น ๆ

                        2)  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญ

                              ที่มีประสบการณ์ตรง มาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึก

                              ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ

                          3) มอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียนในด้านความก้าวหน้าและ   

                              วิวัฒนาการทางคอมพิวเตอร์

                          4) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงาน

              2.1.2.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้

                       1)  การทดสอบย่อย

                        2)  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน

                        3)  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ

                        4)  ประเมินจากแผนธุรกิจหรือโครงการที่นำเสนอ

                        5)  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน

        2.1.3  ด้านทักษะทางปัญญา

              2.1.3.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

                         1) คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ

                         2) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา

                              อย่างสร้างสรรค์

                         3) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ

                         4) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์

                              ได้อย่างเหมาะสม

              2.1.3.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

                         1) กรณีศึกษาทางการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ

                         2) การอภิปรายกลุ่ม

                         3) ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง

                          4)  มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา

                         5)  มอบหมายให้นักศึกษาบันทึกผลการปฏิบัติงานหรือใบสรุปผลการปฏิบัติงาน

              2.1.3.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

                         1) ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมิน  

                              จากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน และการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือ

                              สัมภาษณ์

                          2) ประเมินผลการปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง

                         3) ประเมินจากความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหา

                         4) ประเมินจากแบบบันทึกผลการปฏิบัติงานหรือใบสรุปผลการปฏิบัติงาน

                         5)  สอบถามจากผู้ควบคุมการฝึก หรือครูฝึกเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายจาก

                               สถานประกอบการที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง

        2.1.4  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

              2.1.4.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

                         1) สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้

                              อย่างมีประสิทธิภาพ

                         2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหา

                              สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน

                         3) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและ

                              ส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะ ทั้งของตนเองและของกลุ่ม

                         4) มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม

              2.1.4.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

                          ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้

                         1) สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

                         2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

                         3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงาน

                             ได้เป็นอย่างดี

                         4) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป

                         5) มีภาวะผู้นำ

              2.1.4.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ

ความรับผิดชอบ

1)      ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงาน

   กลุ่มในชั้นเรียน

                         2) สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และความครบถ้วน

                              ชัดเจน ตรงประเด็นของข้อมูล

        2.1.5  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

              2.1.5.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                         1) สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหา โดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือ

                              การแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์

2)      สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งปากเปล่าและการเขียน พร้อมทั้ง

   เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม

                         3) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

              2.1.5.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข

การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                         1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์  

                               จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง

                         2) นำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์คอมพิวเตอร์

                              ในงานธุรกิจ ในหลากหลายสถานการณ์

                          3) มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และให้นักศึกษา

                              นำเสนอหน้าชั้น

                         4)  ส่งเสริมค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและ

                               ให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

              2.1.5.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร

และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                         1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทาง

                             เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์ และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง

                         2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้

                              เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน

                         3) สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลการมีการบันทึกเป็นระยะ

                         4) ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน

แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรรายวิชา (Curriculum Mapping ) ผลการเรียนรู้ในตารางมีความหมายดังนี้ 

        3.1  ผลการเรียนรู้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ทักษะชีวิต)

              3.1.1  ด้านคุณธรรม จริยธรรม

  1)  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต

  2)  มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม

  3)  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไข  

                            ข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ

  4)  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรี

     ของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

               3.1.2  ด้านความรู้

                       1)  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของชีวิต และสามารถ

                              นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้

                        2)  รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญในศาสตร์อย่างต่อเนื่อง

                        3)  มีความรู้แนวกว้างของสาขาวิชา เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบ

                              ของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                        4) มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ใช้งานในศาสตร์ได้จริง

              3.1.3  ด้านทักษะทางปัญญา

                       1) คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ

                       2) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา

                             อย่างสร้างสรรค์

                       3) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ

                       4)   สามารถประยุกต์ความรู้ในชีวิตประจำวัน และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

               3.1.4  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

                        1)  สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลาย

                              ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                        2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์

                              ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน

                        3)  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ ทั้งส่วนตัวและ

                              ส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะ ทั้งของตนเองและของกลุ่ม

                       4)  มีความรับผิดชอบพัฒนาการเรียนรู้และการกระทำทั้งของตนเองและของกลุ่ม

               3.1.5  ด้านทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                        1)  สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหา โดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์               

                              หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์

                        2)  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งปากเปล่าและการเขียน พร้อมทั้ง

                              เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม

                       3)  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม   


แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

· ความรับผิดชอบหลัก   ○ ความรับผิดชอบรอง

รายวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์

ระหว่างบุคคล

  และความรับผิดชอบ

5. ทักษะ

การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร

และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป(ทักษะชีวิต)
กลุ่มวิชาภาษาไทย/ภาษาต่างประเทศ
22-4000-1101 ภาษาไทยเพื่อปฏิบัติงานอาชีพ ¡ l ¡ l ¡ ¡ l ¡ ¡ ¡ ¡ l ¡ ¡
22-4000-1102 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการนำเสนอ l ¡ ¡ l l l ¡ l ¡ ¡ l
22-4000–1201 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียนรู้ ¡ l ¡ ¡ l ¡ l ¡
22-4000–1203 ภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอในงานอาชีพ l ¡ ¡ l ¡ l l ¡ l ¡ ¡ l
กลุ่มคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
22-4000–1302 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีประยุกต์  l l ¡ ¡ ¡ l l ¡ ¡ ¡ ¡ ¡
22-4000-1404 สถิติเพื่อการวิจัย ¡ l ¡ ¡ l ¡
22-4000–1405 สถิติเพื่องานอาชีพ ¡ l ¡ ¡ ¡ l l ¡ l ¡ l ¡
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
22-4000-1501ประชาคมอาเซียนศึกษา ¡ ¡ l ¡ ¡ ¡ l ¡ l ¡
22-4000-1508 การบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ ¡ ¡ ¡ ¡ l ¡ l ¡ ¡ l
22-4000-1512 สังคมและวัฒนธรรมชายแดนใต้ ¡ l l ¡ l l ¡

    2.2  หมวดวิชาเฉพาะ  (ทักษะวิชาชีพ)

        2.2.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม

              2.2.1.1  ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

                        1) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต

                        2) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม

                        3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไข

ข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ    

                        4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรี

                             ของความเป็นมนุษย์

                        5) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

                        6) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม

              2.2.1.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

                        1)  กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย

                              โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบ

                              ของวิทยาลัยและสถาบัน

                        2)  นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของ

                              การเป็นผู้นำกลุ่ม และการเป็นสมาชิกกลุ่ม

                        3)  ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดจิตสำนึก ความซื่อสัตย์ โดยต้องไม่กระทำการทุจริตใน

                              การสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น

                        4) อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอน

                             ทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์

                             แก่ส่วนรวม เสียสละ

              2.2.1.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

                         1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด

                              ระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม

                         2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม

                              เสริมหลักสูตร

                         3) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ

                         4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย


        2.2.2  ด้านความรู้

              2.2.2.1  ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

                         1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชา     

 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

                         2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์

 รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา

                         3) สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบ

 องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตาม  

 ข้อกำหนด

                        4) สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์

                        5) รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

                        6) มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง

 และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                        7) มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง

                        8) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ

ที่เกี่ยวข้อง

              2.2.2.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้

                         1)          ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และ

  ประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  

  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ

                         2) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญ

                               ที่มีประสบการณ์ตรง มาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานใน สถานประกอบการ

              2.2.2.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้

                         1) การทดสอบย่อย

                         2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน

                         3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ

                         4) ประเมินจากแผนธุรกิจหรือโครงการที่นำเสนอ

                         5) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน

                         6) ประเมินจากรายวิชาฝึกอาชีพ

        2.2.3  ด้านทักษะทางปัญญา

              2.2.3.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

                         1) คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ

                         2) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา

 อย่างสร้างสรรค์

                         3) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ

                         4) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์

  ได้อย่างเหมาะสม

              2.2.3.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

                         1) กรณีศึกษาทางการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ

                         2) การอภิปรายกลุ่ม

                         3) ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง

              2.2.3.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

                        1) ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินการ

                              นำเสนอรายงานในชั้นเรียน และการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์

        2.2.4  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

              2.2.4.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

                        1) สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมี

  ประสิทธิภาพ

                        2)  สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์  

  ต่าง ๆ  ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน

                        3) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม

                        4) มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม

                        5) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

 พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะ ทั้งของตนเองและของกลุ่ม

                        6) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

              2.2.4.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้

                        1) สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

                        2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

                        3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

                        4) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป

                        5) มีภาวะความเป็นผู้นำ

              2.2.4.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ

ความรับผิดชอบ

                        1) ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่ม

  ในชั้นเรียน

                        2) สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และความครบถ้วน

ชัดเจน ตรงประเด็นของข้อมูล

        2.2.5  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

              2.2.5.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                        1) มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับ

 คอมพิวเตอร์

                        2) สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหา โดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือ

การแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์

                        3) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งปากเปล่าและการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้ 

รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม

                        4) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

              2.2.5.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข

การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                        1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง

  และสถานการณ์เสมือนจริง

                        2) นำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์คอมพิวเตอร์ในงาน

ธุรกิจในหลากหลายสถานการณ์

               2.2.5.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร

และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                         1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี 

  สารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์ และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง

                         2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้

  เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน

         2.2.6  ด้านทักษะวิชาชีพ

              2.2.6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะวิชาชีพ

                         1) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่อพัฒนางานอาชีพ

                         2) แสดงความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจ

                         3) ใช้เครื่องมือสร้าง และพัฒนาโปรแกรมงานด้านธุรกิจ

                         4) ให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน

                         5) วิเคราะห ออกแบบ ติดตั้ง  และแกไขปญหาระบบเครือขาย  

                         6) จัดการระบบความปลอดภัยและสามารถบํารุงรักษาระบบจราจรในระบบเครือขาย                  

              2.2.6.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะวิชาชีพ

                         1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง

   และ สถานการณ์เสมือนจริง

                         2) นำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยี

 การจัดการสำนักงานในหลากหลายสถานการณ์

              2.2.6.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะวิชาชีพ

                         1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี 

  การจัดการสำนักงานที่เกี่ยวข้อง

                         2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือ

  ต่าง ๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน

แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรรายวิชา (Curriculum Mapping ) ผลการเรียนรู้ในตารางมีความหมายดังนี้

        3.2  ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาเฉพาะ (ทักษะวิชาชีพ)

              3.2.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

                         1) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต

                         2) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม

                         3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไข  

ข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ

                         4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรี

ของความเป็นมนุษย์

                         5) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม

                        6) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 

              3.2.2 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

                        1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชา

คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

                        2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการ ประยุกต์ความรู้ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา

                        3) สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุง และ/หรือ ประเมิน ระบบ

องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ ให้ตรง

ตามข้อกำหนด

                       4) สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์

                       5) รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

                        6) มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง     และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                        7) มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง

                        8) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ

ที่เกี่ยวข้อง

              3.2.3 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

                        1) คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ

                        2) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา

อย่างสร้างสรรค์

                        3) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ

                        4) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์

ได้อย่างเหมาะสม

              3.2.4 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

                        1) สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลาย

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                        2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์

ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน

                        3) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม

                        4) มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม

                       5) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะ ทั้งของตนเองและของกลุ่ม

                        6) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

              3.2.5 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                        1) มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับ

คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

                       2) สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหา โดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือ

การแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์

                        3) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งปากเปล่าและการเขียน พร้อมทั้งเลือกใชรูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม

                        4) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

              3.2.6  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะวิชาชีพ

                         1) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่อพัฒนางานอาชีพ

                         2) แสดงความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจ

                         3) ใช้เครื่องมือสร้าง และพัฒนาโปรแกรมงานด้านธุรกิจ

                         4) ให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน

                         5) วิเคราะห ออกแบบ ติดตั้ง และแกไขปญหาระบบเครือขาย  

                         6) จัดการระบบความปลอดภัยและสามารถบํารุงรักษาระบบจราจรในระบบเครือขาย      


รายวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการ

    วิเคราะห์ 

    เชิงตัวเลข

    การสื่อสาร

    และการใช้ 

    เทคโนโลยี 

    สารสนเทศ

6. ทักษะวิชาขีพ
1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6
หมวดวิชาเฉพาะ
กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ
22-4204-2001 การพัฒนาเว็บไซต์เพื่องานธุรกิจ · · · · · · · ·
22-4204-2002 การบริหารจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต · · · · ·
22-4204-2003 การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในงานธุรกิจ · · · · ·
22-4204-2004 การพัฒนาสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ · · · · ·
22-4204-2005 การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางธุรกิจ · · · ·
22-4204-2006 ความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยงของระบบ

                    สารสนเทศ

· · · ·
22-4204-2007 เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการความรู้ · · · · · · · ·
22-4204-2008 การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศในงานธุรกิจ · · · · ·
22-4204-2009 การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ · · ·
22-4204-2010 การพัฒนาโปรแกรมในระบบงานธุรกิจด้วยภาษาเชิงวัตถุ · · · · · · · · ·

แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบ มาตรฐานการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา

· ความรับผิดชอบหลัก ○ ความรับผิดชอบรอง

                                         

แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบ มาตรฐานการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา

· ความรับผิดชอบหลัก ○ ความรับผิดชอบรอง

รายวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการ

    วิเคราะห์ 

    เชิงตัวเลข

    การสื่อสาร

    และการใช้ 

    เทคโนโลยี 

    สารสนเทศ

6. ทักษะวิชาขีพ
1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6
กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก
22-4204-2101 ระบบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลลูกค้า · · · · · · ·
22-4204-2102 จริยธรรมในวิชาชีพคอมพิวเตอร์ · · ·
22-4204-2103 การจัดการสารสนเทศกระบวนการทางธุรกิจ   · · · ·
22-4204-2104 กฎหมายเกี่ยวกับสารสนเทศ · · ·
22-4204-2105 โครงสร้างข้อมูล และขั้นตอนวิธี · ·
22-4204-2106 เครือข่ายคอมพิวเตอร์  · · · ·
22-4204-2107 เทคโนโลยีระบบฐานข้อมูล · · · · ·
22-4204-2108 การใช้โปรแกรมประยุกต์พัฒนางานสำนักงานธุรกิจ · · · · ·
22-4204-2109 การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ · · ·
22-4204-2110 สัมมนาวิชาชีพคอมพิวเตอร์ธุรกิจ · · · · · ·
กลุ่มโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
22-4204-8501 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 1 · · · · · ·
22-4204-8502 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 2 · · · ·

หมวดที่ 5  หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา

1.  กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)

    ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษา และการประเมินผลการศึกษา      ระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2556 (ภาคผนวก ช)  

2.  กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

        2.1  การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา

              กำหนดให้ระบบการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3

              2.1.1  การทวนสอบในระดับรายวิชาให้นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชา

มีคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมของข้อสอบให้เป็นไปตามแผนการสอน

              2.1.2  การทวนสอบในระดับหลักสูตรสามารถทำได้โดยมีระบบประกันคุณภาพภายใน สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้และรายงานผล

                2.1.3  การทวนสอบในระดับหลักสูตร โดยการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ  

        2.2  การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา

              การกำหนดกลวิธีการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ควรเน้นการทำวิจัยสัมฤทธิ์ผลของการประกอบอาชีพของบัณฑิต ที่ทำอย่างต่อเนื่อง และนำผลวิจัยที่ได้ย้อนกลับมาปรับปรุงกระบวนการการเรียนการสอน และหลักสูตรแบบครบวงจร รวมทั้งการประเมินคุณภาพของหลักสูตรและหน่วยงานโดยองค์กรระดับสากล โดยการวิจัยอาจจะดำเนินการดังตัวอย่างต่อไปนี้

              2.2.1 ภาวะการได้งานทำของบัณฑิต ประเมินจากบัณฑิตแต่ละรุ่นที่จบการศึกษาในด้านขอระยะ

เวลาในการหางานทำ ความเห็นต่อความรู้ ความสามารถ ความมั่นใจของบัณฑิตในการประกอบการงานอาชีพ

              2.2.2 การตรวจสอบจากผู้ประกอบการ โดยการขอเข้าสัมภาษณ์ หรือการส่งแบบสอบถาม

เพื่อประเมินความพึงพอใจในบัณฑิตที่จบการศึกษาและเข้าทำงานในสถานประกอบการนั้นๆ ในคาบระยะเวลา  ต่าง ๆ เช่น ปีที่ 1 หรือปีที่ 3

              2.2.3 การประเมินจากสถานศึกษาอื่น โดยการส่งแบบสอบถาม หรือสอบถามเมื่อมีโอกาสในระดับความพึงพอใจในด้านความรู้ ความพร้อม และสมบัติด้านอื่น ๆ ของบัณฑิตจะจบการศึกษาและเข้าศึกษาเพื่อปริญญาที่สูงขึ้นในสถานศึกษานั้น ๆ

              2.2.4 การประเมินจากบัณฑิตที่ไปประกอบอาชีพ ในแง่ของความพร้อมและความรู้จากสาขาวิชาที่เรียน รวมทั้งสาขาอื่น ๆ ที่กำหนดในหลักสูตร ที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพของบัณฑิต รวมทั้งเปิดโอกาสให้เสนอข้อคิดเห็นในการปรับหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้นด้วย

              2.2.5 ความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มาประเมินหลักสูตรหรือเป็นอาจารย์พิเศษต่อความ

ร้อมของนักศึกษาในการเรียน และสมบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาองค์ความรู้ของนักศึกษา

3.  เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

        การวัดประเมินผลและการสำเร็จการศึกษา ต้องได้จำนวนหน่วยกิตสะสมครบถ้วนตามโครงสร้างที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนน และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ

หมวดที่ 6  การพัฒนาคณาจารย์

1.  การเตรียมการสำหรับอาจารย์ใหม่

        จัดการปฐมนิเทศแนะแนวการเป็นอาจารย์ ให้มีความรู้และเข้าใจนโยบายของสถาบันและภาควิชา  ตลอดจนในหลักสูตรที่สอน และรายวิชาที่รับผิดชอบ     

2.  การพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่คณาจารย์

        2.1  การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล

              2.1.1 ส่งเสริมอาจารย์ให้มีการเพิ่มพูนความรู้ สร้างเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการสอนและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยการสนับสนุนด้านการศึกษาต่อ ฝึกอบรม ดูงานทางวิชาการ และวิชาชีพในองค์กรต่าง ๆ การประชุมทางวิชาการทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศ

              2.1.2 การเพิ่มพูนทักษะการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลให้ทันสมัย

                2.1.3 พัฒนาบุคลากรร่วมกับสถานประกอบการ                 

        2.2  การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพด้านอื่น ๆ

              2.2.1 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้และคุณธรรม

              2.2.2 มีการกระตุ้นอาจารย์ทำผลงานทางวิชาการสายตรงในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

              2.2.3 ส่งเสริมการทำวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและมีความเชี่ยวชาญ

ในสาขาวิชาชีพ

              2.2.4 มีแผนและจัดสรรงบประมาณสำหรับการทำวิจัย 

              2.2.5 ส่งเสริมให้อาจารย์ทุกคนเข้าร่วมกลุ่มวิจัยต่าง ๆ ของสถาบัน

              2.2.6 ส่งเสริมให้อาจารย์เข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการและวิชาชีพต่าง ๆ ของสถาบัน

              2.2.7  ส่งเสริมและพัฒนา คุณวุฒิการศึกษาให้สูงขึ้น

              2.2.8  ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

หมวดที่ 7  การประกันคุณภาพหลักสูตร

1.  การกำกับมาตรฐาน

        ในการบริหารหลักสูตรจะมีคณะกรรมการประจำหลักสูตร อันประกอบด้วยผู้อำนวยการวิทยาลัย ประธานหลักสูตร หรือหัวหน้าภาควิชา และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยมีผู้อำนวยการเป็นผู้กำกับดูแล และคอยให้คำแนะนำ ตลอดจนกำหนดนโยบายปฏิบัติให้แก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ซึ่งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะวางแผนการจัดการเรียนการสอนร่วมกับผู้บริหารของภาควิชาและอาจารย์ผู้สอน ติดตามและรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยกระทำทุกปีอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย การดำเนินการ การประเมินผล
1. พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย

  โดยอาจารย์และนักศึกษา

  สามารถก้าวทันหรือ

  เป็นผู้นำในการสร้าง

  องค์ความรู้ใหม่ ๆ ทางด้าน

  เทคโนโลยี

2. กระตุ้นให้นักศึกษา     

  เกิดความใฝ่รู้ มีแนวทาง

  การเรียนที่สร้างทั้งความรู้

  ความสามารถในวิชาการ

วิชาชีพที่ทันสมัย

3. ตรวจสอบและปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพ มาตรฐาน

4. มีการประเมินมาตรฐานของหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ

1. จัดให้หลักสูตรสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพด้านเทคโนโลยีในระดับสากล

หรือระดับชาติ (ถ้ามี)

2. ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย โดยมีการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรทุก ๆ 3 ปี

3. จัดแนวทางการเรียนในวิชาเรียนให้มี

ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และมี

แนวทางการเรียนหรือกิจกรรมประจำวิชาให้นักศึกษาได้ศึกษาความรู้ทันสมัย

ด้วยตนเอง

4. จัดให้มีผู้สนับสนุนการเรียนรู้ และหรือ ผู้ช่วยสอน เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิด

ความใฝ่รู้

5. กำหนดให้อาจารย์ที่สอนมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือเป็นผู้มีประสบการณ์

หลายปี มีจำนวนคณาจารย์ประจำ

ไม่น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

6. สนับสนุนให้อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้นำในทางวิชาการ และหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพด้านเทคโนโลยี หรือในด้าน

ที่เกี่ยวข้อง

1. หลักสูตรที่สามารถ อ้างอิงกับมาตรฐานที่กำหนดโดยหน่วยงานวิชาชีพด้านเทคโนโลยี

มีความทันสมัยและ

มีการปรับปรุงสม่ำเสมอ

2. จำนวนวิชาเรียนที่มื   ภาคปฏิบัติ และวิชา

เรียนที่มีแนวทางให้

นักศึกษาได้ศึกษา

ค้นคว้าความรู้ใหม่

ได้ด้วยตนเอง

3. จำนวนและรายชื่อ

คณาจารย์ประจำ

ประวัติอาจารย์ด้าน

คุณวุฒิ ประสบการณ์

และการพัฒนาอบรม

ของอาจารย์

เป้าหมาย การดำเนินการ การประเมินผล
7. ส่งเสริมอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ไปดูงานในหลักสูตรหรือวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ

8. มีการประเมินหลักสูตรโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในทุกปี และภายนอก

อย่างน้อยทุก 3 ปี

9. จัดทำฐานข้อมูลทางด้านนักศึกษา อาจารย์

   อุปกรณ์ เครื่องมือวิจัย งบประมาณ

    ความร่วมมือกับต่างประเทศ ผลงานทาง

   วิชาการทุกภาคการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลใน

   การประเมินของคณะกรรมการ

10. ประเมินความพึงพอใจของหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา

4. จำนวนบุคลากร

 ผู้สนับสนุนการเรียนรู้

 และบันทึกกิจกรรมใน

 การสนับสนุนการเรียนรู้

5. ผลการประเมินการเรียน

  การสอนอาจารย์ผู้สอน

 และการสนับสนุนการ

  เรียนรู้ของผู้สนับสนุน

  การเรียนรู้โดยนักศึกษา

6. ประเมินผลโดยคณะ

 กรรมการที่ประกอบด้วย

 อาจารย์ภายในคณะวิชา

 ทุก 3 ปี

7. ประเมินผลโดยคณะ

 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

 ภายนอกทุก 5 ปี

8. ประเมินผลโดยบัณฑิต

 ผู้สำเร็จการศึกษา

2.   บัณฑิต     

     2.1 คุณภาพบัณฑิตเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยพิจารณาจากผลลัพธ์การเรียนรู้

          คุณภาพของบัณฑิตพิจารณาผลลัพธ์การเรียนรู้ตลอดหลักสูตรภายหลังผ่านการเรียนรู้ครบทั้งหมวดวิชาศึกษาทั่วไป(ทักษะชีวิต) พิจารณา 5 ด้านและหมวดวิชาเฉพาะ(ทักษะวิชาชีพ) พิจารณา 6 ด้าน ซึ่งเป็นตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

     2.2 บัณฑิตมีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ

          นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้งานทำภายใน 1 ปี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 บัณฑิตที่ได้งานทำได้รับเงินเดือนเริ่มต้นไม่น้อยกว่าเกณฑ์ ก.พ. กำหนด ส่วนบัณฑิตอีกส่วน ที่ได้รับคัดเลือกแล้วโดยสถานประกอบการก็สามารถทำงานต่อเนื่องได้เลยภายใต้เงื่อนไขของสถานประกอบการ

          หากพบว่าผู้ใช้บัณฑิตต้องการบัณฑิตที่มีทักษะด้านภาษาต่างประเทศและด้านทักษะการปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้จริง   ก็ทำการปรับปรุงหลักสูตร   ให้สอดคล้องกับความต้องการ    มีระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณภาพบัณฑิตในภาพรวมไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5

3.  นักศึกษา

     3.1 การรับนักศึกษาและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

          3.1.1 การรับนักศึกษา สาขาวิชาดำเนินการรับนักศึกษาภายในกำหนดของสถาบันการอาชีวศึกษาการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 โดยดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการประจำหลักสูตรร่วมกันพิจารณาคุณสมบัติในวันรับสมัคร เพื่อให้ตรงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ สอบคัดเลือกโดยใช้ข้อสอบที่คณะกรรมการประจำหลักสูตรร่วมกันจัดทำ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรร่วมกันพิจารณาผลการสอบและประกาศผลการคัดเลือกโดยวิทยาลัยส่งผลการคัดเลือกไปยังสถาบันเพื่อประกาศผลต่อไป

          3.1.2 การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา ก่อนการเข้าศึกษามีการตรวจสอบความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษและการใช้คอมพิวเตอร์โดยพิจารณาจากผลการสอบคัดเลือกหากตรวจพบว่า

พื้นฐานความรู้ไม่พอก็จะจัดกิจกรรมสอนเสริม ส่วนการปรับตัวของนักศึกษาจะจัดให้อาจารย์ที่ปรึกษาที่ทางสาขาวิชาฯได้เตรียมไว้เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำและนำนักศึกษาเข้าร่วมปฐมนิเทศครบทุกคน

     3.2 การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา

          สาขาวิชามีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการให้แก่นักศึกษาทุกคน โดยนักศึกษาที่มีปัญหา

ในการเรียนสามารถปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการได้ โดยอาจารย์ของสาขาวิชาทุกคนจะต้องทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการให้แก่นักศึกษา และทุกคนต้องกำหนดชั่วโมงให้คำปรึกษา (Office Hours) เพื่อให้นักศึกษาเข้าปรึกษาได้ นอกจากนี้ ต้องมีที่ปรึกษากิจกรรมเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดทำกิจกรรมแก่นักศึกษา

     3.3 กระบวนการและผลการดำเนินงาน (การคงอยู่ การสำเร็จการศึกษา ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา)

          3.3.1 การคงอยู่ของนักศึกษา

          ระหว่างการศึกษาสาขาวิชาฯโดยผู้รับชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้สอนร่วมกันดูแลและจัดระบบดูแลนักศึกษาผ่านครูฝึกในสถานประกอบการและครูนิเทศเพื่อรับทราบปัญหาและช่วยแก้ปัญหาลดการออกกลางคันของนักศึกษา

          3.3.2 การสำเร็จการศึกษา

          ผู้จะสำเร็จการศึกษาต้องศึกษาครบตามหลักสูตร มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด แต่ต้องผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ อาจารย์ที่ปรึกษาจะพิจารณาแนะนำแนวดำเนินการตามระเบียบ/ข้อบังคับของสถาบันหากพบว่านักศึกษามีปัญหาที่ไม่สามารถสำเร็จการศึกษา

          3.3.3 ความพึงพอใจและผลการจัดข้อร้องเรียนของนักศึกษา

          ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อทักษะการสอนของอาจารย์ที่มุ่งผลการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้านเพื่อนำปรับปรุงหลักสูตร กรณีที่นักศึกษามีความสงสัยเกี่ยวกับผลการประเมินในรายวิชาใด สามารถที่จะยื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบในการสอบ ตลอดจนดูคะแนนและวิธีการประเมินของอาจารย์ในแต่ละรายวิชาได้โดยให้เป็นไปตามระเบียบ/ข้อบังคับของสถาบัน

4.  อาจารย์

         การบริหารและพัฒนาอาจารย์ ตั้งแต่ระบบการรับอาจารย์ใหม่ การคัดเลือกอาจารย์ คุณสมบัติ  ความรู้ ความเชี่ยวชาญทางสาขาวิชาและมีความก้าวหน้าในการผลิตผลงานทางวิชาการของอาจารย์

มีกระบวนการดังต่อไปนี้

          4.1  ระบบการรับอาจารย์ใหม่

                คณะกรรมการหลักสูตรของสาขาวิชาจะร่วมกันพิจารณาความจำเป็นและความต้องการขอรับอาจารย์ใหม่เสนอต่อสถาบันการอาชีวศึกษาการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3เพื่อเห็นชอบและพิจารณาประกาศรับสมัครอาจารย์ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคล

          4.2  กลไกการคัดเลือกอาจารย์ใหม่

                สถาบันการอาชีวศึกษาการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกอาจารย์ใหม่ฝ่ายต่างๆ ประกอบด้วยคณะกรรมการ รับสมัคร จัดทำข้อสอบ ตรวจข้อสอบ ควบคุมห้องสอบ พิจารณาผลการสอบ ประกาศผลสอบคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ โดยทุกขั้นตอนจะกระทำอย่างโปร่งใสสามารถร้องขอตรวจสอบได้ ตามระเบียบของสถาบันการอาชีวศึกษาการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 

          4.3  คุณสมบัติ ความรู้ ความเชี่ยวชาญทางสาขาวิชา

                 4.3.1 อาจารย์ประจำต้องมีคุณวุฒิเป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี และเป็นไปตามข้อบังคับสถาบันการอาชีวศึกษาการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล

                 4.3.2 มีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหลักสูตร

                 4.3.3 มีความรู้ มีทักษะในการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาและมีประสบการณ์ทำวิจัยหรือประสบการณ์ประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาที่สอน

          สำหรับอาจารย์พิเศษถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงเฉพาะด้านหรือในกรณีขาดแคลนอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษาในบางรายวิชาตามความเหมาะสม ดังนั้น สาขาวิชา กำหนดนโยบายว่าการเชิญอาจารย์พิเศษหรือวิทยากร มาบรรยาย โดยจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับของสถาบันการอาชีวศึกษาการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ พ.ศ. 2559 โดยสาขาวิชาฯเสนอขอแต่งตั้งอาจารย์พิเศษและดำเนินการตามกระบวนการจัดจ้างของสถาบันการอาชีวศึกษาการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3

          4.4  ความก้าวหน้าในการผลิตผลงานทางวิชาการของอาจารย์

                 สาขาวิชา ดำเนินการเกี่ยวกับความก้าวหน้าของอาจารย์ดังนี้

                 4.4.1 ให้มีการเพิ่มพูนความรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ด้วยการให้อาจารย์ฝึกประสบการณ์

ในสถานประกอบการที่ทำความร่วมมือ

                 4.4.2 กระตุ้นและส่งเสริมสนับสนุนการทำผลงานทางวิชาการในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจโดยตรง

                 4.4.3 ส่งเสริมงานวิจัยตามลำดับหลักและรองดังนี้ งานวิจัยที่มุ่งเน้นเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและเพื่อมีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพ

                 4.4.4 สนับสนุนด้านการศึกษาต่อ ฝึกอบรม ศึกษาดูงานทางวิชาการและวิชาชีพในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การประชุมทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ

5.  หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

          5.1  ด้านหลักสูตร

                 5.1.1 มีระบบการออกแบบหลักสูตรให้มีความสอดคล้องตามกรอบ TQF และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา โดยระบบการเปิด-ปิด หลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 แล้ว ดำเนินการเสนอต่อกรรมการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อพิจารณาใช้หลักสูตร

                 5.1.2 มีกลไกการดำเนินงานตามระบบ โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

ในการดำเนินงานเพื่อนำหลักสูตรไปใช้ ได้แก่การจัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อม ความเข้าใจของอาจารย์ผู้สอน การควบคุม-กำกับติดตามให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดส่ง คอศ.2 (มคอ.3) ให้ทันก่อนเปิดการเรียนการสอน จัดประชุมให้อาจารย์ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการวิพากษ์  คอศ.2 หรือ (มคอ.3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะสำหรับนำไปปรับปรุงให้มีความถูกต้องสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา มีการจัดประชุมคณะกรรมการประจำหลักสูตรเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตร ร่วมหารือแนวปฏิบัติและพัฒนาการเรียนการสอน

เป็นประจำ อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 2 ครั้ง  และมีการควบคุมกำกับติดตามการจัดทำ คอศ.2 - คอศ.6

(มคอ.3 - มคอ.7) ให้เป็นไปตามกำหนดเวลา

                 5.1.3 ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรภายใต้ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา บัณฑิต ผู้ประกอบการ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผุ้เชี่ยวชาญ เป็นต้น

                 5.1.4 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรจัดทำรูปเล่มหลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรฉบับปรับปรุงเพื่อเสนอต่อสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 เพื่อให้ความเห็นชอบ

                 5.1.5 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาข้อเสนอแนะตามรายงาน

ใน คอศ.4 - คอศ.5 (มคอ.5 - มคอ.6) เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงในการจัดทำ คอศ.2 – คอศ.3 (มคอ.3 - มคอ.4)

         5.2 การวางระบบผู้สอน

                หลักสูตรต้องให้ความสำคัญกับการวางระบบผู้สอนในแต่ละรายวิชา   โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาที่สอน เพื่อให้นักศึกษา   ได้รับความรู้ประสบการณ์ และได้รับการพัฒนาความสามารถจากผู้รู้จริง ทั้งนี้หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต    

ให้ความสำคัญกับการกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ให้นักศึกษาได้รับโอกาส และ    การพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพต้องสามารถให้คำปรึกษา ตั้งแต่กระบวนการพัฒนาหัวข้อ การค้นคว้าทดลอง จนถึงการสอบป้องกัน และการเผยแพร่ผลงาน

         5.3  กระบวนการจัดการเรียนการสอน

               5.3.1 บรรยาย

               5.3.2 สาธิต

               5.3.3 ทดลอง

               5.3.4 ปฏิบัติ

               5.3.5 ศึกษาด้วยตนเอง

         5.4  การประเมินผู้เรียน

                เกณฑ์การวัดและประเมินผลเป็นไปตามข้อกำหนดของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3        โดยให้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)

               เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ของสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ.2556 โดยต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 4 แต้มระดับคะแนน และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ จึงถือว่าเรียนจบหลักสูตร

6.  สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

        6.1  การบริหารงบประมาณ

              วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา จัดสรรงบประมาณประจำปี ทั้งงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้เพื่อจัดซื้อตำรา สื่อการเรียนการสอน โสตทัศนูปกรณ์ และวัสดุครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์อย่างเพียงพอ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน และสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา

        6.2  ทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีอยู่เดิม

              สถาบันฯ มีความพร้อมด้านหนังสือ ตำราและการสืบค้นผ่านฐานข้อมูล โดยมีห้องสมุดที่มีหนังสือด้านการบริหารจัดการและด้านอื่น ๆ รวมถึงฐานข้อมูลที่จะให้สืบค้น ส่วนระดับภาควิชายังมีหนังสือ ตำราเฉพาะทาง นอกจากนี้ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจมีอุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่างพอเพียง

              6.2.1 สถานที่และอุปกรณ์การสอน

                      ใช้สถานที่และอุปกรณ์การสอนของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3  และสถานประกอบการที่ได้ตกลงร่วมมือในการจัดการศึกษาแบบทวิภาคีร่วมกัน มีดังนี้

1) ความพร้อมด้านสถานที่

(1) ห้องเรียนทฤษฎี                                        จำนวน 2 ห้อง

(2) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์                            จำนวน 2 ห้อง

(3) ห้องผู้บริหาร                                           จำนวน 1 ห้อง

(4) ห้องคณาจารย์                                          จำนวน 1 ห้อง

(5) ห้องปฏิบัติงานธุรการ                                   จำนวน 1 ห้อง

                         (6) ห้องสมุด                                               จำนวน 1 ห้อง

2) ความพร้อมด้านครุภัณฑ์

(1) เครื่องมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์                           จำนวน 4 ชุด

(2) เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมโต๊ะวางและเก้าอี้             จำนวน 60 ชุด

(3) เครื่องเสียงพร้อมลำโพงและไมโครโฟนไร้สาย         จำนวน  2 ชุด

(4) คอมพิวเตอร์แบบพกพา                                จำนวน 2 เครื่อง

(5) เครื่องพิมพ์เลเซอร์                                      จำนวน 2 เครื่อง

(6) จอรับภาพมอเตอร์ไฟฟ้า                               จำนวน 2 ชุด

(7) เครื่องฉายทึบแสง Visual                              จำนวน 2 ชุด

(8) เครื่องปรับอากาศ 38,000 BTU                      จำนวน 4 เครื่อง

(9) โต๊ะทำงานพร้อมเก้าอี้                                  จำนวน 5 ชุด

              6.2.2 ห้องสมุด

             ห้องสมุด วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ให้บริการรวมสำหรับทุกสาขาวิชา  มีจำนวนหนังสือโดยประมาณ  ดังนี้

             ห้องสมุดของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ประกอบด้วย

       1) หนังสือและตำราเรียนภาษาไทย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ     2,850         เล่ม                                      2) หนังสือและตำราเรียนภาษาอังกฤษ                                      800           เล่ม

       3) วารสารต่างๆ  ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ                     1,500           เล่ม

       4) รายงานการวิจัย  ผลงานวิจัย                                         200           เล่ม

            นอกจากนี้ นักศึกษาสามารถค้นคว้าได้จากห้องสมุดของมหาวิทยาลัย  ในจังหวัดสงขลา  ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  มหาวิทยาลัยทักษิณ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่มีเอกสาร  ตำรา วารสาร  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก   ที่ให้บริการอาจารย์และนักศึกษาในกลุ่มที่เป็นสมาชิกร่วมกัน         ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ Online เพื่ออ้างอิงวิจัยต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

        6.3  การจัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนเพิ่มเติม

              ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจได้ประสานงานกับห้องสมุดวิทยาลัย  ในการจัดซื้อหนังสือและตำรา

ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริการให้อาจารย์และนักศึกษาได้ค้นคว้า และใช้ประกอบการเรียนการสอนในการประสานการจัดซื้อหนังสือ อาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชามีส่วนร่วมในการเสนอรายชื่อหนังสือ ตลอดจนสื่อการเรียนการสอนที่จำเป็น นอกจากนี้อาจารย์พิเศษที่เชิญมาสอนบางรายวิชา และบางหัวข้อก็มีส่วนในการเสนอรายชื่อหนังสือสำหรับให้ห้องสมุดวิทยาลัยจัดซื้อด้วย ในส่วนของภาควิชา จัดให้มีห้องสมุดย่อย เพื่อบริการหนังสือ ตำรา หรือ วารสารเฉพาะทาง รวมทั้งมีการจัดสื่อการสอนอื่น เพื่อใช้ประกอบการสอนของอาจารย์ เช่น

เครื่องมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์  เครื่องคอมพิวเตอร์  และเครื่องฉายภาพ 3  มิติ

        6.4  การประเมินความเพียงพอของทรัพยากร

              การประเมินความเพียงพอของทรัพยากร  ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุดของภาควิชา ซึ่งจะประสานงานการจัดซื้อจัดหาหนังสือเพื่อเข้าห้องสมุดวิทยาลัย  และทำหน้าที่ประเมินความพอเพียงของหนังสือ ตำรา นอกจากนี้มีเจ้าหน้าที่ ด้านโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อของอาจารย์แล้วยังต้องประเมินความพอเพียงและความต้องการใช้สื่อของอาจารย์ด้วย โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้      

เป้าหมาย การดำเนินการ การประเมินผล
จัดให้มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการระบบเครือข่าย แม่ข่าย อุปกรณ์การทดลอง ทรัพยากรสื่อและช่องทางการเรียนรู้ที่เพียบพร้อมเพื่อสนับสนุนทั้งการศึกษาในและนอกห้องเรียน เพื่อการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ 1. จัดให้มีห้องเรียนมัลติมีเดีย

  ที่มีความพร้อมใช้งานอย่างมี

  ประสิทธิภาพ ทั้งในการสอน

  การบันทึกเพื่อเตรียมจัด

  สร้างสื่อสำหรับการทบทวน

  การเรียน

2. จัดเตรียมห้องปฏิบัติการ

  ทดลองที่มีเครื่องมือทันสมัย

  และเป็นเครื่องมือวิชาชีพใน

  ระดับสากล เพื่อให้นักศึกษา

  สามารถฝึกปฏิบัติสร้างความ

  พร้อมในการปฏิบัติงานใน

  วิชาชีพ

1. รวบรวมจัดทำสถิติจำนวน  

  เครื่องมืออุปกรณ์ ต่อหัวนักศึกษา

  ชั่วโมงการใช้งาน ห้องปฏิบัติการ

  และเครื่องมือความเร็วของระบบ

  เครือข่ายต่อจำนวนนักศึกษา

2. จำนวนนักเรียนลงเรียนในวิชา

  เรียนที่มีการฝึกปฏิบัติด้วย

  อุปกรณ์ต่าง ๆ

เป้าหมาย การดำเนินการ การประเมินผล
3. จัดให้มีเครือข่ายและ

  ห้องปฏิบัติการทดลอง  

  มีเครื่องคอมพิวเตอร์และพื้นที่

  ที่นักศึกษาทดลอง หาความรู้

  เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง ด้วย

  จำนวนและประสิทธิภาพที่

  เหมาะสม เพียงพอ

4. จัดให้มีห้องสมุดบริการ

  ทั้งหนังสือ ตำรา และสื่อดิจิทัล

  เพื่อการเรียนรู้ ทั้งห้องสมุดทาง

  กายภาพและทางระบบเสมือน

5. จัดให้มีระบบแม่ข่ายขนาดใหญ่

  อุปกรณ์เครือข่าย เพื่อให้ 

  นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้า

3. สถิติของจำนวนหนังสือตำรา 

   สื่อดิจิทัลที่มีให้บริการ และ

   สถิติการใช้งานหนังสือ ตำรา

   สื่อดิจิทัล

4. ผลสำรวจความพึงพอใจของ

  นักศึกษาต่อการให้บริการ

  ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้และ

   การปฏิบัติการ

7. ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators)

        ผลการดำเนินการบรรลุตามเป้าหมาย ตัวบ่งชี้ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง 2 ปีการศึกษา เพื่อติดตามการดำเนินการตาม TQF ต่อไป ทั้งนี้เกณฑ์การประเมินผ่าน คือ มีการดำเนินงานตามข้อ 1-5 และอย่างน้อย ร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี

ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3
(1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อ  วางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร X X X
(2) มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ คอศ.1 (มคอ.2) ที่สอดคล้อง  

กับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)

X X X
(3) มีรายละเอียดของรายวิชา และประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี)

ตามแบบ คอศ.2 (มคอ.3) และ คอศ.3 (มคอ.4) อย่างน้อยก่อนการเปิดสอน

ในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา

X X X
(4) จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชาและประสบการณ์ภาคสนาม(ถ้ามี) ตามแบบ คอศ.4 (มคอ.5) และ คอศ.5 (มคอ.6) ภายใน30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา X X X
(5) จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร  ตามแบบ คอศ.6 (มคอ.7)ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา X X X
(6) มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน คอศ.2 (มคอ.3) และ คอศ.3 (มคอ.4)  อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชา

ที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา (ถ้ามี)

X X X
ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงาน ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3
(7) มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน

หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงาน

ใน คอศ.6 (มคอ.7) ปีที่แล้ว

X X
(8) อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน X X X
(9) อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง X X X
(10) จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนา

วิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี

X X X
(11) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 จากคะแนน 5.0 X X
(12) ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0 X
(13) นักศึกษามีงานทำภายใน 1 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 X
(14) บัณฑิตที่ได้งานทำ ได้รับเงินเดือนเริ่มต้นไม่กว่าเกณฑ์ ก.พ. กำหนด X

หมวดที่ 8  การประเมิน และปรับปรุงการดำเนินการของหลักสูตร

1.  การประเมินประสิทธิผลของการสอน

        1.1  การประเมินกลยุทธ์การสอน

              ก่อนการสอนให้มีการประเมินกลยุทธ์การสอน  โดยทีมผู้สอน  หรือระดับภาควิชา และ/หรือการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรหรือวิธีการสอน  ส่วนหลังการสอนให้มีการวิเคราะห์ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และการวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษา และด้านกระบวนการนำผลการประเมินไปปรับปรุง  ทำโดยรวบรวมปัญหา/ข้อเสนอแนะ  เพื่อปรับปรุง  และกำหนดประธานหลักสูตรและทีมผู้สอนนำไปปรับปรุงและรายงานผลต่อไป

        1.2  การประเมินทักษะของอาจารย์ในการใช้แผนกลยุทธ์การสอน

              การประเมินทักษะดังกล่าวสามารถทำโดยการ

                    1.2.1 ประเมินโดยนักศึกษาในแต่ละวิชา

                    1.2.2 การสังเกตการณ์ของผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ประธานหลักสูตร และ/หรือทีมผู้สอน

                  1.2.3 ภาพรวมของหลักสูตรประเมินโดยบัณฑิตใหม่

2.  การประเมินหลักสูตรในภาพรวม

        การประเมินหลักสูตรในภาพรวม โดยสำรวจข้อมูลจาก

          2.1 นักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่

          2.2 ผู้ว่าจ้าง

          2.3 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

            2.4 อาจารย์ผู้สอน

3. การประเมินผลการดำเนินงานตามรายละเอียดหลักสูตร

        มีการประเมินผลการดำเนินงานตามหลักสูตร ตามดัชนีตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุในหมวดที่ 7 ข้อ 7

4. การทบทวนผลการประเมินและวางแผนปรับปรุงหลักสูตรและแผนกลยุทธ์การสอน

          จากผลการประเมินจะทำให้ทราบจุดอ่อน  จุดแข็ง วิกฤติ และโอกาสของการบริหารหลักสูตร ทั้งในภาพรวมและในแต่ละรายวิชา  หากพบปัญหาในการดำเนินการหลักสูตรจะทำการพัฒนาปรับปรุง  โดยอาจจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ  คือ การปรับปรุงย่อย และการปรับปรุงใหญ่ โดยที่การปรับปรุงย่อย หมายถึง กรณีที่พบปัญหาในระดับรายวิชา สาขาวิชาสามารถดำเนินการปรับปรุงรายวิชานั้นได้ทันที ตลอดเวลาที่พบปัญหา  ส่วนการปรับปรุงใหญ่  หมายถึง การปรับปรุงหลักสูตรทั้งฉบับซึ่งจะดำเนินการทุก 4 ปี  ตามรอบ

การดำเนินการหลักสูตร เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของ ผู้ใช้บัณฑิต และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยดำเนินการดังนี้

1) รวบรวมข้อเสนอแนะ/ข้อมูลจากการประเมินจากนักศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ผู้ทรงคุณวุฒิ และจาก คอศ.6

(มคอ.7)

2) วิเคราะห์ทบทวนข้อมูลข้างต้น โดยผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ ประธานหลักสูตร

3) เสนอการปรับปรุงหลักสูตรและแผนกลยุทธ์ (ถ้ามี)