ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:NataraP/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตระกูลแพทยานนท์[แก้]

ตระกูลแพทย์แผนไทยที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และได้รับพระราชทานนามสกุล "แพทยานนท์" ในสมัยรัชกาลที่ 6 และมีลูกหลานสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้

  • ขุนชาตโอสถ (หมอคง แพทยานนท์) ถือได้ว่าเป็นปู่ทวดต้นตระกูลที่ศึกษาวิชาการแพทย์แผนไทยจนได้รับราชการอยู่กรมแพทย์ ในพระบรมมหาราชวังหน้า
  • ขุนพรหมแพทยา(หมออิ่ม แพทยานนท์) บุตรชายของหมอคง แพทยานนท์ ผู้สืบทอดวิชา เป็นแพทย์หลวง รับกราชการอยู่กรมแพทย์ ในพระบรมราชวังหลวง ในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6

ต่อมา ขุนพรหมแพทยาซึ่งมีภรรยา 2 คน คือ นางเกริ่น แพทยานนท์ และนางจีบ แพทยานนท์ มีบุตรและธิดาหลายคน แต่มีบุตร 3 คน ได้สืบทอดวิชาแพทย์แผนไทย จนเข้ารับราชการ และสร้างชื่อเสียงในเวลาต่อมา คือ

  • ขุนอุดมโอสถ (หมอเพ็ชร แพทยานนท์) หนึ่งในบุตรชายฝาแฝดผู้พี่ (หมอเพ็ชร-หมอพลอย)
  • หมื่นชำนาญแพทยา(หมอพลอย แพทยานนท์) ฝาแฝดผู้น้อง
  • หมื่นเมหะสูตร(นายเฮง แพทยานนท์)
หมอเพ็ชร-หมอพลอย ทายาทฝาแฝด ผู้สืบทอดตำราแพทย์หลวง[แก้]

ตามความเชื่อของแพทย์แผนไทยแต่โบราณ ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านการรักษาโรคตามแบบแพทย์แผนไทย จะต้องจำลองพระฤาษีทั้ง 8 พระองค์ คือ นามพระฤาษี บรมครูทางการรักษาตามแบบแพทย์แผนไทยดั้งเดิม พร้อมทั้งท่าน ชีวกโกมารภัฎ บรมครูทางด้านการใช้สมุนไพรรักษาโรค โดยจะต้องมีพิธีไหว้ครู พระครูอาจารย์พระฤาษี แพทย์แผนไทยเป็นประจำทุกปี เพื่อระลึกถึงพระคุณครูที่ได้ประสิทธิประสาทวิชาทางด้านการแพทย์แผนไทย ตามพิธีแบบพราหมณ์ ในวันพฤหัสบดี ข้างขึ้นเดือน 8 ของทุกปี ตู้พระครูพระฤาษีแพทย์แผนไทยที่ประดิษฐานอยู่ ณ หอประวัติศาสตร์สุขภาพ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขนี้เป็นของตระกูล แพทยานนท์ สืบทอดโดยทายาทฝากแฝด ขุนอุดมโอสถ(หมอเพ็ชร์ แพทยานนท์) และ หมื่นชำนาญแพทยา (หมอพลอย แพทยานนท์) ได้รับการขานนามจากคนทั่วไปว่าหมอเพ็ชร์ หมอพลอย ท่านเป็นหมอหลวงรับใช้เบื้องพระยุคลบาทในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 https://www.facebook.com/watch/?v=1699720056865476

https://www.facebook.com/IAtWork/photos/a.820482217990965/3447687451937082/?type=3