ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Mr.Big Bean/กระบะทราย c

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ปฏิบัติการอันธิงคาเบิล"
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น

กองทัพพันธมิตรในยุโรปกลางเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2488
วันที่1 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (ตามแผน)[1]
สถานที่
ยุโรป,ชายแดนระหว่างเขตการควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตรกับเขตการควบคุมของสหภาพโซเวียต
ผล ไม่มีการสู้รบกัน
*แผนไม่ได้รับการอนุมัติ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ไม่มีการเปลียนแปลงดินแดน
คู่สงคราม
 บริเตนใหญ่
 สหรัฐอเมริกา
แคนาดา
เขตยึดครองเยอรมนีของสัมพันธมิตร
โปแลนด์ รัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์
สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียตเขตยึดครองเยอรมนีของสหภาพโซเวียต
โปแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักรวินสตัน เชอร์ชิลล์
สหราชอาณาจักรเบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
William Lyon Mackenzie King
สหรัฐอเมริกาแฮร์รี เอส. ทรูแมน
สหรัฐอเมริกาดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
โปแลนด์Władysław Raczkiewicz
สหภาพโซเวียตโจเซฟ สตาลิน
สหภาพโซเวียตเกออร์กี จูคอฟ
โปแลนด์บอเลสวัฟ บีแยรุต

ปฏิบัติการเหนือความคาดหมาย หรือ ปฏิบัติการอันธิงคาเบิล (อังกฤษ: Operation Unthinkable) เป็นชื่อรหัสของทั้งสองแผนของพันธมิตรตะวันตก โดยแผนดังกล่าวได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีอังกฤษวินสตัน เชอร์ชิลล์เมื่อปีพ.ศ. 2488 และพัฒนาโดยกองทัพอังกฤษหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป

แผนแรกเป็นปฏิบัติการในการโจมตีของกองกำลังโซเวียตที่ประจำการอยู่ในประเทศเยอรมนี เพื่อกำจัดภัยคุกคามของโซเวียตในยุโรปตะวันออกรวมถึงการแก้ไขปัญหาข้อตกลงโปแลนด์[2] (หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในการประชุมยัลตา) ต่อมาแผนแรกก็ถูกยกเลิกไป ต่อมารหัสนี้ก็ถูกนำมาใช้ในแผนที่สอง แผนที่สองเป็นปฏิบัติการป้องกันการโจมตีของกองกำลังโซเวียตหลังสหรัฐถอนทัพไปยังแนวรบแปซิฟิก

ปฏิบัติการอันธิงคเบิล นับป็นปฏิบัติการแรกในช่วงสงครามเย็นที่กล่าวถึงการทำสงครามกับสหภาพโซเวียต[3] ทั้งสองมีแผนถูกเก็บเป็นความลับจนกระทั่งปี พ.ศ. 2541 [4]

ปฏิบัติการเชิงรุก

[แก้]

เป้าหมายแรกเป็น การพยามการบีบบังคับให้โซเวียตยอมรับและทำตามสัญญาของสหรัฐฯและจักรวรรดิอังกฤษ ในการข้อตกลงเกี่ยวโปแลนด์และการไม่คุมคามในยุโรปตะวันออกจากการประชุมยัลตา

ในช่วงเวลานั้นคณะเสนาธิการกังวลว่าถึงจำนวนกองทัพโซเวียตที่ในช่วงท้ายสงครามอีกทั้งผู้นำโซเวียตโจเซฟ สตาลินดูเป็นคนที่ไม่น่าเชื่อถือสิ่งเหล่านี้ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามต่อยุโรปตะวันตกได้ ในช่วงสหภาพโซเวียตกับญี่ปุ่นยังอยู่ในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันนั้นสมมติฐานหนึ่งรายงานว่าสหภาพโซเวียตอาจจะเป็นพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นในกรณีที่ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต

ปฏิบัติการเริ่มต้นของการบุกสหภาพโซเวียตของสัมพันธมิตรในยุโรปมีกำหนดการวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งเป็นสี่วันก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร[1]ตามแผนการทหารอังกฤษและอเมริกัน กว่า 47 กองพล จากทั้งหมด 100 กองพลของอังกฤษ อเมริกันและแคนาดาที่ประจำการในเวลานั้น จะเจาะแนวรบตรงกลางของกองทัพแดงบริเวณเมืองเดรสเดนและโดยรอบ[1] และศึกนี้จะเป็นการร่วมกันเข้าตีของทหารเยอรมันกว่า 1 แสนนาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนอาวุธเป็นที่เรียบร้อย โดยจะเข้าทำการโจมตีที่ตั้งหน่วยทหารโซเวียตทั่วทุกหัวเมืองใหญ่ของเยอรมันร่วมถึงโน้มน้าวให้โปแลนด์ ต่อต้านโซเวียตและเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และประสานการโจมตีจากกองทัพโปแลนด์ด้วยเช่นกัน ในปฏิบัติการต้องทำการรุกอย่างรวดเร็วก่อนถึงฤดูหนาวเพราะเมื่อถึงฤดูหนาวจะทำให้สงครามยืดเยื้อจนเกิดความสูญเสียมหาศาล

แผนดังถูกนำเสนอให้กับคณะเสนาธิการของอังกฤษ แต่เนื่องมีกการคาดการณ์ไว้ว่าในวันที่ 1 กรกฎาคมซึ่งคาดว่าจะเกิดความขัดแย้งขึ้นกองกำลังโซเวียตในยุโรปและตะวันออกกลางจะมีอยู่ 2.5 ต่อ 1 ของกองกำลังสัมพันธมิตรเสนาธิการจึงไม่อนุมัติในการจัดกองกำลัง[5]อีกทั้งสหรัฐไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามในยุโรปอีก จนในที่สุด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ปฏิบัติการถูกยกเลิกไปเนื่องจาก "อันตรายเกินไป"


ปฏิบัติการป้องกัน

[แก้]

เพื่อตอบสนองสั่งของเชอร์ชิลล์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ตามรายงานเขียนว่า "จะต้องทำให้แน่ใจว่าเกาะอังกฤษจะมีการป้องกันพอรับสถานะการณ์กรณีที่เกิดสงครามกับรัสเซียในอนาคตอันใกล้นี้" [6] กองกำลังสหรัฐกำลังย้ายไปอยู่ที่แปซิฟิกเพื่อวางแผนการรุกรานญี่ปุ่นและเชอร์ชิลล์กังวลว่าการลดกำลังสนับสนุนนี้จะทำให้สหภาพโซเวียตใช้ช่วงเวลานี้ในการคุมคามยุโรปตะวันตก รายงานสรุปว่าถ้าสหรัฐอเมริกามุ่งเน้นอยู่กับการยุทธในแปซิฟิก สหราชอาณาจักร มองว่า""นั้นเป็นเรื่องประหลาดใจมาก""[7]

เจ้าหน้าที่วางแผนร่วมปฏิเสธความคิดของเชอร์ริลในการยึดเมืองหัวเขตฝั่งต่างๆทวีปยุโรปเนื่องจากไม่มีประโยชน์ในการปฏิบัติงาน มีการคาดการณ์ว่าอังกฤษจะใช้กองทัพอากาศและกองทัพเรือในการป้องกันและต่อต้านในการรุกรานถึงแม้ว่าจะมีการคาดการณ์อีกว่าอาจจะมีการโจมตีด้วยจรวดจากโซเวียตก็ตาม

ดูเพิ่ม

[แก้]

เจ็ดวันไปแม่น้ำไรน์

อ้างอิง

[แก้]

{{reflist|30em|refs= [1] [3] [4] [2] [6] [7]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Reynolds, p. 250
  2. 2.0 2.1 Operation Unthinkable..., p. 1 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 16 พฤศจิกายน 2010)
  3. 3.0 3.1 Costigliola, p. 336
  4. 4.0 4.1 Gibbons, p. 158
  5. Operation Unthinkable p. 22 Retrieved 2 May 2017
  6. 6.0 6.1 Operation Unthinkable..., p. 30 (Annex) ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 16 พฤศจิกายน 2010)
  7. 7.0 7.1 Operation Unthinkable..., p. 24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 16 พฤศจิกายน 2010)