ผู้ใช้:MaxDutor/การโจมตีท่าเรือซิดนีย์
ปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2485 ในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง เรือดำน้ำแคระของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้ทำการโจมตีเมือง ซิดนีย์ และ นิวคาสเซิล ใน นิวเซาธ์เวลส์ ออสเตรเลีย ระหว่างคืนวันที่ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน เรือดำน้ำชั้นโค-ฮโยเทคิ จำนวน 3 ลำ ซึ่งแต่ละลำมีลูกเรือสองคน เข้าโจมตีท่าเรือซิดนีย์ เป้าหมายเพื่อจมเรือรบพันธมิตรและต่อต้านการสร้างท่าเรือต่อต้านเรือดำน้ำซิดนีย์ โดย 2 ลำถูกตรวจพบและโดนทำลายเสียก่อน โดยลูกเรือเจาะเรือดำน้ำตัวเองและฆ่าตัวตาย ต่อมาเรือดำน้ำเหล่านี้ถูกกู้คืนโดยฝ่ายพันธมิตร เรือดำน้ำลำที่สามพยายามยิงตอร์ปิโดใส่เรือลาดตระเวนหนัก ยูเอสเอส ชิคาโก แต่พลาดเป้าหมายไปถูกเรือข้ามฟากดัดแปลง เอชเอ็มเอเอส คัททาบูล แทน ทำให้ลูกเรือเสียชีวิต 21 ราย เรือดำน้ำแคระลำที่สามนี้ได้สาบสูญ จนปี พ.ศ. 2549 นักดำน้ำสคูบาสมัครเล่นได้ค้นพบซากเรือนี้บริเวณชายหาดทางตอนเหนือของซิดนีย์
ทันทีหลังจากการจู่โจม เรือเดินสมุทรของญี่ปุ่น 5 ลำ ได้บรรทุกเรือดำน้ำแคระไปยังออสเตรเลีย ระหว่างนี้กองเรือได้ทำการโจมตีเพื่อขัดขวางการเดินเรือของพ่อค้าในน่านน้ำออสเตรเลียตะวันออกด้วย โดยโจมตีเรือสินค้าอย่างน้อย 7 ลำ จมเรือ 3 ลำ และสังหารลูกเรือ 50 คน ในช่วงเวลาระหว่างเที่ยงคืนถึง 02:30 น. วันที่ 8 มิถุนายน เรือดำน้ำสองลำได้โจมตีท่าเรือของซิดนีย์และนิวคาสเซิล
การโจมตีของเรือดำน้ำแคระ ในภายหลังรู้จักกันดีในนามของกิจกรรมกองทัพเรือฝ่ายอักษะในน่านน้ำออสเตรเลียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่เมืองนี้ถูกโจมตี โดยรวมแล้ว ความเสียหายนั้นมีเล็กน้อย ฝ่ายญี่ปุ่นสามารถจมได้เพียงเรือที่ไม่มีอาวุธ และล้มเหลวในการทำลายเป้าหมายที่สำคัญ แต่ผลกระทบหลักคือจิตวิทยา สร้างความหวาดกลัวต่อการบุกญี่ปุ่นที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่งผลให้กองทัพออสเตรเลียยกระดับการป้องกัน รวมถึงการเริ่มปฏิบัติการ คุ้มกัน เพื่อปกป้องการขนส่งทางเรือ
กองกำลัง
[แก้]ญี่ปุ่น
[แก้]เดิมที กองทัพเรือญี่ปุ่นนั้น ตั้งใจจะใช้เรือดำน้ำ 6 ลำในการโจมตีท่าเรือซิดนีย์ คือ เรือดำน้ำ ประเภท บี 1 ประกอบด้วย ไอ-21, ไอ-27, ไอ-28 และ ไอ-29 เรือดำน้ำ ประเภท ซี 1 ประกอบด้วย ไอ-22 และ ไอ-24 : 161 เรือดำน้ำทั้ง 6 ลำ เป็นกลุ่มโจมตีทางทิศตะวันออกของ กองเรือดำน้ำที่ 8 ภายใต้คำสั่งของกัปตัน ฮันคิวซาซากิ : 161 : 59
วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2485 เรือดำน้ำ ไอ-21 และ ไอ-29 นั้นได้บรรทุก โยโกสุกะ อี 14 วาย 1 หรือ "เกลน" เครื่องบินน้ำสำหรับลาดตระเวนทางอากาศ เพื่อสำรวจเป้าหมายสำหรับโจมตีท่าเรือบริเวณออสตราเลเซีย : 61 : 163 ไอ-21 นั้นสำรวจบริเวณ นูเมอาในนิวแคลิโดเนีย, ซูวาในฟิจิ และ โอ๊คแลนด์ในนิวซีแลนด์ ตามลำดับ ส่วน ไอ-29 นั้นไปที่ซิดนีย์, ออสเตรเลีย : 162
ในวันที่ 11 พฤษภาคม ไอ-22, ไอ-24, ไอ-27 และ ไอ-28 ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปยังฐานทัพเรือญี่ปุ่นที่ ทรัคลากูน ในหมู่เกาะคาโรไลน์ เพื่อรับ เรือดำน้ำแคระ ชั้นโค-ฮโยเทคิ : 61 ไอ-28 ล้มเหลวในการเข้าถึงทรัคเนื่องจากถูกยิงด้วยตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำ ยูเอสเอส ทัวทอก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม : 61–2 เรือดำน้ำที่เหลือทั้ง 3 ลำออกจากทรัคราว ๆ 20 พฤษภาคมเพื่อไปทางใต้ของ หมู่เกาะโซโลมอน : 62 ไอ-24 ถูกบังคับกลับมาในวันต่อมา เนื่องจากเกิดระเบิดขึ้นในช่องใส่แบตเตอรี่ของเรือ อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้พลนำทางเสียชีวิตและผู้บัญชาการบาดเจ็บ : 164 เรือสำรองของ ไอ-28 จึงออกปฏิบัติการแทนที่ไปก่อน : 164
ฝ่ายพันธมิตร
[แก้]เจ้าหน้าที่ทหารเรือที่ดูแลท่าเรือซิดนีย์ในช่วงเวลาของการโจมตีคือ พลเรือตรี เจอราร์ดมัวเฮด - โกลด์ : 30 ในคืนที่เกิดการโจมตี มีเรือขนาดใหญ่ 3 ลำเข้าประจำการที่ท่าเรือซิดนีย์ประกอบด้วย เรือลาดตระเวณหนัก ยูเอสเอส ชิคาโก, เอชเอ็มเอเอส แคนเบอร์รา และ เรือลาดตระเวณ เอชเอ็มเอเอส แอดิเลด : 193–4 เรือรบอื่น ๆ ในท่าเรือรวม ประกอบไปด้วย เรือพิฆาต ยูเอสเอส ด็อบบิน, เรือวางทุ่นระเบิด เอชเอ็มเอเอส บังการี, เรือลาดตระเวณ เอชเอ็มเอเอส วายอัลล่า, เอชเอ็มเอเอส กีลอง, เอชเอ็มไอเอส บอมเบย์, เรือลาดตระเวนติดอาวุธ เอลเอ็มเอส คานิมบลา, เอชเอ็มเอเอส เวสทราเลีย, เรือดำน้ำดัตช์ เค-9 : 193–4 และ เรือข้ามฟากดัดแปลง เอชเอ็มเอเอส คัททาบูลอยู่ขนาบข้าง เกาะการ์เดน ทำหน้าที่เป็นค่ายทหารชั่วคราวสำหรับถ่ายโอนลูกเรือ : 143 เรือของโรงพยาบาล โอรานเจ ก็อยู่ในท่าเรือด้วยเช่นกัน แต่ได้ออกไปหนึ่งชั่วโมงก่อนการโจมตี : 190
การป้องกันท่าเรือ
[แก้]ในช่วงเวลาของการโจมตี ระบบป้องกันท่าเรือซิดนีย์ ประกอบด้วย ตัวตรวจจับเรือดำน้ำ 8 ตัว อีก 6 ตัวในบริเวณด้านนอกท่าเรือ ระหว่าง นอร์ทเฮด และ เซาน์เฮด อีก 1 ตัว ระหว่าง เซาน์เฮด และ มิดเดิลเฮด อีก 1 ตัว เช่นเดียวกับตาข่ายดักเรือดำน้ำซิดนีย์ ที่สร้างไว้บางส่วนบริเวณ จอร์จเฮจ ใน มิดเดิลเฮด และ กรีนพอยน์ ใน เซาน์เฮด : 65 : 192–4 ส่วนกลางของตาข่ายมีความสมบูรณ์พร้อมและมีกองสนับสนุนอยู่ทางตะวันตก แต่ช่วง 400 m (1,300 ft) จากทั้งสองข้างยังมีช่องว่างอยู่ : 65 : 193 เนื่องจากการขาดแคลนวัสดุ ทำให้ตาข่ายบูมสร้างไม่ครอบคลุมก่อนการโจมตี : 194 วันที่มีการโจมตี ตัวบ่งชี้ 6 ตัวบริเวณด้านนอกไม่ทำงาน 2 ตัวในนั้นใช้การไม่ได้และบุคลากรใช้งานไม่เป็น จึงมีปัญหาในการอ่านค่า : 6 : 177 ส่วนตัวตรวจจับเรือดำน้ำบริเวณนอร์ทเฮดและเซาน์เฮดได้ให้สัญญาณผิดพลาดตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2483 เนื่องจากมีการเดินทางพลเรือนผ่านไปเรื่อย ๆ การอ่านค่าต่าง ๆ จึงไม่ได้รับความสนใจ : 190
ส่วนยานป้องกันทางเรือรวมถึงเรือต่อต้านเรือดำน้ำประกอบไปด้วย เอชเอ็มเอเอส ยานดรา และ บินเกรา, เรือกวาดทุ่นระเบิดผู้ช่วย เอชเอ็มเอเอส Goonambee, Samuel Benbow, เรือเล็กที่ดัดแปลงเป็นเรือลาดตระเวน (เสริมอาวุธด้วยระเบิดน้ำลึก), เอชเอ็มเอเอส Yarroma, Lolita, สเตดี้ เอาร์, ซีมิสต์, Marlean, Toomaree และเรือลาดตระเวนเสริมที่ไม่มีอาวุธสี่ลำ : 66 : 194
ก่อนการปะทะ
[แก้]กองทัพเรือญี่ปุ่นใช้เรือดำน้ำแคระ ชั้น Ko-hyotekไอ-5 ลำที่เคยปฏิบัติการไม่ประสบความสำเร็จกับเรือประจัญบานสหรัฐฯในระหว่างการ โจมตีที่ Pearl Harbor กองทัพเรือคาดหวังว่าการอัพเกรดเรือดำน้ำ การฝึกลูกเรืออย่างเขัมข้นและการเลือกโจมตีเป้าหมายที่ได้รับการปกป้องน้อย จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า : 58 ดังนั้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทัพเรือจึงเริ่มแผนสำหรับการปฏิบัติการเรือดำน้ำขนาดเล็กลำที่สอง : 58
แผนถูกใช้ในการโจมตีทางทะเล เป็นการปะทะกับฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกใต้ การโจมตีครั้งนี้มีความตั้งใจที่จะก่อกวนการรบบริเวณเกาะมิดเวย์ในตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกของพันธมิตร โดยญี่ปุ่นหวังว่าจะหันเหให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเลื่อนมาโจมตีทางใต้และตะวันตกที่ญี่ปุ่นควบคุมอยู่ เรือดำน้ำ 11 ลำของกองเรือดำน้ำที่ 8 ได้ออกปฏิบัติการโจมตีทั้ง 2 ด้าน โดย 5 ลำออกโจมตีด้านตะวันตกในมหาสมุทรอินเดีย และ 6 ลำออกโจมตีด้านตะวันออกในมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งนี้กลุ่มของเรือดำน้ำถูกเลือกตามความเหมาะสมสำหรับการโจมตี โดยอาศัยข้อมูลจากการลาดตระเวน
กลุ่มการโจมตีด้านตะวันตกได้เลือกท่าเรือ ดิเอโก-ซัวเรซ ในมาดากัสการ์เป็นเป้าหมายในการโจมตี การโจมตีครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงค่ำของวันที่ 30 พฤษภาคมและผลคือสร้างความเสียหายให้แก่ เอชเอ็มเอส Ramillies และจมคลังน้ำมันของอังกฤษ หลังจากอังกฤษยึดท่าเรือจากฝรั่งเศษวีชีได้เพียง 22 วัน ในการรบที่มาดากัสการ์
4 เป้าหมายที่อาจจะถูกโจมตีของการโจมตีด้านตะวันตกได้แก่ นูเมอา, ซูวา, โอ๊คแลนด์ และซิดนีย์ ซึ่งระบุโดยฝูงบินลาดตระเวนซึ่งดำเนินการโดย นาบุโอะ ฟูจิตะจากกองเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่บินจาก ไอ-25 โดยเริ่มทำการตั้งแต่ 17 กุมภาพันธ์เริ่มบินสำรวจเหนือท่าเรือซิดนีย์ และทางตะวันออกของท่าเรือออสเตรเลี่ยนยริเวณเมลเบิร์นและโฮบาร์ต (1 มีนาคม) ตามด้วยท่าเรือนิวซีแลนด์บริเวณมุลเฮด-โกลด์ (8 มีนาคม) และออคแลนด์ (13 มีนาคม) จากนั้น ไอ-21 และ ไอ-29 ก็ได้ถูกส่งไปยังเป้าหมายสุดท้าย โดย ไอ-29 แล่นถึงซิดนีย์ ในช่วงเย็นของวันที่ 16 พฤษภาคม ไอ-29 และได้ทำการโจมตี "เวลเล่น" เรือขนส่งสินค้า 5,135 ลองตัน (5,217 ตัน) ของรัสเซีย ในระยะ 30 ไมล์ (26 ไมล์ทะเล, 24 กิโลเมตร) จากนิวคาสเซิล นิวเซาน์เวล แม้ว่าเรือเวลเล่นจะได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยแต่การเดินเรือระหว่างซิดนีย์ถึงนิวคาสเซิลต้องหยุดชะงักกว่า 24 ชั่วโมง กว่าที่เครื่องบินรบและเรือต่อต้านเรือดำหน้าจะมาถึงจากซิดนีย์ รวมถึงเรือเล็กลาดตระเวนสัญชาติดัตซ์ HNLMS Tromp, เรือพิฆาตสัญชาติออสเตรเลีย เอชเอ็มเอเอส Aruntra และเรือพิฆาต ยูเอสเอส เพอร์คินส์ ได้ทำการค้นหาเรือดำน้ำข้าศึกแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ โดย เจอราร์ด มิวเออร์เฮด-โกลด์ สรุปผลว่าเรือดำน้ำข้าศึกได้ปฏิบัติการเพียงลำเดียวและออกจากพื้นที่โดยทันทีหลังจากโจมตี
เครื่องบินน้ำของ ไอ-29 ได้บินลาดตระเวนเหนือเมืองซิดนีย์ในวันที่ 23 พฤษภาคม : 62 หน่วยเรดาร์ลับที่ติดตั้งใน ไอออนโคฟ ตรวจพบการบิน แต่เจ้าหน้าที่ได้ออกรายงานว่าเป็นความผิดพลาด เนื่องจากไม่มีเครื่องบินพันธมิตรที่ปฏิบัติการในซิดนีย์ : 63–4 เครื่องบินนั้นโดยทำลายหรือได้รับความเสียหายขณะลงจอด โดยลูกเรือทั้งสองรอดชีวิตมาได้ : 64 พวกเขารายงานการปรากฏตัวของ เรือหลวงหลายลำ เรือประจัญบาน 2 ลำหรือเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ เรือรบขนาดใหญ่อีก 5 ลำ และเรือสงครามขนาดเล็กหลายลำ : 170–1 และมีรายงานว่าเครือวิทยุกลุ่มพันธมิตร FRUMEL เครือข่ายหน่วยข่าวกรองอัจฉริยะ ถูกขัดขวางบางส่วน ส่งผลให้กองทัพเรือญี่ปุ่นเลือกซิดนีย์เป็นเป้าหมาย : 170–1 : 192 เรือบรรทุกเรือดำน้ำแคระทั้ง 3 ลำ ได้รวมพลกับ ไอ-29 และ ไอ-21 ในระยะประมาณ 35 ไมล์ (30 ไมล์ทะเล, 56 กิโลเมตร) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของซิดนีย์เฮด โดยมีเรือดำน้ำทั้ง 5 ลำเข้าประจำตำแหน่งในวันที่ 29 พฤษภาคม : 64
การดำเนินงานของเรือดำน้ำแคระ
[แก้]การลาดตระเวนครั้งสุดท้าย
[แก้]ก่อนรุ่งเช้าวันที่ 29 พฤษภาคม เครื่องบินลาดตระเวนน้ำของเรือ ไอ-21 ซึ่งขับโดย ไอโต ซูซูมิ ได้เตรียมเข้าสู่การลาดตระเวนท่าเรือซิดนีย์ครั้งสุดท้าย โดยตำแหน่งของแผนการครั้งนี้อยู่ที่ท่าจอดเรือหลัก และตำแหน่งของตาข่ายดักเรือดำน้ำ ฝ่ายสัมพันธมิตรเองก็มีการสังเกตพบเครื่องบินน้ำหลายครั้ง แต่ก็เข้าใจว่าเป็นเครื่องบินครูติสส์ของนาวิกโยธินสหรัฐ จึงไม่มีการแจ้งเตือนจนถึงเวลา 05:07 น. เพราะเริ่มตระหนักว่าเครื่องบินครูติสส์ทั้ง 4 ลำมีอยู่บนเรือลาดตระเวน ชิคาโก เท่านั้น และทั้งหมดยังไม่ออกบิน กองทัพอากาศออสเตรเลียจึงได้ให้เครื่องบินขับไล่เวียราเวย์เข้าค้นหาแต่ก็ล้มเหลว แต่ถึงอย่างนั้น ท่าเรือซิดนีย์ก็ไม่ได้มีการเพิ่มการป้องกันใด ๆ เครื่องบินลาดตระเวนได้รับความเสียหายจากการลงจอดและพังลงในเวลาต่อมา โดยนักบินทั้งสองก็สามารรอดมาได้
แผนการโจมตี
[แก้]ญี่ปุ่นวางแผนที่จะปล่อยเรือดำน้ำแคระอีกลำระหว่าง 17:20 ถึง 17:40 จากจุด 5-7 ไมล์ทะเล นอกอ่าวซิดนีย์ : 205 เรือดำน้ำแคระลำได้แรกผ่านบริเวณเฮดหลังจาก 18:30 น. แต่ด้วยสภาพทะเลที่หนักหน่วงทำให้เกิดการล่าช้ากว่าหนึ่งชั่วโมง : 205 โดยอีก 2 ลำ ก็ตามมาในช่วงเวลายี่สิบนาทีซึ่งล่าช้าเหมือนกัน : 205
โดยเป้าหมายของเรือดำน้ำแคระนั้นขึ้นอยู่กับผู้บัญชาการแต่ละลำโดยมีคำแนะนำว่าควรจะกำหนดเป้าหมายเรือบรรทุกเครื่องบินหรือเรือประจัญบานเป็นหลัก โดยเรือลาดตระเวนเป็นเป้าหมายรอง [1] เรือดำน้ำแคระออกปฏิบัติการไปทางทิศตะวันออกของสะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ หากไม่พบเป้าหมายที่เหมาะสมในบริเวณนี้พวกเขาต้องย้ายไปอยู่ใต้สะพานเพื่อรอโจมตีเรือรบและเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ที่เชื่อว่าอยู่ในท่าเรือ เมื่อเครื่องบินลาดตระเวนพยายามค้าหาเป้าหมายอีกครั้ง โดยคาดหวังว่าจะเจอเรือหลวงวอร์สไปท์ แต่เมื่อไม่มีวี่แวว เรือ ยูเอสเอส ชิคาโก จึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญแทน : 75, 79
หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ เหล่าเรือดำน้ำแคระก็จะออกจากท่าเรือซิดนีย์และมุ่งหน้าลงใต้ไป 20 ไมล์ทะเล ไปยังจุดกู้ภัยนอกพอร์ตแฮ็ค : 79 โดยมีเรือดำน้ำแม่ 4 ลำกำลังรออยู่ในเล้นทางตะวันออก - ตะวันตกตามยาว 16 กิโลเมตร ส่วนลำที่ 5 นั้นรอไกลออกไปทางใต้ 6 กิโลเมตร : 79
โจมตี
[แก้]เรือดำน้ำแคระ เอ็ม-14 ถูกปล่อยจาก ไอ-27 เป็นลำแรกที่เข้าสู่ท่าเรือซิดนีย์ : 67 ตัวตรวจจับเรือดำน้ำมิดเดิลเฮด - เซาน์เฮดสามารถตรวจพบได้ในเวลา 20:01 น. แต่บุคลากรไม่สนใจ เนื่องจากคิดว่าเป็นการจราจรที่หนาแน่นของพลเรือน : 206 เมื่อเวลา 20:15 น. ผู้เฝ้าดู Maritime Services Board ได้สังเกตเห็นเรือดำน้ำแคระหลังจากที่มันผ่านช่องว่างทางตะวันตกและได้ชนกับประภาคาร จากนั้นมันพยายามหันกลับจนท้ายลำเรือติดอยู่ในตาข่าย : 105 สันท้องเรือด้านหน้ามีความเสียหายของพื้นผิว ผู้เฝ้าดูพยายามตรวจสอบว่ามันเป็นอะไรแล้วก็พายเรือไปยังเรือลาดตระเวน เอชเอ็มเอเอส Yarroma ที่ อยู่ใกล้เคียงเพื่อรายงานการค้นพบ : 106 : 208 แม้ Yarroma จะพยายามส่งต่อข้อมูลนี้ไปสำนักงานใหญ่ของกองทัพเรือซิดนีย์ แต่ศูนย์ก็ยังไม่ได้รับรายงานจนถึง 21:52 : 208 : 108 เอชเอ็มเอเอส Yarroma และ Lolita ถูกส่งไปสอบสวน : 208 เมื่อยืนยันว่าวัตถุในสุทธิเป็น "เรือดำน้ำทารก" Lolita จึงได้หย่อนระเบิดน้ำลึก ในขณะที่ผู้บัญชาการ Yarroma ขออนุญาตจากกองทัพเรือสำนักงานใหญ่ซิดนีย์เพื่อทำการยิงโจมตี : 115 : 209 ด้วยความลึกที่ไม่เหมาะสมจึงไม่สามารถทำให้ระเบิดน้ำลึกทำงานได้เนื่องจากน้ำตื้นเกินไปสำหรับการตั้งค่าฟิวส์แบบอุทกสถิต : 209 เมื่อ 22:35 ในขณะที่ Yarroma กำลังรอการอนุญาตในการยิงและ โลลิต้ากำลังปล่อยระเบิดน้ำลึกลูกที่ 3 ลูกเรือสองคนใน เอ็ม-14 ได้ทำการระเบิดสละเรือ ฆ่าตัวตาย และทำลายส่วนหน้าของเรือดำน้ำ : 209 : 116–7
มิวเออร์เฮด-โกลด์ ได้อนุมัติการเตือนภัยพร้อมกับสั่งให้เรือใช้มาตรการต่อต้านเรือดำน้ำเมื่อเวลา 22:27 น. มีการเตือนซ้ำที่เวลา 22:36 พร้อมคำแนะนำสำหรับเรือเพื่อป้องกันการโจมตีเนื่องจากเรือดำน้ำของศัตรูอาจอยู่ในท่าเรือ : 210 : 119 ในช่วงเวลาของการเตือนครั้งแรก ท่าเรือซิดนีย์ปิดการจราจรภายนอก แต่ มิวเออร์เฮด-โกลด์ สั่งให้เรือข้ามฟากและการจราจรภายในเขตอื่น ๆ ยังดำเนินการต่อไป เนื่องจากเขาเชื่อว่าการเดินเรือจะช่วยบังคับให้เรือดำน้ำยังซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำ ไม่กล่าโผล่ออกมา : 119
เรือดำน้ำแคระ เอ็ม-24 เป็นลำที่สองที่เข้าสู่บริเวณท่าเรือ เรือ เอชเอ็มเอเอส Falie ที่แล่นผ่าน ได้เฉี่ยวชนบริเวณลำเรือของ เอ็ม-24 และรายงานว่าไม่ได้ถูกติดตาม เอ็ม-24 ได้ข้ามตัวตรวจจับเมื่อเวลา 21:48 น. โดยไม่ถูกตรวจพบ และเมื่อเวลาประมาณ 22:00 น. เรือข้ามฟาก Manly ได้ผ่านตาข่ายต่อต้านเรือดำน้ำ : 67 : 210 เวลา 22:52 เอ็ม-24 ได้ถูกพบเห็นโดยไฟค้นหาของเรือ US ชิคาโก ในระยะไม่ถึง 500 m (1,600 ft) ในบริเวณกราบขวาของเรือลาดตะเวณและด้านขนานกับหน้าเรือ : 210 : 123 จากนั้น US ชิคาโก ได้เปิดฉากโจมตึด้วยปืน 5 in (130 mm) และปืนกลติดตั้ง 4 ลำกล้อง แต่สร้างความเสียหายน้อยมากเนื่องจากอาวุธไม่สามารถยิงกดดันได้ไกลพอ : 211 บางส่วนของกระสุน 5 in (130 mm) กะดอนจากน้ำแล้ว พุ่งสู่หอคอย Martello ของ ป้อมประการ Denison และยังพบเศษชิ้นส่วนในชานเมือง Cremorne และ Mosman : 125 เจ้าหน้าที่ระดับสูงสั่งให้ลูกเรือเริ่มเตรียมเดินทางออกจากเรือ ยูเอสเอส ชิคาโก และยูเอส เพอร์กินส์ เพื่อเริ่มการต่อต้านเรือดำน้ำรอบ ๆ เรือลาดตระเวน คำสั่งนี้ถูกยกเลิกโดยกัปตันโฮเวิร์ด ดี บอเดอร์ เมื่อเขามาประจำการบนเรือเวลาประมาณ 23:30 น. : 127, 133
เอชเอ็มเอเอส วายออลล่า และ Geelong ก็ได้ร่วมยิง เอ็ม-24 ขณะที่พยายามหนีไปทางตะวันตกเพื่อไปยังสะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ ก่อนที่จะมุดตัวลงใต้น้ำและหลบหนีไป : 212 เมื่อ เอ็ม-24 กลับสู่ใต้น้ำ ก็พบว่าตัวเองอยู่ทางตะวันตกของ ป้อมปราการเดนิสัน : 212 เรือได้หันกลับและแล่นไปทางตะวันออกประมาณ 1 ไมล์ทะเล แล้วย้ายตำแหน่งยิงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของ แบรดลีย์เฮด ซึ่งเป็นจุดที่ผู้บังคับบัญชาสามารถเห็นเงาท้ายเรือของ ยูเอสเอส ชิคาโก ที่เกิดจากแสงไฟที่ท่าปล่อยเรือแห่งใหม่ "กัปตันคุก เกรพวิ่ง ด๊อกค์" ในเกาะดาร์เด้น : 212–4
เรือดำน้ำแคระ เอ็ม-21 ที่ปล่อยจาก ไอ-22 ซึ่งน่าจะเข้ามาในท่าเรือในเวลาเดียวกันกับที่เรือ ยูเอสเอส ชิคาโก เปิดฉากยิง เอ็ม-24 : 68 เรือลาดตระเวนเสริมที่ไม่มีอาวุธ เอชเอ็มเอเอส Lauriana ได้พบเห็น เอ็ม-21 และเปิดใช้งาน หอคอยส่องเรือดำน้ำ ขณะที่กำลังส่งสัญญาณเตือนไปหาสถานีส่งสัญญาณด้านสงครามที่เซาธ์เฮดและเรือต่อต้านเรือดำน้ำ เอชเอ็มเอเอส ยานดรา : 68 เรือ ยานดรา ได้พยายามที่จะชนเรือดำน้ำ และขาดการติดต่อจนกระทั่งติดต่อได้อีกครั้งในเวลา 23:03 จากนั้นได้ปล่อยระเบิดน้ำลึก 6 ลูก : 213 โดยสันนิษฐานว่าะเบิดน้ำลึกได้ทำลายเรือดำน้ำแคระเรียบร้อยแล้ว แต่ เอ็ม-21 ก็ยังรอดมาได้ : 213 นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเรือดำน้ำแคระได้หลบภัยใต้พื้นน้ำและรอจนกระทั่งเรือของพันธมิตรได้ย้ายออกไปก่อนที่มันจะกลับมาโจมตีอีกครั้ง : 213
เมื่อ 23:14, มุลเฮด-โกลด์ สั่งให้เรือทุกลำปฏิบัติตามเงื่อนไข แบล็คเอาน์ หรือปฏิบัติในความมืด : 213–4 จากนั้นเวลา 23:30 น. เขาได้ขึ้นเรือเล็กไปยังตาข่ายดักเรือเพื่อทำการตรวจสอบ : 135 พลเรือเอกได้นำเรือ โลลิต้า มาถึงประมาณเที่ยงคืน เขาแสดงท่าทีให้ลูกเรือเห็นว่าเขาไม่ได้เชื่อถือรายงานเกี่ยวกับเรือดำน้ำ โดยมีบันทึกคำพูดว่า "นายกำลังเล่นอะไรอยู่? เห็นวิ่งขึ้นวิ่งลงแถวท่าเรือ ปล่อยระเบิดน้ำลึก จ้อเรื่องเรือดำน้ำข้าศึกทั้งที่ไม่มีใครเห็นเนี่ยนะ" : 135 ลูกเรือพยายามย้ำว่าได้พบเห็นเรือดำน้ำ แต่ Muirhead-Gould ยังคงไม่ค่อยเชื่อถือและก่อนที่เขาจะออกไปได้ประชดประชันว่า "ถ้าพวกนายเห็นเรือดำน้ำที่ว่า แล้วเจอกัปตันที่เคราดำ ๆ บอกด้วยว่าชั้นอยากเจอ!." : 136
แม้จะมีคำสั่งแบล็คเอาน์ แต่ไฟสปอตไลท์ของเกาะยังถูกใช้งานจนถึง 00:25 น. : 213–4 ประมาณห้านาทีต่อมา เอ็ม-24 ยิงตอร์ปิโดชุดแรกออกไป 2 ลูก การยิงครั้งต่อถัดมาเกิดความล่าช้าเป็นเวลาหลายนาที เนื่องจากเรือดำน้ำขนาดเล็กจะสูญเสียความเสถียรของลำเรือทันทีหลังจากยิงตอร์ปิโด : 214 นักประวัติศาสตร์ไม่แน่ใจว่าตอร์ปิโดต้องการยิงไปทางไหน แม้ทุกคนเห็นด้วยว่าเรือลาดตระเวนสหรัฐนั้นเป็นเป้าหมาย แต่ตอร์ปิโดทั้งคู่ก็พลาดเป้า ในขณะที่ตอร์ปิโดตัวหนึ่งผ่านเข้าใกล้กับกราบขวาของเรือ เพอร์กินส์ : 139 ตอร์ปิโดอีกลูกยังคงแล่นไปหาเรือดำน้ำชาวดัตช์ เค-9 และ เอชเอ็มเอเอส คัททาบูล จากนั้นก็ปะทะกับเรือ คัททาบูล : 139 การระเบิดครั้งนี้ได้จม คัททาบูล และทำให้ เค-9 เสียหาย : 143 : 215 ทั้งสังหาร กองทัพเรือออสเตรเลีย 19 นาย ลูกเรือราชนาวี 2 นายและบาดเจ็บอีก 10 นาย การระเบิดสั่นสะเทือนที่พักอาศัยในพื้นที่ : 215 ตอร์ปิโดอีกตัวพุ่งขึ้นบนพื้นดินบนชายฝั่งตะวันออกของเกาะการ์เด้นโดยไม่เกิดการระเบิด : 215 จากนั้น เอ็ม-24 ได้ทำการดำน้ำเคลื่อนที่ออกจากท่าเรือ : 216
ตัวตรวจจับเรือดำน้ำได้รับสัญญาณการข้าม ณ เวลา 01:58 ตอนแรกเชื่อว่าเรือดำน้ำแคระลำอื่นพยายามเข้าท่าเรือ แม้ว่าการวิเคราะห์ในภายหลังระบุว่าเป็นเพียงเรือขาออก จึงมีแนวโน้มว่า เอ็ม-24 ยังไม่ได้ออกไปไหน : 70 เอ็ม-24 ไม่ได้กลับไปยังเรือดำน้ำแม่และไม่ทราบชะตากรรมของมัน จนกระทั่งปี 2006 : 189
มีคำสั่งให้เรือทำการเปิดทะเล เรือ ยูเอสเอส ชิคาโก ออกจากที่จอดในเวลา 02:14 ด้วยความเร่งรีบ จึงลูกเรือไว้บนทุ่นจอดเรือ : 216 ส่วนเรือ บอมเบย์, วายออลล่า, แคนเบอร์ร่า และ เพอร์คินส์ ได้เริ่มเตรียมการที่จะออกเดินทาง : 153–4
ก่อนเวลา 03:00 ในขณะที่ US ชิคาโก กำลังออกจากท่าเรือ ยามได้มองเห็นกล้องส่องเรือดำน้ำแล่นผ่านด้านข้างของเรือลาดตะเวณ : 218 เวลา 03:01, ตัวตรวจจับเรือดำน้ำจับสัญญาณขาเข้าได้ ซึ่งนั่นคือเรือดำน้ำแคระ เอ็ม-21 ที่เคลื่อนที่เข้าสู่อ่าวซิดนีย์อีกครั้งหลังจากฟื้นตัวจากการโจมตีสี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ : 218 เอชเอ็มเอส Kanimbla ได้เปิดฉากยิง เอ็ม-21 ใน Neutral Bay เวลา 03:50 และเมื่อเวลา 05:00 เรือลาดตระเวนเสริมสามลำประดอบด้วย เอชเอ็มเอเอส Steady Hour, Sea Mist และ Yarroma ได้สังเกตเห็นหอเรือดำน้ำในอ่าว Taylors : 218 เรือลาดตระเวนได้เตรียมระเบิดน้ำลึกและกำหนดระยะจุดระเบิดเป็น 15 m (49 ft) เมื่อ Sea Mist เคลื่อนที่ผ่านจุดที่เรือดำน้ำอยู่ จึงได้ทำการทิ้งระเบิดน้ำลึก ซึ่งมีเวลาเพียงห้าวินาทีในการหนีจากพื้นที่หลังปล่อยระเบิด : 218 การระเบิดทำให้ เอ็ม-21 เสียหายพลิกคว่ำและลอยลำขึ้นผิวน้ำก่อนที่จะจมลงอีกครั้ง : 219 Sea Mist ทิ้งระเบิดน้ำลึกอีกลูก แต่นั่นก็ทำให้เครื่องยนต์หนึ่งในสองตัวของเรือเสียหายและทำให้ไม่สามารถโจมตีได้อีกต่อไป : 219 Steady Hour และ Yarroma ยังคงโจมตีด้วยการหย่อนระเบิดน้ำลึกอีก 17 ลูก โดยอาศัยการจำลองการเล็งและเครื่องมือติดต่อเรือดำน้ำแคระเป็นเวลาอีกสามชั่วโมงครึ่ง : 219 ต่อมาช่วงกลางดึกลูกเรือของ เอ็ม-21 ได้ฆ่าตัวตาย : 219
เมื่อเวลา 04:40 น. เอชเอ็มเอเอส แคนเบอร์ร่า มีบันทึกว่าญี่ปุ่นอาจยิงตอร์ปิโดใส่ นี่อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดมากมายที่เกิดตลอดทั้งคืน อย่างไรก็ตาม เอ็ม-21 เคยมีความพยายามที่จะยิงตอร์ปิโดอีก 2 ลูก แต่ก็ล้มเหลวเนื่องจากความเสียหายของสันท้องด้านหน้าจากชนเรือ เอชเอ็มเอเอส ยานดรา , ระเบิดน้ำลึก หรือจากการปะทะกับยูเอสเอส ชิคาโก ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า เอ็ม-21 พยายามที่จะโจมตีเรือลาดตะเวณ ผู้สังเกตการณ์บนเรือ แคนเบอร์รา คาดว่ามีการยิงตอร์ปิโดเกิดขึ้นเนื่องจากสังเกตุเห็นฟองจากอากาศที่มักเกิดจากการยิง
ภารกิจรอง
[แก้]ตามแผนปกติ เรือดำน้ำหลัก 5 ลำได้รอ ณ ท่าจอดเรือแฮ็คกิ้ง ในคืนวันที่ 1 และ 2 มิถุนายน เพื่อให้เรือดำน้ำแคระกลับมา : 225 : 188–9 คลื่นวิทยุกองทัพเรือเมลเบิร์นได้จับสัญญาณระหว่างเรือดำน้ำทั้ง 5 ลำได้ จากนั้นล็อคฮีดฮุดสัน 3 ลำ และบริสตัลโบฟอร์ต 2 ลำ นำโดยกองทัพอากาศออสเตรเลียได้ทำการค้นหาตำแหน่งเรือดำนั้า : 225 แต่ก็ไม่สำเร็จ : 225 ในวันที่ 3 มิถุนายน ซาซากิได้หมดหวังที่จะกู้เรือดำน้ำแคระจากนั้นก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติภารกิจรอง : 189
การโจมตีเรือสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตร
[แก้]เรือดำน้ำ 4 ลำได้เริ่มปฏิบัติการต่อต้านการเดินเรือสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตร โดย ไอ-21 ลาดตระเวนทางเหนือของซิดนีย์ในขณะที่ ไอ-24 ลาดตระเวนทางใต้ : 239 ไอ-27 เริ่มค้นหาเกาะกาโบ เพื่อหาเรือที่ออกจากเมลเบิร์นและ ไอ-29 เดินทางไปบริสเบน : 239 ไอ-22 แยกออกจากกลุ่มเพื่อดำเนินการลาดตระเวน ณ เวลลิงตันและโอ๊คแลนด์ในนิวซีแลนด์ จากนั้นที่ซูวาในฟิจิ : 239
ระหว่างวันที่ 1 ถึง 25 มิถุนายน เรือดำน้ำ 4 ลำได้เดินทางถึงควาจาเลน อะทอลล์ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ เพื่อเติมสรรพาวุธอีกครั้งก่อนที่จะไปยังอู่ต่อเรือญี่ปุ่นเพื่อทำการบำรุงรักษา : 254 เรือดำน้ำ 4 ลำได้ทำการโจมตีเรือขนส่งสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวน 7 ลำ โดย 3 ลำในนั้นถูกจม เรือ Iron Chieftain ถูกจมโดย ไอ-24 ในวันที่ 3 มิถุนายน เรือ Iron Crown ถูกจมโดย ไอ-27 ในวันที่ 4 มิถุนายน และเรือ กัวเตมาลา ถูกจมโดย ไอ-21 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน : 241, 244, 253 การโจมตีสองครั้งแรกส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 รายและ 37 รายตามลำดับ การโจมตีครั้งที่สามนั้นไม่มีใครเสียชีวิต : 191, 193, 199 การโจมตีครั้งนี้ส่งผลให้มีเปลี่ยนแปลงการเดินเรือของเรือสินค้า การเดินทางทางเหนือของเมลเบิร์นถูกจำกัด จนกระทั่งมีการจัดตั้งขบวนคุ้มกันเรือสินค้าภายหลัง : 195
ไอ-21 เป็นเรือดำน้ำลำเดียวที่กลับไปยังน่านน้ำออสเตรเลีย ที่ก่อนหน้านี้ ไอ-21 สามารถจมเรือได้ 3 ลำและสร้างความเสียหายแกเรืออีก 2 ลำในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 1943 : 254, 260–1 ในการปฏบัติการทั้ง 2 ครั้ง ไอ-21 ได้จมสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตรไปกว่า 44,000 ลองตัน (45,000 ตัน) นั่นทำให้ ไอ-21 เป็นเรือดำน้ำญี่ปุ่นที่ปฏิบัติการประสบความสำเร็จมากที่สุดในการใช้งานในน่านน้ำออสเตรเลีย
การระดมยิง
[แก้]ในตอนเช้าของวันที่ 8 มิถุนายน ไอ-24 และ ไอ-21 ได้ระดมยิงเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ซิดนีย์และนิวคาสเซิล : 194 หลังเที่ยงคืน ไอ-24 ได้เข้ามาในระยะ 9 mi (14 km) จากทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประภาคารแมคควอรี่ : 247 ผู้บัญชาการของเรือดำน้ำสั่งให้ลูกเรือระดมยิงไปที่สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ : 247 จำนวน 10 นัดในระยะเวลา 4 นาที โดย 9 นัดได้ตกในเขตชานเมืองทางทิศตะวันออก อีก 1 นัดพลาดเป้าตกน้ำ : 248 จากนั้น ไอ-24 ได้ทำการมุดน้ำ เพื่อหลบหนีการตอบโต้จากปืนใหญ่ชายฝั่ง : 248–9 มีเพียงกระสุนนัดเดียวเท่านั้นที่ระเบิดออก นอกนั้นสร้างความเสียหายแค่การชนโดยไม่เกิดการระเบิด : 249 ร้อยโทจอร์จ แคนเทลโล นักบินกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ที่ประจำการ ณ สนามบินแบงก์ส ได้ละเมิดคำสั่งโดยการนำเครื่องออกเพื่อตามหาตำแหน่งการยิง แต่เครื่องบิน Airacobra ที่นำขึ้นบินนั้นได้ขัดข้องจนเครื่องตกบริเวณคอกข้างสนามหญ้าที่ แฮมมอนด์วิลล์ ส่งผลให้ร้อยโทจอร์จเสียชีวิต ในปี 1988 ประชาชนและสถานกงสุลสหรัฐ ฯ ในซิดนีย์ได้ผลักดันให้ เมืองลิเวอร์พูล สร้างสวนสาธารณะและอนุสาวรีย์เพื่อระรึกถึงและเป็นเกียรติแก่เขาด้วย
เวลา 02:15 น. ไอ-21 ได้ทำการระดมยิงใส่นิวคาสเซิล จากระยะ 9 กิโลเมตร (4.9 ไมล์ทะเล, 5.6 ไล์) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ หาดสต็อกตอน : 250 โดยยิงกระสุน 34 นัดในระยะเวลา 16 นาที รวมถึง กระสุนแสงอีก 8 นัด : 250 เป้าหมายของการโจมตีคือโรงงานเหล็กกล้า บีเอชพี ที่อยู่ในเมือง : 197 อย่างไรก็ตามกระสุนนั้นได้ตกในบริเวณที่กว้างทำให้เกิดความเสียหายน้อยมากและไม่มีการเสียชีวิต มีเพียงกระสุนเพียงนัดเดียวที่ทำให้เกิดการระเบิดเสียหายแก่บ้านเรือนในพาเนลล์ ในขณะที่กระสุนที่ยิงโดนรถรางนั้นไม่เกิดระเบิด : 197 : 251 ป้อมปราการสแครตชี่ย์ ได้ยิงสวนกลับไป ถือเป็นครั้งเดียวที่ป้อมปราการทางบกของออสเตรเลียได้ยิงใส่เรือรบศัตรูในช่วงสงคราม แต่เรือดำน้ำก็ไม่ได้รับอันตรายใด ๆ : 251
การวิเคราะห์
[แก้]การโจมตีอ่าวซิดนีย์สิ้นสุดลงด้วยความล้มเหลวทั้งสองฝ่าย เผยให้เห็นข้อบกพร่องทางการป้องกันของฝ่าสัมพันธมิตรและยุทธวิธีการรบญี่ปุ่น ที่ได้สูญเสียเรือดำน้ำ 3 ลำแลกกับการจมเรือลำเพียงเดียว และการปฏิบัติการครั้งต่อมาที่เรือดำน้ำขนาดใหญ่ 5 ลำของญี่ปุ่นจมเรือสินค้าเพียง 3 ลำเท่านั้น ประสิทธิภาพการป้องกันของฝ่ายสัมพันธมิตรก็ไม่ดีเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์คนหนึ่งกล่าวว่าการขาดความเสียหายในซิดนีย์ฮาร์เบอร์เกิดจาก "การผสมผสานกันของความดวงดีและการสวนกลับอย่างแข็งกร้าว" [2] : 74
ผลกระทบหลักของการโจมตีคือด้านจิตวิทยา สั่นคลอนความเชื่อที่ว่าซิดนีย์สามารถต่อต้านการโจมตีของญี่ปุ่นได้และย้ำว่าออสเตรเลียนั้นยังมีส่วนร่วมกับสงครามแปซิฟิก [3] : 225 [2] : 74 ไม่มีการเจาะลึกการโจมตีอย่างจริงจัง แม้ว่าสื่อบางสำนักพยายามจะสอบถาม เนื่องจากมีความกังวลว่าการตีแผ่ข้อมูลจะชักนำประชาชนให้รู้สึกกำลังว่าพ่ายแพ้ และลดความเชื่อมั่นของรัฐบาลของนายจอห์น เคอร์ติน สืบเนื่องจากความเสียหายของระบบการป้องกันของออสเตรเลียจากการ โจมตีทางอากาศของญี่ปุ่นในดาร์วินเมื่อสามเดือนก่อนหน้านี้ [4] : 169, 176
ความล้มเหลวในการป้องกันของฝ่ายสัมพันธมิตร
[แก้]ฝ่ายสัมพันธมิตรพลาดสัญญาณเตือนหลาย ๆ ครั้งจากกิจกรรมของญี่ปุ่นนอกชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียก่อนการโจมตี โดยมักจะละเลยว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งที่มีการพบสัญญาณว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้โจมตีเรือบรรทุกสินค้า เวลเลน ในวันที่ 16 พฤษภาคม โดยคิดว่ามันหนีออกจากน่านน้ำออสเตรเลียทันทีหลังจากการโจมตี [4] : 174 จากนั้นเที่ยวบินลาดตระเวนแรกไม่ตรวจพบสิ่งผิดปกติใด ๆ และแม้ว่าหน่วยวิทยุกองทัพเรือเมลเบิร์นจะไม่เชื่อในรายงานและกระจายข่าวให้ผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อ 30 พฤษภาคม แต่ มิวเออร์เฮด-โกลด์ ก็ไม่มีปฏิสัมพันธ์ใด ๆ [3] : 170–1 เจ้าหน้าที่กองทัพเรือ นิวซีแลนด์ ตรวจพบสัญญาณพูดคุยวิทยุของเรือดำน้ำของญี่ปุ่นในวันที่ 26 และ 29 พฤษภาคมแม้ว่าพวกเขาไม่สามารถแปลรหัสสัญญาณได้ แต่เครื่องตรวจจับทิศทางสัญญาณวิทยุ ระบุว่ามีเรือดำน้ำกำลังใกล้เข้ามาที่ซิดนีย์ [4] : 174 ฝ่ายสัมพันธมิตรคิดว่าการอบรมหน่วยต่อต้านเรือดำน้ำยังคงใช้กำหนดการณ์เดิมคือวันที่ 29 พฤษภาคม แต่ก็ไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากยานต่อต้านเรือดำน้ำทั้งหมดได้มุ่งหน้าไปปกป้องขบวนทหารทางตอนเหนือแล้ว [5] : 192 จึงมีแค่เครื่องบินลาดตระเวนขึ้นบินอีกครั้งในวันที่ 29 พฤษภาคม [3] : 193 โดยไม่มีมาตรการป้องกันอื่น ๆ เข้ามาแทนที่ [3] : 193 แม้ว่าจะมีการโจมตีของเรือดำน้ำแคระที่ ดิเอโกซัวเรส ในมาดากัสการ์เกิดขึ้นในเช้าวันที่ 31 พฤษภาคม (เวลาที่ซิดนีย์) ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ยังไม่ได้ส่งสัญญาณเตือนใด ๆ ไปยังพื้นที่บัญชาการเนื่องจากพวกเขาเชื่อว่ากองกำลัง วิชีฝรั่งเศส ได้ทำการโจมตีไม่ใช่ฝั่งญี่ปุ่น [3] : 198
นักประวัติศาสตร์ได้ตั้งข้อครหาถึงความเหมาะสมของเหล่าเจ้าหน้าที่อาวุโสเนื่องจาก มิวเออร์เฮด-โกลด์ เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารค่ำในคืนที่เกิดการโจมตี โดยแขกหลักคือเจ้าหน้าที่อาวุโส กัปตัน โฮเวิร์ด โบด์ แห่งเรือยูเอสเอสชิคาโกของกองทัพเรือสหรัฐ ฯ ในอ่าวซิดนีย์ [6] : 87 เมื่อเจ้าหน้าที่ทั้งสองสงสัยว่ามีการโจมตีเกิดขึ้น [6] : 135 มิวเออร์เฮด-โกลด์ ได้เดินทางมาถึงเรือเอชเอ็มเอเอส โลลิต้า ในเวลาประมาณเที่ยงคืน คล้ายพยายามเข้าใจสถานการณ์ ลูกเรือของเรือโลลิต้าอ้างว่าเมื่อ มิวเออร์เฮด-โกลด์ เข้ามาก็ตำหนิผู้บังคับบัญชาและลูกเรือของเรือลาดตระเวนทันทีโดยไม่สนรายงานต่าง ๆ เลย [6] : 135 [4] : 136 เจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยใน เรือยูเอสเอสชิคาโก ก็พูดในลักษณะเดียวกันเมื่อกัปตันโบด์มาถึงเรือว่า มิวเออร์เฮด-โกลด์ และกัปตันโบด์มีอาการมึนเมา [6] : 133–5 มีเพียงหลังเหตุการณ์ที่เรือเอชเอ็มเอเอส คัตตาบูล ถูกทำลายเท่านั้นที่เจ้าหน้าที่ทั้งสองจะเริ่มสั่งการสวนกลับอย่างจริงจัง [6] : 142–3
ในระหว่างเกิดเหตุ มีความล่าช้าหลายอย่างเกิดขึ้น โดยใช้เวลาถึงสองชั่วโมงไปกับการสังเกตการณ์ เอ็ม-14 ที่ติดในตาข่ายดักเรือดำน้ำและรอคำสั่งแรกของ มิวเออร์เฮด-โกลด์ [2] : 72 และเสียอีกสองชั่วโมงกับการระดมเรือลาดตระเวน จากลำที่ถอนสมอช้าไปกว่าหนึ่งชั่วโมง[2] : 72 ความล่าช้าบางส่วนเกิดจากการขาดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ [2] : 73 เรือลาดตระเวนเสริมไม่มีอุปกรณ์สื่อสารทางวิทยุ มีเพียงการใช้สัญญาณไฟผ่านสถานีสัญญาณสงครามกับเกาะการ์เด้น หรือการสื่อสารผ่านการเปิดฝาครอบ [2] : 73 [4] : 176 ในรายงานเบื้องต้นของ มิวเออร์เฮด-โกลด์ เกี่ยวกับการโจมตี ระบุว่าสถานีสัญญาณสงครามไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสื่อสารช่วงที่มีการโจมตี [7] การสื่อสารทางโทรศัพท์กับเกาะการ์เด้นในช่วงแรกของการโจมตีก็ไม่มีความน่าเชื่อถือ หลังจากนั้นตอร์ปิโดลูกแรกที่ถูกยิงออกมาก็ปิดการสื่อสารอย่างสมบูรณ์ [3] : 211 [2] : 73
ลำดับความสำคัญของข้อมูลอาจมีส่วนทำให้เกิดความล่าช้าและความสงสัยต่อฝ่ายเดียวกันเอง [8] : 194–5 ลูกเรือหน่วยลาดตระเวนเสริม เจ้าหน้าที่ตรวจตรา และเจ้าหน้าที่ประจำตำแหน่งอื่น ๆ มักไม่ได้รับการแจ้งเกี่ยวกับเหตุการณ์ใด ๆ ก่อนการโจมตี เนื่องจากถูกจัดไว้ในส่วน 'ไม่จำเป็นต้องรู้' ทำให้พวกไม่ได้รับการแจ้งเตือนใด ๆ และไม่คิดว่าช่วงต้นของการโจมตีเป็นเรื่องจริง [8] : 194–5
ข้อบกพร่องในกลยุทธ์ของญี่ปุ่น
[แก้]ข้อบกพร่องหลักในแผนของญี่ปุ่นคือการใช้เรือดำน้ำขนาดเล็กสำหรับการโจมตีเบื้องต้น เดิมทีเรือดำน้ำแคระตั้งใจจะปฏิบัติการในรูปแบบที่รวดเร็ว คือการปล่อยตัวจาก เรือบรรทุกเครื่องบินน้ำ ที่ดัดแปลงเพื่อให้แล่นทะลวงผ่านแนวข้าศึก [3] : 68 แต่แนวคิดนี้ได้ลดความนิยมไปเพราะจากประสบการณ์ของกองทัพเรือญี่ปุ่นที่รับรู้ว่าการทำสงครามทางทะเลควรจะมุ่งเน้นจัดการเรือบรรทุกเครื่องบิน [3] : 71 ส่งผลให้การโจมตีของเรือดำน้ำแคระเปลี่ยนไปเป็นการแทรกซึมท่าเรือศัตรูเพื่อโจมตีที่จอดไว้ [3] : 71 แนวคิดนี้ล้มเหลวไม่เป็นท่าในช่วงการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เนื่องเรือดำน้ำแคระไม่ค่อยมีผลต่อการรบเลยและต้องผูกประกบติดกับเรือดำน้ำขนาดใหญ่ 11 ลำเป็นเวลาหกสัปดาห์เพื่อสนับสนุนการโจมตีใน ซิดนีย์ และ ดิเอโกซัวเรซ ซึ่งเป็นที่พิสูจน์ว่าวแนวคิดนี้เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ [4] : 58 [3] : 291
ยิ่งกว่านั้น ความล้มเหลวที่ซิดนีย์ฮาร์เบอร์และดิเอโกซัวเรซแสดงให้เห็นว่าการอัพเกรดเรือดำน้ำขนาดแคระที่มีขึ้นหลังจากเพิร์ลฮาร์เบอร์ ไม่ได้เพิ่มความสามารถโดยรวมของโครงการเรือดำน้ำแคระ [4] : 58 [3] : 291 โดยการอัพเกรดมีผลด้านต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการบังคับและการปล่อยตัวเรือดำน้ำแคระในขณะที่เรือแม่อยู่ในน้ำ ป้องกันไม่ให้เรดาร์ชายฝั่งข้าศึกตรวจจับได้ [8] : 188 อย่างไรก็ตาม เรือดำน้ำแคระยังมีการควบคุมที่ยาก ไม่มั่นคง และมีแนวโน้มที่จะจมและครูดกับพื้นใต้น้ำหรือการบังคับที่ควบคุมไม่ได้ [3] : 70 ปัญหาด้านความความคล่องแคล่วเหล่านี้เอง มีส่วนทำให้ เอ็ม-14 เข้าไปติดตาข่ายต่อต้านเรือดำน้ำและการโดนตรวจเจอของ เอ็ม-21 และ เอ็ม-24
นอกเหนือจากการใช้เรือดำน้ำแคระนี้ นักประวัติศาสตร์ยังได้ระบุถึงพื้นที่แผนการโจมตีของญี่ปุ่นที่สามารถสร้างความเสียหายใหญ่หลวง ถ้าหากเรือดำน้ำแคระทำการโจมตีพร้อมกันสำเร็จก็จะสามารถจัดการแนวป้องกันของข้าศึกได้ [8] : 188 โอกาสที่จะสร้างความเสียหายนั้นมีเพิ่มมากขึ้นหลังการทำลายเรือ คัททาบูล เมื่อเรืออีกหลายลำมุ่งหน้าสู่ออกสู่ทะเลประกอบด้วย ยูเอสเอส ชิคาโก, ยูเอสเอส เพอร์คินส์, เรือดำน้ำดัตช์ เค-9, เอชเอ็มเอเอส วายออลล่า และ เอชเอ็มไอเอส บอมเบย์ [2] : 70 โดยเรือดำน้ำหลักทั้ง 5 ลำของญี่ปุ่นนั้นพร้อมที่จะเดินทางไปยังจุดสำหรับฟื้นฟูเรือ ณ ท่าจอดเรือแฮคกิ้ง และถึงแม้ว่าที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ซาซากิจะเคยเหลือเรือดำน้ำบางลำไว้ที่ท่าจอดเพื่อจัดการเรือข้าศึกที่แตกแถวมา แต่ซาซากิก็ไม่ได้ใช้แผนนี้ในเหตุการณ์นี้เลย [6] : 155
ยูเอสเอสชิคาโก ที่รอดมาได้
[แก้]มีหลายปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของญี่ปุ่นส่งผลให้เรือยูเอสเอสชิคาโกนั้นอยู่รอดมาได้ ในช่วงที่ เอ็ม-24 โจมตีเรือยูเอสเอสชิคาโก เรือดำน้ำอีกลำก็เตรียมที่จะออกจากท่าเรือซิดนีย์ และถึงแม้เรือยังคงจอดประจำที่ก็ยังสร้างควันสีขาวจากการหม้อไอน้ำอุ่นขึ้น [4] : 137 ควันนี้พุ่งออกไปทางท้ายเรือภายใต้อิทธิพลของลมและตัดกันกับความมืดและเมฆมากต่ำอาจทำให้เกิดความรู้สึกว่า ชิคาโก กำลังเคลื่อนไหวทำให้ เอ็ม-24 เป็น ผู้นำ เมื่อยิงตอร์ปิโด และส่งตอร์ปิโดไปทางโค้ง [4] : 137–9 อีกปัจจัยที่อาจมีอิทธิพลต่อการอยู่รอดของชิคาโกคือการดับไฟของเกาะการ์เดนในช่วงนาทีก่อน เอ็ม-24 ยิงตอร์ปิโดแรกขัดขวางการกำหนดเป้าหมาย [2] : 73
ผลของการระดมยิง
[แก้]การระดมยิงนี้สร้างความเสียหายต่อเมืองไม่มาก แต่ส่งผลด้านลบต่อจิตใจประชาชนชาวซิดนีย์และนิวคาสเซิลเป็นอย่างสูง ทั้งความไม่สมบูรณ์ของอุปกรณ์ค้นหาเรือดำน้ำและแท่นยิงต่าง ๆ[3] : 250 การระดมยิงเรือดำน้ำในครั้งนี้จึงประสบความสำเร็จที่ให้ประชากรในพื้นที่เป้าหมายหวาดกลัว [3] : 250
การที่กระสุนไม่ระเบิดจากการระดมยิงมีสาเหตุหลายประการ ประการแรกอาจเพราะกระสุนเป็นชนิดเจาะเกราะที่มักใช้ยิงลำเรือที่เป็นเหล็ก การนำไปยิงกับกำแพงอิฐที่ค่อนข้างอ่อนกว่าอาจจะมีส่วนให้ฟิวส์กระสุนไม่ทำงาน [3] : 249 ประการถัดมาอาจเนื่องจากปฏิบัติการในทะเลหลายสัปดาห์ น้ำทะเลอาจจะทำความเสียหายต่อชุดกระสุน [3] : 249 ประการสุดท้ายคืออายุของกระสุน เนื่องจากปลอกกระสุนที่เก็บกู้ได้ที่นิวคลาสเซิลพบว่ามีการผลิตในอังกฤษตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง [4] : 197
ด้วยความกลัวว่ากองทัพญี่ปุ่นจะบุกทำให้ประชาชนในซิดนีย์บางส่วนย้ายไปทางตะวันตก ทำให้ราคาของที่อยู่อาศัยใน ชานเมืองทางทิศตะวันออก ลดลง ในขณะที่บริเวณเทือกเขาบลู กลับเพิ่มขึ้น [3] : 258 และการโจมตีนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของสมาชิกอาสาสมัครขององค์กรป้องกันและการเสริมสร้างการป้องกันในอ่าวซิดนีย์และท่าเรือนิวคาสเซิล
หลังเหตุการณ์
[แก้]หนังสือพิมพ์ไม่ได้ตีพิมพ์ข่าวการโจมตีของเรือดำน้ำจนถึงวันที่ 2 มิถุนายนเนื่องจากการโจมตีส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากที่หนังสือพิมพ์ออกข่าวในเช้าวันที่ 1 มิถุนายน : 225 เช้าวันรุ่งขึ้นหลังการโจมตี ข่าวหน้าหนึ่งตีพิมพ์ ปฏิบัติการมิลเลนเนียม ของกองทัพอากาศ ในการทิ้งระเบิดกว่า 1,000 ครั้ง แม้ว่าหนังสือพิมพ์หลายฉบับจะมีบทความภายในเล็ก ๆ ที่กล่าวถึง สะพานลาดตระเวนขั้นสุดท้าย : 225 แต่รัฐบาลกลางได้เซ็นเซอร์เนื้อหาของเหตุการณ์การโจมตีของเรือดำน้ำทั้งหมดและออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการในช่วงบ่ายของวันที่ 1 มิถุนายนว่า "พันธมิตรได้ทำลายเรือดำน้ำ 3 ลำในท่าเรือซิดนีย์และได้สูญเสียเรือ คัททาบูล มีผู้เสียชีวิต 21 ราย ซึ่งเป็นการสูญเสียของ "เรือเล็กลำหนึ่งที่ไม่มีคุณค่าทางทหาร" : 156, 187 แต่ในที่สุด หนังสือพิมพ์ สมิธส์วีคลี่ ได้เผยแพร่ข่าวเหตุการณ์โจมตีในวันที่ 6 มิถุนายน และเขียนข่าวติดตามประเด็นนี้ไปจนถึง 13 มิถุนายน จนทำให้ กองทัพเรือออสเตรเลีย พยายามเรียกเก็บหนังสือพิมพ์เหล่านี้ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง : 212, 223–7
การกู้ซากเรือ คุตทาบู และร่างของผู้เสียชีวิตทั้ง 21 คนนั้นใช้เวลาหลายวัน [4] : 151 วันที่ 3 มิถุนายน มุลเฮด-โกลด์ และเจ้าหน้าที่กองทัพเรือกว่า 200 คนเข้าร่วมพิธีฝังศพ [4] : 151 1 มกราคม ค.ศ. 1943 ฐานทัพเรือที่เกาะการ์เดนได้ทำการรำลึกถึงผู้เสียชีวิตและเรือ เฮชเอ็มเอเอส คุตทาบูล
ชาวออสเตรเลียกู้ร่างของลูกเรือชาวญี่ปุ่น 4 คน ที่จมอยู่ในอ่าวซิดนีย์และทำการเผาที่ สุสาน รูควูด โดยปักธงญี่ปุ่นเหนือโลงศพแต่ละอันเพื่อให้เกียรติกองทัพเรือญี่ปุ่น [2] : 72 แม้ มุลเฮด-โกลด์ จะถูกหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการรับมือการโจมตีในครั้งนี้ แต่การปฏิบัติต่อศพข้าศึกโดยความเคารพก็เป็นที่น่าชื่นชม [3] : 230 นักการเมืองออสเตรเลียหวังว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะปฏิบัติต่อนักเชลยศึกชาวออสเตรเลียในสถานกักกันดีขึ้น [3] : 231 แต่เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นก็ได้กล่าวว่างานศพนี้จะไม่มีผลใด ๆ ต่อเชลยสงครามของออสเตรเลีย [3] : 231 ทำให้ผู้บัญชาการสูงสุดของออสเตรเลียสั่งห้ามไม่ให้ทำพิธีศพในลักษณะเดียวกันต่อฝ่ายศัตรูอีกในอนาคต [9]
การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่การทูตของออสเตรเลียและญี่ปุ่นเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2485 ซึ่งอนุญาตให้ ทัตสึโอะ คาวาอิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำออสเตรเลียเดินทางกลับประเทศพร้อมกับเถ้าของเรือดำน้ำสี่ลำ [3] : 232–3 เมื่อเรือคามาคุระมารุ มาถึง โยโกฮาม่า มีคนหลายพันคนมาร่วมแสดงความเคารพ [3] : 232–3
เรือยูเอสเอส ชิคาโก และ เอชเอ็มเอเอส แคนเบอร์ร่า ทั้ง 2 ลำได้จมลงใน 1 ปีให้หลัง โดย แคนเบอร์ร่า ได้ จมลงในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ระหว่างการ สู้รบที่เกาะซาโว และ เรือยูเอสเอส ชิคาโก จมเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1943 จากการต่อสู้ที่เกาะเรนเนลล์ [2] : 61, 150–3, 273 ส่วนเรือดำน้ำญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีถูกทำลายทุกลำ โดย ไอ-21 ถูกจมโดย ยูเอสเอส ชาร์เรทต์ และ แฟร์ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ใน หมู่เกาะมาร์แชล [4] : 216 ไอ-22 ถูกจมโดยเรือตอร์ปิโดของอเมริกา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ที่ เกาะนิวกินี [4] : 216 ไอ-24 ถูกจมโดยเรือลาดตระเวนอเมริกัน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2486 ใกล้กับ หมู่เกาะอลูเทียน [4] : 216 ไอ-27 ถูกจมโดย เอชเอ็มเอส พาราดิน และ เพตาร์ด เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ที่ มัลดีฟส์ [4] : 216 และสุดท้าย ไอ-29 ถูกจมโดย ยูเอสเอส ซอวฟิซ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2487 ใน ฟิลิปปินส์ [4] : 216
เอ็ม-14 และ เอ็ม-21
[แก้]ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ค้นหาและกู้ซาก เอ็ม-21 ในวันที่ 3 มิถุนายนและ เอ็ม-14 ในวันที่ 8 มิถุนายน [6] : 209, 219 แม้ทั้งสองจะมีความเสียหาย แต่ก็มีความเป็นไปได้จะซ่อมแซมให้ใช้การได้ในอนาคต [2] : 72 ชิ้นส่วนตรงกลางของลำเรือดำน้ำได้นำไปแสดงแก่ประชาชนโดยการแห่หลังรถบรรทุกเป็นระยะทางกว่า 4,000 km (2,500 mi) โดยเคลื่อนไปทางตอนใต้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์รัฐวิกตอเรียและทางใต้ของประเทศออสเตรเลีย [2] : 72 [6] : 250 โดยจุดประสงค์ของการแห่ครั้งนี้คือ เพื่อให้ชาวออสเตรเลียได้เห็นเรือดำน้ำแคระของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิดและเพื่อในการระดมเงิน สำหรับกองทุนบรรเทาทุกข์ทางเรือและองค์กรการกุศลอื่น ๆ เป็นจำนวนกว่า 28,000 ปอนด์[2] : 72 [9] เรือดำน้ำเดินทางถึง อนุสรณ์สถานสงครามออสเตรเลีย ในแคนเบอร์ราในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2486 โดยติดธงเรือไวท์เอนซิงน์ และ ธงเพนแนนท์ไว้ด้วย [2] : 72 เรือดำน้ำถูกจัดแสดงนอกพิพิธภัณฑ์โดยแยกส่วนเป็นสามชิ้น, [6] : 251 แต่ในปี 2523 ก็ต้องย้ายเข้ามาแสดงภายในอาคาร เพื่อป้องกันการกระทำอันคึกคะนองของวัยรุ่นที่เข้ามารับชม เช่นในปี 2509 กลุ่มนักศึกษาได้ระบายสีเหลืองบนเรือดำน้ำเพื่อล้อเลียนถึงเพลง เยลโล่ซัพมารีน ของวง เดอะบีเทิลส์ [6] : 253–5 เรือดำน้ำได้ถูกประกอบและยังคงจัดแสดงอยู่ภายในอนุสรณ์สถานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการถาวรของการโจมตีในครั้งนี้ โดยเรือ เอชเอ็มเอเอส คัททาบูล ที่ถูกเก็บกู้ขึ้นมาก็จัดแสดงในส่วนถัดไปเช่นเดียวกัน [6] : 253–5 ส่วนหอยื่นของ เอ็ม-21 ถูกจัดแสดงที่ ศูนย์มรดกกองทัพเรือออสเตรเลีย บนเกาะการ์เด้น [6] : 251 เศษที่เหลือจาก เอ็ม-21 ได้ถูกหลอมเป็นของที่ระลึก [6] : 253
เอ็ม-24
[แก้]กว่า 64 ปีที่ เอ็ม-24 หายไป มีทหารเรือราชนาวีออสเตรเลียอ้างว่าเคยเจอเรือดำน้ำแคระมากกว่า 50 คน แต่ล้วนพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง ทฤษฎีที่น่าเชื่อถือที่สุดคือตัวเรืออาจจะได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายพร้อมกับ เอ็ม-21 รอบ ๆ อ่าว Taylors ตามรายงานจากเรือ Steady Hour และ Yarroma ที่กล่าวว่าพบเรือดำน้ำมันมากกว่า 1 ลำระหว่างที่กำลังโจมตี เอ็ม-21 กว่า 3 ชั่วโมง[2]: 71 [3]: 217 ทฤษฎีที่สองคือเรือดำน้ำอาจจะพยายามย้อนกลับไปที่เรือหลัก แต่แบตเตอรี่ได้หมดก่อนที่จะถึงท่าจอดเรือแฮคกิ้ง จึงต้องออกไปจากบริเวณและใช้เส้นทางมุ่งไปทางใต้ของซิดนี่ย์เฮด[3]: 217 ทฤษฎีที่สามคือลูกเรือดำน้ำอาจจะตัดสินใจไม่กลับไปยังท่าจอดเรือแฮคกิ้ง เพื่อหลักเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดกับเรือดำน้ำหลักจากการโดนติดตาม จึงใช้เส้นทางมุ่งหน้าไปทางเหนือแทน[3]: 184
กลุ่มนักดำน้ำสมัครเล่นเจ็ดคนได้คลายปริศนานี้ได้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2549 เมื่อพวกเขาพบเรือดำน้ำแคระจมอยู่ก้นทะเลระดับความลึก 55 เมตร (180 ฟุต) และห่างจากบันกานเฮดของหาดซิดนีย์เหนือ 5 กิโลเมตร (3.1 ไมล์/ 2.7 ไมล์ทะเล) ผู้บัญชาการเชนมัวร์ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านมรดกทางการทหารราชนาวีออสเตรเลียยืนยันว่าเศษซากที่พบนั้นเป็นของเรือ เอ็ม-24 หลังผ่านการดูภาพอ้างอิงและตรวจสอบ ซากเรือนั้นมีรูกระสุนหลายรู โดยส่วนใหญ่มาจากป้อมปืนกลของเรือยูเอสเอส ชิคาโก ที่ตั้งที่แน่นอนของซากเรือถูกปิดเป็นความลับด้วยความร่วมมือจากนักดำน้ำ ทหารราชนาวี และการปกป้องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เบรนแดน เนลสัน ที่สัญญาว่าจะปกป้องซากเรือดำน้ำแคระนี้ในฐานะสิ่งรำลึกของสงคราม ข่าวซากเรือดำหน้าถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2549 มีการตั้งเขตหวงห้ามขึ้นรอบ ๆ ซากเรือในระยะ 500 m (1,600 ft) หากเรือลำใดเข้าสู่พื้นที่ อาจจะถูกปรับเงินกว่า 1.1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียตามกฏหมายเขตนิวเซาท์ เวลส์ และอาจถูกปรับเงินและยึดอุปกรณ์เพิ่มเติมตามกฏหมายของเครือจักรภพ [6]: 255 บริเวณชายฝั่งและทุ่นลอยน้ำก็มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดและตัวดักคลื่นความถี่เพื่อป้องกันเขตหวงห้ามนี้อีกด้วย.[6]: 255
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในระหว่างที่พลเรือเอก อิจิ โยชิกาว่า แห่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้เยือนออสเตรเลีย โยชิกาว่า และพลเรือเอก รุสส์ ชาลเดอรส์ แห่งเรือ RAN Vice ได้ร่วมในพิธีที่จัดขึ้นที่เรือ เอชเอ็มเอเอส นิวคาสเซิล เพื่อเป็นเกียรติแก่ลูกเรือของ เอ็ม-24 โดยญาติของลูกเรือเรือดำน้ำแคระ ,หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากเรือ คัททาบูล ,บุคคลสำคัญและบุคลากรทางทหารของออสเตรเลียและญี่ปุ่น ได้เข้าร่วมพิธีอีกครั้งในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ที่เรือ เอชเอ็มเอเอส คัททาบูล จากนั้นเรือ เอชเอ็มเอเอส เมลเบิร์น ได้พาญาติ ๆ ของลูกเรือ เอ็ม-24 ไปยังจุดพบซากเรือดำน้ำแคระ พวกเขาได้เทสาเกลงไปในทะเลก่อนที่เจ้าหน้าที่จะนำทรายที่นำมาจากก้นทะเลรอบ ๆ จุดจมให้ญาติได้ดู
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 รัฐบาลของรัฐ NSW ประกาศว่า ด้วยความเห็นชอบของรัฐบาลญี่ปุ่นและครอบครัวของลูกเรือดำน้ำแคระจะได้รับอนุญาตให้สังเกตการณ์ซาก เอ็ม-24 เป็นระยะเวลาสั้น ๆ นักดำน้ำจะใส่บัตรลงคะแนนสำหรับสถานที่ในการดำน้ำควบคุมที่ดำเนินการในหลายวัน หากประสบความสำเร็จการเปิดไซต์จะกลายเป็นเหตุการณ์ประจำปีเพื่อระลึกถึงการโจมตี
ดูสิ่งนี้ด้วย
[แก้]- การจู่โจมทางอากาศในออสเตรเลียพ.ศ. 2485 - 2486
- ประวัติศาสตร์การทหารของออสเตรเลียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
เชิงอรรถ
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]ลิงก์ภายนอก
[แก้]- สงครามของออสเตรเลีย 2482-2488: โจมตีออสเตรเลีย - อ่าวซิดนีย์ ภาพรวมของเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมภาพเคลื่อนไหวที่แสดงกิจกรรมทันทีก่อนและระหว่างการโจมตี
- เรือดำน้ำแคระที่ซิดนีย์ออสเตรเลีย 2485 ที่ Combinedfleet.com
- ↑ Sasaki, Telegraphic Order 3. (Reproduced in Grose, A Very Rude Awakening: 66 )
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 3.22 3.23 3.24 Jenkins, Battle Surface.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 Carruthers, Japanese Submarine Raiders 1942.
- ↑ Stevens, A Critical Vulnerability.
- ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 6.14 Grose, A Very Rude Awakening.
- ↑ Reproduced in Carruthers, Japanese Submarine Raiders 1942: 244 .
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Fullford, We Stood And Waited.
- ↑ 9.0 9.1 Warner & Seno, The Coffin Boats.