ผู้ใช้:Leknattaponmi/กระบะทราย
เยอรมนี (เยอรมัน: Deutschland; อังกฤษ: Germany) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมัน: Bundesrepublik Deutschland; อังกฤษ: Federal Republic of Germany) เป็นประเทศในทวีปยุโรป มีเมืองหลวงคือเบอร์ลิน เยอรมนีปกครองในรูปแบบสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
- ประธานาธิบดี คือ นายโยอาคิม เกาค์ (Dr. h.c. Joachim Gauck)
- นายรัฐมนตรี คือ อังเกลา แมร์เคิล (Dr. Angela Merkel)
- ฝ่ายนิติบัญญัติ มี 2 สภา
- สภาผู้แทนราษฎร (Bundestag) เป็นที่ประชุมซึ่งทำหน้าที่ตรากฎหมาย จึงนับเป็นองค์กรที่สำคัญที่สุด โดยการรับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง และโดยเสรีด้วยวิธีลับ
- สภาตัวแทนมลรัฐ (Bundesrat) ประกอบด้วยสมาชิกจากคณะรัฐบาลของมลรัฐต่างๆ ซึ่งรัฐบาลเหล่านี้เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน
- ฝ่ายบริหาร
- รัฐบาลกลางของสหพันธ์ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อรัฐมนตรีต่อประธานาธิบดี ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน นโยบายทางการเมืองนั้นนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้กำหนดภายในขอบเขตของนโยบาย รัฐมนตรีแต่ละคนจะเป็นผู้ว่าการกระทรวงต่างๆ ของตนตามเอกเทศสภาผู้แทนฯ จะลงมติไม่ไว้วางใจเฉพาะนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่ร่วมทั้งคณะรัฐบาลหรือรัฐมนตรีแต่ละคน
- ฝ่ายตุลาการ ระบบศาลมี 3 ประเภท
- ระบบศาลยุติธรรม พิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญา โดยมี Bundesgerichtshof เป็นศาลยุติธรรมสูงสุด
- ระบบศาลพิเศษ เช่น ศาลปกครอง ศาลแรงงาน ศาลลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาและตีความตัวบทกฎหมายตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
ข้อมูลทั่วไปกระทรวงการคลังเยอรมนี
[แก้]กระทรวงการคลังประเทศเยอรมนี (เยอรมัน: Deutschland; อังกฤษ: Germanyเป็นกระทรวงที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐบาลกลางประเทศเยอรมนีในการบริหารรายได้ และควบคุมจำนวนของผู้ใต้บังคับบัญชาของรัฐบาลกลาง และหน่วยงานในสังกัดรัฐบาลท้องถิ่น
ผลงานของกระทรวงการคลังประกอบไปด้วยหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงบริษัทกฎหมาย เช่น บริษัทการเงินของรัฐบาลกลาง และหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านอสังหาริมทรัพย์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสามารถห้ามการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีที่จะมีผลไปสู่ค่าใช้จ่ายที่สูงมากขึ้นได้
การคลังสาธารณะประเทศเยอรมนี
[แก้]หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
[แก้]- รัฐบาลสหพันธ์ฯ นายกรัฐมนตรีสหพันธ์และรัฐมนตรีสหพันธ์ โดยนายกรัฐมนตรีสหพันธ์ได้รับเลือกปราศจากการอภิปรายโดยสภาผู้แทนราษฎรตามการเสนอชื่อของประธานาธิบดี ผู้ที่ได้รับเสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีสหพันธ์ ประธานาธิบดีแต่งตั้งผู้ที่ได้รับเลือก ส่วนรัฐมนตรีสหพันธ์นั้นตามคำแนะนำของประธานาธิบดีสหพันธ์แต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีสหพันธ์ โดยรัฐมนตรีสหพันธ์จะกำหนดและความรับผิดชอบในนโยบายทั่วไปภายในขอบเขตของนโยบายทั่วไป รัฐมนตรีสหพันธ์ทุกคนบริหารกระทรวงของตนอย่างอิสระและต่างรับผิดชอบในการบริหารรัฐบาลสหพันธ์ตัดสินความแตกต่าง ในเรื่องความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีสหพันธ์ นายกรัฐมนตรีสหพันธ์บริหารกิจการของรัฐบาลสหพันธ์ตามระเบียบข้อบังคับที่รัฐบาลสหพันธ์เห็นชอบ และประธานาธิบดีสหพันธ์เห็นชอบด้วย นายกรัฐมนตรีสหพันธ์และรัฐมนตรีสหพันธ์ต้องไม่ดำรงตำแหน่งอื่นที่มีเงินเดือน ไม่ทำการค้า ไม่ประกอบวิชาชีพ ไม่เป็นฝ่ายบริหารหรือหากไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นกรรมการของวิสาหกิจที่ค้ากำไร
การกำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศ
[แก้]หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบคือ กระทรวงการคลังสหพันธ์
- หน้าที่หลักของกระทรวงการคลังสหพันธ์
- การสื่อสารและเจ้าหน้าที่ทางการเมือง นอกจากนี้ยังได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญที่จัดหามาให้โดย 9 คณะกรรมการทั่วไปภายในกระทรวงการคลัง กระทรวงถูกสนับสนุนโดยกลุ่มผู้อำนวยการบริหารที่รับผิดชอบสำหรับการร่วมมือกันในกิจกรรมและการติดต่อสื่อสารงานไปยังสาธารณชนอย่างซื้อสัตย์ ตรงไปตรงมา กลุ่มดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัทเพื่อกลยุทธ์และการวางแผน และอีกส่วนหนึ่งคือการติดต่อสื่อสาร เลขาธิการของกระทรวงและโฆษกกระทรวง
- การบริการส่วนกลาง คณะกรรมการส่วนกลางจะทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องขององค์กรทั้งหมดตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์จนถึงเทคโนโลยี, การฝึกงานในการประกอบอาชีพ, องค์กรของรัฐบาลกลาง, การบริหารจัดการภาษี และสวัสดิภาพของเจ้าที่ในกระทรวง สิทธิความเสมอภาคทางเพศของข้าราชการในกระทรวงขึ้นอยู่กับคณะกรรมการทั่วไป เช่นเดียวกับการบริหารสถาบันการฝึกงานของสหพันธรัฐ
- การคลังและเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค คณะกรรมการทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับนโยบายการคลังและเศรษฐศาสตร์มหภาค การร่วมกันที่จะกำหนดกลยุทธ์เครื่องมือนโยบายการคลังของกระทรวง การปฏิบัติการต้องการการรวมตัวทุกอย่างเข้าด้วยกันของเศรษฐศาสตร์มหภาคและแผนการการวิเคราะห์การคลัง ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการต้องคาดคะเนแนวโน้มงบประมาณของอนาคตและดำเนินการวิจัยเศรษฐกิจมหภาคและงบประมาณ กระทรวงการคลังมีหน้าที่รับผิดชอบในการร่างงบประมาณของรัฐบาลกลางซึ่งประกอบไปด้วยรายได้ของประเทศและค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปในแต่ละปี กระทรวงมีคณะกรรมการกลางที่อุทิศตนทำงานส่วนนี้ ภายในคณะกรรมการกลางสำหรับงบประมาณของเยอรมันจะมีหน่วยย่อยที่พิเศษแยกย่อยออกไปเพื่อสะท้อนแต่ละหน่วยงานของรัฐบาล รายได้และรายจ่ายสำหรับแต่ละนโยบายจะถูกคำนวณเข้าด้วยกันกับหน่วยงานแต่ละลำดับและกระทรวงการคลังจะพิจารณาสิ่งที่เสนอมาอย่างถี่ถ้วน งบประมาณของรัฐบาลกลางจะถูกร่างขึ้นในแต่ละปีผ่านการร่วมมือกันระหว่างคณะกรรมการกลางและหน่วยงานของรัฐบาล เมื่องบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ คณะกรรมการกลางก็จะติดตามหน่วยงานของรัฐเป็นครั้งคราว
- ศุลกากร ศุลกากรจะรับผิดชอบหน้าที่ในการเรียกเก็บภาษีศุลการกรและภาษีสรรพสามิตร ตลอดจนติดตามสินค้าที่ซื้อขายข้ามแดน ศุลกากรและสรรพสามิตรเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับประเทศ การบริหารของศุลกากรเยอรมันจะมีโครงสร้าง 3 ระดับ กระทรวงการคลังจะมีอำนาจสูงที่สุด ระดับชั้นตรงกลางจะเป็นสำนักการเงินของรัฐบาลกลางและสำนักงานอาชญาวิทยาของศุลกากรซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างกระทรวงการคลังและระดับชั้นที่3 ซึ่งจะประกอบไปด้วยสำนักงานท้องถิ่นที่อยู่ใต้บังคับบัญชารวมไปถึงระดับส่วนกลางก็จะมีหน้าที่สนับสนุนสำนักงานท้องถิ่นเช่นกัน ศุลการกรไม่เพียงแต่ช่วยในเรื่องการซื้อขายสินค้าให้ราบรื่นเท่านั้น แต่ศุลกากรยังมีหน้าที่ที่สำคัญอีกหลายอย่างในการจัดระบบอาชญากรรม การขายสิ่งเสพติดและลักลอบหลีกเลี่ยงการจ่ายเงิน ศุลกากรทั่วโลกจะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆและกิจกรรมของศุลกากรจะส่งเสริมให้เยอรมันมีความน่าสนใจที่จะทำธุรกิจด้วย
- ความสัมพันธ์ของกระทรวงการคลังและเรื่องของกฎหมาย กระทรวงมีคณะกรรมการกลางที่จะดูแลความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างส่วนกลางและหน่วยงานท้องถิ่น คณะกรรมการกลางยังมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องกฎหมายมหาชนและเกี่ยวกับกฎหมายตลอดจนการจัดการเหตุการณ์ก่อนศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีและศาลยุโรป นอกจากนี้ คณะกรรมการกลางยังเกี่ยวข้องกับการชดเชยค่าเสียหายสำหรับความไม่ยุติธรรมของสังคมในชาติและการจัดการค่าปฏิกรรมสงครามตลอดจนประเด็นทรัพย์สินที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในตะวันออกของเยอรมนี
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายของรัฐบาลเยอรมนีในการถือครองและแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กระทรวงได้ตั้งกรอบสำหรับการจัดการที่ดินของรัฐซึ่งจะถูกรับหน้าที่โดยแต่ละหน่วยงานของภาครัฐตามแต่ละงานที่ได้รับผิดชอบ กระทรวงได้พัฒนาหลักการนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นความสนใจของรัฐบาลเยอรมนีที่จะมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ถ้าหน่วยงานรัฐบาลอื่นมีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก่อน สถาบันอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชากระทรวงการตลาดทรัพย์สินที่รัฐบาลเยอรมัน ไม่ต้องการที่จะสนองงานอีกแล้ว ในส่วนของหลักการอื่นๆของการดำเนินการของสถาบันนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของการจัดการมาตรฐานของสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อ สมบัติของรัฐบาลกลางยังคงถูกจัดการโดยหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆจนถึงปัจจุบัน
โครงสร้างระบบภาษี ของประเทศเยอรมนี
[แก้]‘’โครงสร้างระบบภาษี ทำให้เกิดรายได้ในประเทศเยอรมนีส่งผลต่อการจัดการการคลังสาธารณะ’’
ภาษี การเรียกเก็บภาษีก่อให้เกิดรายได้ที่สามารถควบคุมงบประมาณของชาติ ทรัพยากรการคลังจะเพิ่มขึ้นจากภาษีที่ถูกใช้จากงานในกองทุนของรัฐบาล แต่กระทรวงการคลังไม่เพียงแต่รับผิดชอบภาษีที่แตกต่างกันและจัดการกับปัญหาหลักในนโยบายภาษี ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ในยุโรป กระทรวงทำงานเพื่อปรับปรุงการทำงานร่วมกันระหว่างระบบภาษีที่แตกต่างกันและค่าใช้จ่ายทางการเงิน การจัดเก็บภาษีในสหพันธ์สาธารณะรัฐเยอรมนี นั้นจะแบ่งการจัดเก็บเป็น 3 ระดับ คือ การจัดเก็บภาษีส่วนรัฐบาลกลาง การจัดเก็บภาษีส่วนมลรัฐและการจัดเก็บภาษีส่วนท้องถิ่น ตามรูปแบบการปกครองของรัฐ โดยจะมีการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกัน ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งรัฐ ที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 106[2] ดังนี้
- 1. รายได้และรายรับจากภาษีอากรต่อไปนี้ที่ให้เป็นของสหพันธ์
- ภาษีศุลกากร
- ภาษีสรรพสามิตที่ไม่เป็นของมลรัฐตามวรรค 2
- ภาษีการโอนกรรมสิทธิ์
- ภาษีการขนส่ง
- ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สินแต่ไม่ประจำ ภาษีที่เก็บเพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการเสียภาษี
- ภาษีช่วยเบอร์ลินยามฉุกเฉิน
- ภาษีเสริมจากภาษีเงินได้และภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. รายได้จากภาษีต่อไปนี้ให้เป็นของมลรัฐ
- ภาษีทรัพย์สิน
- ภาษีมรดก
- ภาษีรถยนต์
- ภาษีที่ไม่เป้นของสหพันธ์ตามวรรค 2
- ภาษีเบียร์
- อากรพนัน
นอกจากรายได้จากการแบ่งสรรภาษีอากรดังกล่าวแล้ว มลรัฐที่มีรายได้จากภาษีอากรน้อยจะได้รับเงินอุดหนุนจากมลรัฐที่มีความมั่งคงทางการเงินมากกว่า โดยวิธีการแบ่งเบาภาระให้เสมอภาคกันตามนัยที่เรียกกันว่า แนวขวาง และได้รับจากสหพันธ์โดยวิธีการแบ่งเบาภาระให้เสมอภาคกัน ตามที่เรียกว่า แนวตั้ง เนื่องจากเศรษฐกิจเจริญขึ้นภาษีที่เก็บได้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งใน 6 เดือนของปี ค.ศ 2013 จัดเก็บภาษีทั้งหมดมากกว่า 5.3 ล้านยูโร โดยแบ่งเป็น
- รายได้ของสหพันธ์ 1.3 ล้านยูโร
- รายได้ของมลรัฐ 2.4 ล้านยูโร
- รายได้ของท้องถิ่น 1.1 ล้านยูโร
กระบวนการและขั้นตอนจัดทำงบประมาณประจำปีของประเทศเยอรมัน
[แก้]หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการเสนอร่างงบประมาณ/อนุมัติงบประมาณ
[แก้]เนื่องจากสหพันธ์สาธารณะรัฐเยอรมนีมีรูปแบบการปกครองเป็น 3ระดับ คือ รัฐบาลกลางสหพันธ์ มลรัฐ และท้องถิ่น
สำหรับการจัดทำร่างงบประมาณประจำปีของรัฐส่วนกลางนั้น รัฐบาลกลางจะมอบหมายหน้าที่ให้กับกระทรวงการคลังของสหพันธ์เป็นผู้ดู และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยมีคณะกรรมกลางของกระทรวงเป็นหน่วยงานที่ดูแลเพิ่มเติมตามหน้าที่โดยคำนึงถึงรายได้ของรัฐและรายจ่ายของรัฐในแต่ละปี[3] เมื่อจักทำงบเสร็จก็จะนำเสนอต่อรัฐบาลกลางเพื่อเข้าสู่สภานิติบัญญัติเพื่ออนุมัติบังคับใช้เป็นงบประมาณประจำปีนั้นๆ แม้ว่างบประมารจะดำเนินการเสร็จผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว แต่คณะกรรมการกลางของกระทรวงการคลังก็ยังมีหน้าที่ติดตามการใช้จ่ายของหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเข้มงวดของระบบการเงิน
ระบบคุ้มครองทางสังคม
[แก้]- การประกันสังคม[4]
การประกันสังคมเป็นแก่นสำคัญของระบบสังคมสงเคราะห์
- ค.ศ 1883 มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยความเจ็บป่วยได้
- ค.ศ 1884 มีกฎหมายประกันอุบัติเหตุ
- ค.ศ 1889 มีกฎหมายประกันทุพพลภาพและประกันผู้ชรา
ทุกวันนี้ลูกจ้างจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
ในกรณีการจ่ายเงินประกันบำนาญ ได้มาจากการบำรุงของนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐช่วยออกสะสมส่วนหนึ่ง อัตราเงินบำนาญขึ้นอยู่กับเงินรายได้หรือขึ้นอยู่กับเบี้ยประกันที่ชำระไป ข้ารัฐการรวมทั้งผู้พิพากษาและทหารมืออาชีพรับเงินบำนาญ ตามที่กฎหมายข้ารัฐการของหน่วยงานตนกำหนด
ในกรณีที่มีการเจ็บป่วย ลูกจ้างทุกคนมีสิทธิได้รับค่าแรงงานเต็มอัตราเป็นเวลา 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นบริษัทประกันเจ็บป่วยจะจ่ายเงินค่าป่วยไข้ให้อีกทั้ง 72 สัปดาห์ บริษัทประกันเจ็บป่วยนี้ต้องรับภาระค่ารักษาโรคทั่วไป ค่ารักษาโรคฟัน ค่ายาและค่าโรงพยาบาล
ในกรณีที่มีอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานนั้น และเกิดโรคภัยจากการทำงานอาชีพ ลูกจ้างจะได้รับเงินประกันอุบัติเหตุ นายจ้างจะเป็นผู้จ่ายเงินเบี้ยประกันอุบัติเหตุตามลำพังฝ่ายเดียว บำนาญที่จ่ายเนื่องจากอุบัติเหตุจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก็จะได้รับการจ่ายให้เป็นรายปี ซึ่งจะผกผันไปตามกฎหมายการพัฒนาค่าแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 1971 การประกันอุบัติเหตุตามกฎหมายได้ขยายรวมถึงนิสิต นักศึกษา นักเรียน และเด็กๆในโรงเรียนอนุบาล
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันเป็นประเทศแรกที่ประสบความสำเร็จในการจัดหลักประกันด้านสังคมและสุขภาพให้แก่ประชาชนด้วยระบบประกันสังคมหรือประกันภาคบังคับ[5] ปรัชญาและหลักการพื้นฐานสำคัญของระบบการเมืองเยอรมันคือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในสังคม (Solidarity) การกระจายอำนาจและบทบาทหน้าที่ระหว่างหน่วยงานรัฐ (ส่วนกลาง ภูมิภาค) และเอกชน (Subsidiarity) เป็นพื้นฐานการพัฒนาองค์กรทางสังคมจากล่างขึ้นบน กระจายอำนาจในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้กับหน่วยงานท้องถิ่นหรือภาคเอกชนในการดำเนินการ และแนวคิดหลักที่สามคือ การมีองค์กรร่วม (Corporatist organization) ที่จะมีตัวแทนทั้งสองประเภทคือทั้งจากตัวแทนวิชาชีพ และตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง ในระบบสุขภาพเองก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว ระบบบริการสุขภาพของเยอรมันนั้น ภาครัฐมีบทบาทหลักในการสร้างกรอบกฎหมายในการควบคุมกำกับ ในขณะที่การดำเนินงานนั้นกระจายให้องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรเป็นผู้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็นกองทุนการเจ็บป่วย และการจัดบริการ ทั้งนี้จะมีการกำกับกันและปฏิสัมพันธ์กันผ่านทางองค์กรที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่ม เช่น สมาคมกองทุนการเจ็บป่วย (Association of Sickness funds) สมาคมแพทย์ (Association of Panel Doctors) ฯลฯ
การปฏิรูปในเยอรมันนั้นมุ่งเน้นการให้ประโยชน์กับประชาชนและสังคมโดยรวมเป็นที่ตั้ง การกำหนดให้มีกฎหมายประกันสุขภาพทำให้ประชาชนกลุ่มต่างๆได้รับหลักประกันด้านสุขภาพแบบทั่วหน้า ในขณะที่การกำหนดความสัมพันธ์ขององค์กรต่างๆในสังคมก็เพื่อเป็นการคานอำนาจและการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ทำให้ระบบโปร่งใสขึ้น การปฏิรูปช่วงหลังที่มุ่งเน้นการควบคุมรายจ่ายนั้นก็เป็นความพยายามในการควบคุมพฤติกรรมของผู้ให้บริการและโรงพยาบาลเป็นหลัก เพื่อควบคุมไม่ให้รายจ่ายด้านสุขภาพนั้นเพิ่มมากว่ารายได้ของประชาชน กล่าวโดยสรุปความสำเร็จของการปฏิรูประบบสุขภาพของเยอรมันนั้นเกิดจาก ปรัชญาและหลักการพื้นฐานของสังคม เป็นหลัก ในขณะที่บริบทด้านการเมือง ภาวะเศรษฐกิจ อิทธิพลของกลุ่มต่างๆ และภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพนั้นเป็นแรงผลักดันสำคัญของการปฏิรูป
เพิ่มเติ่ม
[แก้]การเงินการคลังท้องถิ่นเยอรมนี
[แก้]หน่วยปกครองท้องถิ่นมีบาบาทสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ โรมหรสพ โรงเรียนอนุบาล สระว่ายน้ำ ศูนย์การศึกษาผู้ใหญ่ การทำความสะอาดถนนหนทาง การกำจัดขยะ และการบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากมีภาระหน้าที่มากดังกล่าว เทศบาลจึงจำต้องมีรายได้เพื่อให้สามารถทำงานได้ แหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญของเทศบาลได้แก่ ค่าธรรมเนียมและเงินบริจาค ภาษี เงินที่ได้รับจัดสรรจากสหพันธรัฐและมลรัฐ รายได้จากการขายสิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน หรือรายได้จากอสังหาริมทรัพย์และการกู้ยืม
- ค่าธรรมเนียม เทศบาลอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการบริการเฉพาะที่จัดขึ้น เช่น ค่าธรรมเนียมประตูเข้าสระว่ายน้ำ หรือค่าธรรมเนียมการออกหนังสือเดินทาง
- เงินบริจาค ประชาชนอาจจะบริจาคหรือให้เงินสมทบเพื่อให้งานของเทศบาลเกิดผลที่ดี เช่น การพัฒนาถนน ทั้งนี้ผู้บริจาคสมทบมักเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อมจากการบริการของเทศบาล
- ภาษีอากร เช่น ภาษีการค้า ภาษีที่ดิน หรือบางส่วนจากภาษีรายได้ หรือภาษีล้อเลื่อน
- ค่าบริการ เทศบาลอาจเรียกเก็บค่าบริการได้ เช่น จากการให้เช่าหรือเช่าซื้อ
- เงินอุดหนุน เนื่องจากรายได้ข้างต้นไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินงานของเทศบาล สหพันธรัฐและมลรัฐจึงต้องจัดสรรเงินสนับสนุนให้ ภายในกรอบการจัดสรรอย่างเสมอภาค การจัดสรรลักษณะนี้ไม่เพียงช่วยเสริมรายให้แก่เทศบาลเท่านั้น แต่ยังช่วยบรรเทาความแตกต่างในการเก็บภาษีอากรระหว่างเทศบาลต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระทางการเงินของเทศบาลบางแห่งซึ่งต้องบริการพื้นที่ข้างเคียงด้วย
- เงินกู้ หากรายได้ทั้งหลายยังไม่เพียงพอ เทศบาลก็ยังได้รับอนุญาตให้กู้ได้ อย่างไรก็ดีเทศบาลจะกู้ได้เพื่อการลงทุนหรือส่งเสริมการลงทุน และเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถหาเงินทางอื่นได้
แหล่งรายได้สำคัญของการปกครองท้องถิ่นเยอรมนีคือ รายได้จากภาษีอากร ซึ่งมีทั้งภาษีอากรเล็กๆน้อยๆ เช่น ภาษีบันเทิง ภาษีสุรา ค่าธรรมเนียมเลี้ยงสุนัข ใบอนุญาตล่าสัตว์และตกปลาที่สำคัญซึ่งเป็นรายได้เป็นกอบเป็นกำได้แก่ ภาษีทรัพย์สินและภาษีการค้า สำหรับภาษีการค้าเป็นรายได้หลักสำหรับถิ่นอุตสาหกรรม [6] ส่วนรายได้จากภาษีทรัพย์สินมีสัดส่วนน้อยลงไปเรื่อยๆในระยะหลัง ภาษีการค้านั้นเทศบาลเรียกเก็บจากผู้ประกอบการท้องถิ่นตามอัตราภาษีเฉพาะ เรียกว่าอัตราประเมิน (Assessment Rate) แหล่งรายได้เช่นนี้ทำให้หลายชุมชนพยายามส่งเสริมให้มีการดำเนินอุตสาหกรรมและการค้าในพื้นที่ตน โดยให้แรงจูงใจต่างๆ เช่น เก็บภาษีทรัพย์สินต่ำ เป็นต้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากรายได้ทางภาษีมีความแตกต่างกันระหว่างชุมชนอุตสาหกรรมและชุมชนที่พักอาศัย จึงทำให้รัฐบาลปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ในปี 1969 ซึ่งสหพันธ์และมลรัฐเข้ามามีส่วนร่วมเก็บภาษีการค้าด้วย เพื่อเป็นการชดเชยชุมชนได้รับภาษีรายได้คืนไปส่วนหนึ่ง เพื่อให้เกิด “มาตรฐานการดำรงชีวิตเป็นอันเดียวกันในประเทศ” แต่ละปีรัฐบาลสหพันธ์ รัฐบาลมลรัฐ และชุมชนจึงร่วมกันจัดระบบความเสมอภาคทางการคลัง โดยพิจารณาจากความสามารถในการเพิ่มรายได้ของแต่ละชุมชน อันจะส่งเสริมให้แต่ละชุมชนสามารถทำหน้าที่ท้องถิ่นของตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ มลรัฐยังมีกองทุนของตนที่สามารถจัดสรรให้แก่ชุมชนที่มีรายได้จำกัดด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือ ” Germany at a glance เยอรมนี” จัดพิมพ์โดย สถานเอกอัครราชทูต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ผู้แปล นายพอใจ ชัยะเวฬุ
- ↑ รัฐธรรมนูญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน แปลจาก The Basic Law of the Federal Republic of Germany (revised edition : 31 December 1961) by German Information Center
- ↑ http://www.bundesfinanzminiterium.de
- ↑ http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1826
- ↑ การปฏิรูประบบสุขภาพ : กรณีศึกษาประเทศสาธารณรัฐเยอรมัน, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงค์สวัสดิ์(2543)
- ↑ หนังสือ “การปกครองส่วนท้องถิ่นของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี” เรียบเรียงโดย ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ (หน้า 29-31)