ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Larazhivago/สมรรถนะทางการสื่อสาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมรรถนะทางการสื่อสาร เป็นศัพท์ที่ใช้ในภาษาศาสตร์ ซึ่งหมายถึง การใช้ความรู้ทางด้านไวยากรณ์ วากยสัมพันธ์ สัณฐานวิทยา สัทศาสตร์ และอื่น ๆ รวมถึงความรู้ทางสังคมเกี่ยวกับวิธีและเวลาในการใช้ถ้อยคำอย่างเหมาะสม

เดลล์ ไฮมส์ (พ.ศ. 2509) [1] ได้กล่าวว่าการรับรู้ยังไม่เพียงพอในความแตกต่างระหว่าง สมรรถนะทางภาษาศาสตร์ (linguistic competence) กับประสิทธิภาพทางการใช้ภาษา (linguistic performance) ในงานของโนม ชอมสกี (พ.ศ. 2508) [2] "รูปแบบทางการสื่อสารและหน้าที่ของการสื่อสารมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน" [3] คำศัพท์และแนวคิดนี้บุกเบิกโดย เดลล์ ไฮมส์ ปัจจุบันรู้จักกันว่าเป็น ชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร (Ethnography of Communication)

แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะทางการสื่อสารเป็นหนึ่งในทฤษฎีสำคัญในหลักวิธีและแนวทางการสื่อสารในการสอนภาษาต่างประเทศ [3] รูปแบบเชิงแนวคิดมีอย่างน้อย 3 รูปแบบหลัก คือ

  • รูปแบบแรกและใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ รูปแบบของ คเนลและสเวน [4] และดัดแปลงในภายหลังโดยคเนล [5]
  • รูปแบบที่ 2 ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย มาเรียน เซล์ค-เมอร์เซีย, ดอร์นเย และเธอร์เรลล์ (พ.ศ. 2538) มีการระบุเนื้อหาวัฒนธรรมเชิงสังคมเพื่อให้ชัดเจนมากขึ้น [6]
  • รูปแบบที่ 3 โดยบาคแมนและพาล์มเมอร์ [7] เห็นว่าสมรรถนะทางการสื่อสารจะรวมถึง สมรรถนะทางภาษาศาสตร์ สมรรถนะเชิงกลยุทธ์ สมรรถนะในการทำวิทยานิพนธ์ สมรรถนะทางสังคมวัฒนธรรม สมรรถนะทางการแสดงออก และสมรรถนะทางการอภิปรายและการพูด รูปแบบเชิงแนวคิดนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในการฝึกอบรมภาษากลางในประเทศแคนาดา

ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะทางการสื่อสารได้รับอิทธิพลมาจากสาขาสัทวิทยา (Phonology) และปรัชญาแ่ห่งภาษา รวมถึง การทำงานเกี่ยวกับการพูดในสถานการณ์ต่าง ๆ [8]

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bachman, Lyle; Palmer, Adrian (2010). Language Assessment in Practice. Oxford: Oxford University Press.
  • Canale, Michael; Swain, Merrill (1980). "Theoretical bases of communicative approaches to second language teaching and testing". Applied Linguistics. 1 (1): 1–47. doi:10.1093/applin/1.1.1.
  • Canale, Michael (1983). "From communicative competence to communicative language pedagogy". Language and Communication. 1 (1): 1–47.
  • Celce-Murica, Marianne; Dornyei, Zoltán; Thurrell, Sarah (1995). "Communicative competence: A pedagogically motivated model with content specifications". Issues in Applied Linguistics. 6 (2): 5–35.
  • Chomsky, Noam (1965). Aspects of the Theory of Syntax. Cambridge: M.I.T. Press. ISBN 9780262530071. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Hymes, Dell (1964), "Toward ethnographies of communication", American Anthropologist, 66 (6 part 2): 1–34, doi:10.1525/aa.1964.66.suppl_3.02a00010, ISSN 0002-7294
  • Hymes, Dell (1966). "Two types of linguistic relativity". ใน Bright, W. (บ.ก.). Sociolinguistics. The Hague: Mouton. pp. 114–158. OCLC 2164408. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Leung, Constant (2005). "Convivial communication: recontextualizing communicative competence". International Journal of Applied Linguistics. 15 (2): 119–144. doi:10.1111/j.1473-4192.2005.00084.x. ISSN 0802-6106. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Hymes, Dell (1972). "On communicative competence". ใน Pride, J.B.; Holmes, J. (บ.ก.). Sociolinguistics: Selected Readings. Harmondsworth: Penguin. pp. 269–293. ISBN 978-014080665-6.


[[Category:ภาษาศาสตร์สังคม]] <!-- Sociolinguistics --> [[Category:การรู้ภาษา]] <!-- Language acquisition -->