ผู้ใช้:Kurino/กระบะทราย
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล | |
---|---|
เกิด | 10 กันยายน พ.ศ. 2539 |
มีชื่อเสียงจาก | นักกิจกรรมเสรีภาพในโรงเรียน และการปฎิรูปการศึกษา |
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล (เกิด 10 กันยายน 2539; ชื่อเล่น แฟรงก์) เป็นนักกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา ผู้ประพันธ์และผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม เขาก่อตั้งสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทยและกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท[1] ซึ่งทั้งสองกลุ่มมุ่งปฏิรูปการศึกษาไทย การเคลื่อนไหวช่วงแรก ๆ ของเขาเป็นการมุ่งเน้นเรื่องทรงนักเรียน ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษา รวมถึงวิจารณ์พิธีกรรมหน้าเสาธงในโรงเรียน และการยกเลิกเกณท์ทหาร [2] คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเคยเสนอ "รางวลัสิทธิมนุษยชน" ประเภทเด็กและเยาวชนจากบทบาทการรณรงค์เคลื่อนไหวเรื่องสิทธิ์มนุษยชนในโรงเรียนให้เขา แต่เขาปฏิเสธ[3] [4]
ปัจจุบันกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขายังเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดสันติประชาธรรม[5]
ประวัติ
[แก้]เนติวิทย์เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2539 เขาเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัวเจ้าของร้านขายของชำ[5] เกิดและเติบโตในจังหวัดสมุทรปราการ ศึกษาจบในระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เขาเป็นผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมตั้งแต่อายุ 18 ปี[6]
เขาได้รับความสนใจระดับชาติในเดือนมกราคม 2556 หลังออกรายการโทรทัศน์ช่วงไพรม์ไทม์ ในด้านการศึกษา เขาเสนอให้ลดชั่วโมงเรียนและการบ้าน และเปลี่ยนหลักสูตรให้เน้นความสำคัญของภาษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เขาบอกว่าเขากลับต้องท่องจำความยาวของแม่น้ำในทวีปแอฟริกา เขาไม่อยากให้นักเรียนนักศึกษามีพิมพ์เดียวโดยเฉพาะพิมพ์ที่ทำตามคำสั่ง[7]
ต้นปี 2557 เขาเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านรัฐประหารและคณะรัฐประหาร ในเดือนพฤษภาคม 2558 เขาถูกควบคุมตัวช่วงสั้น ๆ เมื่อเข้าร่วมการจัดงานไว้อาลัยประชาธิปไตยในกรุงเทพมหานครและจังหวัดขอนแก่น[5]
เขากำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยให้เหตุผลว่าเลือกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นอนุรักษนิยมมากกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นเสรีนิยมว่าตนไม่อยากอยู่ท่ามกลางคนที่คิดแบบเดียวกัน ต่อมาเขาให้สัมภาษณ์ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นอนุรักษนิยมมากอย่างที่เขาว่ากัน[6] เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 เมื่อเขาได้รับเข้าศึกษาในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาถูกอาจารย์คนหนึ่งวิจารณ์หน้าตา และอีกหลายคนกล่าวว่าชีวิตในมหาวิทยาลัยอาจยากลำบาก[2][8]
การเคลื่อนไหว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม 2559 เนติวิทย์และเพื่อนจำนวนแปดคน ไม่ยอมหมอบกราบต่อหน้าพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยอ้างเหตุผลว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ยกเลิกธรรมเนียมดังกล่าวเอง และเดินออกจากพิธีหลังกล่าวคำปฏิญาณต่อมหาวิทยาลัยและเดินไปโค้งคำนับต่อหน้าพระบรมราชานุสรณ์แทน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บางคนกล่าวว่าจะช่วยจุดประกายการอภิปรายเกี่ยวกับพิธีนี้ ส่วนบางคน เช่น หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ว่า ต้องการให้ช่วยขจัด "มะเร็ง" ออกจากมหาวิทยาลัย[9] ทางด้านพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เหตุการณ์นี้จะทำให้ชื่อเสียงของสถาบันเสื่อมเสีย[10] เนติวิทย์ตอบโต้โดยโพสต์เฟซบุ๊กว่า ฝ่ายประยุทธ์เองที่ทำให้ชื่อเสียงของประเทศเสื่อมเสียจากรัฐประหารเมื่อปี 2557 และการจำกัดสิทธิมนุษยชน และว่า เขาควรเคารพกฎหมายบ้านเมือง[10]
ในปี 2560 เนติวิทย์และสมาชิกสภานิสิตฯ อีกเจ็ดคนเดินออกจากพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเบื้องหน้าพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังคำนับแล้ว หลังจากนั้นปรากฏภาพอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้หนึ่งล็อกคอนักศึกษา[11] มหาวิทยาลัยฯ ตั้งคณะกรรมการและเรีรยกตัวนักศึกษามาสัมภาษณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมองว่าการประท้วงดังกล่าวเป็นการเมือง และว่าจัดพื้นที่ต่างหากสำหรับผู้ไม่เห็นด้วยแล้ว และการกระทำของนักศึกษาดังกล่าวไม่เหมาะสม[12] รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสั่งตัดคะแนนความประพฤติของนักศึกษา ทำให้เนติวิทย์ขาดโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมหรือลงสมัครในตำแหน่งต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย[13] ทำให้เนติวิทย์พ้นจากตำแหน่งประธานสภานิสิตฯ[14][15] เขาได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวจากต่างประเทศ ในเดือนมกราคม 2561 ผู้ได้รับรางวัลโนเบลเจ็ดคนร้องทุกข์ต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอุทธรณ์ให้เนติวิทย์และวิจารณ์มหาวิทยาลัย[16]
วันที่ 25 มกราคม 2561 เนติวิทย์เข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ในกาประท้วงต่อต้าน คสช. ที่จัดโดยกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย วันที่ 29 มกราคม คสช. ฟ้องเขาและนักกิจกรรมอีกหกคนว่าเป็นผู้นำการประท้วง[17] และกล่าวหาว่าเขาละเมิดพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558[18] ต่อมา ศาลปล่อยตัวเขากับนักเคลื่อนไหวโดยไม่มีเงื่อนไข[19]
การคุกคาม
[แก้]ในช่วงพฤษภาคม 2559 เนติวิทย์ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจรวม 7 นาย ได้ไปที่บ้านตนตามทะเบียนบ้านที่สมุทรปราการ และได้พบพูดคุยกับพ่อของเนติวิทย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ระบุว่าผู้บังคับบัญชาสั่งให้มาตรวจสอบว่าเป็นผู้มีอิทธิพล โดยก่อนหน้านี้ หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย มาที่บ้านดังกล่าวก่อนหน้านี้แล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนั้นเนติวิทย์อยู่ด้วย และช่วงหลังรัฐประหารใหม่ๆ ครูที่โรงเรียนเคยแจ้งเคยมีเจ้าหน้าที่มาที่โรงเรียนตนด้วย แต่ขณะนั้นเนติวิทย์ไปอยู่ที่ประเทศอินเดีย[20] ในช่วงพฤษภาคม 2560 หลังจากที่เนติวิทย์ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภานิสิตจุฬา มีวัยรุ่น 2 คนขับมอเตอร์ไซต์ในคณะรัฐศาสตร์ จุฬจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณหน้าอาคารสำราญราษฎร์บริรักษ์ ก็ถามหาเนติวิทย์จากคนในละแวกนั้น และพูดจาข่มขู่ใส่ก่อนที่ขับรถหนีออกไป[21][22]
ผลงาน
[แก้]หนังสือ
[แก้]- ประวัติศาสตร์ที่อยากอธิบาย (2558)
- นักเรียนเลวในระบบการศึกษาแสนดี (2559)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Fall into line, youngsters" (Bangkok Post, 20 July 2014).
- ↑ 2.0 2.1 เปิดใจ "เนติวิทย์" อึดอัด แต่ไร้ทางเลือก
- ↑ 'เนติวิทย์' ขอปฏิเสธรับรางวัลจากคณะกรรมการสิทธิฯ
- ↑ Under That Villain Mask : สอบปากคำ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ในวันที่ยังถูกมองเป็น ‘ตัวร้าย’
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Meet the Youthful Face of Resistance to Thailand's Junta
- ↑ 6.0 6.1 Thorn in the Pillar: Freshman Makes Enemies Upsetting Tradition. Allies Too.
- ↑ In Thailand’s Schools, Vestiges of Military Rule
- ↑ สัมภาษณ์: ‘เนติวิทย์’ ว่าที่นิสิตหัวก้าวหน้า ในมหาวิทยาลัยอนุรักษ์นิยม
- ↑ Netiwit's monument gesture fires up Internet
- ↑ 10.0 10.1 PM scolds student activist for plan to change university’s prostration custom
- ↑ "Chula initiation rite does not go smoothly". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.
- ↑ "CU denies forcing students to prostrate in the rain in oath-taking ritual - Thai PBS English News". Englishnews.thaipbs.or.th. 3 August 2017. สืบค้นเมื่อ 10 November 2017.
- ↑ เนติวิทย์-พวก 8 คนร้องศาลปกครองถอนคำสั่งจุฬาฯตัดคะแนนความประพฤติ-เยียวยาคนละหมื่น
- ↑ http://www.khaosodenglish.com/news/crimecourtscalamity/calamity/2017/08/07/chula-retracts-statement-sliming-student-yet-bad-taste-lingers/
- ↑ http://www.bangkokpost.com/news/general/1316491/netiwit-removed-from-student-council
- ↑ "Statement from Nobel Prize laureates to Chulalongkorn University - Prachatai". prachatai.com/english. สืบค้นเมื่อ 15 January 2018.
- ↑ https://www.reuters.com/article/us-thailand-politics/thirty-five-thai-activists-report-to-police-after-junta-protest-idUSKBN1FS0FL
- ↑ https://www.hrw.org/news/2018/02/02/thailand-39-democracy-activists-charged
- ↑ https://www.bangkokpost.com/news/politics/1409678/mbk39-walk-free-during-investigation
- ↑ ทหาร-ตร. เยี่ยมบ้านเนติวิทย์ ตรวจสอบว่าเป็นผู้มีอิทธิพลหรือไม่
- ↑ 2 ชายลึกลับขับมอเตอร์ไซค์ บุกข่มขู่ “เนติวิทย์” ถึงในจุฬา
- ↑ ระทึก! 2 วัยรุ่นขี่จยย.เข้าจุฬาฯ ถามหาตัว ‘เนติวิทย์’ เจ้าตัวรุดแจ้งความ หวั่นไม่ปลอดภัย