ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:KMBRADIO

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม เป็นวัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๒ งาน ๓๖ ตารางวา ตั้งอยู่ที่ บ้านทุ่งสนุ่น หมู่ที่ ๔ ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร เริ่มสร้างวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยชาวบ้านซึ่งมีเชื้อสายลาวครั่ง และลาวเวียงได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานจากจังหวัดนครปฐม และ จังหวัดราชบุรี มาจับจองที่ดินเพื่อทำมาหากินที่บริเวณอำเภอขาณุวรลักษบุรี (บริเวณ อ.บึงสามัคคีในปัจจุบัน) ซึ่งในขณะนั้นบริเวณนี้ยังเป็นป่าดงดิบเต็มไปด้วยสัตว์ป่า อุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งน้ำ และมีต้นสนุ่น (ไคร้นุ่น) เกิดอยู่เต็มท้องทุ่งนา ชาวบ้านจึงเรียกขานบ้านตนเองว่า บ้านทุ่งสนุ่น และหลังจากนั้นไม่นานชาวอีสาน จากจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่นก็อพยพมาสมทบกันอยู่เพิ่มเติมอีก เมื่อมีประชาชนทยอยมาอยู่ด้วยกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ ชาวบ้านจึงแพ้วถางป่าและบริจาคที่ดินสร้างวัดขึ้นที่ บริเวณโรงเรียนอนุบาลบึงสามัคคี (ในปัจจุบัน) และได้ไปนิมนต์ หลวงปู่เบี้ยว ถาวริโก จาก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มาเป็นหัวหน้าที่พักสงฆ์ แต่ด้วยทำเลที่ตั้งวัดนั้นไม่เหมาะเพราะอยู่ติดทางโค้งหลวงปู่และชาวบ้านจึงได้แลกที่ดินกันกับโรงเรียน ทำให้วัดทุ่งสนุ่นรัตนารามได้มาตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกบ้านทุ่งสนุ่นตราบเท่าปัจจุบัน ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๑๓ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม''' ซึ่งแปลว่า วัดที่เปรียบเหมือนแก้วอันล้ำค่าของชาวบ้านทุ่งสนุ่น เปิดทำการเรียนการสอนนักธรรม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นต้นมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓ และได้ทำการผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ มีเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

อุโบสถวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม
บุญกุ้มข้าวใหญ่ วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม

๑.หลวงปู่เบี้ยว ถาวริโก (น.ธ.โท) หัวหน้าที่พักสงฆ์ จากนั้นท่านได้กลับมาจำพรรษาที่ จ.ราชบุรี

๒.พระอธิการเหรียญ ปภสฺสโร (น.ธ.เอก) เจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาได้ลาออกไปจำพรรษาที่ จ.นครปฐม

๓.พระครูแกะ สิริสาโร (น.ธ.โท) ลาออก

๔.เจ้าอธิการเหรียญ ปภสฺสโร (สมัยที่ ๒) ชาวบ้านไปนิมนต์กลับมาเป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลระหาน ต่อมาได้ลาสิกขา

๕.พระอธิการเบี้ยว ถาวริโก (น.ธ.โท) ชาวบ้านไปนิมนต์ท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งมรณภาพ

๖.พระครูสุนทรวชิโรภาส (เดือน สมิงฺคิโก น.ธ.โท) มรณภาพ

๗.พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู (น.ธ.เอก ป.ธ.๗ พธ.บ. ศศ.ม.ป.วค.) ๒๕๔๘ - ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลระหาน-เทพนิมิต เขต ๑


ผลงานและรางวัลที่ได้รับ

๑.หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลดีเด่น ระดับอำเภอ กิตติคุณัปปกาสินี พ.ศ.๒๕๕๒

๒.วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่นระดับประเทศ พ.ศ.๒๕๕๓

๓.สุดยอดส้วมแห่งปีระดับจังหวัด พ.ศ.๒๕๕๓

๔.วัดส่งเสริมสุขภาพทันตกรรมดีเด่น พ.ศ.๒๕๕๔

๕.รางวัลพุทธคุณูปการ ประเภท รัชตะเกียรติคุณ จากสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๓

๖.รางวัลเสาเสมาธรรมจักรพระราชทาน สาขา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ พ.ศ.๒๕๕๕


ศิลปวัฒนธรรมประเพณีของวัด

๑.บุญผะเหวด เทศน์มหาชาติ ตั้งแต่ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ - แรม ๒ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี

๒.ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ - แรม ๒ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี

๓.ประเพณีบวชเณรภาคฤดูร้อน ๑-๑๕ เมษายน ของทุกปี

๔.ประเพณียกอ้อ ยอครู พระสัพพัญญูเจ้า วันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกปี

๕.ประเพณีแห่เทียน เปลี่ยนชีวิต ก่อนเข้าพรรษา ๒ วันของทุกปี

๖.งานพุทธคุณูปการ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ระหว่างพรรษากาลของทุกปี)

๗.ประเพณีตักบาตรเทโว แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี

๘.บุญกฐินสามัคคีประเพณีลอยกระทง วันขึ้น ๑๓ - ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี

๙.สวดมนต์ข้ามปี โชคดีตลอดไป วันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี ฯลฯ


ความสำคัญของวัด

๑.เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหาลาโภ พระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น ขุดพบที่อำเภอบ้านโป่ง จ.ราชบุรี

๒.สถานีวิทยุชุมชนคนมีบุญ FM ๑๐๕.๒๕MHz. สถานีวิทยุที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา และศิลปวัฒนธรรม

๓.พิพิธภัณฑศาลา เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุจากกรุงเวียงจันทน์ และแสดงศิลปวัตถุโบราณ


สรุป

วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม นับตั้งแต่ พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู เป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๗ เป็นต้นมา ท่านได้พัฒนาวัดและพัฒนาคนไปพร้อมๆกัน ถึงพื้นที่แห่งนี้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และทัศนคติที่อาจจะเห็นต่างกันบ้าง แต่ท่านก็ได้ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านมาเป็นตัวสื่อกลางเชื่อมความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยจะเห็นได้จากเวลาที่วัดทุ่งสนุ่นรัตนารามจัดงานประเพณีบุญต่างๆไม่ว่าจะเป็นประเพณีไทยหรือประเพณีอีสาน ต่างก็ได้รับความสนใจจากประชาชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเพณีบุญผะเหวด ซึ่งทางวัดได้จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ นั้น มีประชาชนเข้าร่วมงานหลายหมื่นคนจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นงานบุญผะเหวดแห่งเดียวของภาคเหนือตอนล่างที่มีประชาชนเข้าร่วมงานมากที่สุด และจัดยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีของชาวลุ่มแม่น้ำโขง (ลาวครั่ง ลาวเวียง ลาวอีสาน) ที่อพยพมาอยู่ที่นี่ให้คงอยู่ไม่สูญหายไปตามกาลเวลาและระยะห่างจากากเหง้าบรรพบุรุษของตนสืบไป