ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Jatupol10874

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผู้สร้าง หมายความว่า ผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่าใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์[1][2]

ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะทำการใดๆเกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างได้ทำขึ้น[3][4] ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิในวัตถุ สิ่งของ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายจากผู็ที่ละเมิดลิขสิทธิ์อีกด้วย[5]

การละเมิดลิขสิทธิ์ หมายถึงการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบ ปกติแล้วผลงานใดๆ อาทิ สิ่งประดิษฐ์ วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ เป็นกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์โดยปริยาย การนำผลงานมาใช้อาจมีเงื่อนไขบางประการเรียกว่าสัญญาอนุญาต ซึ่งกำหนดโดยเจ้าของผลงานหรือกำหนดตามกฎหมาย เมื่อไม่ทำตามเงื่อนไขจึงละเมิดลิขสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์นั้นมีหลายสาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้ละเมิดลิขสิทธิ์

  1. เนื่องจากของแท้มีราคาแพง และมีค่าใช่จ่ายสูง
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
  3. ตัวสินค้าก็มีคุณภาพเทียบเท่าของจริง
  4. วัฒนธรรมของ ซึ่งมีมาเป็นเวลายาวนาน เช่น การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีการแบ่งปันกันในสังคมมาโดยตลอดจึงทำให้คนไทยที่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ไม่คิดว่า ตนเองได้กระทำความผิด
  5. กลไกในการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและการหาตัวผู้กระทำความผิดก็ทำได้ยากเช่นกัน[6]

ซอฟต์แวร์ หมายความว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งที่สามารถใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซอฟต์แวร์ยังสามารถลำดับขั้นตอนในการทำงานและประมวลผลได้อีกด้วย[7]ซอฟต์แวร์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่จัดอยู่ในลิขสิทธิ์ เหตุเพราะลิขสิทธิ์เป็นการคุ้มครองในภาพกว้างและต้องการให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ได้มีการพัฒนาต่อไปอีกจึงถูกจัดไว้ในกลุ่มของลิขสิทธิ์[8]

ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คือ สิทธิในการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นแล้ว โดยผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การว่างเงื่อนไขในการใช้งาน หากฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ได้ว่างไว้จะถึอว่าผู้ใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นกระทำความผิดโดยการละเมิดลิขสิทธิ์[9]ซึ่งมีการใช้งานและการคุ้มครองในรูปแบบต่าง 5 ประเภทด้วยกัน
  1. Commercial ware
  2. Share ware
  3. Ad ware
  4. Free ware
  5. Open souren
  • Ad ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี แต่ก็มีการเก็บเงินบ้างเป็นบางครั้ง บวกกับการโฆษณาบนเว็บไซต์[13][14]Ad ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นกัน
  • Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรีโดยไม่มีการเสียค่าตอบแทนแต่อย่างได้ และสามารถนำโปรแกรมประเภทFree wareส่งต่อให้ผู้อื่นใช้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่มีการนำโปรแกรมนั้นไปขาย[15] Free ware มีการคุ้มครองน้อยหรือมีการคุมครองเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
  • Open souren คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้ยังสามารถร่วมกันพัฒนาโปรแกรมประเภทOpen sourenได้อีกด้วยโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก่ไขโปรแกรมนั้นๆ[16]

ประเภทของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

[แก้]
  1. การทำสำเนาโดยผู้ใช้งาน (Enduser Copy) คือ การทำสำเนาโดยผู้ใช้งาน การทำสำเนาแจกจ่ายระหว่างผู้ใช้งานแม้ว่าจะเป็นการทำสำเนาจากซอฟต์แวร์ต้นฉบับของแท้ ก็จัดว่าเป็นการละเมิดประเภทหนึ่ง เนื่องจากมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ หรือการใช้งานซอฟต์แวร์มากกว่าจำนวนที่ได้รับสิทธิ การกระทำเช่นนี้มิเพียงแต่เสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเท่านั้น หากแต่ยังเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส และความเสียหายของข้อมูล ฯลฯ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายอันประเมินค่ามิได้ต่อธุรกิจของท่าน
  2. การติดตั้งซอฟต์แวร์ลงในฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Loading) เช่น ทำหน้าที่เป็นผู้ติดตั้งซอฟต์แวร์ให้ โดยแนะนำให้ลูกค้าซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยตนเองจะให้บริการติดตั้งเท่านั้น หรือ แนะนำให้ลูกค้ารับเครื่องเปล่าไปก่อน และส่งเจ้าหน้าที่ไปติดตั้งที่บ้านหรือที่ทำงานของลูกค้าภายหลัง
  3. การปลอมแปลงสินค้า (Counterfeiting)ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์บางรายถึงกับผลิต CD และคู่มือปลอมจำหน่าย โดยจัดทำบรรจุภัณฑ์เหมือนกับสินค้าจริงทุกประการ เพื่อเป็นการหลอกลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าได้สินค้าของแท้
  4. การละเมิดลิขสิทธิ์ Online (Internet Piracy) ลักษณะที่เกิดขึ้นมากในปัจจุบันคือการ Download ซอฟต์แวร์ผ่าน Internet โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์เหล่านี้ไม่ใช่ Shareware
  5. การขายหรือใช้ลิขสิทธิ์ผิดประเภท ในบางกรณีผู้ค้าซอฟต์แวร์จำหน่ายซอฟต์แวร์ผิดประเภทให้กับลูกค้า ทำให้ผู้ซื้อตกอยู่ในความเสี่ยงทางกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ผลกระทบ

[แก้]

เทคโนโลยีการแชร์ไฟล์แบบเพียร์ทูเพียร์ (Pear 2 Pear; P2P) เป็นเทคโนโลยีทีช่วยลดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการรับข้อมูลเป็นจำนวนมาก มีเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ ในขณะเดียวกันเครือข่ายความรู้นี้ก็อาจเปลี่ยนไปเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งยากต่อการตรวจสอบเนื่องจากผู้ใช้สามารถเปลียนชื่อไฟล์และเนื้อหาที่จะแชร์ได้

คุณภาพของฟรีแวร์ที่เพิ่มสูงขึ้นจนเป็นทางเลือกของผู้ใช้ได้ มีส่วนช่วยลดการใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน ผู้ผลิตซอฟต์แวร์บางรายมองว่า การทำสำเนาซอฟต์แวร์ของตนเพื่อเผยแพร่ แม้จะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ดีกว่าการไปซื้อซอฟต์แวร์หรือทำสำเนาของซอฟต์แวร์ที่เป็นคู่แข่งขันกัน ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ เจฟ ไรค์ส์ กล่าวว่า "ถ้าพวกเขาอยากจะละเมิดลิขสิทธิ์ใครสักคน ขอให้ใครสักคนที่ว่านั้นเป็นเรา ไม่ใช่คนอื่น" นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่า[17] "เราเข้าใจว่าในระยะยาว สิ่งพื้นฐานที่มีค่าที่สุดคือจำนวนผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ของเรา สิ่งที่คุณคาดหวังว่าจะทำไปเรื่อย ๆ ระหว่างนี้คือการเปลี่ยนให้คนที่ใช้ของละเมิดใช้ของที่ถูกกฎหมายแทน"

จากการศึกษารวมกันเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ระหว่าง Business Software Alliance และ Software Publishers Association พบว่าความเสียหายเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของทั้งโลกมากกว่า 13 ล้านเหรียน ในปี 1995 และมีแนวโน้วว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ[18]

ประเทศไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์ติดเป็นอันดับ 3 ของโลก[19] และการกระทำความผิดในการละเมิดลิขสิทธิ์ในโปรแกรมตอมพิวเตอร์หรือSoftwareมีอัตราลดลง 2 เปอร์เซ็นต์ในไทยปี 2551 มูลค่าความสูญเสียจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงกว่า 609 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ[20]

TRIPs (สนธิสัญญาว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญากับการค้าระหว่างประเทศ)

[แก้]

TRIPs( Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights )เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ [21]ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่อยู่ภายใต้ GATT (General Agreement on Tariffs and Trade ) คือ สนธิสัญญาการค้าระหว่างประเทศโดย GATT ได้ส้นสุดสภาพไปเมื่อมีการจัดตั้งองค์การการค้าโลก หรือ WTO( World Trade Organization )[22][23][24]

อ้างอิง

[แก้]
  1. มาตรา 4 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
  2. http://www.tmd.go.th/documents/copyright.pdf
  3. มาตรา 4 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
  4. http://www.tmd.go.th/documents/copyright.pdf
  5. http://www.itmelody.com/free_tip/AR_ViewItem.php?id=1108
  6. เอกสารประกอบการเรียน วิชา กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
  7. http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/index.html
  8. เอกสารประกอบการเรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  9. http://www.samsenwit.ac.th/e-book/program/windowsXP/licensing.htm
  10. http://www.bks.ac.th/network/ftp.htm
  11. http://www.dpt.go.th/itc/knowledge/sharware.html
  12. http://www.mrpalm.com/board/view_board.php?id=84732
  13. http://www.viruscom2.com/malware/adware.html
  14. เอกสารประกอบการเรียน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ
  15. http://www.bks.ac.th/network/ftp.htm
  16. เอกสารประกอบการเรียน วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ
  17. http://arstechnica.com/journals/microsoft.ars/2007/03/12/microsoft-executive-pirating-software-choose-microsoft
  18. http://www.scu.edu/ethics/publications/iie/v8n3/faqs.html
  19. http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=5092
  20. http://www.ryt9.com/s/prg/573709
  21. http://learners.in.th/blog/intellectualproperty/158121
  22. http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/GATT
  23. http://learners.in.th/blog/ss-econ/196421
  24. http://www.wtothailand.or.th/faq.php