ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Horus/กระบะทราย/4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:Wikipedia copyright

การลอกเลียนวรรณกรรมเป็นการฉวยการให้เกียรติเจ้าของงานจากงานเขียนของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง รวมทั้งภาษาและความคิดของเขา โดยไม่ระบุข้อความให้เกียรติเจ้าของงานเพียงพอ[1] มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์นิยามการลอกเลียนวรรณกรรมว่า "ส่งงานราวกับเป็นงานของบุคคลนั้นเอง ซึ่งมาจากงานของผู้อื่นบางส่วนหรือทั้งหมดโดยไม่ยอมรับตามสมควร ไม่ว่ามีเจตนาเพื่อหลอกลวงหรือไม่"[2]

วิกิพีเดียมีนโยบายด้านเนื้อหาแกนกลางสามประการ ซึ่งมีสองประการที่ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการลอกเลียนวรรณกรรม งดงานค้นคว้าต้นฉบับห้ามมิให้ผู้เขียนแทรกความคิดของตนเองในบทความ และ การพิสูจน์ยืนยันได้ กำหนดให้บทความต้องยึดถือแหล่งข้อมูลตีพิมพ์น่าเชื่อถือ นโยบายเหล่านี้หมายความว่าชาววิกิพีเดียมีโอกาสถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนวรรณกรรมได้ง่ย เพราะเราต้องยึดถือตามแหล่งข้อมูลอย่างใกล้ชิด แต่ต้องไม่ใกล้เคียงเกินไป เนื่องจากการลอกเลียนวรรณกรรมเกิดขึ้นได้โดยปราศจากเจตนาหลอกลวง จึงควรมุ่งความสนใจไปยังการให้การศึกษาแก่ผู้เขียนและการเก็บกวาดบทความ

มีการอรรถาธิบายแหล่งที่มาโดยใช้การอ้างอิงในบรรทัด (inline citation) ตรงแบบในรูปของเชิงอรรถ (ดู การอ้างอิงแหล่งที่มา)[3] นอกเหนือจากการอ้างอิงในบรรทัด ปกติการยกอัญพจน์หรือการถอดความใกล้ชิด (closely paraphrasing) ซึ่งเนื้อความจากแหล่งที่มากำหนดให้ต้องแสดงแหล่งที่มาในบรรทัด (in-text attribution) ตัวอย่างเช่น "จอห์น สมิทเขียนว่าอาคารนั้นดูน่าทึ่งมาก" หรือ "จอห์น สมิท (2555) ระบุว่า ..."[4] การออกชื่อผู้ประพันธ์ในข้อความทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเนื้อความยึดความคิดของผู้อื่นอย่างมาก โดยไม่จำเป็นต้องไปค้นหาในเชิงอรรถ คุณสามารถหลีกเลี่ยงการลอกเลียนวรรณกรรมได้โดยจดจำกฎง่าย ๆ เหล่านี้

  • การอ้างอิงในบรรทัด: ใส่แหล่งอ้างอิงในรูปอ้างอิงในบรรทัดต่อท้ายประโยคหรือย่อหน้านั้น ๆ
  • การแสดงที่มาในข้อความ: เพิ่มการแสดงที่มาในข้อความเมื่อคุณลอกหรือถอดความใกล้ชิดซึ่งคำหรือลำดับความคิดของผู้ประพันธ์คนอื่น ยกเว้นเนื้อความนั้นไม่มีลิขสิทธิ์โดยสภาพหรือมาจากแหล่งข้อมูลเสรี
  • บูรณภาพ: คงไว้ซึ่งบูรณภาพข้อความกับแหล่งที่มา ให้แทรกการอ้างอิงในบรรทัดเพื่อให้ชัดเจนว่าแหล่งข้อมูลใดสนับสนุนประเด็นใด หรือใช้การอ้างอิงรวมชุด (bundling) แล้วอธิบายเพิ่มในเชิงอรรถ

การลอกเลียนวรรณกรรมและการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน[5] การละเมิดลิขสิทธิ์เกิดเมื่อมีการใช้เนื้อหาในทางที่ละเมิดสิทธิขาดจำเพาะของผู้ทรงลิขสิทธิ์ การให้เกียรติเจ้าของงานไม่ได้หมายความว่าป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ฉะนั้นพึงระมัดระวังไม่ยกข้อความปริมาณมากจากแหล่งข้อมูลไม่เสรีจนละเมิดแนวปฏิบัติเนื้อหาไม่เสรี[6] ในทำนองเดียวกัน แม้ไม่มีประเด็นด้านลิขสิทธิ์ เนื้อหาสาธารณสมบัติก็สามารถถูกลอกเลียนวรรณกรรมได้หากมีการนำไปใช้โดยไม่รับรู้แหล่งที่มา

การลอกเลียนวรรณกรรมในวิกิพีเดีย

[แก้]

รูปแบบของการลอกเลียนวรรณกรรม

[แก้]

การลอกเลียนวรรณกรรมคือการนำเสนองานของบุคคลอื่น รวมทั้งภาษาและความคิดของพวกเขา ว่าเป็นของคุณเอง ไม่ว่าโดยเจตนาหรือไม่เจตนา เนื่องจากการลอกเลียนวรรณกรรมสามารถเกิดได้ง่ายและโดยผิดพลาด จึงแนะนำอย่างยิ่งให้ผู้เขียนทุกคนกระตือรือร้นในการระบุปัญหาใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในงานเขียนของพวกตน การลอกเลียนวรรณกรรมสามารถมีได้หลายรูปแบบ

ทั้งแหล่งข้อมูลเสรีและมีลิขสิทธิ์

[แก้]
 ไม่สำเร็จ คัดลอกจากแหล่งที่มาที่ไม่ให้กิตติกรรมประกาศ
  • แทรกข้อความ คือ คัดลอกคำต่อคำ หรือถอดความใกล้ชิดโดยเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย จากแหล่งที่มาโดยไม่ให้กิตติกรรมประกาศที่ใดในบทความ ทั้งในตัวบทความ เชิงอรรถ ส่วนอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูลอื่น
  • ตัวอย่างข้างต้นเป็นการลอกเลียนวรรณกรรมรูปแบบที่ชัดเจนที่สุด และมีโอกาสเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุน้อยที่สุด
 ไม่สำเร็จ คัดลอกจากแหล่งที่มาที่ให้กิตติกรรมประกาศแล้วในการอ้างอิงที่วางอย่างไม่เหมาะสม
  • แทรกข้อความ คือ คัดลอกคำต่อคำ หรือถอดความใกล้ชิดโดยเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แล้วอ้างอิงแหล่งที่มาที่หนึ่งที่ใดในบทความ แต่ไม่อ้างอิงต่อท้ายประโยคหรือข้อความที่คัดลอกมาทันที
  • อาจดูเหมือนผู้เขียนพยายามผ่านข้อความราวกับเป็นข้อความของตนเอง อาจเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุเมื่อมีการย้ายอ้างอิงในบรรทัดระหว่างการแก้ไข ทำให้เสียบูรณภาพของข้อความและแหล่งที่มา นอกจากนี้ อาจเกิดเมื่อผู้เขียนยึดการอ้างอิงทั่วไปที่แสดงรายการในส่วนอ้างอิง โดยไม่ใช้การอ้างอิงในบรรทัด
 ไม่สำเร็จ การสรุปแหล่งที่มาไม่ให้กิตติกรรมประกาศด้วยคำของคุณเอง
  • การสรุปแลห่งที่มาด้วยคำของคุณ โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มาที่ใด อาจถือเป็นการลอกเลียนวรรณกรรมรูปแบบหนึ่ง ตลอดจนละเมิดนโยบายการพิสูจน์ยืนยันได้
  • การสรุปแหล่งที่มาด้วยคำของคุณเองไม่ได้หมายความว่าคุณมิได้ลอกเลียนวรรณกรรม เพราะคุณยังยึดงานเขียนของนักเขียนคนอื่นเป็นหลักอยู่ ควรให้เกียรติเจ้าของงานในรูปการอ้างอิงในบรรทัด

เฉพาะแหล่งที่มามีลิขสิทธิ์เท่านั้น

[แก้]
 ไม่สำเร็จ คัดลอกจากแหล่งที่มามีกิตติกรรมประกาศในการอ้างอิง ณ ตำแหน่งดีแล้ว โดยปราศจากการแสดงที่มาในข้อความ
  • แทรกข้อความ คัดลอกมาคำต่อคำ หรือถอดความใกล้ชิดโดยเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจากแหล่งข้อมูลมีลิขสิทธิ์ แล้วอ้างอิงแหล่งที่มาในการอ้างอิงในบรรทัหลังข้อความที่คัดลอกมา โดยไม่เอ่ยชื่อแหล่งที่มาในตัวข้อความ
  • ในที่นี้ผู้เขียนไม่ได้พยายามผ่านผลงานเสมือนเป็นของตนเอง แต่ยังถือเป็นการลอกเลียนวรรณกรรม เพราะใช้ข้อความของแหล่งที่มาโดยปราศจากการแสดงที่มาในข้อความ ยิ่งคัดลอกคำของแหล่งที่มามามากเท่าใด และการใช้วลียิ่งชัดเจนมากเท่านั้น การละเมิดยิ่งร้ายแรงมากเท่านั้น การเพิ่มการแสดงแหล่งที่มาในบรรทัด (เช่น "จอห์น สมิทแย้งว่า ...") จะเลี่ยงข้อกล่าวหาลอกเลียนวรรณกรรมได้เสมอ แม้ไม่อาจเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์ได้เสมอไป

    พึงระมัดระวังเมื่อใช้การแสดงที่มาในข้อความ เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น เช่น "ศ. ซูซาน โจนส์ ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศอันเกิดจากฝีมือมนุษย์นำไปสู่ภาวะโลกร้อน" อาจละเมิดนโยบายมุมมองที่เป็นกลาง เพราะนี่เป็นความเห็นพ้องของนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ไม่ใช่เพียงข้ออ้างของโจนส์ผู้เดียว ในกรณีนั้น อาจเลี่ยงการลอกเลียนวรรณกรรมโดยการสรุปสารสนเทศด้วยคำของคุณเองหรือรับรู้อย่างชัดเจนว่าแม้คำเหล่านี้เป็นของโจนส์ แต่มุมมองนี้แพร่หลาย

การเลี่ยงการลอกเลียนวรรณกรรม

[แก้]
สำหรับการเลี่ยงการลอกเลียนวรรณกรรมซึ่งข้อความที่คัดลอกจากสิ่งพิมพ์เผยแพร่ที่สัญญาอนุญาตเข้าได้กับกอปปีเลฟต์และสาธารณสมบัติ ดูส่วนด้านล่างประกอบ: การคัดลอกเนื้อความจากแหล่งข้อมูลเสรี

คุณสามารถเลี่ยงการลอกเลียนวรรณกรรมโดยการสรุปเนื้อความแหล่งที่มาด้วยคำของคุณตามด้วยการอ้างอิงในบรรทัด หรือโดยยกอัญพจน์หรือถอดความใกล้ชิดซึ่งแหล่งที่มา ปกติโดยการแสดงที่มาในข้อความ (คือการเพิ่มชื่อของผู้ประพันธ์ลงในข้อความ) และการอ้างอิงในบรรทัด ตามด้วยตัวอย่างที่รับมาจาก "What Constitutes Plagiarism?", Harvard Guide to Using Sources, Harvard University:

 ไม่สำเร็จไม่มีการแสดงที่มาในข้อความ ไม่มีเครื่องมหายอัญประกาศ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อความ ไม่มีการอ้างอิงในบรรทัด

  • แหล่งที่มา: Michael E. Brown, "The Causes of Internal Conflict: An Overview," in Michael E. Brown, et al, Nationalism and Ethnic Conflict, The MIT Press, 2001, p. 14.
  • ข้อความในแหล่งที่มา: "การเปลี่ยนสภาพทางการเมืองอันเกิดจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือการปฏิรูปการเมืองยังทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงเป็นพิเศษ"
  • ข้อความวิกิพีเดีย: การเปลี่ยนสภาพทางการเมืองอันเกิดจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือการปฏิรูปการเมืองยังทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงเป็นพิเศษ

 ไม่สำเร็จ ไม่มีการแสดงที่มาในข้อความ ไม่มีเครื่องหมายอัญประกาศ ไม่เปลี่ยนแปลงข้อความ มีเฉพาะการอ้างอิงในบรรทัด

  • แหล่งที่มา: Michael E. Brown, "The Causes of Internal Conflict: An Overview," in Michael E. Brown, et al, Nationalism and Ethnic Conflict, The MIT Press, 2001, p. 14.
  • ข้อความในแหล่งที่มา: "การเปลี่ยนสภาพทางการเมืองอันเกิดจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือการปฏิรูปการเมืองยังทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงเป็นพิเศษ"
  • ข้อความวิกิพีเดีย: การเปลี่ยนสภาพทางการเมืองอันเกิดจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือการปฏิรูปการเมืองยังทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงเป็นพิเศษ[7]

 ไม่สำเร็จ ไม่มีการแสดงที่มาในข้อความ ไม่มีเครื่องหมายอัญประกาศ ข้อความถอดความใกล้ชิด มีเฉพาะการอ้างอิงในบรรทัด

  • แหล่งที่มา: Michael E. Brown, "The Causes of Internal Conflict: An Overview," in Michael E. Brown, et al, Nationalism and Ethnic Conflict, The MIT Press, 2001, p. 14.
  • ข้อความในแหล่งที่มา: "การเปลี่ยนสภาพทางการเมืองอันเกิดจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือการปฏิรูปการเมืองยังทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงเป็นพิเศษ"
  • ข้อความอ้างอิง: การเปลี่ยนสภาพทางการเมืองกันเกิดจากการสิ้นสุดรัฐบาลอำนาจนิยม การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองยังทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรง[7]

checkY มีการแสดงที่มาในข้อความ มีเครื่องหมายอัญประกาศ ไม่เปลี่ยนแปลงข้อความ มีการอ้างอิงในบรรทัด

  • แหล่งที่มา: Michael E. Brown, "The Causes of Internal Conflict: An Overview," in Michael E. Brown, et al, Nationalism and Ethnic Conflict, The MIT Press, 2001, p. 14.
  • ข้อความในแหล่งที่มา: "การเปลี่ยนสภาพทางการเมืองอันเกิดจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือการปฏิรูปการเมืองยังทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงเป็นพิเศษ"
  • ข้อความอ้างอิง: ไมเคิล อี. บราวน์เขียนว่า "การเปลี่ยนสภาพทางการเมืองอันเกิดจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือการปฏิรูปการเมืองยังทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงเป็นพิเศษ"[7]

checkY มีการแสดงที่มาในข้อความ มีเครื่องหมายอัญประกาศ ข้อความส่วนใหญ่มีการถอดความอย่างเหมาะสม มีการอ้างอิงในบรรทัด

  • แหล่งที่มา: Michael E. Brown, "The Causes of Internal Conflict: An Overview," in Michael E. Brown, et al, Nationalism and Ethnic Conflict, The MIT Press, 2001, p. 14.
  • ข้อความในแหล่งที่มา: "การเปลี่ยนสภาพทางการเมืองอันเกิดจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือการปฏิรูปการเมืองยังทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงเป็นพิเศษ"
  • ข้อความวิกิพีเดีย: ไมเคิล อี. บราวน์เสนอว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น การเปลี่ยนจากรัฐบาลอำนาจนิยมมาเป็นประชาธิปไตย สามารถ "ทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงเป็นพิเศษ"[7]
  • หมายเหตุ: แม้มีการแสดงที่มาในข้อความ คำบางคำหรือวลีบางวลีอาจต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศ

checkY มีการแสดงที่มาในข้อความ ไม่มีเครื่องหมายอัญประกาศ ข้อความถอดความอย่างเหมาะสม มีการอ้างอิงในบรรทัด

  • แหล่งที่มา: Michael E. Brown, "The Causes of Internal Conflict: An Overview," in Michael E. Brown, et al, Nationalism and Ethnic Conflict, The MIT Press, 2001, p. 14.
  • ข้อความในแหล่งที่มา: "การเปลี่ยนสภาพทางการเมืองอันเกิดจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือการปฏิรูปการเมืองยังทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงเป็นพิเศษ"
  • ข้อความวิกิพีเดีย: ไมเคิล บี. บราวน์เสนอว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น การเปลี่ยนจากรัฐบาลอำนาจนิยมมาเป็นประชาธิปไตย สามารถกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงต่อรัฐได้[7]

checkY ไม่มีการแสดงที่มาในข้อความ ไม่มีเครื่องหมายอัญประกาศ สรุปข้อความด้วยคำของผู้เขียนเอง มีการอ้างอิงในบรรทัด

  • แหล่งที่มา: Michael E. Brown, "The Causes of Internal Conflict: An Overview," in Michael E. Brown, et al, Nationalism and Ethnic Conflict, The MIT Press, 2001, p. 14.
  • ข้อความในแหล่งที่มา: "การเปลี่ยนสภาพทางการเมืองอันเกิดจากการล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือการปฏิรูปการเมืองยังทำให้รัฐมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงเป็นพิเศษ"
  • ข้อความวิกิพีเดีย: การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพิ่มโอกาสเกิดความรุนแรงต่อรัฐ[7]
  • หมายเหตุ: หากประโยค "การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพิ่มโอกาสเกิดความรุนแรงต่อรัฐ" มีความโดดเด่นในทางใดทางหนึ่ง (ตัวอย่างเช่น เป็นตัวแทนของจุดยืนข้างน้อย) อาจต้องการการแสดงที่มาในข้อความ (ไมเคิล บราวน์เสนอว่า ...) แม้เป็นความย่อเนื้อความจากแหล่งที่มาด้วยคำของผู้เขียนเอง

การเคารพลิขสิทธิ์

[แก้]

ไม่ว่ามีความกังวลลอกเลียนวรรณกรรมหรือไม่ งานที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งไม่มีอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเสรีที่เข้าได้จะต้องเป็นไปตามนโยบายลิขสิทธิ์และแนวปฏิบัติเนื้อหาไม่เสรี หมายความว่า งานนั้นไม่สามารถคัดลอกสู่บทความวิกิพีเดียอย่างกว้างขวางได้ สามารถคัดหรือถอดความใกล้ชิดซึ่งข้อความปริมาณจำกัดจากแหล่งข้อมูลไม่เสรีได้หากข้อความนั้นมีการระบุอย่างชัดเจนในบทความว่าเป็นคำของผู้อื่น ซึ่งกระทำได้โดยการแสดงที่มาในข้อความ หรือเครือ่งหมายอัญประกาศ หรืออัญพจน์บล็อก (block quotation) ตามความเหมาะสม ตามด้วยการอ้างอิงในบรรทัด

การแปล

[แก้]

ไม่ว่างานนั้นเป็นงานเสรีหรือไม่ ผู้เขียนยังมีพันธกรณีต้องให้เกียรติเจ้าของงานแก่ผู้ประพันธ์ข้อความภาษาต่างประเทศสำหรับการแสดงออก สารสนเทศและความคิดอันเป็นงานสร้างสรรค์ของพวกเขาอยู่ หรือในกรณีที่เป็นงานไม่เสรี การแปลโดยตรงน่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เช่นเดียวกัน (ดูกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐ[8][9])

สิ่งที่มิใช่การลอกเลียนวรรณกรรม

[แก้]

ชาลส์ ลิปสัน (Charles Lipson) ระบุว่ากฎการลอกเลียนวรรณกรรมทั้งหมด "ปฏิบัติตามความคิดเดียวกัน: รับรู้สิ่งที่คุณเอามาจากผู้อื่น ข้อยกเว้นเดียวคือเมื่อคุณอาศัยสารสนเทศที่รู้กันทั่วแล้ว"[10] การลอกเลียนวรรณกรรมไม่เป็นปัญหาเมื่อเนื้อหาขาดความสร้างสรรค์และข้อเท็จจริงและความคิดที่เสนอนั้นเป็นความรู้ทั่วไป ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางส่วนซึ่งไม่กำหนดให้ต้องแสดงที่มาในข้อความ แต่คุณอาจต้องใช้การอ้างอิงในบรรทัดอยู่ เช่น

  • การใช้นิพจน์และสุภาษิต รวมทั้งที่ใช้บ่อยในวัฒนธรรมย่อย เช่น แวดวงวิชาการ
  • วลีซึ่งเรียบง่ายที่สุดและเด่นชัดที่สุดในการนำเสนอสารสนเทศ ประโยคอย่าง "จอห์น สมิทเกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1900" ถือว่าไม่มีความสร้างสรรค์เพียงพอจนต้องมีการแสดงที่มา
  • รายการสารสนเทศไม่สร้างสรรค์เรียบง่ายซึ่งเป็นความรู้ทั่วไป หากรายการนั้นนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น (คือ ไม่เป็นความรู้ทั่วไป) หรือมีการใช้การสร้างสรรค์ในการผลิตรายการโดยคัดเลือกว่าจะรวมข้อเท็จจริงใดบ้าง แล้วผลิตซ้ำรายการโดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มานั้นอาจเป็นการลอกเลียนวรรณกรม[11]
  • สูตรคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อันเป็นส่วนพื้นฐานที่สุดและความรู้พื้นเดิมทั่วไปในสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น E = mc2 และ F = ma (แต่กรณีส่วนใหญ่เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจลึกซึ้งขึ้น การใส่อ้างอิงถือว่าเป็นดี)
  • การนิรนัยทางตรรกะอย่างง่าย

การรับมือการลอกเลียนวรรณกรรม

[แก้]

การละเมิดลิขสิทธิ์

[แก้]

หากคุณพบข้อความหรือสื่อสำเนา ให้พิจารณาก่อนว่าปัญหาหลักเป็นการลอกเลียนวรรณกรรมหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ หากแหล่งข้อมูลนั้นไม่อยู่ในสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตเข้าไม่ได้กับวิกิพีเดีย หรือคุณสงสัยดังนี้ คุณควรจัดการตามนโยบายลิขสิทธิ์

การลอกเลียนวรรณกรรมข้อความ

[แก้]

วิธีค้นหาการลอกเลียนวรรณกรรมข้อความ

[แก้]

มีวิธีตรวจจับการลอกเลียนวรรณกรรมได้หลายวิธี ข้อความที่ลอกเลียนวรรณกรรมมักแสดงการเปลี่ยนแปลงฉับพลันจากลีลาและน้ำเสียงตามปกติของผู้เขียนและอาจดูมีการใช้ไวยากรณ์และคำศัพท์ขั้นสูงขึ้น เนื้อความที่ลอกเลียนวรรณกรรมอาจมีรัสพจน์หรือภาษาเฉพาะวงการเทคนิคที่ไม่อธิบายเพิ่มซึ่งมีอธิบายไว้แล้วในส่วนก่อนหน้าเอกสารที่ลอกเลียนวรรณกรรม เนื่องจากเนื้อความที่ลอกเลียนวรรรณกรรมเขียนขึ้นโดยมีความมุ่งหมายอย่างอื่น จึงมักมีน้ำเสียงไม่เป็นสารานุกรม ผู้เขียนที่ลอกเลียนวรรณกรรมจากหลายแหล่งจะปรากฏว่าเปลี่ยนลีลาการเขียนบ่อยและฉับพลัน

วิธีง่ายวิธีหนึ่งในการทดสอบหาการลอกเลียวรรณกรรมจากแหล่งออนไลน์คือการคัดลอกและวางข้อความในเสิร์จเอนจิน หากตรงกันพอดี หรือตรงกันเกือบพอดี อาจเป็นการลอกเลียนวรรณกรรม เมื่อกำลังทดสอบเช่นนี้ พึงตระหนักถึงเว็บไซต์อื่นที่ใช้ซ้ำซึ่งเนื้อหาจากวิกิพีเดีย รายการเว็บไซต์ที่ระบุแล้วมีอยู่ที่ Mirrors and forks ปกติเป็นไปได้ที่จะพบรุ่นพอดีในประวัติบทความซึ่งสำเนาภาพสะท้อนทำขึ้น ในทางกลับกัน หากข้อความที่กำลังพิจารณามีการเพิ่มเข้ามาในการแก้ใหญ่ครั้งเดียว และข้อความนั้นตรงกันกับแหล่งข้อมูลภายนอกมาก นี่เป็นสิ่งบ่งชี้การคัดลอกโดยตรง เมื่อสงสัย ให้ตรวจสอบผลลัพธ์เสิร์จเอนจินซ้ำกับชาววิกิพีเดียผู้มีประสบการณ์

อีกทางเลือกหนึ่งคือการใช้ประโยชน์จากตัวตรวจจับการลอกเลียนวรรณกรรม เช่น หน้านี้ ระบบการตรวจจับการลอกเลียนวรรณกรรม ซึ่งบางระบบเปิดใช้ไม่เสียค่าใช้จ่ายออนไลน์ มีอยู่เพื่อช่วยตรวจจับกลฉ้อฉลทางวิชาการเป็นหลัก วิกิพีเดียไม่ได้ส่งเสริม หรือแนะนำ บริการภายนอกอื่นใด ฉะนั้นประสบการณ์ของคุณเองจะเป็นเครื่องชี้นำ ื์ นอกจากนี้การเปรียบเทียบโดยตรงระหว่างแหล่งข้อมูลที่อ้างกับข้อความในบทความเพื่อดูว่ามีการลอกเลียนวรรณกรรมหรือไม่ก็อาจมีประโยชน์ รวมทั้งการถอดความใกล้เคียงกับต้นฉบับมากเกินไป ทั้งนี้ พึงระลึกไว้ว่าบางประโยคในบทความที่มีความคล้ายมากกับประโยคในแหล่งที่อ้างโดยทั่วไปมิใช่สิ่งต้องกังวล ข้อเท็จจริงและความเห็นบางอย่างสามารถถ่ายทอดออกมาได้หลายวิธีโดยที่ยังเป็นข้อเท็จจริงและความเห็นเดียวกัน ความกังวลการลอกเลียนวรรณกรรมเกิดเมื่อมีหลักฐานการคัดลอก อย่างเป็นระบบ ซึ่งการเลือกใช้คำ (diction) จากแหล่งตั้งแต่หนึ่งแหล่งขึ้นไปในหลายประโยคหรือย่อหน้า นอกจากนี้ เมื่อรับมือกับแหล่งไม่เสรี ให้แน่ใจว่าการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ใด ๆ ที่เหมาะสมมีการทำเครื่องหมายเป็นอัญพจน์

การรับมือกับผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

หากคุณพบตัวอย่างการลอกเลียนวรรณกรรมที่ผู้เขียนคัดลอกข้อความ สื่อหรือภาพเข้าสู่วิกิพีเดียโดยไม่แสดงที่มาอย่างเหมาะสม ให้ติดต่อผู้เขียนที่รับผิดชอบ ชี้ทางเขามายังแนวปฏิบัตินี้ และขอให้เขาเพิ่มการแสดงที่มา ข้อผิดพลาดการแสดงที่มาอาจไม่ได้เจตนา ไม่ควรสันนิษฐานการลอกเลียนวรรณกรรมโดยเจตนาหากปราศจากหลักฐานที่เข้มงวด[12] เริ่มจากสันนิษฐานว่าผู้อื่นสุจริตใจ ผู้มีส่วนร่วมอาจไม่คุ้นเคยกับมโทัศน์การลอกเลียนวรรณกรรม อาจมีประโยชน์ที่จะชี้ให้เขารู้จัก การพิสูจน์ยืนยันได้ และการอ้างอิงแหล่งที่มา ผู้เขียนที่มีความลำบากหรือคำถามเกี่ยวกับคำชี้แนะดังกล่าวสามารถถามได้ที่ แผนกช่วยเหลือ

คุณอาจประสงค์เชิญผู้เขียนคนดังกล่าวมาเพื่อระบุและแก้ไขการลอกเลียนวรรณกรรมกรณีอื่นใดที่เขาอาจกระทำไว้ก่อนคุ้นเคยกับแนวปฏิบัตินี้ เช่นเดียวกับขอให้แก้ตัวอย่างที่คุณพบ หากผู้ใช้ดังกล่าวยังลอกเลียนวรรณกรรมซ้ำซาก ให้รายงานต่อผู้ดูแลระบบ และดูให้แน่ใจว่าใส่ผลต่างที่แสดงทั้งการลอกเลียนวรรณกรมและคำเตือน

การแก้ไขการลอกเลียนวรรณกรรมข้อความ

[แก้]

การติดต่อผู้แก้ไขคนที่ใส่ข้อความนั้นอาจกระทำไม่ได้เสมอไป ตัวอย่างเช่น ผู้เขียนไอพีที่ใส่ข้อวามเมื่อสามปีก่อนและไม่มีการแก้ไขอีกนั้นไม่น่าเป็นไปได้ที่จะสามารถตอบสนองต่อข้อกังวลของคุณ ไม่ว่าคุณสามารถติดต่อผู้เขียนคนดังกล่าวได้หรือไม่ คุณสามารถเปลี่ยนเนื้อความที่คัดลอกมา แสดงที่มาหรือแหล่งอ้างอิงได้ด้วยตนเอง เนื้อความที่การลอกเลียนวรรณกรรมมาแต่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ไม่จำเป็นต้องลบออกจากวิกิพีเดียก็ได้หากสามารถปรับปรุงแก้ไข ให้เพิ่มสารสนเทศแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสมลงในบทความหรือหน้าไฟล์ทุกที่ที่ทำได้

การลอกเลียนวรรณกรรมสื่อ

[แก้]

วิธีการค้นหาการลอกเลียนวรรณกรรมสื่อ

[แก้]

เริ่มต้นจากคำถามสามัญสำนึกว่า "ผู้อัปโหลดน่าจะเป็นแหล่งที่มาต้นฉบับหรือไม่" บุคคลที่สแกนภาพจากตำราเกี่ยวกับสมุนไพรในปี 1825 ไม่น่าจะเป็นผู้ประพันธ์หนังสือนั้น แม้จะอ้าง {{PD-self}} บางทีความสงสัยอาจเกิดขึ้นจากคุณภาพสื่อแบบวิชาชีพ หรือโดยความเป็นพิเศษ (exclusivity) หากคุณสงสัยการลอกเลียนวรรณกรรม พยายามค้นหาแหล่งที่มาร้นฉบับผ่านเสิร์ชเอนจินออนไลน์อย่าง การค้นหาภาพของกูเกิล ปัจจัยการพิจารณาอื่นได้แก่ประวัติการแก้ไขของผู้อัปโหลดและในกรณีของภาพ รวมถึงข้อมูลอภิพันธุ์ (metadata) ของภาพ อย่างเช่น Exif และ XMP[13][14]

บ่อยครั้งที่ผู้อัปโหลดและอ้างความชอบในภาพของผู้อื่นมักมีข้อมูลอภิพันธุ์ดั้งเดิม หรือลายน้ำดิจิทัลทั้งที่มองเห็นได้หรือมองไม่เห็น หากสารสนเทศผู้ประพันธ์ที่ได้มาจากข้อมูลอภิพันธุ์หรือลายน้ำขัดแย้งกับสารสนเทศผู้ประพันธ์ในหน้าคำบรรยายภาพย่อมเป็นสัญญาณว่าภาพนั้นต้องมีการสอบสวน ภาพถ่ายดั้งเดิมของผู้ใช้ยังคาดหมายว่าจะมีข้อมูลอภิพันธุ์ที่คล้ายกัน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีกล้องไม่กี่ตัว ข้อมูลอภิพันธุ์ที่มีหลายรูปแบบย่อมน่าสงสัย ความสงสัยที่มาจากข้อมูลอภิพันธุ์ควรทวนสอบกับผู้เขียนอื่นที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับภาพและสื่ออื่นมากกว่า

Source and licensing information

[แก้]

For images and other media, the correct source and licensing information must be supplied, otherwise the files run the risk of deletion. Never use {{PD-self}}, {{GFDL-self}} or {{self}} if the image is not yours. If the source requests a credit line, e.g. "NASA/JPL/MSSS", place one in the author field of {{information}}.

Copying material from free sources

[แก้]

The guidance in this section must not be read in isolation. Inline citations to a source are still required as described in the Verifiability policy and added to an article as explained in the guideline citing sources. Attribution as described in this section is an addition to those requirements.

Attribution templates

[แก้]

For public-domain sources, using {{citation-attribution}}, {{source-attribution}}, or a similar attribution template is acceptable to acknowledge the work of others and still allow subsequent modification. See the next section for more on using attribution templates with compatibly licensed sources; the proper template may vary by the license of the source.

Compatibly-licensed sources

[แก้]

If the external work is under a copyleft license that removes some restrictions on distributing copies and making modified versions of a work, it may be acceptable to include the text directly into a Wikipedia article, provided that the license is compatible with the CC BY-SA and the terms of the license are met. (A partial table of license compatibility can be found at the Copyright FAQ). Most compatible licenses require that author attribution be given, and even if the license does not, the material must be attributed to avoid plagiarism. Attribution for compatibly licensed text can be provided through the use of an appropriate attribution template, or similar annotation, which is usually placed in a "References section" near the bottom of the page (see the section Where to place attribution).

Templates for compatibly licensed sources include:

  • {{Dual}}: for content imported from a source that may be reused under both CC-By-SA 3.0 and GFDL
  • {{CCBYSASource}}: for content imported from a source compatible for reuse under CC-By-SA 3.0 but not GFDL
  • {{CC-notice}}: for content imported from a source compatible for reuse under CC-By-SA 3.0 but not GFDL

Care must be taken to check that what appears to be a compatible licence is indeed compatible. Some websites allow text to be copied for educational or non-commercial use. Such text is not compatible with the Wikipedia licences because the text must be free to be used and distributed commercially.

Public-domain sources

[แก้]

Whether copyright-expired or public domain for other reasons material from public-domain sources is welcome on Wikipedia, but such material must be properly attributed. Public-domain attribution notices should not be removed from an article or simply replaced with inline citations unless it is verified that substantially all of the source's phrasing has been removed from the article (see #What is not plagiarism). Of course, citable information should not be left without cites, although the most appropriate citations should be used.

A public domain source may be summarized and cited in the same manner as for copyrighted material, but the source's text can also be copied verbatim into a Wikipedia article. If text is copied or closely paraphrased from a free source, it must be cited and attributed through the use of an appropriate attribution template, or similar annotation, which is usually placed in a "References section" near the bottom of the page (see the section "Where to place attribution" for more details).

If the external work is in the public domain, but it contains an original idea or is a primary source, then it may be necessary to alter the wording of the text (for example, not including all the text from the original work, or quoting some sections, or specifically attributing to a specific source an opinion included in the text) to meet the Wikipedia content policies of neutral point of view and Wikipedia:No original research (in particular the restrictions on the use of primary sources).

Avoiding plagiarism requires attribution, and this is best accomplished when a reader can easily compare the Wikipedia article to the source. Many public domain sources are online, and attribution can (and should) include hyperlink. When there is no online source, the editor should consider creating an exact copy of the source at Wikisource. The editor should also consider this if the online source is not available on a stable site or is in a form (e.g., a photocopied book) that is not readily convertible into simple text. This may be appropriate even when the source appears to be at a stable site and in an acceptable form, because the Wikisource site is under control of the Wikimedia foundation and other sites are not.

Copying within Wikipedia

[แก้]

Wikipedia's content is dual-licensed under both the GFDL and CC-BY license models. Contributors continue to own copyright to their contributions, but they liberally license their contributions for reuse and modification. GFDL and CC-BY do require attribution. However, since Wikipedia's articles do not contain bylines, it is not necessary or appropriate to provide attribution on the article's face. As long as the licensing requirements for attribution are met (see the guideline for specifics), copying content (including text, images, and citations) from one Wikipedia article to another or from one language Wikipedia to another is not plagiarism as long as attribution is provided via the edit summaries.

Where to place attribution

[แก้]

If a Wikipedia article is constructed through summarizing reliable sources, but there is a paragraph or a few sentences copied from compatibly licensed or public-domain text which is not placed within quotations, then putting an attribution template in a footnote at the end of the sentences or paragraph is sufficient. To aid with attribution at the end of a few sentences, consider using a general attribution template such as the {{citation-attribution}} template for public-domain sources or {{CC-notice}} for compatibly licensed sources, {{Free-content attribution}} which is designed around material with an externally posted license, or use a source-specific attribution template such as {{DNB}}.[15] Directions for usage are provided on the template pages.

If a significant proportion of the text is copied or closely paraphrased from a compatibly-licensed or public domain souce, attribution is generally provided either through the use of an appropriate attribution template or similar annotation placed in a "References section" near the bottom of the page. In such cases consider adding the attribution statements at the end of the Reference section directly under a line consisting of "Attribution:" ('''Attribution:''') in bold:[16]

Attribution:

See, for example, Western Allied invasion of Germany and the Battle of Camp Hill.

A practice preferred by some Wikipedia editors when copying material from public domain or compatibly-licensed sources is to paste the content in one edit and indicate in the edit summary of the source of the material. If following this practice, immediately follow up with proper attribution in the article so that the new material cannot be mistaken for your own wording.

To provide proper attribution when copying verbatim from a public domain or compatibly-licensed source, you can either:

  • Put the whole text of the source (if small enough) in quotation marks or blockquotes, followed by an inline citation; or
  • For sections or whole articles, add an section-wide or article-wide attribution template; if the text taken does not form the entire article, specifically mention the section requiring attribution; or
  • In a way unambiguously indicating exactly what has been copied verbatim, provide an inline citation and/or add your own note in the reference section of the article.

For an example of the last, see the references section in planetary nomenclature [1], which uses a large amount of text from the Gazetteer of Planetary Nomenclature.

This practice has some advantages—for example, further changes such as modernizing language and correcting errors can be done in separate edits after the original insertion of text, allowing later editors the ability to make a clear comparison between the original source text and the current version in the article.

Tools

[แก้]

There are several tools available to help identify plagiarism on Wikipedia:

See also

[แก้]

Notes

[แก้]
  1. "What Constitutes Plagiarism?", Harvard Guide to Using Sources, Harvard University:

    "ในการเขียนทางวิชาการ การดึงความคิดหรือภาษาใด ๆ จากบุคคลอื่นมาโดยไม่ให้เกียรติเจ้าของงานแหล่งที่มานั้นในเอกสารของคุณถือเป็นการลอกเลียนวรรณกรม [...] การฉวยการให้เกียรติเจ้าของงานสำหรับงานของบุคคลอื่นเป็นโจรกรรม และยอมรับไม่ได้ในสถานการณ์ทางวิชาการทุกสถานการณ์ ไม่ว่าเจตนาหรือโดยอุบัติเหตุ"

    In academic writing, it is considered plagiarism to draw any idea or any language from someone else without adequately crediting that source in your paper. [...] Taking credit for anyone else's work is stealing, and it is unacceptable in all academic situations, whether you do it intentionally or by accident."

  2. "University-wide statement on plagiarism", University of Cambridge.

    สำหรับแนวปฏิบัติเฉพาะหัวข้อ ดู "Guidance provided by Faculties and Departments", University of Cambridge.

  3. ตัวอย่างเช่น Smith 2012, p. 1, หรือ Smith, John. Name of Book. Name of Publisher, 2012, p. 1.
  4. "What Constitutes Plagiarism?", Harvard Guide to Using Sources, Harvard University (see "Uncited paraphrase" and "Uncited quotation").

    อาจมีข้อยกเว้นเมื่อใช้เนื้อหาอย่างกว้างขวางจากแหล่งข้อมูลเสรีหรือกอปปีเลฟต์ ตราบเท่าที่มีการระบุแหล่งที่มาในเชิงอรรถหรือส่วนอ้างอิงที่ท้ายหน้า

  5. Levy, Neill A. "Tweedledum and Tweedledee: Plagiarism and Copyright", Cinahl Information Systems, 17(3.4), Fall/Winter 1998.
  6. Copyright: Fair Use: "การรับรู้แหล่งที่มาของเนื้อความมีลิขสิทธิ์หาได้ทดแทนการได้มาซึ่งการอนุญาตไม่"

    "Acknowledging the source of the copyrighted material does not substitute for obtaining permission."

  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Michael E. Brown, "The Causes of Internal Conflict: An Overview," in Michael E. Brown, et al, Nationalism and Ethnic Conflict, MIT, 2001, p. 14.
  8. United States Copyright Office. "Copyright Law of the United States of America and Related Laws Contained in Title 17 of the United States Code, Circular 92". สืบค้นเมื่อ 2009-04-09. "งานดัดแปลง" เป็นงานที่ยึดงานที่มีอยู่เดิมตั้งแต่หนึ่งงานขึ้นไป เช่น การแปล การจัดเรียงดนตรี การดัดแปลงเป็นละคร การดัดแปลงเป็นบันเทิงคดี ฉบับภาพยนตร์ การบันทึกเสียง การทำซ้ำทางศิลปะ คำอธิบายอย่างย่อ ฉบับย่อ หรือรูปแบบอื่นใดซึ่งสร้างใหม่ เปลี่ยนแปลงหรือรับมาได้ ... ภายใต้มาตรา 107 ถึง 122 ผู้ทรงลิขสิทธิ์ภายใต้กฎหมายนี้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการทำและอนุญาตให้กระทำการใด ๆ ต่อไปนี้ ...(2) เตรียมงานอนุพันธ์โดยยึดตามงานที่มีลิขสิทธิ์นั้น....

    A "derivative work" is a work based upon one or more preexisting works, such as a translation, musical arrangement, dramatization, fictionalization, motion picture version, sound recording, art reproduction, abridgment, condensation, or any other form in which a work may be recast, transformed, or adapted.... Subject to sections 107 through 122, the owner of copyright under this title has the exclusive rights to do and to authorize any of the following:...(2) to prepare derivative works based upon the copyrighted work....

  9. Buranen, Lise; Roy, Alice Myers (1999). Perspectives on Plagiarism and Intellectual Property in a Postmodern World. SUNY Press. p. 76. ISBN 0791440796. ...การนำข้อความภาษาต่างประเทศขนาดใหญ่มาโดยไม่ได้รับอนุญาตอาจเกิดระหว่างกระบวนการแปล .... การปฏิบัติดังกล่าวมีอยู่แม้ผู้ละเมิดซึ่งหน้าส่วนใหญ่สุดท้ายถูกกล่าวหาและปลดจากตำแหน่ง

    large-scale cribbing of foreign-language texts might occur during the process of translation.... The practice persists even though the most flagrant violators are eventually accused and dismissed from their posts.

  10. Lipson, Charles (2013). Doing Honest Work in College: How to Prepare Citations, Avoid Plagiarism, and Achieve Real Academic Success. 2nd Ed., p. 43. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 022609880X.
  11. Per Lipson, 2013, p. 43: "หากคุณใช้งานของผู้อื่น จงอ้างอิง ... อ้างอิงแม้งานนั้นมีอยู่อย่างอิสระในสาธารณสมบัติ

    "If you use someone else's work, cite it... Cite it even if the work is freely available in the public domain..."

  12. การเลี่ยงการลอกเลียนวรรณกรรมจำเป็นต้องอาศัยความคุ้นเคยกับการอ้างอิงและการถอดความ ผู้มีส่วนร่วมจำเป็นต้องทราบว่าจะอ้างอิงแหล่งที่มาเมื่อใดและอย่างไร เมื่อถอดความ พวกเขาจำเป็นต้องทราบว่าเขาจะสามารถคงข้อความของแหล่งที่มามากน้อยเพียงใดและควรคงไว้หรือไม่โดยไม่ยึดข้อความแหล่งที่มามากเกินไป ดู Perfect, Timothy J.; Stark, Louisa J. (2008). "Tales from the Crypt...omnesia". ใน John Dunlosky, Robert A. Bjork (บ.ก.). Handbook of Metamemory and Memory. CRC Press. pp. 285–314. ISBN 0805862145. สืบค้นเมื่อ 2009-01-13..
  13. Exif data is automatically saved by most modern digital cameras, and includes important information about the camera being used and the date/time of the picture (see File:Cannon.jpg for Exif in action).
  14. XMP is utilized by Adobe in its image manipulation programs; it tracks the history of modification and, when possible, original ownership information (see File:Redding Album Cover.jpg for XMP in action).
  15. To be used as an inline citation {{DNB}} needs the "inline=1" parameter set.
  16. To meet the requirements of WP:PSEUDOHEAD, use 6 quotation marks to surround "Attribution:" rather than a leading ";"

Further reading

[แก้]
Articles, books, and journals
Digital academic resources
External links
  • FamousPlagiarists.com – Website published by John P. Lesko, associate professor of English at Saginaw Valley State University; editor of Plagiary (see "Further reading"). (Hyperlinked resources, including: a "glossary of terms" relating to plagiarism; a bibliography of "Books and Other Resources"; and profiles of "Famous Plagiarists". "Copyright 2004-2006 Famous Plagiarists.com / War On Plagiarism.org. Some Rights Reserved").
  • The Plagiarism Checker – Facility for detecting student plagiarism at dustball.com. ("EDUC478: This educational software was designed as a project for the University of Maryland at College Park Department of Education." © Copyright 2002 by Brian Klug.) However, please note, this tool routinely fails to identify material taken from recent published sources whose texts do not appear online. For instance, the Charles Lipson quote appearing in footnote, above, is not detected as being derived verbatim from that source.
  • Plagiarism.org – By Turnitin (cited by Eisner and Vicinus [below]).
  • "Read a Q&A with the editors on Inside Higher Education" – Interview with Caroline Eisner and Martha Vicinus, editors of Originality, Imitation, and Plagiarism, conducted on April 3, 2008.
  • Seife, Charles (August 31, 2012). "Jonah Lehrer's Journalistic Misdeeds at Wired.com". Slate Magazine.