ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Haiyangong/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาลเจ้าไม้ขาว(ไห่เยียนเก้ง) ภาษาจีน:邁櫙海晏宮 ศาลเจ้าไม้ขาว(ไห เหยียน เก้ง) ตั้งอยู่บริเวณหาดไม้ขาวซึ่งตั้งในที่สาธารณะมีเนื้อที่ด้านหน้าติดกับชายทะเลด้านหลัง ติดกับวัดไม้ขาว มีการประกอบพิธีกินผักมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 (เมื่อก่อนใช้พื้นที่โรงเรียนบ้านไม้ขาวในการเปิดโรงเจ) และจัดพิธีถือศีลกินผักเต็มรูปแบบในปี พ.ศ.2554

ประวัติศาลเจ้าไม้ขาว

[แก้]

ในปีพุทธศักราช 2551 ก่อนที่จะเริ่มมีการประกอบพิธีถือศีลกินผักอย่างเป็นทางการ เนื่องจากบ้านไม้ขาวอยู่ไกลจากตัวเมือง และทำให้ชาวบ้านไม่สดวกในการไปหิ้วปิ่นโตตามศาลเจ้าต่างๆชาวบ้านไม้ขาวนำโดย นายวินัย แซอิ๋ว(ซึ่งเป็นสมาชิกองการบริหารส่วนตำบลไม้ขาวในสมัยนั้น) ได้มีความคิดที่จะจัดสร้างโรงเจสำหรับใช้ประกอบอาหารแจกจ่ายชาวบ้านไม้ขาว โดยใช้พื้นที่สนามโรงเรียนบ้านไม้ขาวนการตั้งโรงเจ และมีการตั้งโต๊ะบูชาเล็กๆสำหรับไหว้พระสวดมนต์และขอพร ต่อมาในปี 2552 จึงได้เริ่มมีการใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อการประกอบศาสนพิธีและประทับทรงแห่อวยพรชาวบ้านไม้ขาว ทั้งนี้ระหว่างปี พ.ศ.2551-2553 เป็นการตั้งเต็นซ์เพื่อประกอบพิธีเพียงช่วงเวลา 9วัน 9คืนเท่านั้น ต่อมาใน ปี2554 ชาวบ้านไม้ขาวในสมัยนั้นได้มีการทำเรื่องเพื่อขอใช้อาคารร้างที่ได้รับความเสียหายจากภัยสึนามิ ซึ่งเป็นอาคารในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาวในการประกอบพิธีถือศีลกินผักอย่างถาวร โดยแรกเดิมใช้ชื่อศาลเจ้าว่า "หยกเหลงเก้ง"(玉龍宮) อันมีความหมายว่า "วังมังกรหยก" และประกอบพิธีถือศีลกินผักในรูปแบบของ "ถี่ก้งฉ่าย" ปีพ.ศ.2555 ชาวบ้านไม้ขาวได้มีความเห็นตรงกันที่อยากจะให้ศาลเจ้าไม้ขาวจัดประเพณีถือศีลกินผักอย่างเต็มรูปแบบ(กิ้งหองฉ่าย) จึงได้มีกาต่อเติมอาคารให้มีส่วนของ ห้องที่ประทับขององค์นพราชา(หล่ายเตี่ยน)หรือที่ทุกคนเรียกว่ากิ๋วอ๋องไต่เต่สำหรับรับเสด็จ ทั้งนี้ทางศาลเจ้าได้มีการเทปูนหล่อฐานเสาโกเต้งในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2555 พร้อมทั้งทำพิธีอัญเชิญองค์พระนพราชา(กิ้วอ๋องไต่เต่)เข้าสู่ที่ประทับครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2555 และได้ทำการเปลี่ยนชื่อศาลเจ้า เป็น "ไห่เหยียนเก้ง"(海晏宮) อัญมีความหมายว่า "วังแห่งท้องทะเลอันสงบ" เพื่อให้สอดคล้องกับทัศนีย์ภาพของศาลเจ้าซึ่งมีด้านห้าเป็นหาดไม้ขาว และเพื่อความเป็นมงคลแก่ชาวประมงที่อยู่ในบริเวณนั้นด้วย และได้สืบเนื่องการประกอบพิธีถือศีลกินผักเต็มรูปแบบเป็นต้นมาจนถึงวันนี้

พระประธานศาลเจ้า

[แก้]

โกยเซ่งอ๋อง (จีน: 廣澤尊王)หรือ กงเต็กจุนอ๋อง

งานสำคัญของศาลเจ้าไม้ขาว

[แก้]

พิธีจิ้นเฮี้ยว(ไห่เหยียนจิ้นเฮี้ยว)

[แก้]

พิธีจิ้นเฮี้ยวเป็นพิธีสำคัญที่สุดของศาลเจ้าไม้ขาว เป็นพิธีเคารพองค์กงเต็กจุนอ๋องชึ่งถทอเป็นพระประจำของศาลเจ้าไม้ขาว ณ ศาลเข้าฮุนหยองต๋อง และถือเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างศาลเจ้าประจำปีอีกด้วย พิธีจิ้นเฮี้ยวศาลเจ้าไม้ขาวมีขึ้นครั้แรกในวันที่ 16 มีนาคม 2557

งานประจำปีศาลเจ้าไม้ขาว

[แก้]

งานประจำปีศาลเจ้าไม้ขาวจะเป็นงานที่จัดควบคู่ระหว่างวันเทวสมภพประโพธิสัตว์กวนอิม และ วันเทวสมภพขององค์พระประธานศาลเจ้า กงเต็กจุนอ๋อง(โก๊ยเส่งอ๋อง)มีระยะเวลารวม 7วัน 7คืน และมีพิธีถวายพระพรองค์พระกงเต็กจุนอ๋อง ในวันคล้ายวันเทวสมภพของทุกปี และถือเอาเป็นงานเลี้ยงประจำปีของศาลเจ้าอีกด้วย กำหนดการในแต่ละปี

  • ครั้งที่1 ระหว่างวันที่ 27มีนาคม - 2เมษายน 2556
  • ครั้งที่2 ระหว่างวันที่ 16มีนาคม - 22มีนาคม 2557
  • ครั้งที่3 ระหว่างวันที่ 6เมษายน - 12เมษายน 2558

ประเพณีถือศีลกินผัก

[แก้]

ประเพณีถือศีลกินผักจัดขึ้นในวัน 1ค่าเดือน9 ตามจันทรคติจีน โดยจะมีพิธีกรรมแบ่งเป็นแต่ละวันดังนี้ กำหนดพิธีกรรมกินผักอ๊ามไม้ขาว(ไห่เหยียนเก้ง)

  • หยี่เก้า/ซาจ๊าบ

พิธีเชิญองค์เทวราชา (เชี้ยหยกหองส่งเต่) พิธีเชิญองค์นพราชา (เชี้ยกิ้วหอองไต่เต่)

  • โช่ยอิด

ไม่มีพิธีกรรม

  • โช่ยหยี่

ไม่มีพิธีกรรม

  • โข่ยซา

พิธีแห่ (อิวเก้ง) *บ้านบ่อสอม ในยาง พิธีเลี้ยงขุนพลทหาร (โก้กุ้น)

  • โช่ยสี่

พิธีแห่พระ(อิ้วเก้ง) *บ้านสวนพร้าว

  • โช่ยหง่อ

พิธีอาบน้ำร้อน (จ่างยั๊วะจุ้ย)

  • โช่ยล๊าก

พิธีเลี้ยงขุนพลทหาร (โก้กุ้น) พิธีลุยไฟ (โก้ยโห้ย

  • โช่ยฉิด

พิธีไหว้ดาวทั้งเจ็ด (ป้ายฉิดแช้)

  • โช่ยโป่ย

พิธีแห่รอบบ้านไม้ขาว (อิ้วเก้ง)

  • โช่ยเก้า

พิธีเลี้ยงขุนพลทหาร (โก้กุ้น) พิธีสะเดาะห์เคราะห์ (โก้ยห่าน) พิธีส่งองค์เทวราชา (ส่างหยกหองส่งเต่) พิธีส่งองค์นพราา (ส่างกิ้วหอองไต่เต่)