ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Googgigck/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
                                                การกระจายอำนาจการคลังสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 

เหตุผลที่ทำให้มีการกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

การกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการคลังสาธารณะ ได้มีการพัฒนามาเป็นเวลานานแล้วสำหรับประเทศที่พัฒนาแนวคิด หลักเกณฑ์ รวมถึงการปฏิบัติได้นำไปทดสอบและพัฒนาความรู้ และเป็นการบวนการสำคัญของการกระจายอำนาจ เพราะการที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะเพื่อประชาชนของตนได้ จำเป็นต้องทักษะและความเป็นอิสระของการหารายได้ของตนเองและที่ได้รับสนับสนุนจากรัฐบาลที่เพียงพอกับการทำหน้าที่ของตนด้วย การกระจายอำนาจการคลังสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้

  • การใช้วิธีคิดค่าธรรมเนียมบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อังกฤษ:Local User Charges) เพื่อให้ได้รับต้นทุนคืนจากการให้บริการสาธารณะที่ได้ให้แกประชาชนที่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์สูงสุด เพราะผู้รับประโยชน์คือผู้ที่รับภาระการให้บริการทั้งหมด
  • การร่วมสนับสนุนการเงินหรือร่วมผลิตบริการ (อังกฤษ:Co-financing or Co-production) ในการให้บริการสาธารณะในรูปแบบของการร่วมลงทุนทางการเงินหรือร่วมใช้แรงงานในการสร้างบริการสาธารณะนั้นๆ
  • การใช้ภาษีทรัพย์สินหรือภาษีทางอ้อมมาสนับสนุนการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • การใช้ความช่วยเหลือจากรายได้แบแงหรือเงินอุดหนุนของรัฐในการทำหน้าที่
  • การอนุญาตให้ใช้เงินกู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาสนับสนุนการให้บริการสาธารณะ

แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนานั้น จะมีความอ่อนแอในฐานรายได้จากภาษีของตนและจะขึ้นกับเงินรายได้ที่รัฐแบ่งให้ในแบบต่างๆ เป็นเหตุที่ทำให้การกระจายอำนาจการคลังในประเทศที่กำลังพัฒนามีความแตกต่างกันทั้งวัตุประสงค์ของการกระจายอำนาจในภาพรวมและเงื่อนไขของผลลัพท์ที่ต้องการจากการกระจายอำนาจการคลัง รวมถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ไม่เหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ถึงบทบาทของภาครัฐต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังพัฒนานั้นอาจไม่แตกแตกจากในประเทศที่พัฒนาแล้วเท่าไหร่ แต่บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศที่กำลังพัฒนาจะอยู่ใต้การควบคุมทั้งในด้านการเงินการคลังและการเมืองจากรัฐบาลที่สูงกว่าจึงทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศดูเหมือนไม่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจและไม่ส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศเท่าไหร่ แต่ในบางประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศอาจให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจการคลังแต่จะจำกัดอยู่ในด้านเศรษฐกิจบางเรื่องเท่านั้น เช่น ด้านการใช้จ่ายหรือด้านการหารายได้จากภาษี ปัจจุบันจังำม่มีการศึกษาที่ครอบคลุมองค์ความรู้รวมของการกระจายอำนาจการคลังขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งด้านแนวคิด การปฏิบัติด้านนโยบายและการปฏิบัติที่แท้จริง โดยการศึกษาส่วนใหญ่นั้นมักเน้นด้านการพัฒนาการเมืองหรือเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจการคลัง นอกจากเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญต่อการกระจายอำนาจแล้วนั้นยังมีอีกเหตุผลคือด้านการเมืองการปกครองที่เป็นเหตุผลของกรกระจายอำนาจการคลัง เช่น สภาพการเมืองที่เปลี่ยนไปจากเดิม การปกครองในประเทศกำลังพัฒนา ประชาชนมีความรู้ การศึกษา การติดต่อสื่อสารที่ให้ข้อมูลมากขึ้นและมีความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารได้ง่ายขึ้นประชาชนจึงได้เรียนรู้บทบาทการทำงาน การบริหารขแงรัฐบามมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา และเกิดความใกล้ชิดกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและการพัฒนาระบบการบริหารประเทศมีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น และมีการส่งเสริมให้พึ่งตนเองมีแนวทางการพัฒนารูปแบบใหม่ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมานี้จึงเป็นเหตุผลให้การกระจายอำนาจการคลังได้รับการยอมรับและขยายบทบาทในประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลก[1]

ประโยชน์จากการกระจายอำนาจทางการคลัง

[แก้]

ในการกระจายอำนาจทางการคลังของแต่ละประเทศ ส่วนใหญ่พบว่าทำให้เกิดการรับผิดชอบของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อประชาชนมากขึ้น เกิดจากความใกล้ชิดและการที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งจากประชาขนในท้องถิ่นนั้น เป็นผลที่ทำให้ผู้บริหารต้องนึกถึงความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นเป็นสำคัญในการตัดสินใจให้บริการสาธารณะต่างๆ และประชาชนท้องถิ่นจะมีความเข้าใจและยอมรับการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่นโดยผู้บริหารมากยิ่งขึ้น เพราะประชาชนเข้าใจความจำเป็นการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่นว่าจะมีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ของท้องถิ่นของตน มากกว่าการเก็บภาษีของรัฐที่ประชาชนไม่อาจเห็นผลของการจ่ายภาษีให้รัฐบาล[2] เพื่อการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม รู้ความต้องการของประชาชนที่ดีกว่า นักการเมืองท้องถิ่นปรับการให้บริการได้ง่ายกว่ารัฐบาล เพื่อการแก้ไขความยากจนของประชาชน[3] และสามารถแยกประโยชน์ของแต่ละฝ่ายได้คือฝ่ายรัฐบาลจะได้ ลดภาระการคลังของรัฐบาล สามารถให้ความสำคัญกับภารกิจระดับชาติ ลดขนาดของรัฐบาลลงได้ ลดขนาดบุคลากรลงได้และลดต้นทุนการให้บริการสาธารณะ ส่วนฝ่ายท้องถิ่นจะมีความรับผิดชอบต่อประชาชนในพื้นที่มากขึ้นมีความเข้มแข็ง ทางการคลังเพิ่มมากขึ้น มีความเข้มแข็งทางการเมืองมากขึ้น ประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะของท้องถิ่นดีขึ้น มีความรับผิดชอบทางการคลังของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดีขึ้น ฝ่ายประชาชนจะได้รับบริการสาธารณะที่ดีขึ้นทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ รับผิดชอบทางภาษี บริการสาธารณะมากขึ้น มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อท้องถิ่นมากขึ้น ประชาชนได้รับต้องการตามที่ตนต้องการมากขึ้นทั้งด้าน รายจ่ายและรายได้แต่ต้องมีความรับผิดชอบต่อท้องถิ่นเพิ่มขึ้นด้วย[4]

ผลการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมา

[แก้]

การถ่ายโอนงานที่กำหนด 245 แผนงาน 6 ด้านระหว่าง 2544-2551 สามารถทำได้มากกว่า 177 แผนงาน การถ่ายโอนงบประมาณทำให้ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงประมาณแปดหมื่นล้านบาท ในปี2543 เพิ่มเป็นมากกว่า 376 แสนล้านบาทในปี 2551 (ร้อยละ 25.2 ของรายได้รัฐบาล)

  • รายได้เก็บเอง 35,223.6 ล้านบาท (ร้อยละ 9.35 ของรายได้ทั้งหมด)
  • ภาษีจัดสรรให้ 110,189.59 ล้านบาท (ร้อยละ 33.69 ของรายได้ทั้งหมด)
  • รายได้แบ่งให้ 61,800 ล้านบาท (ร้อยละ 18.89 ของรายได้ทั้งหมด)
  • เงินอุดหนุน 147840 ล้านบาท (ร้อยละ 39.2 ของรายได้ทั้งหมด
  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างรายได้ของ อปท.
  • การปรับเปลี่ยนบทบาทของ อปท. จากเดิมเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือชี้นำจากรัฐบาลไปสู่การคิดเอง ทำเองมากขึ้น
  • รับผิดชอบต่อประชาชนที่ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะมากขึ้น
  • เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนเพิ่มมากขึ้น[5]

ปัญหาการกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย

[แก้]
  1. ความอิสระทางการคลังด้านการกำหนดรายได้ คือ ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกประเทศทุกระดับยังขาดความอิสระทางการคลังรวมถึงอำนาจในการจัดเก็บภาษี การเพิ่มอิสระจะเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อการเพิ่มขนาดรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[6]
  2. ความพร้อมในการถ่ายโอนภารกิจ หน่วยงานราชการต่างๆที่ต้องถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีการเตรียมความพร้อมและปรับบทบาทตนให้เป็นพี่เลี้ยงแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องมีการจัดทำแผนการถ่ายโอน การพัฒนามาตรฐานของงานที่ต้องเป็นต้นแบบในการทำงาน เป็นผลทำให้เกิดปัญหาในการถ่ายโอนภารกิจ การพัฒนาการกระจายอำนาจ[7]
  3. ปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับการตามภารกิจ คือ เทศบาลมีอำนาจในการจัดเก็บรายได้ของตนไม่กี่อย่างและเก็บในจำนวนที่จำกัด[8]
  4. ความเป็นเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลต่อขนาดของการจัดเก็บภาษีที่จะจัดเก็บได้ ประชาชนและนักการเมืองในพื้นที่จึงมีส่วนร่วมในการเสียภาษีไม่พอ ทำให้ส่งผลต่อปัญหาด้านต้นุนการบริหารจัดการ[9]
  5. ปัญหาการกระจายอำนาจทางการคลังที่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบ ขนาดของเทศบาล โดยเทศบาลตำบลมีข้อจำกัดจาก ขีดความสามารถในการจัดเก็บรายได้ของตน ในขณะที่เทศบาลเมืองมีปัญหาจากฝ่ายการเมือง เทศบาลนครมีปัญหาการขาดความอิสระการบริหารงบประมาณ[10]

แนวทางแก้ไขปัญหาการกระจายอำนาจทางการคลัง

[แก้]
  1. ปรับปรุงแนวนโยบายการกระจายอำนาจทางการคลังด้านรายได้ โดยเร่งผลักดันกฎหมายรายได้ท้องถิ่น[11]
  2. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารระบบการเงินการคลังของท้องถิ่น เครื่องมือสำคัญในการจัดการกับระบบการจัดสรรรายได้จำเป็นที่จะต้องมีระบบฐานข้อมูลและระบบการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินการคลังที่ดี[12]
  3. การเพิ่มความอิสระทางการคลัง สร้างขีดความสามารถในการพัฒนารายได้ของท้องถิ่นเพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการสาธารณะ หาแหล่งรายได้ใหม่เพิ่มเติมเพื่อลดการพึ่งพิงภาครัฐคู่กับการส่งเสริมความเป็นอิสระทางการคลังในด้านรายจ่าย โดยยกเลิกกฎระเบียบบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน การบริหารงบประมาณที่มีความเป็นอิสระต้องมีการสร้างกระบวนการงบประมาณที่ยั่งยื่นและเป็นไปได้คู่กันไป[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา.2556.เหตุผลที่ทำให้มีการกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,การกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(15).สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา.2556.เหตุผลที่ทำให้มีการกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,การกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(27).สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  3. รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา.การกระจายอำนาจการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาประเทศไทย(อังกฤษ:Fiscal Decentralization: in Thailand).23 เมษายน,2560,คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  4. รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา.การกระจายอำนาจการคลังและการจัดการการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.23 เมษายน,2560,คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  5. รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา.การกระจายอำนาจการคลังและการจัดการการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.23 เมษายน,2560,คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  6. ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา.2556.เหตุผลที่ทำให้มีการกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,การกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(109).สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  7. ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา.2556.เหตุผลที่ทำให้มีการกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,การกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(110).สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  8. ปริณดา มีฉลาด.ปัญหาการกระจายอำนาจทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบเทศบาลในประเทศไทย.23 เมษายน,2560, http://www.mgts.lpru.ac.th/journal/index.php/mgts/article/view/36
  9. ปริณดา มีฉลาด.ปัญหาการกระจายอำนาจทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบเทศบาลในประเทศไทย.23 เมษายน,2560, http://www.mgts.lpru.ac.th/journal/index.php/mgts/article/view/36
  10. ปริณดา มีฉลาด.ปัญหาการกระจายอำนาจทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบเทศบาลในประเทศไทย.23 เมษายน,2560, http://www.mgts.lpru.ac.th/journal/index.php/mgts/article/view/36
  11. ปริณดา มีฉลาด.ปัญหาการกระจายอำนาจทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบเทศบาลในประเทศไทย.23 เมษายน,2560, http://www.mgts.lpru.ac.th/journal/index.php/mgts/article/view/36
  12. ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา.2556.เหตุผลที่ทำให้มีการกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,การกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(116).สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  13. ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา.2556.เหตุผลที่ทำให้มีการกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,การกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(120).สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์