ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Evemallika/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปฏิรูประบบราชการของประเทศสหรัฐอเมริกา

กำเนิดระบบราชการ[แก้]

การบริหารภาครัฐมีมานานเท่ากับอายุการปกครองของสังคมมนุษย์ ประมาณ 9,000 ปี การบริหารภาครัฐเกิดจากการตั้งถิ่นฐานทำการเกษตร เกิดชนชั้นผู้บริหารที่คอยมอบงานให้คนอื่นทำ คอยจัดระบบประสานงาน รักษาระดับชั้นและใช้อำนาจบังคับบัญชาให้เหมาะสม สังคมตะวันตกเริ่มมีระบบราชการจริงๆ ประมาณ 4,000 ปีก่อนในดินแดนอียิปต์โบราณ สังคมอียิปต์เป็นสังคมนักก่อสร้าง ได้ใช้การจัดองค์กรสร้างอารยธรรม เริ่มจากพัฒนาการจัดหาพื้นที่เฝ้าดูน้ำท่วมและรู้จักทดน้ำ สร้างปฏิทิน เข้าใจดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ การสำรวจประชากรและการจดบันทึกค่าใช้จ่ายของรัฐบาลทำให้เกิดชนชั้นผู้บริหารอย่างถาวร สมัยกลางมีรูปแบบการบริหารของระบบราชการ คือ ราชสำนัก เป็นการมอบหน้าที่ในการบริหารงานให้อัศวินเพื่อนร่วมรบหรือราชวงศ์ของกษัตริย์ ราชสำนักจะทำงานในหน้าที่รัฐบาลเกือบทุกอย่าง เช่น จัดหาสินค้า บริหารการคลังและเก็บหลักฐาน คอยติดตามกษัตริย์ที่เสด็จไปที่ต่างๆ เป็นต้น ตามที่เกิดจากระบบศักดินา ซึ่งมีกษัตริย์เป็นผู้พระราชทานอำนาจให้ขุนนางและเจ้าที่ดิน การพัฒนาของระบบราชการสมัยใหม่เกิดขึ้นเมื่อกษัตริย์ต้องการพัฒนาชาติ จึงเริ่มตั้งคนช่วยเหลือในการทำงานในแต่ละด้าน เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่กษัตริย์ ทำให้กษัตริย์มีอำนาจมากกว่าขุนนาง การเกิดระบบราชการเป็นการพัฒนา 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นการปลดปล่อยกษัตริย์ออกจากอำนาจของขุนนาง และด้านที่สองเป็นการบริหารราชการอาณาจักรของกษัตริย์ให้มีประสิทธิภาพ อาณาจักรทั้งหมดถูกรวมเข้าด้วยกัน ฝ่ายทหารมีหน้าที่ปกป้องอาณาจักรและขยายอาณาจักร ส่วนฝ่ายอาณาจักรคอยสนับสนุนและพัฒนาประสิทธิภาพทหาร การพัฒนานี้เริ่มตั้งแต่ยุคศักดินา (feudalism) จนถึงยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy)และยุคการเกิดรัฐชาติ (nation-state) [1]


ความเป็นมาของคำว่า “ระบบราชการ’’[แก้]

คำว่า “ระบบราชการ (Bureaucracy)’’ เป็นคำที่คิดขึ้นในสมัยต้นศตวรรษที่ 18 โดยนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มฟิซิโอแครต (Phisiocrate) ชาวฝรั่งเศส ชื่อ “เดอ กูร์เนย์ (de gournay)’’ คำว่าระบบราชการมีความหมายเพียงว่า ไม่ใช่เป็นการปกครองแบบกษัตริย์ (monarrchy) ไม่ใช่อภิชนาธิปไตย หรือประชาธิปไตย แต่เป็นการปกครองโดยเจ้าหน้าที่ คำที่คล้ายกับคำว่าระบบราชการ คือ คำว่า “ระบบบูโร (burosystem)” ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในสมัย ปรัสเซีย หมายถึง การจัดสรรหน้าที่ให้แก่กรม กองต่างๆให้ชัดเจน เพราะหลังจากที่ปรัสเซียตกอยู่ภายใต้อำนาจของนโปเลียนเมื่อปี ค.ศ. 1806 มีการปฏิรูปการบริหารใหม่ภายใต้การยึดครองของคาร์ล วอม สไตน์ (Carl vom stein) ในช่วงปี ค.ศ. 1807-1810 โดยแบ่งงานออกเป็นกระทรวง จัดตั้งหน่วยงานย่อยๆ จัดสรรงานและหน้าที่ กระบวนการแบ่งงานและกำหนดหน้าที่นี้เรียกว่า “ระบบบูโร”

ระบบราชการของปรัสเซียมีมานานแล้ว ลักษณะเด่นของระบบราชการสมัยนั้น คือ  ยังไม่มีประสิทธิภาพ  คาร์ล วอม สไตน์ เคยวิจารณ์ระบบราชการนี้ว่า ขาดน้ำใจ  ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนและค่อนข้างจะเป็นเผด็จการ  นอกจากนั้น ยังชอบกฎระเบียบ จู้จี้และชักช้า  ข้าราชการมีคุณสมบัติ 4 อย่าง คือ เป็นมนุษย์เงินเดือน (Salaried  people) เจ้าตำรา (book-learned)  ไม่มีสนใจใคร (disinterested) และเป็นมนุษย์สำนักงาน (bureau  people) ที่ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว ทำให้ราชการทำงานเหมือนเครื่องจักร มุ่งเอาแต่เงินเดือนและเพิ่มเงินเดือน  การเจ้าตำราทำให้ข้าราชการสนใจแต่ตำรา ไม่เข้าใจโลกความเป็นจริง  ส่วนการเป็นมนุษย์สำนักงานทำให้ข้าราชการเป็นอีกชนชั้นหนึ่ง  และทางด้านการไม่มีทรัพย์สินทำให้ข้าราชการไม่รู้สึกยินดียินร้ายด้วย[2]






ทฤษฎีระบบราชการ[แก้]

ทฤษฎีระบบราชการ “Bureaucracy” เป็นทฤษฎีที่มีความสำคัญมากต่อวงการศึกษาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ บุคคลที่เสนอแนวคิดการจัดองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) ท่านแรกคือ แม็ค เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน (ค.ศ.1864- ค.ศ.1920) เป็นผู้ที่มีผลงานปรากฏในสาขาวิชาต่างๆ เช่น สาขาวิชากฎหมาย เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ เขาได้รับยกย่องว่าเป็นบิดารัฐประศาสนศาสตร์ของยุโรป[3] ทฤษฎีระบบราชการของแม็ค เวเบอร์ การออกแบบโครงสร้างขององค์การในอุดมคติของ แม็ค เวเบอร์ เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เป็นบุคคลแรกที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์การในรูปแบบอุดมคติหรือระบบราชการ ซึ่งเขาเป็นตัวแบบโครงสร้างขององค์การที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการจัดองค์การ เขาสร้างในแง่มุมของนักวิชาการหรือปัญญาชนที่คิดว่ารูปแบบองค์การในอุดมคติ หรือองค์การขนาดใหญ่ที่เป็นทางการ สาระสำคัญขององค์การแบบราชการในทัศนะของแม็ค เวเบอร์ มีลักษณะเด่นดังนี้

  1. หลักการแบ่งงานกันทำตามความถนัด (Division of work)
  2. การจัดโครงสร้างองค์การลดหลั่นไปตามลำดับชั้น (Hierarchy)
  3. การมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีปฏิบัติ (Rules Regulation and Procedures)
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นแบบทางการหรือไม่ยึดถือตัวบุคคล (Impersonal Relationship)
  5. คุณสมบัติทางด้านวิชาชีพ (Professional Qualities)
  6. ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน (Career Aspects)
  7. อำนาจหน้าที่[4]

ลักษณะพื้นฐานของระบบราชการของสหรัฐอเมริกา[แก้]

รูปแบบการปกครองประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกามีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมจากประชาชน ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและเป็นผู้บังคับบัญชาของกองทัพ ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในฝ่ายบริหาร รัฐสภาของประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 2 สภา (Congress) คือวุฒิสภา (The Senate) และสภาผู้แทนราษฎร (The House of Representatives) ทั้งสองสภานี้เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐบาลสหพันธรัฐ (Federal Government) หรือรัฐบาลกลาง หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบงานการปฏิรูประบบราชการ 1.สำนักงานและการจัดการและงบประมาณ(Office of Management and Budget (OMB)) เป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่กับสำนักงานของประธานาธิบดี (The executive Office of the President (EOP)) สำนักงานการจัดการและงบประมาณมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. ให้ความช่วยเหลือประธานาธิบดีในการทำงบประมาณและการจัดทำแผนการคลังของรัฐบาล
  2. ปรับปรุงการบริหารงาน และการจัดการของโครงการต่างๆของรัฐบาล
  3. ทบทวนและปรับปรุงกฎระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน
  4. ให้คำแนะนำแก่รัฐบาลในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการว่าจ้างของรัฐบาล การออกกฎระเบียบ และขั้นตอนการทำงานต่างๆ
  5. ให้คำแนะนำแก่รัฐบาลในการกำหนดนโยบายการบริหารการคลังการแถลงกิจการเกี่ยวกับการคลัง การจัดการระบบการคลัง การจัดการด้านสินเชื่อและเงินสด และ กลไกการควบคุมทางด้านการคลัง

2.สำนักงานการจัดการด้านบริหารงานบุคคล (Office of Personnel Management (OPM)) จัดตั้งขึ้นปี ค.ศ.1978 มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปราชการพลเรือน ดังนี้

  1. การดำเนินการตามระบบการจ้างงานของรัฐบาลสหพันธรัฐรวมถึงการคัดเลือกบุคคล การทดสอบฝึกอบรม และการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
  2. ดำเนินการตามระบบเกษียณอายุราชการพลเรือน และดำเนินการตามกองทุนสำหรับคนพิการ

3. หน่วยบริหารบริการทั่วไป (General Services Administration (GSA)) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับการก่อสร้างและการบำรุงรักษาสถานที่ราชการ มีหน้าที่ในการดูแลการจัดซื้อ จัดจ้างพัสดุ อุปกรณ์อำนวยคามสะดวกในการเดินทางให้บริการเกี่ยวกับการจัดการด้านข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และให้บริการเกี่ยวกับโทรคมนาคม 4. หน่วยบริการด้านการจัดการคลัง (Financial Management Service (FMS)) เป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงการคลัง (Department of the Treasury) มีหน้าที่ ดังนี้

  1. ปรับปรุงการจัดการเกี่ยวกับการติดต่อทางการเงินการคลังของรัฐบาล
  2. ปรับปรุงการจัดการทางด้านสินเชื่อของรัฐบาล
  3. การออกเช็คของกระทรวงการคลัง และการโยกย้ายเงินโดยผ่านคอมพิวเตอร์
  4. ดูแลระบบบัญชีกลางโดยจัดให้มีการรายงานสถานะทางการเงินเป็นระยะๆ
  5. รวบรวมใบเสร็จและหลักฐานการเงินทั้งหลายของรัฐบาล[5]






วิวัฒนาการของระบบราชการสหรัฐอเมริกา[แก้]

ในอดีตประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศเอกราช และมีการร่างรัฐธรรมนูญ และมีการจัดตั้งกระทรวงต่างๆที่สำคัญขึ้น เป็นการเริ่มต้นของการเป็นประเทศที่พัฒนาระบบการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข สหรัฐอเมริกาเน้นความสำคัญที่ระบบการเมืองการปกครอง ให้ความสนใจเรื่องเอกราช เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน มุ่งเน้นให้ความสำคัญในการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ในเวลาต่อมา จำนวนหน่วยงานราชการและจำนวนข้าราชการมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อสนองความต้องการสาธารณะที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว อัตราการขยายตัวของหน่วยงานและการจ้างข้าราชการเพิ่มสูงขึ้นในช่วงสงครามกลางเมือง และช่วงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเจริญเติบโตขึ้น ทำให้ระบบราชการมีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากขึ้น การปฏิบัติงานมีความล้าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ และเริ่มมีการนำระบบอุปถัมภ์เข้ามาใช้ในการบริหารราชการ โดยผู้นำระบบ คือ ประธานาธิบดีแอนดรู แจ๊คสัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 วู๊ดโรว์ วิลสัน(Woodrow Wilson) เห็นความสำคัญของระบบบริหารราชการได้เข้ารับดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ระบบราชการจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในระบบราชการ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 เกิดภาวะวิกฤตของประเทศทำให้ข้าราชการและจำนวนหน่วยราชการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขนาดของระบบราชการใหญ่และซับซ้อนมากขึ้น ในอดีตประมาณปี ค.ศ. 1933 การตัดสินใจและอำนาจบริหารระบบราชการขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูงจำนานน้อย แต่ในเวลาต่อมา ปี ค.ศ. 1976 ผู้บริหารระดับสูงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และอำนาจการตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ทำให้การปฏิบัติงานล่าช้าและขาดประสิทธิภาพมากขึ้น การปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญ มีดังต่อไปนี้ สมัยประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี รูสเวล (Franklin D Roosevelt) ได้จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ ทำหน้าที่ปรับโครงสร้างของฝ่ายบริหาร และเสนอให้มีการจัดตั้งสำนักงานของประธานาธิบดี (The Executive Office of the President) สมัยประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ ( Jimmy Carter )มีการบัญญัติกฎหมายปฏิรูปข้าราชการพลเรือน ปี ค.ศ.1978 โดยการแยกสำนักงานข้าราชการพลเรือน ออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ OPM (The Office of Personnel Management) ทำหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคลและรับเรื่องร้องทุกข์จากข้าราชการ สมัยประธานาธิบดี โรแนล เรแกน (Ronal Reagan) ได้จัดตั้ง “Grace Commission’’ ขึ้น โดยแต่งตั้งนักบริหารจากภาคเอกชนมาเป็นกรรมการในการปฏิรูประบบราชการ คณะกรรมการได้เสนอรายงานเกี่ยวกับความสิ้นเปลืองในการบริหารงานของระบบราชการ และเสนอแนะวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบราชการ สมัยประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ ประธานาธิบดี บิล คลินตัน (Bill clinton) วิธีดำเนินการปฏิรูประบบราชการของคลินตัน คือ การจัดตั้งหน่วยงาน NPR (The National Perforrmance Review) เพื่อทบทวนการปฏิบัติงานของระบบราชการ และแสวงหาวิธีการลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของระบบราชการ รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพในการบริการสาธารณะ และปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับประชาชาชน[6]










การปฏิรูประบบราชการของประเทศสหรัฐอเมริกา[แก้]

การปฏิรูประบบราชการก่อนสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน การปฏิรูประบบราชการในประเทศสหรัฐอเมริกามีประวัติศาสตร์ยาวนาน ประธานาธิบดีหลายท่านได้ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญในการดำเนินการปฏิรูประบบราชการของประเทศสหรัฐอเมริกาตลอดมา ตัวอย่างเช่น สมัยของประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี โรสเวล (Franklin D Roosevelt) ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการปฏิรูประบบราชการ เพื่อทำหน้าที่ในการปรับโครงสร้างของฝ่ายบริหาร และมีนายหลุย บรอนโล (Louis Brownlow) เป็นประธานาธิบดีได้เสนอการจัดตั้งสำนักงานของประธานาธิบดีขึ้น (The Executive Office of the President) เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านการบริหารงานให้กับประธานาธิบดี ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 รัฐสภาได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการจัดโครงสร้างของฝ่ายบริหาร คือ “The Hoover Commission’’ ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการของสำนักงานประธานาธิบดี โดยมีข้อเสนอ ดังนี้

  1. สามารถจัดโครงสร้างและอัตรากำลังของสำนักงานประธานาธิบดีได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัด
  2. จัดสำนักงบประมาณให้มีความเข็มแข็งมากขึ้น
  3. จัดตั้งหน่วยงานด้านการบริหารงานบุคคลภายในสำนักงานประธานาธิบดี
  4. กำหนดให้ประธานาธิบดีมีฝ่ายเลขานุการที่เข้มแข็ง เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างประธานาธิบดีและผู้ใต้บังคับบัญชา โดยออกกฎหมายการจัดองค์การใหม่ และมีการจัดตั้งกระทรวงสาธารณะสุข การศึกษาและสวัสดิ์การขึ้นในปี ค.ศ. 1953

การปฏิรูประบบราชการที่สำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งในสมัยประธานาธิบดี Jimmy Carter ได้แก่ การออกกฎหมายปฏิรูปราชการพลเรือนในปี ค.ศ. 1978 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ การแยกสำนักงานข้าราชการพลเรือน (Civil Service Commission) ออกเป็น 2 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานจัดการด้านการบริหารงานบุคคล (The Office of Personnel Management (OPM)) ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือด้านการบริหารงานบุคคล และหน่วยงานที่สอง ได้แก่ คณะกรรมการป้องกันระบบคุณธรรม (Merit system Protection Board) มีหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์จากข้าราชการ ในประวัติศาสตร์การปฏิรูประบบราชการในสมัยสหรัฐอเมริกา พบว่า ขอเสนอแนะส่วนมากของคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการที่ได้นำเสนอต่อประธานาธิบดีและรัฐสภาส่วนมากไม่ได้นำไปปฏิบัติ เช่น ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการที่เรียกว่า “Secound Hoover Commission” เสนอแนะให้ภาคราชการเลิกทำงานด้านบริการและกิจกรรมที่แข่งขันกับภาครัฐ การปฏิรูประบบราชการในสมัยแรกของประธานาธิบดี บิล คลินตัน ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้แสดงตั้งแต่เริ่มเข้ารับตำแหน่งว่ารัฐบาลของเขามีเจตนาแน่วแน่ที่จะปฏิรูประบบราชการของสหพันธรัฐ ในเดือนกุมพาพันธ์ ค.ศ. 1993 ) ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้ประกาศลดอัตรากำลังของระบบราชการสหพันธรัฐลงประมาณ 100,000 คน ภายใน 3 ปี และได้ประกาศว่าจะลดอัตรากำลังในทำเนียบขาว 25% หรือประมาณ 350 คน ทำให้เหลือข้าราชการในทำเนียบขาวเพียง 1,044 คน วิธีการดำเนินการปฏิรูประบบราชการของประธานาธิบดีบิล คลินตัน คือ ไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ แต่ได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเรียกว่า ‘’หน่วยทบทวนการปฏิบัติงานแห่งชาติ’’ (The National Performance Review (NPR)) ภายใต้การนำของรองประธานาธิบดีอัล กอร์ ในปลายเดือนเมษายน ค.ศ.1993 หน่วยงานนี้ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 200 คน ประมาณ 80% เป็นข้าราชการประจำ หน่วยงานนี้มีนางอีเรน เคหมาก เป็นหัวหน้าและมี “Reinventing Government” เป็นที่ปรึกษาอาวุโส ปรัชญาในการดำเนินการปฏิรูประบบราชการของ NPR ได้แก่ การแสวงหาวิธีการทำให้รัฐบาลสามารถทำงานได้ดีขึ้นแต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง ในความคิดเห็นของรองประธานาธิบดีอัล กอร์ วัตถุประสงค์พื้นฐานในการปฏิรูประบบราชการ คือ ปรับปรุงคุณภาพของบริการและปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนอเมริกัน และรัฐบาลต้องพึ่งพาประสบการณ์ความรู้และความสามารถของข้าราชการในรัฐบาลสหพันธรัฐ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูประบบราชการในสมัยที่สองของประธานาธิบดีบิล คลินตัน ภายหลังจากประธานาธิบดี คลินตัน (Bill clinton) ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาอีกสมัยหนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1997 ได้มีการเปลี่ยนชื่อ NPR (National Performance Review) เป็น the National Partnerships for Reinventing Government แต่ยังใช้คำย่อ NRP อยู่ ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้จัดการประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อซักซ้อมความเข้าใจของรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการปฏิรูประบบราชการ เมื่อ 11 มกราคม 1997 เอกสารแถลงการณ์นโยบายการปฏิรูประบบราชการเรียกว่า “Blair Hourse Papers” มีหลักการสำคัญสามประการ ดังนี้ ประการแรก การให้บริการที่ดีเยี่ยม ในปี ค.ศ. 1993 เรียกร้องให้บริการต่อลูกค้าของรัฐบาลกลางมีมาตรฐานเท่ากับการให้บริการที่ดีที่สุดของบริษัทในภาคธุรกิจเอกชน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเอาชนะใจลูกค้าและเอาใจใส่ต่อความต้องการของลูกค้า หน่วยงานของรัฐบาลกลางต้องรู้จักรักษามาตรฐานของบริการและให้ความสำคัญต่อการวัดผลงานให้เป็นรูปธรรมและการประชาสัมพันธ์ผลงาน ประการที่สอง การสนับสนุนให้รัฐบาลกลางร่วมมือกับชุมชนในการแก้ไขปัญหา (Foster Partnership and Community Solutions) รัฐบาลกลางต้องหาวิธีการที่จะทำให้ชุมชนยินยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐบาลด้วยความเต็มใจ โดยรัฐบาลไม่ต้องบังคับ วิธีการสร้างความร่วมมือมีหลายวิธีเช่น การปรับปรุงกฎระเบียบให้ทันสมัยและอ่านเข้าใจง่าย ให้เจ้าหน้าที่ออกมาร้างพันธมิตรกับชาวบ้าน การใช้วิธีเจรจาต่อรองแทนการสั่งการ และให้ความสำคัญกับผลงานมากกว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ประการที่สาม การปฏิรูปเพื่อให้รู้จักการทำงานให้สำเร็จด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลงมีหลักสองประการ คือ หลักแรกต้องให้ฝ่ายปฏิบัติงานหลักที่เป็นผู้ให้บริการโดยตรงกับลูกค้า หลักการที่สอง คือ สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่คนงาน เพื่อสร้างความกระตือรือร้นที่จะทำงานอย่างเต็มที่[7] '









การกำหนดทิศทางการปฏิรูประบบราชการในอนาคต[แก้]

ในอนาคต NRP มีความเห็นเรื่องการปฏิรูประบบราชการตามนโยบายของ NRP ต้องดำเนินต่อไป เช่น การให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงหน่วยงานของรัฐที่มุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและมุ่งผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม การปฏิรูประบบราชการต้องอาศัยความร่วมมือของเอกชน รัฐบาล รัฐบาลท้องถิ่น และรัฐบาลมลรัฐ การปฏิรูประบบราชการต้องคำนึงถึงความพอใจของลูกค้า ต้องสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นระยะๆ การปฏิรูประบบราชการจะทำให้ชาวอเมริกามีความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อการทำงานของรัฐบาลมากขึ้น ความพยายามอีกประการหนึ่งของรัฐบาลอเมริกาคือต้องการเป็นผู้นำของโลกในการปฏิรูประบบราชการ ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเล่าว่าทุกปีจะมีผู้แทนจากประเทศต่างๆ มาดูงานที่ NRP ประมาณ 200 ครั้งบางประเทศขอให้ NRP ไปช่วยวางแผนการปฏิรูประบบราชการของตนเอง จนกระทั่ง NRP ได้เสนอความคิดการจัดประชุมในระดับโลก (Global Forum) การประชุมเกิดขึ้นครั้งแรกที่ Washington D.C. เมื่อ ค.ศ.1997 ครั้งที่สองที่ Buenos Aires ประเทศ Argentina เมื่อ ค.ศ. 1999 และครั้งที่สามที่ Naples,ltaly ในวันที่ 15-17 มีนาคม 2001 การจัดงานการปฏิรูประบบราชการของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นอย่างไรในอนาคตขึ้นอยู่กับนโยบายของประธานาธิบดีคนใหม่คือ George W.Bust ผู้ให้สัมภาษณ์หลายท่านคิดว่าปรัชญาการปฏิรูประบบราชการยังคงให้ความสำคัญกับหลักการทำงานให้ดีขึ้น ใช้เงินให้น้อยลง วิธีการจัดระบบงานราชการจะเป็นอย่างไรนั้น ยังไม่อาจทราบได้ รองประธานาธิบดี Al Gore จัดตั้ง NRP ให้เป็นหน่วยงานชั่วคราวที่ระดมสมองจากหลายหน่วยงาน ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มีหน่วยงานต่างๆเข้ามาช่วยทำงานถึง 14,000 คน หมุนเวียนกันมาประชุม NRP ในระยะเวลาสั้นๆไม่กี่เดือน จุดเด่นของ NRP คือเป็นกลไกที่ทำงานอย่างอิสระจากระบบราชการที่ขึ้นตรงต่อรองประธานาธิบดีใน NRP[8]

  1. ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,กำเนิดระบบราชการและการปฏิรูปในยุคคลาสสิก,พิมพ์ครั้งที่1,กรุงเทพฯ,สงวนกิจการพิมพ์,2546,974-91642-8-8
  2. ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,กำเนิดระบบราชการและการปฏิรูปในยุคคลาสสิก,พิมพ์ครั้งที่1,กรุงเทพฯ,สงวนกิจการพิมพ์,2546,974-91642-8-8
  3. ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา,แนวคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์,พิมพ์ครั้งที่2,เชียงใหม่,ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนุชพริ้นติ้ง,2551,978-974-10-0382-2 กระโดดขึ้น ↑
  4. รองศาสตราจารย์ (ระดับ9)วิเชียร วิทยอุดม,แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์และทฤษฎีระบบราชการ,พิมพ์ครั้งที่1,กรุงเทพฯ,บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์จำกัด,2551,978-974-10-7047-3
  5. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.,การปฏิรูประบบราชการของต่างประเทศ,นนทบุรี,โรงพิมพฺ์สหมิตรพริ้นติ้ง,2544
  6. ศาตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์,การเมืองอเมริกา,พิมพ์ครั้งที่3,สำนักพิมพ์เสมาธรรม,2544,974-231-088-2
  7. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.,การปฏิรูประบบราชการของต่างประเทศ,นนทบุรี,โรงพิมพฺ์สหมิตรพริ้นติ้ง,2544
  8. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.,การปฏิรูประบบราชการของต่างประเทศ,นนทบุรี,โรงพิมพฺ์สหมิตรพริ้นติ้ง,2544