ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Datnun1991/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดแจ้งวรวิหาร ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 23 ถนนราชดำเนิน ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ

ประวัติ[แก้]

  • พ.ศ.1835 วัดแจ้งได้สร้างมาพร้อมกับวัดประดู่พัฒนารามโดยพระมหาเถรอนุรุทธ และคณะ ซึ่งย้ายมาจากเมืองยศโสทร(จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน) และได้เจิญรุ่งเรืองมาตามลำดับ
  • พ.ศ.2330 ปรากฏว่าได้รกร้างอยู่ คุณชีพี่สาวของเจ้าพระยานคร(พัฒน์) ได้ศรัทธา สร้างวัดแจ้งขึ้นใหม่คู่กับคุณหญิงมารดาของเจ้าพระยานครพัฒน์ได้สร้างวัดประดู่ ฯ ขึ้นใหม่เช่นเดียวกัน จึงกล่าวกันว่า สองวัดนี้เป็นวัดแม่วัดลูกกัน ดังกล่าวมาแล้ว และถือว่าเป็นวัดสาหรับวงศ์ตระกูล ณ นคร ได้รับบารุงเป็นอย่างดีตลอดมา จัดเป็นวัดสาคัญรองจากวัดพระบรมธาตุ(พระมหาธาตุ)ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะในสมัยนั้นวัดพระบรมธาตุ เป็นเพียงพุทธาวาส และวัดท่าโพธิ์(เก่า)ที่ยังไม่มีความสาคัญอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้(วัดท่าโพธิ์ใหม่)ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าวัดสาคัญที่สุดในสังคมเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ คือประมาณ 200 ปี มาแล้วได้แก่วัดแจ้งนี้เอง
  • พ.ศ.2529 gเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ7 พฤษภาคม 2529

== สถานะในอดีต == วัดแจ้ง ได้ชื่อว่า วัดแจ้งมาตลอด ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งชาวบ้าน และทางราชการเรียกตรงกัน เหมือนกับเป็นอนุสรณ์พระราชวังพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ ทางทิศเหนือมีวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) เท่ากับวัดแจ้งเมืองนครศรีธรรมราชนี้ และมีวัดโมลีโลกยารามอยู่ทางทิศใต้ เท่ากับวัดชะเมา (วัดเมาลีหรือโมลี) โดยวัดประดู่ (พัฒนาราม) อยู่ตรงกลางเท่ากับพระราชวัง ฯ และดอกประดู่เป็นสัญลักษณ์ของทหารเรือในปัจจุบัน


ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ ภายในวัด[แก้]

ตึกกษัตริย์หรือเก็งจีนเจ้าพระยานคร อยู่ท่ามกลางวัดแจ้ง เป็นที่บรรจุอัฐิเจ้าพระยานคร และหม่อมทองเหนี่ยว ซึ่งมีเจดีย์ ๒ องค์ อยู่ในตึกนี้ มีลักษณะประณีต สวยงามมาก เป็นฝีมือช่างเมืองนครแท้ ซึ่งเจ้าพระยานคร (พัฒน์) ได้สร้างขึ้นไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๐ และตึกชนิดเดียวกันนี้ อยู่ในเขตวัดประดู่ ฯ เป็นที่บรรจุอัฐิพระเจ้าตากสิน และเจ้าพระยานคร (น้อย) (ราชโอรสของพระเจ้าตากสิน) สร้างโดยเจ้าพระยานคร (น้อยกลาง) (บุตรเจ้าพระยานครน้อย) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕

  • ปัจจุบัน ทางหน่วยศิลปากร นครศรีธรรมราช ได้ขึ้นทะเบียนไว้ และบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวควรไปทัศนศึกษาแห่งหนึ่งด้วย และยังมีสถานที่เก็บอัฐิบริวารและเครือญาติของเจ้าพระยานคร ฯ อีกเป็นจำนวนมากอยู่รอบนอกตึกกษัตริย์
  • โบสถ์มหาอุด ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ขณะนี้ได้ทำการก่อสร้างใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใช้เป็นสถานที่สร้าง และปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ที่ทหารนิยมใช้ในราชการทัพ ซึ่งเป็นที่จำกันได้ดีว่าเจ้าพระยานคร (น้อย) นั้น เป็นขุนศึกคนสำคัญของประเทศไทยทางภาคใต้ และนอกจากที่วัดแจ้งนี้แล้ว โบสถ์มหาอุดยังมีที่วัดเขาขุนพนม อำเภอพรหมคีรี และที่วัดกำแพงถม อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งยังรูปร่างเป็นโบสถ์สมบูรณ์กว่าที่วัดแจ้ง
  • พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางสมาธิ ขนาด ๒๐ นิ้ว สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งเมื่อพอกปูนซีเมนต์หุ้มไว้ ค้นพบและกระเทาะออกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ ตอนตั้งวิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณ ทางหน่วยศิลปากรนครศรีธรรมราชได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว
  • พระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาด ๕๒ นิ้ว (ทองเหลือง)
  • พระพุทธรูป ปางปฐมเทศนา ขนาด ๓๖ นิ้ว (ทองเหลือง) และพระพุทธรูปปางต่าง ๆ นั่งบ้าง ยืนบ้าง หลายรูป

== การเดิทาง == วัดแจ้งอยู่ใกล้กับโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษาแล้วอยู่ติดกับวัดประดู่พัฒนาราม เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนราชดาเนิน มุ่งหน้าไปทางฝั่งสนามกีฬานครศรีธรรมราช ขับเลยวัดชะเมาไปก็จะเจอวัดประดู่พัฒนารามอยู่ทางด้านขวามือ และวัดแจ้งจะอยู่ถัดไปจากวัดประดู่พัฒนาราม