ผู้ใช้:Char/กระบะทราย
นี่คือหน้าทดลองเขียนของ Char หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |
ทัศนะ
[แก้]เนื่องด้วยพฤติการณ์ของผู้ใช้ท่านหนึ่ง ซึ่งได้แก้ไขบทความของข้าพเจ้าและบทความอีกหลายบทความให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ราชบัณฑิตและเขาเป็นผู้กำหนด ทุกบทความก่อนที่ข้าพเจ้าจะอัปโหลด ข้าพเจ้าได้ศึกษาดีแล้วว่าบางครั้งควรยกเว้นการใช้หลักการตามที่ราชบัณฑิตอนุญาต เพื่อรักษาการออกเสียงของเจ้าของภาษา (ฮัลลัม แทน แฮลลัม ทำนองเดียวกับ ฮัลโลวีน) และเพื่อลดความสับสนของผู้อ่าน (เช่น มาตรวัดเวอร์เนียร์/คาลิเปอร์เวอร์เนียร์ อันเป็นศัพท์ที่ใช้ในวงการและตำราอ้างอิงจำนวนมาก แต่เขากลับเปลี่ยนเป็น มาตรแวร์นีเย ซึ่งสับสนต่อคนในวงการอย่างมาก ยากจะตรวจสอบ ไฉนจึงไม่ทำการแยกกันระหว่าง กฎของแอมแปร์ (เป็นรูปศัพท์ใช้ในวงการ ไม่มีใครใช้กฎของอ็องแปร์หรือหน่วยอ็องแปร์เลยแม้แต่คนเดียวแม้ราชบัณฑิตในสายวิศวกรรม-วิทยาศาสตร์) และ อ็องเดร อ็องแปร์) บางครั้งข้าพเจ้ายินดี แต่บางครั้งเขาไม่รับฟังเหตุผลอันสุภาพของข้าพเจ้าที่เสนอไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าใคร่ขอยุติการเขียนบทความที่เกี่ยวกับบุคคลชาวฝรั่งเศสและผลงานเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีหลักการดังนี้
|
(ร่าง)
[แก้]ขณะนี้บทความยังอยู่ในขั้นตอนการร่าง ธนาณัติ หรือ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ (อังกฤษ: Postal order) (มาจาก ธน - เงิน และ อาณัติ - คำสั่ง) หมายถึง ตราสารทางการเงินสำหรับใช้แทนเงินเพื่อส่งทางไปรษณีย์ ผู้ใช้ต้องซื้อธนาณัติด้วยเงินก่อนที่จะสอดใส่ลงในไปรษณียภัณฑ์ เมื่อไปรษณียภัณฑ์ถึงปลายทางแล้ว ผู้รับจึงนำธนาณัติไปแลกเงิน ธนาณัติมีลักษณะคล้ายกับตั๋วแลกเงิน (money order) คือมีการวางเงินไว้ก่อนหน้าที่จะออกตราสาร ทำให้ผู้รับสามารถนำตราสารไปขอขึ้นเงินได้ทันทีโดยไม่เสี่ยงต่อการถูกปฏิเสธไม่จ่ายเงินเหมือนเช็ค
ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ มีการระบุมูลค่าของตั๋วนั้นไว้ชัดเจนเหมือนธนบัตร แต่ธนาณัติ จะมีการระบุมูลค่าเหมือนที่ผู้ใช้งานได้วางเงินไว้ อย่างไรก็ตาม บริษัทไปรษณีย์ไทยได้ยกเลิกบริการตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา[1]
ธนาณัติในประเทศตะวันตก
[แก้]ธนาณัติมีใช้ครั้งแรกในประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2335 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ฝากส่งเงินให้ญาติมิตรและบุคคลอื่น มีลักษณะคล้ายธนบัตรคือ มีตัวเลขแจ้งราคา (ในไทยเรียก ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์) ต่อมาเมื่อธนาณัติแพร่หลาย ได้มีการนำธนาณัติไปใช้แทนธนบัตรเพื่อชำระหนี้ตามกฎหมาย [2] ต่อมาได้มีการพัฒนาธนาณัติให้มีรูปลักษณ์เหมือนเช็คธนาคาร (Manager's cheque) และมีวิธีการใช้คล้ายกันเช่น ถ้ามีขีดสองขีดขนานบนตัวธนาณัติ จะต้องนำเงินนั้นเข้าบัญชีธนาคารแทนที่จะเป็นเงินสด[3] การชำระเงินด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าเงินสดมากเช่นเดียวกับเช็ค ถ้าสูญหายก็สามารถอายัดไม่ให้มีการจ่ายเงินตามนั้นได้[4]
ธนาณัติและตั๋วแลกเงินในประเทศไทย
[แก้]ไปรษณีย์ไทย|บริษัทไปรษณีย์ไทย ได้จัดให้มีบริการการเงินในลักษณะเช่นนี้เพื่อความสะดวกของผู้มาติดต่อ โดยได้เริ่มให้บริการ
ทดสอบ
[แก้]·–·–·–·–·– –·––·– –·–·–··–·–··–·–·–··– ––·– –·––·– –·––·– –·––··––·–·––··– –·– –·–·– –·––·– ––·– –·–––·– –·–– –·–·– –·–·–·– –·–··––·– –·–·–·–·–···–··– ––·–·– ––·– –·–– ––··– ––·– –·––·–·–·– –·––·–·––··–·–·– –·–·–·–·–··– ––·– –·––·–··– –·–––·– ––·– –·–·–·–··–·–··– –·––·–·––··– –·–·–··– –·––·–··––··– ––·– –·– –·–·– –·–·–·–··–··–·–·– –·––·– –·–·–·–·– –·––·–·––··–·–·– –·––··– –·–·–·– –·––···––·– –·–·– ––·– –·––··– ––·– –·––·– ––·– –·––··–·––·–·– –·––·–··–·–·–·– –·–··– –·–– –·–·–·––·– –·–·–·–·–·– –·––··– ––·– –·––·–·–·–·– –·–·–·–··–·–··–···– –·–– –·– –·–·– –·–·–·– ––·– –·–– –·– –·–·– –·––··– –·–··–·–·– –·–·–·–·–·–··–·– –·––·– –·– –·–·– –·–·–·–··––·– –·–·– –·––·–··–··–·–·– –·––·– –·–·– –– –·–·– –·–·– –·–·–·–·– ––·– –·––·– –·–···–··– ––·–·– ––·– –·–– ––··– ––·– –·–– ––·– –·––··––·– –·–·–·–·–·–·––·– –·–·–·–·–·– –·––·–·–·–··– –·––·– –··–·–··–·–··–·–··–··–·– –·––·– ––···–··– ––··– ––·– –·––·–– –·–·–·–··–·–··–···–·–·– –·–·–·–·– –·––··–··–·–·–·– –·––·–––·– –– –·––·– –·–·–·–·–·– ––·– –·––··–·–·–·– –·––·–·–·– –·––··– –·––··–·–·–·– –·–– –·–··– ––·– –·––·–·– –·– –·––·– –·–·–·–·– –·––·––·– –·––·–·– –·––·– –·–·– –·–·–·– –·–·–·–·–·–·– –·––·–·––··–·–·– –·––··–··–·–·–·– ––·– –·–––·– –·–– –·–·– –·–·–·– –·–·–··–·– –·–––···–··– ––·–·– ––·– –·–– ––··– –·– –·––·–··– ––·– –·–·–···–·–·–··–··–·–··– –·– –·–·–··–·– –·–––·–·––·– –·––·–·––··– ––·– –·–·– ––·– –·–– –·–·– –·––·–·–·–·– –– –·–·–·–··–·–·–··– ––··–·–·– –– –··– –·––···–··– ––·– –·––··– ––·– –·––·–·–··–·– –·–– –·––·– –·–·–·–·–·–·– –·––··–·–·– –·–– –·– –·––·– –·––··––··– ––·– –·––··–·–·–·– –·––··– ––·– –·–·– –·– –··–·–·– –··– ––··–···–·–·–·–··–·–··–·–·–··– ––·– –·––··–··–·– –·–– –·–·–·–·–·––·– –·–– –··–··–·– ––··––·–·–·– –·–·–·–·–·– –·––·– –– –··–·–·–·–··– ––·– –·––··–··–·–·– –··–··–·– –·––·– –·– –·–··–·–·– ––·– –·–·–·–·–·– –·––·– –·––··––·–·–·–·–··–···–·–·–·– –·––·–·– –·–·–·–·–·– –·––·– –··–·–··–·–·–·– –·–··– ––·– –·––·––·– –– ––·– –·–·– –··– –·–·– – –·–·–·–·– –·–·–··– –·––·– –·– –·–·–·–·– –·––·–·––··–·–·– –·–– ––·– –·–– –··–·–·–··–·–·–·–·– –·–·–···–·–·–····– –·–––·–·– –·–––·–··–·– –·–– –·–·–·––·– –·––·–·––·– –·–– –··–·–·–·– –·–·–·–·–·–·–·–···– –
หมายเหตุเล็กน้อย
[แก้]ชื่อ Hallam อาจจะออกเสียง แฮลลัม หรือ ฮัลลัม ถูกต้องทั้งคู่ โดยมีตัวอย่างดังนี้
อนึ่งที่กระผมใช้ ฮัลลัม เป็นชื่อแรก เนื่องจากเป็นศัพท์มาตรฐานดังที่ออกเสียงของเจ้าของภาษาในประเทศที่ตั้งของมหาวิทยาลัย จึงไม่ควรนำการสะกดที่ไม่เป็นมาตรฐานมาใช้ บางบทความมีรากฐานพื้นถิ่นในสหราชอาณาจักร พึงใช้อังกฤษแบบบริทิช ห้ามใช้อังกฤษแบบอเมริกัน เช่นเดียวกับมาตรฐานอันใช้ในวิกิอังกฤษ
ในส่วนของเนื้อหาตรวจสอบถูกต้องแล้ว ณ ขณะที่มีการแปลครั้งล่าสุด โดยอาจมีความผิดพลาดเกิดในระหว่างที่แปลและมหาวิทยาลัยได้ทำการปรับปรุงข้อมูลสำคัญ อย่ากระนั้นเลย มหาวิทยาลัยที่เขียนเพื่อให้บทความอีกบทสมบูรณ์เท่านั้น ไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่นักเรียนไทยนิยมเลือกนัก
โหล...ทดสอบ
[แก้](ขอทดสอบสูตรปักขคณนาหน่อยนะครับ-เพราะว่ากระบะทรายส่วนกลางมีการลบตลอด จึงไม่สามารถทดสอบให้ลุล่วงได้) ตำแหน่งปักขคณนาวันนี้
มหาสัมพยุหะที่ 8 พยุหะที่ 7 สมุหะที่6 วรรคที่2 ปักษ์ที่ 4 วารที่ 8
คำทำนายในวันสงกรานต์
[แก้]อ้างอิงจากตำราพรหมชาติ ฉบับหลวง โดยพราหมณ์อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ และนายบาง เสริมเสมสุข โหรหลวงประจำสำนักพระราชวัง ตีพิมพ์ราวปี 2500 โดยสำนักงาน ส. ธรรมภักดี ย้ายจากหน้า สงกรานต์ มา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ผู้พบหน้านี้
ถึงท่านผู้อ่าน: หากท่านผู้ใดที่ไม่เชื่อในโหราศาสตร์และการทำนาย ใคร่ขออย่าลบหลู่ในส่วนนี้เด็ดขาด การเชื่อไม่เชื่อเป็นสิทธิ์ของท่าน แต่จงคำนึงถึงผู้อื่นที่เชื่อด้วย ในชั้นแรกท่านอาจเชื่อถือวิทยาศาสตร์ว่าเป็นจริงและตอบคำถามทุกคำถามได้ แต่ในที่สุดเมื่อถึงมัชฌิมวัยและปัจฉิมวัย ประสบการณ์ชีวิตของท่านจะทำให้ท่านตระหนักดีถึงเรื่องการขึ้นลงของชีวิต ให้รู้จักทำสิ่งที่เหมาะสมในโอกาสที่ควร วิทยาศาสตร์มิได้สอนกาละและเทศะ รวมถึงมารยาทและจรณะ อีกทั้งไม่สามารถล่วงรู้ใจคนอันแสนลึกล้ำได้ ส่งผลให้ผู้เรียนวิทยาศาสตร์แต่อย่างเดียว ไม่สามารถประสบสำเร็จในชีวิตได้ หรือแม้ประสบก็มิอาจได้เป็นผู้นำคน เพราะไม่ทราบล่วงได้ถึงจิตและชีวิตของผู้ใต้บังคับบัญชา ฉะนั้น ผู้จะเป็นผู้นำและผู้บริหารที่ประสบผลสำเร็จ ต้องรู้โหราศาสตร์ด้วย (เป็นหนึ่งในศิลปศาสตร์สิบแปดประการ) การเชื่อโหราศาสตร์-พยากรณ์ศาสตร์ที่ถูกต้อง ต้องรู้จักใช้ความพยายามและดำรงในคุณธรรมด้วย หากคำทำนายเป็นไปในทางให้โชคแต่ไม่รู้จักไขว่คว้าโชค ท่านก็ไม่ได้โชคหรือได้ก็แต่น้อยเท่านั้น |
วันมหาสงกรานต์
[แก้]- ถ้าปีใดวันมหาสงกรานต์เป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นไร่นาเรือกสวน เผือกมัน มิสู้แพงแล
- ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้เสนาบดี ท้าวพระยาและนางพระยาทั้งหลาย
- ถ้าวันอังคารและวันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิงและโจรผู้ร้าย และจะเจ็บไข้นักแล
- ถ้าวันพุธ เป็นวันมหาสงกรานต์ ว่าท้าวพระยาจะได้เครื่องบรรณาการมาแต่ต่างเมือง แต่จะแพ้ลูกอ่อนนักแล
- ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้ข้าไท พระสงฆ์ราชาคณะจะได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจกันแล
- ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุม จะเจ็บตากันมากนักแล ฯ
วันเนา
[แก้]- ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเนา ข้าวจะตายฝอย จะได้ยินเสียงคนต่างภาษา ท้าวพระยาจะร้อนใจนักแล
- ถ้าวันจันทร์เป็นวันเนา เกลือจะแพง นางพระยาจะร้อนใจ มักจะเกิดความไข้ต่าง ๆ
- ถ้าวันอังคารเป็นวันเนา หมากพลู ข้าวปลาจะแพง จะแพ้อำมาตย์มนตรีทั้งปวง
- ถ้าวันพุธเป็นวันเนา ข้าวจะแพง คนทั้งหลายจะได้รับความทุกข์ร้อน แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่
- ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเนา ลูกไม้จะแพง ตระกูลทั้งหลายจะร้อนใจนักแล
- ถ้าวันศุกร์เป็นวันเนา ข้าวจะแพง แร้งกาจะตายห่า สัตว์ในป่าจะเกิดอันตราย
- ถ้าวันเสาร์เป็นวันเนา ข้าวปลาจะแพง จะเกิดเพลิงกลางใจเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ข้าวจะตายฝอย น้ำจะน้อยกว่าทุกปี สมณชีพราหมณ์จะร้อนใจนัก ผักปลาจะแพงแล ฯ
วันเถลิงศก
[แก้]- ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเถลิงศก พระมหากษัตริย์จะรุ่งเรืองด้วยพระเดชานุภาพ จะมีชัยชนะแก่ศัตรูทั่วทิศาทั้งปวงแล
- ถ้าวันจันทร์เป็นวันเถลิงศก พระราชเทวี และหมู่นางสนม ราชบริพาร จะประกอบไปด้วยสุขและสมบัติทั้งปวง
- ถ้าวันอังคารเป็นวันเถลิงศก อำมาตย์มนตรีทั้งปวงจะอยู่เย็นเป็นสุข แม้จะต่อยุทธ์ด้วยปัจจามิตร ณ ที่ใด ๆ ก็จะมีชัยชนะทุกเมื่อแล
- ถ้าวันพุธเป็นวันเถลิงศก ราชบัณฑิต ปุโรหิตโหราจารย์ จะมีสุขสำราญเป็นอันมาก
- ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเถลิงศก สมณะพราหมณาจารย์จะปฏิบัติชอบด้วยธรรมวินัยอันประเสริฐแล
- ถ้าวันศุกร์เป็นวันเถลิงศก พ่อค้าพานิชทั้งหลาย อันไปค้าขายในประเทศต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยพัสดุเงินทอง และมีความสุขเป็นอันมากแล
- ถ้าวันเสาร์เป็นวันเถลิงศก หมู่ทแกล้วทหารทั้งปวง จะประกอบไปด้วยความสุข และวิชาการต่าง ๆ แม้จะกระทำยุทธ์ด้วยข้าศึก ณ ทิศใด ๆ ก็จะมีชัยชนะทุกเมื่อแล ฯ
ประกาศสงกรานต์ (ทดสอบ)
[แก้]ประกาศสงกรานต์ พุทธศักราช 2568
ปี พุทธศักราช 2568 ตรงกับคริสต์ศักราช 2025 จุลศักราช 1387 กลิยุคศักราช 5126 ทางสุริยคติ เป็นปกติสุรทิน
ทางจันทรคติเป็นปีมะเส็ง
ปีนี้ วันจันทร์ ที่14 เดือนเมษายน พ.ศ.2568 เวลา 04 นาฬิกา 30 นาที 00 วินาที เป็นวันมหาสงกรานต์อันเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ
นางสงกรานต์ปีนี้ ชื่อนางทุงษเทวี
ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (มะเดื่อ) หัตถ์ซ้ายทรงสังข์ หัตถ์ขวาทรงจักร เสด็จไสยาสน์หลับเนตรมาบนหลังครุฑ
เกณฑ์นาคให้น้ำ ปีนี้ นาค 5 ตัวให้น้ำ ฝนตกในแผ่นดิน 500 เท่า ข้าวงามต้นแต่รวงทราม เดือน 5-6-7-8 จะมีฝนแล เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้
- ↑ [1]
- ↑ "Postal orders". Post Office Ltd. 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
- ↑ "Postal orders". Post Office Ltd. 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
- ↑ "Another view" by Douglas Myall in British Philatelic Bulletin, Vol. 51, No. 5, January 2014, pp. 149-151.