ผู้ใช้:Chanathipzuza11/กระบะทราย
องค์การไม่แสวงหาผลกำไร (อังกฤษ: nonprofit organization หรือย่อว่า NPO) เป็นชื่อเรียก องค์การ ที่มีจุดมุ่งหมายที่สนับสนุนกลุ่มที่มีความคิดพ้องกันแต่จะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันทั้งในเรื่อง ศิลปะ การกุศล ด้านการศึกษา ศาสนา งานวิจัย รวมทั้งจุดมุ่งหมายในด้านอื่นๆ โดยการทำงานทั้งหมดไม่มีจุดประสงค์ในด้านเชิงพาณิชย์ ไม่มีการหาผลประโยชน์เข้าสู่องค์กร แต่จะได้รายได้จากค่าลงทะเบียน ค่าบำรุงสมาชิก หรือเงินทรัพย์สินอื่นใดที่ได้มาจากการบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่ห์หา
การบริหารองค์การไม่แสวงหาผลกำไร
[แก้]จงพินิจดูจุดเด่นและการปฏิบัติงานขององค์กร ทำสิ่งที่ทำได้ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นไปอีกถ้ามันเป็นสิ่งที่สมควรทำ ความเชื่อว่าสถาบันทุกสถาบันสามารถทำได้ทุกอย่างไม่เป็นความจริง เพราะเมื่อคุณละเมิดคุณค่าของสถาบันมีทางว่าผลลัพธ์จะออกมาในรูปแบบของผลที่ไม่ดี[1] ยกตัวอย่างเช่น ช่วงปี ค.ศ. 1960 นักวิชาการพากันเร่งแก้ไขปัญหาชุมชนในเมืองและก็ได้พบว่าพวกเขาไม่มีความสามารถพอ สิ่งที่เราให้คุณค่าสวนทางกับประเด็นทางการเมืองและนักวิชาการก็ไม่เข้าใจเรื่องอำนาจ แต่ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลต่างๆก็รีบจัดทำสิ่งที่เรียกกันขึ้นมาเองว่า สุขศึกษา ให้แก่คนไข้ เช่นเมื่อมีคนไข้มารักษาโรคเบาหวานก่อนที่จะอนุญาตให้กลับบ้านได้เราอาจสอนให้เขารู้จักการโภชนาการที่ดีที่เหมาะสมสำหรับเขาสอนให้รู้จักคลายเครียด เพื่อคนไข้เหล่านั้นจะไม่ป่วยเพิ่มและไม่ต้องกลับมารักษาที่โรงพยาบาลอีกครั้ง แต่ในที่สุดก็ทำไม่สำเร็จ เพราะไม่ใช่ภารกิจที่โรงพยาบาลถนัดเพราะโรงพยาบาลไม่ได้มีหน้าที่สามารถในการป้องกันโรค แต่ในทางกลับกันโรงพยาบาลมีหน้าที่ในการดูแลความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น จงมองออกไปนอกองค์กรเพื่อหาโอกาสและดูว่าคนต้องการอะไรเราจะหาโอกาสและความต้องการได้จากที่ไหนในขณะที่มีข้อมูลและทรัพยากรที่จำกัดซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่คนและเงินตรา แต่รวมไปถึงความสามารถในการทำงานด้วยว่าคนๆนั้น ทำให้เกิดความแตกต่างและเกิดมาตรฐานใหม่ได้จริงหรือไม่ โดยทั่วไปคนตั้งมาตรฐานของงานขึ้นมาจากการทำอะไรบางอย่างที่ทำได้ดีถึงขนาดพูดได้ว่าสามารถสร้างมิติใหม่ขึ้นในการทำงาน แล้วจึงพิจารณาดูว่าความเชื่อที่แท้จริงของเราคืออะไร จะว่าไปแล้วภารกิจเป็นเรื่องส่วนตัวส่วนบุคคลและอะไรก็ตามถ้าจะทำให้ได้ดีจะต้องมี พันธกรณี[2]
การคัดเลือกผู้นำองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
[แก้]สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะทำให้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรรวมไปถึงองค์กรอื่นๆเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีผู้นำที่ดีมีการวางแผนการจัดการงานที่ดี ซึ่งขอแนะนำว่าสิ่งที่สำคัญอันดับแรกที่จะต้องดูก็คือบุคคลคนนั้นได้ทำอะไรมาแล้วบ้าง อะไรคือจุดเด่นสิ่งสำคัญที่กล่าวถึงในที่นี้ก็คือจุดเด่นและบุคคลคนนั้นได้ใช้จุดเดนนี้อย่างไร สิ่งสำคัญอันดับที่2 ลองหันกลับมาพิจารณาสถาบันและตั้งคำถามว่าสิ่งใดคือเป็นหัวใจสำคัญที่ท้าทาย อาจจะเป็นเรื่องราวการได้รับเงินเพิ่มขึ้น การสร้างขวัญขององค์กรขึ้นมาใหม่การกำหนดภารกิจใหม่หรือจะเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้[3] หากวันนี้คุณต้องการหาผู้ที่จะมาบริหารองค์การไม่แสวงหาผลกำไรนั้นคุณควรจะมองหาผู้นำที่มีลักษณะพิเศษหรือเรียกว่าผู้มีลักษณะพิเศษผู้นำควรทำตัวให้เป็นตัวอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำที่เข้มแข็งซึ่งเป็นคนที่ใครๆโดยเฉพาะกลุ่มคนหนุ่มสาวในองค์กรอยากเอาเป็นตัวอย่าง เราทุกคนอาจเคยเห็นมามากแล้วที่รัฐบาลบางรัฐบาลยังคงทำงานอยู่ได้แม้จะมีผู้นำที่ไม่ได้มีความสามารถที่โดดเด่นอะไรเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ในทางกลับกันองค์การไม่แสวงหาผลกำไรนั้นหากมีผู้นำที่มีความสามารถระดับธรรมดาๆ แล้วไม่ช้าความสามารถนั้นก็จะปรากฏให้เห็นทันที อีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือองค์การไม่แสวงหาผลกำไรมีผลลัพธ์ของงานหลายอย่างไม่ใช่อย่างเดียว ซึ่งในภาคธุรกิจคุณอาจถกเถียงกันว่ากำไรเป็นตัวชี้วัดการดำเนินงานได้จริงหรือ? ในระยะเวลาสั้นอาจจะยังใช้ไม่ได้ แต่ในระยะเวลายาวถือว่าใช้ได้ดีที่สุด ในภาครัฐบาลผลลัพธ์สุดท้ายคือการได้รับการเลือกตั้งใหม่ แต่ในการบริหารองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจะใช้ผลลัพธ์อันเดียวเป็นตัวชี้วัดไม่ได้ เพราะงานของคุณเป็นการบริหารกับการปฏิบัติงานที่ต้องผสมผสานกันและมีดุลยภาพ ผู้นำต้องเป็นคนที่มองเห็นการทำงานของหน่วยงานได้อย่างชัดเจนและกว้างไกลจริงจังกับบทบาทในฐานะผู้นำไม่ใช่จริงจังกับตัวตนของเขา ซึ่งใครก็ตามที่ขึ้นมาเป็นผู้นำขององค์การไม่แสวงหาผลกำไรและคิดว่าตัวเองเก่งจะเป็นการทำลายตัวเองและหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ
บทบาทในฐานะผู้นำองค์กร
[แก้]ผู้ที่จะได้รับตำแหน่งผู้นำคนใหม่ขององค์การไม่แสวงหาผลกำไรนั้นกว่าจะทำงานเข้าที่ได้บางคนต้องใช้เวลาไปนานหลายปี การที่จะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในระยะเวลาอันสั้นนั้น บทบาทของผู้นำต้องเหมาะสมกับภารกิจขององค์การและสิ่งที่องค์การได้ให้ความสำคัญ เราทุกคนต่างมีบริบทต่างๆเช่น เป็นผู้ปกครอง เป็นคุณครู เป็นนักเรียน/นักศึกษา และเป็นผู้นำสำหรับการเป็นผู้นำ บทบาทจะต้องเหมาะสมในสามมิติ
- มิติแรก คือ บทบาทจะต้องเหมาะสมกับตัวคุณเองว่าคุณเป็นใคร
- มิติที่2 คือ ต้องเหมาะสมกับภาวะหน้าที่
- มิติที่3 คือ ต้องเหมาะสมกับความคาดหวังขององค์กร
และยังมีสิ่งที่คุณต้องสร้างขึ้นมาเองก็คือคุณภาพของคนในองค์กรและข้อเรียกร้องใหม่ๆที่คนในองค์กรจะต้องปฎิบัติตาม ข้อเรียกร้องใหม่นี้จะกำหนดขั้นจากการวิเคราะห์หรือจากสิ่งที่ได้รับรู้ หรือทั้ง2อย่างรวมกัน แล้วแต่ว่าคุณได้ใช้วิธีใด ถึงแม้บางคนเป็นผู้นำได้ดีกว่าคนอื่น แต่เขาไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ลักษณะผู้นำ โดยทั่วไปเราจะพูดถึงทักษะความเป็นผู้นำที่อาจสอนกันไม่ได้แต่เรียนรู้กันได้ และความเป็นจริง ซึ่งบางคนไม่สามารถที่จะเรียนรู้ทักษะนี้ได้เลย อาจเป็นเพราะทักษะการเป็นผู้นำไม่สำคัญสำหรับเขาเหล่านั้น เขายินดีที่จะเป็นผู้ตามแต่ส่วนมากคนส่วนใหญ่สามารถที่จะเรียนรู้ทักษะนี้ได้ ผู้นำที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะไม่เคยพูดคำว่าฉัน นั้นเป็นเพราะเขาฝึกตัวเองไม่ให้ใช้คำว่าฉันเวลาคิดเขาจะไม่ใช้คำว่าฉัน แต่จะใช้คำว่า เรา และคิดคำว่า ทีม เขารู้ว่างานของเขาคือทำให้ทีมงานยอมรับความรับผิดชอบและไม่ขัดภาระและคนที่ได้รับคำชมก็คือเรา เขาถือว่าตัวเองเป็นสิ่งเดียวกับภาวะหน้าที่และคณะทำงาน และสิ่งนี้เองที่สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งจะทำให้เขาสามารถปฏิบัติภาระหน้าที่ให้รุล่วงไปได้[4]
ตัวอย่างองค์การไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศไทย
[แก้]สหกรณ์เกิดขึ้นมาในโลกนานกว่า60ปี เริ่มครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ โดยร่วมกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในทางเศรษฐกิจ สหกรณ์เป็นการประกอบการทางเศรษฐกิจแบบหนึ่งในหลายแบบ ซึ่งการประกอบการแบบอื่นเช่น ประเภทเจ้าของคนเดียวเป็นห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัท ล้วนตั้งขึ้นโดยหวังหากำไรจากการลงทุนเป็น แรงจูงใจ[Profit motive] แต่สหกรณ์เป็นการประกอบทางเศรษฐกิจของเอกชนที่มุ่งให้บริการทางธุรกิจ แก่สมาชิกเป็นแรงจูงใจที่สำคัญ
เพื่อให้คำนิยามสหกรณ์เป็นไปตามหลักอุดมการณ์ และเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้เข้าใจว่า สหกรณ์มิใช่องค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อหาผลกำไร และได้เห็นสมควรมีการทบทวนคำนิยามเสียใหม่ ทั้งนี้อาจพิจารณาตามความหมายของสหกรณ์ตามองค์การ ไอ ซี เอ กำหนดไว้ในปี2538 ว่า 'สหกรณ์เป็นองค์กรปกครองตนเองของบุคคลซึ่งรวมกันและควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการอันจำเป็นและความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม'
A cooperative is an autonomous association of persons united voluntarily to meet
their common economic social and cultural need and aspirations through a jointly owned
and democraticalled controlled enterprise.
ร.ต.สอาด แก้วเกษ
อดีตผู้อำนวยการกองฝึกอบรมกรมส่งเสริมสหกรณ์[5]
กำไรจากสหกรณ์มาจากไหน
[แก้]- มาจากบุคคลภายนอก เช่น สหกรณ์ชาวสวนลำไย ขายลำไย ให้แก่ผู้ค้าขายและผู้บริโภค กำไรจากบุคคลภายนอกถือเป็นกำไรของสมาชิก
- มาจากบุคคลภายนอกและสมาชิก
=== สหกรณ์ของประเทศไทยแบ่งออกเป็น7ประเภทได้แก่ === [6]
- สหกรณ์ออมทรัพย์
- สหกรณ์การเกษตร
- สหกรณ์ประมง
- สหกรณ์นิคม
- สหกรณ์ร้านค้า
- สหกรณ์บริการ
- สหกรณ์ยูเนี่ยน
- ↑ มยุรี อนุมานราชธน.การบริหารองค์การไม่แสวงหาผลกำไร.หจก.ธนุชพริ้นติ้ง(โรงพิมพ์ดาว).2544
- ↑ มยุรี อนุมานราชธน. การบริหารองค์การไม่แสวงหาผลกำไร.หจก.ธนุชพริ้นดิ้ง(โรงพิมพ์ดาว).2544
- ↑ มยุรี อนุมานราชธน. การบริหารองค์การไม่แสวงหาผลกำไร.หจก.ธนุชพริ้นดิ้ง(โรงพิมพ์ดาว).2544
- ↑ มยุรี อนุมานราชธน.การบริหารองค์การไม่แสวงหาผลกำไร.หจก.ธนุชพริ้นดิ้ง(โรงพิมพ์ดาว).2544
- ↑ ร.ต.สอาด แก้วกาษ.หนังสือพิมพ์สหกรณ์.ฉบับที่2.2550
- ↑ สหกรณ์7ประเภท