ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Chaliyaporn Nonting/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

' การรักษาสิทธิสู่การมีส่วนร่วมของประชาชน'

ความหมายของการรักษาสิทธิ[แก้]

การรักษาสิทธิ์ หมายถึง การกระทำใดๆที่ประชาชนได้กระทำการนั้น เพื่อคาดหวังถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเองอย่างเสมอภาค ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ตามที่ได้รับความคุ้มครอง และได้มีการกำหนดไว้ตามกฎหมาย โดยการกระทำนั้นไม่กระทบต่อสิทธิของที่ของผู้อื่น และสิทธินั้นไม่ถูกบั่นทอนจากผู้อื่นเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นการใช้สิทธิที่มีอยู่นั้นส่งผลให้เกิดประโยชน์ทุกภาคส่วน ทุกระดับ โดยปราศจากการลิดรอน การข่มขู่ การบังคับ ให้ใช้สิทธินั้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง

การรักษาสิทธิ์ที่ประชาชนควรที่จะได้รับและพึงกระทำ[แก้]

1.1.1 การศึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย และสามารถที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว อันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์กับตนเอง หรืออาจจะนำไปต่อยอด ปรับใช้ในท้องถิ่นตน เพื่อป้องกันการตกเป็นเครื่องมือของผู้มีอิทธิพล ที่ต้องการจะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากประชาชน

1.1.2 การแสดงความคิดเห็น การพูด การพิมพ์ ตั้งแต่ในระดับชุมชนกระถึงระดับประเทศ ที่เป็นการแสดงออกถึงความต้องการที่แท้จริงจากประชาชน

1.1.3 การรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อที่จะเป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดการทะเลาะวิวาท ในเรื่องที่ประชาชนบางภาคส่วนมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน

1.1.4 ประชาชนสามารถที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับราชการได้ หากข้อมูลนั้นมิได้เป็นข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อความมั่งคงของประเทศนั้นๆ

1.1.5 หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานรัฐ สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทางปกครอง อันจะมีผลหรืออาจจะมีผลกระทบต่อสิทธิของตน

      1.1.6 เมื่อเกิดเหตุการณ์หรือประสบปัญหาที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานรัฐ สามารถเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และควรทีจะได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันสมควร

1.1.7 ประชาชนสามารถชุมนุม รวมตัวกันได้ แต่ต้องปราศจากอาวุธใดๆ และการชุมนุมรวมกลุ่มนั้นมิได้สร้างความเดือดร้อนหรือส่งผลกระทบต่อผู้อื่น

1.1.8 หากประชาชนประสงค์ที่จะจัดตั้งพรรคการเมือง และมี่คุณสมบัติครบตามที่ได้กำหนดไว้แล้วนั้น ประชาชนสามารถที่จะรวมกลุ่มกัน แล้วมีการจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง เพื่อดำเนินกิจกรรมตามเจตนารมณ์ของประชาชนเอง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

1.1.9 ประชาชนให้ความร่วมมือในการเลือกตั้งต่างๆทุกครั้ง ไม่ว่าการเลือกตั้งนั้นจะเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศก็ตาม เพราะจะแสดงถึงการใช้สิทธิที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งเพื่อตนเองและประชาชนคนอื่นๆในประเทศ[1]

ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชน[แก้]

       การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง กระบวนการที่ประชาชนหรือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์หรือเสียผลประโยชน์นั้น ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และได้กำหนดปัญหาความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง 

แสดงให้เห็นว่าประชาชนหรือกลุ่มคนในองค์กรชุมชน มีอำนาจที่จะระดมความสามารถในการจัดการบริหารทรัพยากร การตัดสินใจ การดูแลหรือการควบคุมกิจกรรมต่างๆ มากกว่าที่จะเป็นฝ่ายรับฟังแล้วนำไปปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ประชาชนนั้นกำหนดทิศทางในการดำรงชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น ตามเป้าหมายหรือความต้องการของตนเองตามความจำเป็น อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาในด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ ภูมิปัญญาและการจัดการของประชาชน ที่ได้พัฒนาตามโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา[2]

หัวใจของการมีส่วนร่วมของประชาชน[แก้]

       1.	การเริ่มต้นเร็ว (Starting Early) : ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นระยะแรก เพราะประชาชนจะได้มีเวลาคิดทบทวนทางเลือก แนวทางในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ตระหนักถึงปัญหาความจำเป็นและการหาข้อมูลพื้นฐาน
       2.	ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders) : ให้ความสำคัญทั้งกับผู้ที่รับผลประโยชน์หรือผู้เสียผลประโยชน์ แก้ไขปัญหาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพราะประชาชนจะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน
       3.	ความจริงใจ (Sincerity) : ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้การบริหารการมีส่วนร่วมประสบความสำเร็จ ต้องมีการจัดกระบวนการอย่างจริงใจ เปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติ และให้เกียรติกัน
       4.	วิธีที่เหมาะสม (Suitability) : ในการเลือกเทคนิคหรือรูปแบบในการมีส่วนร่วมของประชาชน จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ความแตกต่างของพื้นที่ วัฒนธรรม สังคม และค่านิยม ระดับความสนใจ ความพร้อมและข้อจำกัดของหน่วยงานของรัฐ ในการจัดกระบวนการการมีส่วนร่วม[3]

การบริหารจัดการกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน[แก้]

การมีส่วนร่วมในการสร้างประชาธิปไตยระดับประเทศ[แก้]

       1.ประชาธิปไตยสร้างได้จากครอบครัว โดยที่สมาชิกในครอบครัวมีการร่วมแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน 
       2.การยอมรับเสียงส่วนมากจากการแสดงประชามติ เพราะเป็นการแสดงออกโดยเสรีและสุจริตของประชาชนทุกคน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม และช่วยให้สิ่งที่เป็นเสียงส่วนใหญ่นั้นนำสู่จุดหมายตามต้องการ
       3.การเคารพสิทธิต่อกันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ คือ การคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของตนเอง ที่จะไม่กระทบถึงสิทธิของผู้อื่น 
       4.เคารพความแตกต่างที่เป็นวิถีประชาธิปไตย เพราะความแตกต่างนั้นจะทำให้เกิดทางเลือก และประชาชนนั้นก็จะเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด อีกทั้งเป็นการร่วมแสดงความคิดเห็นที่เป็นหน้าที่และเป็นสิทธิเสรีภาพที่จะกระทำ แม้ความคิดเห็นนั้นจะแตกต่างจากผู้อื่นก็ตาม
       5.การเลือกตั้งจะต้องโปร่งใสและเป็นธรรม ไม่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ไม่เช่นนั้นสังคมประชาธิปไตยจะไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบการทำงานของทุกภาคส่วนซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังต้องสร้างให้ประชาสังคมนั้นเข้มแข็งด้วย[4]

การมีส่วนร่วมประชาธิปไตยระดับท้องถิ่น[แก้]

       1. การมีส่วนร่วมฐานะวิธีการ จะเป็นการแสดงถึงการสะท้อนมุมมอง ความเชื่อ และแนวปฏิบัติที่มีความหลากหลายอย่างแท้จริง ประชาชนมีส่วนร่วมเต็มที่ แต่บางครั้งอาจเป็นการตกเป็นเครื่องมือของบุคคลที่มีอำนาจ ตลอดจนการแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวก้าวสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้
       2. การมีส่วนร่วมฐานะวิธีการ เป็นวิธีการที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ โดยมุ่งเน้นที่การคิด การแสดงออก และแก้ไขปัญหา กระตุ้นให้ประชาชนได้เป็นผู้กำหนดนโยบาย นำสู่การปฏิบัติที่เหมาะสม

3.การปรับเปลี่ยนบทบาท ปรับเปลี่ยนฐานความคิดของบุคคลต่างๆในระดับชุมชนรวมถึงระดับท้องถิ่น ให้ตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของตนที่ได้รับผิดชอบมากยิ่งขึ้น 4.ผู้นำต้องฟังเสียงจากประชาชนในท้องถิ่น เพราะผู้นำเพียงคนเดียวนั้นจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้เพียงคนเดียว จะต้องพึ่งพาหรือต้องมีทีมงานในการทำงานที่จะช่วยกันวางแผนต่างๆ 5.การมีส่วนร่วมโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่น กับการมีส่วนร่วมโดยอ้อมของสมาชิกท้องถิ่นผ่านรูปแบบตัวแทนนั้น สามารถดำเนินการสลับกันได้ โดยจะขึ้นกับสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม หรือเรื่องราวในขณะนั้นเป็นสำคัญ 6.มีการแลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกัน เกี่ยวกับสภาพที่ต้องการที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต อาจมาจากการที่ได้ไปศึกษามาจากท้องถิ่นอื่น สถานที่อื่น หรือจากความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นเอง[5]

เทคนิคการมีส่วนร่วม[แก้]

               5.1.1 เทคนิคการมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล
               ทั้งของหน่วยงานและของประชาชน เป็นการสื่อสารที่ต้องการที่จะรับทราบข้อมูลที่เป็นจริง สร้างความรู้ความเข้าใจให้ตรงกันทั้งของหน่วยงานและประชาชนเอง เพื่อที่จะเหลี่ยงเลี่ยงไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด เนื่องจากได้รับข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น การรายงานข่าวทางวิทยุหรือโทรทัศน์ 
               สถานการณ์ที่เหมาะสมกับการใช้ เป็นการตัดสินใจก่อนเริ่มทำกิจกรรมใดๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ เมื่อประชาชนไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัย
               5.1.2 เทคนิคการมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็น
               ต้องการที่จะทราบถึงความเป็นจริงเกี่ยวกับความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง และตรงกับความเป็นจริงของสถานการณ์หรือเหตุการณ์ รับรู้ถึงบุคลิกหรือลักษณะทั่วไปของบุคลิกภาพ ทัศนคติ ค่านิยม จากการแสดงอารมณ์หรือพฤติกรรมนั้น 
               สถานการณที่เหมาะสมกับการใช้ ระยะเริ่มต้นหรือก่อนที่จะดำเนินงาน เพื่อให้ข้อมูล ข้อคิดเห็น ทัศนคติจากบุคคลอื่นๆ แล้วนำไปประกอบการตัดสินใจเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
                5.1.3 เทคนิคการมีส่วนร่วมในรูปแบบการปรึกษา

ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาจากเดิมให้ดีมากยิ่งขึ้น มีการรับทราบความเป็นไปร่วมกัน มีการร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ซับซ้อน โดยที่ไม่ต้องมีการตัดสินใจ สถานการณที่เหมาะสมกับการใช้ เมื่อต้องการสื่อสารสองทาง หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน นำไปปรับปรุงรายละเอียด ข้อระมัดระวัง หรือเมื่อต้องการทราบถึงความก้าวหน้าในการทำงาน[6]

ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน[แก้]

1.สร้างทางเลือกในการพิจารณา เพื่อที่จะเพิ่มคุณภาพในการตัดสินใจนั้นให้มีความรอบคอบมากยิ่งขึ้น 2.เมื่อการตัดสินใจนั้นเป็นที่ยอมรับจะช่วยลดความขัดแย้งและการสูญเสียเวลา พร้อมทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายระหว่างการนำไปปฏิบัติ 3. การสร้างสำนึกให้ประชาชนรู้สึกว่าตนเองนั้นเป็นเจ้าของ แล้วมีความกระตือรือร้นให้เกิดความสะดวกง่ายดายในการนำไปปฏิบัติ

       4.เจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมีความใกล้ชิดต่อกัน ไวต่อความรู้สึกที่จะเป็นห่วงหรือกังวล เพื่อให้ตอบสนองต่อความกังวลของกันและกัน[7]

สรุป[แก้]

     การรักษาสิทธิสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นเป็นปัจจัยหลักที่จะเป็นการส่งเสริม และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยจะเน้นให้ประชาชนนั้นได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ การวางแผนพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม อีกทั้งยังจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง หรือช่วยตรวจสอบอำนาจของรัฐในทุกระดับ ตลอดจนปรับปรุงกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อที่จะลดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน ที่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบ และสมารถดำเนินงานให้สำเร็จตามที่ได้กำหนดเป้าหมายไว้ ให้เกิดการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

อ้างอิง[แก้]

  1. MGR Online (นามแฝง) , “หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ” , 18 เมษายน 2550, http://astv.mobi/A38GqM8 , (สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2560).
  2. พัชรี สิโรรส และคณะ , (2551) , คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) หน้า 16 .
  3. พัชรี สิโรรส และคณะ , (2546) , คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน ,หน้า 2-5,2-6,2-7 .
  4. เทศา ธรรมชน , (2555) , ประชาธิปไตยต้นแบบ , หน้า 11,13,17,26,29 .
  5. ปาริชาติ สถาปิตานนท์ และคณะ , (2549) , การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย , หน้า 25,26,27,28,29,30,31 .
  6. พัชรี สิโรรส และคณะ , (2551) , คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) หน้า 35,36,109,114,151,153 .
  7. พัชรี สิโรรส และคณะ , (2551) , คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) หน้า 2-3,2-4 .