ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Chalalai akulkel/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายของอิลมุลฮะดีษ

อิลมุลฮะดีษหรืออุลูมุลฮะดีษ  ( علم الحديث- علوم الحديث) เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฏเกณท์ที่จะนำไปสู่การรู้จักถึงสถานะภาพต่างๆ ของสายรายงานฮะดีษ (سند) และตัวบทฮะดีษ (متن)

ดังนั้นจากนิยามข้างต้น ทำให้เข้าใจได้ว่า อิลมุลฮะดีษเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการวินิจฉัยสถานะภาพของสายรายงาน และตัวบทฮะดีษ ตลอดจนการวิเคราะห์และทำความเข้าใจต่อเนื้อหาของฮะดีษ

แขนงต่างๆ ของอิลมุลฮะดีษ

เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น มีการแบ่งศาสตร์นี้ออกเป็นแขนงต่างๆ ที่สำคัญดังต่อไปนี้

อิลมุลริยาล (رجال الحديث علم الرجال-)

เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้รายงานฮะดีษ ที่มีปรากฏอยู่ในสายรายงาน เพื่อให้ได้มาถึงความน่าเชื่อถือของผู้รายงาน หรือความไม่น่าเชื่อถือ

ศาสตร์แขนงนี้จะทำหน้าที่พิจรณาและวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้รายงานฮะดีษเป็นรายบุคคล โดยจะยึดเอาคุณสมบัติที่ มีผลต่อการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ หรือไม่น่าเชื่อถือของผู้รายงาน เช่น การมีความสัตย์จริง ไม่เป็นผู้โกหก มีความสามารถด้านความจำดี ไม่สับสน มีหลักศรัทธาที่ถูกต้อง และอื่นๆ

อิลมุลดิรอยะฮฺ (علم الدراية)

เป็นศาสตร์ที่กล่าวถึงสถานะภาพต่างๆ ของสายรายงานและตัวบทฮะดีษ ซึ่งบางครั้งจะเรียกศาสตร์นี้ว่า อุศูลุลฮะดีษ (اصول الحديث)

ศาสตร์แขนงนี้จะมีหน้าที่วินิจฉัยสภาพโดยรวมของสายรายงานโดยมิได้แยกผู้รายงานเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ได้มาซึ่งสถานะภาพของสายรายงานว่า น่าเชือถือหรือไม่อย่างไร จะแตกต่างกับอิลมุลริยาล

ในอิลมุลดิรอยะฮฺ นอกจากจะวินิจฉัยสายรายงานแล้ว ศาสตร์แขนงนี้ยังได้ทำการวินิจฉัยตัวบทฮะดีษอีกด้วย เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ถึงสถานะภาพของฮะดีษว่ามิได้ถูกกุขึ้นมา หรือมีการเปลี่ยนแปลงตัวบทให้แตกต่างไปจากเดิม

ฟิกหุลฮะดีษ (فقه الحديث)

เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการทำความเข้าใจต่อเนื้อหาของฮะดีษ เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อตัวบทฮะดีษ และสิ่งที่ฮะดีษต้องการที่จะนำเสนอ

ศาสตร์แขนงนี้ จะแตกต่างกับอิลมุลดิรอยะฮฺตรงที่ อิลมุลดิรอยะฮฺ จะตรวจสอบหรือวินิจฉัยตัวบทฮะดีษจากสภาพภายนอก แต่ฟิกหุลฮะดีษ จะทำการวินิจฉัยหรือวิเคราะห์ตัวบทฮะดีษในด้านความหมาย หรืออาจเรียกว่า วิชาด้านการอรรถาธิบายตัวบทฮะดีษ

สามแขนงที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสามศาสตร์หลักๆ ที่สำคัญของอุลูมุลฮะดีษ และนอกจากสามแวขนงที่กล่าวไปแล้ว อุลูมุลฮะดีษยังแบ่งออกเป็นศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น อิลมฺ มุคตะละฟุลฮะดีษ (علم مختلف الحديث),  อิละลุลฮะดีษ (علل الحديث ),ฆอรีบบุลฮะดีษ (غريب الحديث),อิลมุลยะหรฺวัตตะอฺดีล (علم الجرح و التعديل) และอื่นๆ [1] ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะเกี่ยวพันหรือกลับไปที่สามแขนงที่สำคัญทั้งสิ้น จึงถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องอธิบายแขนงต่างๆ เหล่านั้นอีก

  แต่มีนักวิชาการด้านฮะดีษบางท่านของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ โดยเฉพาะในยุคหลังได้ยอมรับและแบ่งอุลูมฮะดีษ ออกเป็นสองแขนงที่สำคัญ คือ “อิลมุลฮะดีษ ริวายะตัน” และ “อิลมุลฮะดีษ ดิรอยะตัน” [2]

อ้างอิง

นิฮายะตุดดิรอยะฮฺ หน้า 26 ถึง 29 และอุลูมุลฮะดีษ ศุบฮีซอแหละห์ หน้า 107 ถึง 112

อุศูลลุลฮะดีษ ดร.อัจญาจญ์ หน้า 7 และอุลูมุลฮะดีษ ศุบฮีซอแหละห์ หน้า 105

علم الحدیث