ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Chachai iz

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การพัฒนาและเพิ่มผลผลิตปลาสวายโมง (Thai Panga) เพื่อการส่งออก (The improvement of Thai Panga production for export)[แก้]

บทคัดย่อ[แก้]

จากการที่มีการเริ่มเลี้ยงปลาสวายโมงซึ่งเป็นปลาลูกผสมในสกุล Pangasius ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องการหาแหล่งพลังงานสําหรับอาหารปลาที่มีราคาถูก เพื่อนํามาเป็น ส่วนประกอบในการทําอาหารสําหรับปลาสวายโมง โดยได้ศึกษาความสามารถในการใช้คาร์โบไฮเดรตใน อาหารสําหรับปลาสวายโมงขนาดเล็กและปลาขนาดวัยรุ่นจนถึงตัวเต็มวัย เพื่อทราบความเป็นไปได้ในการใช้ มันสําปะหลัง ซึ่งมีจํานวนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สําหรับการทดสอบอาหารในปลาขนาดเล็ก ได้ ทดลองเลี้ยงปลาสวายโมงด้วยขนาดเริ่มต้น 11.55±1.70 กรัม ด้วยอาหารทดลองที่มีระดับโปรตีนประมาณ 30%และมีระดับคาร์โบไฮเดรต 5 ระดับได้แก่ 42% 44% 46% 48%และ 50% ตามลําดับ โดยใช้มัน สําปะหลังเป็นส่วนผสมในการปรับระดับคาร์โบไฮเดรตในอาหาร ที่ระดับ 19% 23% 27% 31%และ 34% ตามลําดับ ทดลองเลี้ยงในตู้กระจกขนาด 12×24×15.2 นิ้ว ใช้ระบบน้ำหมุนเวียน ความหนาแน่น 20 ตัวต่อตู้ ทดลอง ให้อาหารแบบกินจนอิ่มวันละ 2 ครั้ง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการศึกษาพบว่าน้ำหนักสุดท้ายมี ค่าประมาณ 81-144 กรัมน้ำหนักเพิ่มต่อวัน และ อัตราการเจริญเติบโตจําเพาะสูงที่สุดในกลุ่มที่เลี้ยงด้วย อาหารที่มีระดับคาร์โบไฮเดรต 46 % โดยมีความแตกต่างทางสถิติ (P0.05) น้ำหนักเพิ่มต่อวันของ ปลาทดลองมีค่าอยู่ระหว่าง 0.77-1.47 กรัมต่อวัน และอัตราการเจริญเติบโตจําเพาะมีค่าอยู่ระหว่าง 1.9-2.7 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน อัตราแลกเนื้อมีค่าอยู่ระหว่าง 1.5-2.3 โดยกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารทดลองที่มีระดับ คาร์โบไฮเดรต 50% มีค่าอัตราแลกเนื้อสูงที่สุดและแตกต่างทางสถิต(P0.05) ค่าประสิทธิภาพการใช้โปรตีน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม การเพิ่มขึ้นของระดับคาร์โบไฮเดรตในอาหาร แต่มีค่าลดลงเมื่อระดับคาร์โบไฮเดรตในอาหารเพิ่มเป็น 50% จากผลการศึกษาสรุปว่าระดับคาร์โบไฮเดรตในอาหารสําหรับปลาสวายโมงอายุ 1-4 เดือน มีค่าประมาณ 46% โดยมีส่วนผสมของมันสําปะหลังประมาณ 27% ทดลองเลี้ยงปลาสวายโมงขนาดเริ่มต้น192.94±24.38 กรัม ด้วยอาหารทดลองที่มีระดับโปรตีนและ คาร์โบไฮเดรตที่แตกต่างกันดังนี้ กลุ่มที่ 1-3 เลี้ยงด้วยอาหารทดลองที่มีระดับโปรตีน 25% และมีระดับ คาร์โบไฮเดรต 37% 46%และ 53% ตามลําดับ กลุ่มที่ 4 เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีน 23% คาร์โบไฮเดรต 57% กลุ่มที่ 5 เลี้ยงด้วยอาหารทดลองที่มีระดับโปรตีน 19% คาร์โบไฮเดรต 61%ทดลองเลี้ยง ในกระชังโครงเหล็กตาข่ายทําจากไนลอน กระชังขนาด 1x1x1.5 ลูกบาศก์เมตรแขวนอยู่ในบ่อดินขนาด 5 ไร่ บ่อลึก 1.2 เมตร ความหนาแน่น 20 ตัวต่อกระชัง ให้อาหารแบบกินจนอิ่มวันละ 2 วันละ2 ครั้ง ทดลองเลี้ยง เป็นเวลา 171 วัน ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนักสุดท้ายมีค่าอยู่ระหว่าง 861-1,109 กรัม น้ำหนักเพิ่มต่อวันสูงที่สุด 5.25 กรัมต่อวัน พบในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีน 25% คาร์โบไฮเดรต 53% แต่ไม่แตกต่าง ทางสถิติ (P>0.05) กับอีก 2 กลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีนเท่ากันและมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วย อาหารที่มีโปรตีน 23%และ 19% ตามลําดับ โดยมีความแตกต่างทางสถิติ(P<0.05) อัตราแลกเนื้อมีค่าอยู่ ระหว่าง 2.3-2.4 ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ(P>0.05) ประสิทธิภาพการใช้โปรตีนสูงที่สุด 2.2 พบในกลุ่มที่ เลี้ยงด้วยอาหารที่มีโปรตีน 19% โดยมีความแตกต่างทางสถิติ (P0.05)กับกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีน 23%สําหรับองค์ประกอบทาง เคมีพบว่า เปอร์เซ็นต์เถ้า เปอร์เซ็นต์ไขมัน ในเนื้อปลา มีค่าไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) แต่ค่าเปอร์เซ็นต์ โปรตีนในเนื้อปลาในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีน 25% มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีน 23และ 19% ตามลําดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) ผลการศึกษาการทํางานของกิจกรรมเอนไซม์ ในท่อทางเดินอาหารและตับในปลาสวายโมงขนาดวัยรุ่นถึงตัวเต็มวัย พบว่าปลาสวายโมงมีเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เอนไซม์ ทั้งสามชนิดได้แก่ โปรติเอส(protease) อะไมเลส (amylase)และ ไลเปส (lipase) สามารถพบได้ในทั้ง 3 อวัยวะได้ แก่ กระเพาะอาหาร ลําไส้ และ ตับ โดยค่ากิจกรรมเอนไซมโปรตีเอสในลําไสมีค่าค่อนข้างสูงกว่าค่ากิจกรรมเอนไซม์ชนิดอื่นในทั้ง 3 อวัยวะ และการเพิ่มระดับคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่มีระดับโปรตีนเท่ากัน ไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมเอนไซม์ในทั้งสามอวัยวะมากนัก ยกเว้นค่ากิจกรรมของไลเปสในลําไสของปลาทดลองในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารระดับโปรตีน 25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเพิ่มคาร์โบไฮเดรตจาก 37 เปอร์เซ็นต์ เป็น 53 และ 57 ค่ากิจกรรมการทํางานของเอนไซม์ไลเปสลดลง และมีความแตกต่างทางสถิติ(P<0.05)สรุปจากผลการศึกษาครั้งนี้ในการเลี้ยงปลาสวายโมงขนาดวัยรุ่นถึงตัวเต็มวัย สามารถใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนที่ 23 เปอร์เซ็นต์ และ คาร์โบไฮเดรต 57 เปอร์เซ็นต์ โดยมีส่วนผสมของมันสําปะหลัง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งให้ผลอัตราการเจริญเติบโตและอัตราแลกเนื้อไม่แตกต่างจากกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดปลาดุกที่มีระดับโปรตีน 25 และ 30 เปอร์เซ็นต์ตามลําดับ

Abstract[แก้]

As the Thai Panga or hybrid Pangasius have been cultured and more practiced recently in Northeast of Thailand so it is necessary to find the cheap energy source for the fish diet. This study had been carried out to investigate the efficiency of carbohydrate utilization of fingerlings and juvenile to adult of Thai Panga. Cassava had been selected to be the carbohydrate source of the practical diets as it is ubiquitous in Northeast of Thailand. The fingerlings of Thai Pangawith the average initial weight of 11.55±1.70 g had been stocked in the recirculating aquarium with the size of 12×24×15.2 inches for 90 days. The experimental diets contained30% protein and composed of 5 levels of carbohydrate. Fish had been fed satiation twice a day. The final weight of experimental fish was between 81-144 g. The maximum daily weight gain (DWG) and specific growth rate (SGR) were obtained from fish fed 46% of dietary carbohydrate and significantly higher (P0.05) from the others. DWG and SGR were between 0.77-1.47 g/day and 1.9-2.7%/day respectively. The highest FCR was obtained from fish fed 50% dietary carbohydrate and significantly different (P0.05) from those fed 25% dietary protein and lower levels of dietary carbohydrate. But the DWG of fish fed 25% dietary ง protein and 53% dietary carbohydrate was significantly higher than those fed 23% or 19%. While the DWG of fish fed 25% dietary protein and 38% carbohydrate was not significantly different (P>0.05) than those fed 23% or 19% which contained 57% and 61% carbohydrate respectively. FCR was between 2.3-2.4 and there was not significantly differently(P>0.05) among treatments. The highest PER was obtained from fish fed 19% dietary protein and was significantly different (P0.05) of fillet ash and lipid but the fillet protein of fish fed 25% dietary protein was higher significantly (P<0.05) than the others. Three digestive enzymes i.e. amylase protease and lipase were found in three organs; stomach, intestine and liver andthe level of enzyme activities were not much different. The activity of protease in intestine was higher than the other enzymes in 3 organs. The increasing of dietary carbohydrate was not clearly affecting the enzyme activities except in fish fed 25% dietary protein once increased carbohydrate from 37% to 53% and 61% respectively the level of lipase activity was decrease significantly (P<0.05). The result showed the optimum of dietary protein and carbohydrate for the juvenile to adult of Thai Panga at 23% and 57% respectively which composed of 50% of cassava meal.

บทนำ[แก้]

1.1   ความสำคัญ[แก้]

จากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดนครพนมเลี้ยงปลาในตระกูล Pangasius ซึ่งได้แก่ปลาสวายโมงเป็นปลาลูกผสมเพื่อการส่งออก แต่จากการสัมภาษณ์เกษตรกรใน จังหวัดนครพนมที่มีการเลี้ยงปลาในสกุลนี้ พบว่าถ้าใช้อาหารเม็ดเช่นเดียวกับการเลี้ยงปลานิลจะทำให้ ต้นทุนค่าอาหารอยู่ระหว่าง 37-42 บาทต่อปลาหนึ่งกิโลกรัม แต่เนื่องจากใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าปลานิล ดังนั้นการศึกษาเพื่อลดต้นทุนค่าอาหารปลาใน สกุล Pangasius จึงมีประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกร โดยหลักโภชนศาสตร์ แหล่งพลังงานในอาหารที่มีราคาถูกได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นองค์ประกอบ หลักของวัตถุดิบที่ราคาถูกหลายชนิดที่มีทั่วไปในท้องถิ่น โดยเฉพาะมันสำปะหลัง มีการปลูกมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากปลาในสกุล Pangasius เป็นปลาในกลุ่ม Omnivore ดังนั้นจึงมี ความสามารถในการใช้วัตถุดิบในอาหารที่มาจากพืชและสัตว์ การศึกษาเบื้องต้นเพื่อทราบผลของ คาร์โบไฮเดรตต่อการทำงานของ digestive enzyme ประสิทธิภาพในการใช้อาหาร การเจริญเติบโต และคุณภาพเนื้อปลา จึงมีความส าคัญต่อการพัฒนาสูตรอาหารเพื่อให้การพัฒนาการเลี้ยงปลาสวายโมง ประสบความสำเร็จ

1.2 วัตถุประสงค์ [แก้]

1. ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร องค์ประกอบทางเคมี และคุณภาพเนื้อปลาสวายโมงที่ได้รับอาหารที่มีระดับคาร์โบไฮเดรตที่ต่างกัน

2. ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานการทำงานของ digestive enzyme (protease, lipase and amylase) ของปลาสวายโมง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสูตรอาหารสำหรับการเลี้ยงปลาสวายโมง

1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ[แก้]

ได้ทราบข้อมูลระดับคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมของปลาสวายโมงในช่วงอนุบาลปลาขนาดเล็ก และทราบระดับโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสม ในช่วงปลาขนาดวัยรุ่นจนถึงตัวเต็มวัย และข้อมูล พื้นฐานการทำงานของ digestive enzyme ของปลาสวายโมงซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสูตร อาหารสำหรับปลาสวายโมงที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งเพื่อเพิ่มพื้นที่การเลี้ยงปลาสวายโมง ซึ่งปกติจะ กระจายตัวอยู่ในแถบแนวแม่น้ำโขง จึงน่าจะเป็นการเพิ่มผลผลิตและการนำไปสู่การพัฒนาการเลี้ยง ปลาเชิงพาณิชย์เพื่อการส่งออกต่อไป และนำเทคนิคนี้ที่ได้นี้ไปเผยแพร่บริการวิชาการแก่ประชาชน (เกษตรกรที่ทำการเลี้ยงปลา) และฟาร์มเอกชนที่สนใจ 

หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ สถาบันการศึกษาต่างๆ กรมประมง ตลอดจน หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่สนใจ นอกจากนี้ผลงานวิจัยยังสามารถตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ นานาชาติที่เป็นที่ยอมรับ เช่น Aquaculture, Aquaculture Nutrition และ Fish Nutrition