ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Banditftu/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติและพัฒนาการบัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยฟาฏอนี เป็นมหาวิทยาลัยอิสลามเอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย เริ่มเปิดรับนักศึกษามาตั้งแต่ปี 2541 ในปีการศึกษา 2544/2545 ได้มีการเริ่มเปิดรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา โดยมีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 50 คน โดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

ในปีการศึกษา 2545 มหาวิทยาลัยได้ก่อตั้ง บัณฑิตวิทยาลัย เพื่อเป็นคณะที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุม กำกับ และดูแล การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา โดยแต่งตั้ง ดร.ญีฮาด บูงอตาหยง เป็นคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย

          ในปีการศึกษาที่ 2548 บัณฑิตวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สองสาขาวิชาด้วยกันคือ 1. สาขาวิชาชะรีอะฮฺ 2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม โดยมีดร.ดลวานะ ตาเยะ เป็นคณบดี เพื่อรับผิดชอบ ควบคุม กำกับและดูแลการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

          ในปีการศึกษาที่ 2551 บัณฑิตวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอาหรับและวรรณคดี และหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (การปกครอง) 

         ในปีการศึกษา 2553 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2553 มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้อนุมัติให้รองศาสตราจารย์ ดร.มุฮำหมัดซากี  เจ๊ะหะ เป็นคณบดี เพื่อรับผิดชอบ ควบคุม กำกับและดูแลการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จนถึงปัจจุบัน

ในภาคการศึกษาที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2555 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2555 ในคราวการประชุมครั้งที่ 5/2012 คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้อนุมัติให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานภายในหน่วยงานโดยยุบสำนักงานการวิจัยและเขียนตำราและโอนภารกิจงานวิจัยและการเขียนตำราให้กับบัณฑิตวิทยาลัยพร้อมกับเห็นชอบปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจาก “บัณฑิตวิทยาลัย” เป็น “บัณฑิตวิทยาลัยและการวิจัย” ทั้งนี้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555 ในคราวการประชุมครั้งที่ 43 (2/2012) สภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลาอนุมัติเห็นชอบข้อบังคับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ว่าด้วยการแบ่งส่วนงาน พ.ศ. 2555 โดยใช้ชื่อหน่วยงาน “บัณฑิตวิทยาลัยและการวิจัย”

          ในปีการศึกษาที่ 2558 บัณฑิตวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา ในปีการศึกษาที่ 2562 บัณฑิตวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอาหรับ และหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้