ผู้ใช้:ArsaHuajaiit/ทดลองเขียน
หน้าตา
![]() | นี่คือหน้าทดลองเขียนของ ArsaHuajaiit หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |
ก่อตั้ง | 18 มกราคม พ.ศ. 2495 |
---|---|
ประเภท | องค์กรสาธารณกุศลไม่แสวงหาผลกำไร |
ที่ตั้ง |
|
สมาชิก | สภากาชาด |
ภาษาทางการ | ภาษาไทย |
เว็บไซต์ | www.blooddonationthai.com |
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดสภากาชาดที่มีหน้าที่ในการจัดหาโลหิต โดยรับบริจากโลหิตจากผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ
ประวัติ
[แก้]- 18 มกราคม พ.ศ. 2495 หน่วยงานบริการโลหิตของสภากาชาดไทยเริ่มกิจการขึ้นอย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2496 สร้าง อาคารรังสิตานุสรณ์ เพื่อใช้เป็นที่ทำการแผนกบริการโลหิต
- 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 เริ่มการรับบริจาคโลหิตในระยะแรก ณ ตอนนั้นมีผู้บริจาคเพียงวันละ 6-8 ราย
- 6 เมษายน พ.ศ. 2496 ผู้บริจาคโลหิต หมายเลข 00001 คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย
- พ.ศ. 2498 เริ่มมีหน่วยเคลื่อนที่ไปรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่
- พ.ศ. 2499 เริ่มมีของที่ระลึกแก่ผู้บริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2504 สภากาชาดไทย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทยชุดแรกขึ้น เพื่อหาแนวทางให้มีการบริจาคโลหิตเพิ่มมากขึ้น
- 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 จัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ[1] ณ กรุงเทพฯ โดยกิจการได้ขยายไปยังส่วนภูมิภาค และเปิดสาขาบริการโลหิตขึ้นตามจังหวัดต่างๆ เพื่อจัดหาโลหิตให้เพียงพอแก่ผู้ป่วยภายในจังหวัด
- 13 ตุลาคม พ.ศ. 2512 เป็น "วันสถาปนาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ" สภากาชาดไทย
- พ.ศ. 2520 สร้างตึก 4 ชั้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ผลิตพลาสมาแห้งและแยกส่วนประกอบโลหิต
- พ.ศ. 2535 สร้างอาคารสูง 11 ชั้น ชื่อว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ"
- 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 เปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้เป็นอาคารที่ทำการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จวบจนปัจจุบัน
ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ
[แก้]- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 2 จังหวัดลพบุรี
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 3 จังหวัดชลบุรี
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 4 จังหวัดราชบุรี
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 11 อำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 12 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติจังหวัดภูเก็ต
- งานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ จ.ประจวบคีรีขันธ์
ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
[แก้]ทำเนียบผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย | |
---|---|
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. นายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์ | พ.ศ. 2496 - พ.ศ. 2517 |
2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญธรรม สุนทรเกียรติ | พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2524 |
3. แพทย์หญิง ประไพ ชูโต | พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2528 |
4. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ชัยเวช นุชประยูร | พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2541 |
5. แพทย์หญิง ศรีวิไล ตันประเสริฐ | พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544 |
6. แพทย์หญิง รัชนี โอเจริญ | พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2549 |
7. แพทย์หญิง สร้อยสอางค์ พิกุลสด | พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2559 |
8. นาวาโทหญิง แพทย์หญิง อุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์ | พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562 |
9. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ชัยเวช นุชประยูร | พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563 |
10. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ดุจใจ ชัยวานิชศิริ | พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน |