ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Areebet/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
                       ปี 2542-2546 องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง ได้สำรวจ บุกเบิก จัดทำแผนยุทธศาสตรการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ “อเมซอนแห่งอาเซียน”  หนึ่งในโครงการพัฒนาคือ “จุดชมทะเลหมอกไมโครเวฟฯ” 
                       จุดชมทะเลหมอก “ไมโครเวฟฯ” หรือ จุดชมทะเลหมอกอัยเยอร์เวง” เดิมชาวบ้านเรียกว่า “บูเก๊ะเฉง” หรือ “ภูเขาเจ๊ง” เพราะกว่าจะเดินทางถึง ก็หมดแรง ทิ้งข้าวของพอดี  ต่อมาเมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง มีการสำรวจบุกเบิก ได้ตั้งชื่อเป็น “เขาไมโครฯ” เพื่อให้เป็นสากลและเพื่อให้จดจำได้ง่าย จนกระทั้งในที่สุดกลายเป็น “จุดชมทะเลหมอกอัยเยอร์เวง”เพราะต้องการประชาสัมพันธ์ตำบลอัยเยอร์เวงให้เป็นที่รู้จักนั้นเอง 
                       แม้จะถูกบรรจุในแผนพัฒนาตำบลสามปีตลอดมา แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจนัก  จนกระทั้งในปี 2557 องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง จึงได้ว่าจ้างอาจารย์อุสมาน เจ๊ะซู จากแผนกสถาปัตย์ วิทยาลัยเทคนิคยะลาออกแบบแปลน แล้วเสนอโครงการเข้าแผนพัฒนาของจังหวัดยะลา ในยุคผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายเดชรัฐ สิมศิริ บรรจุเข้าในยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดยะลา “จากเบตง สู่ป่าฮาลา อเมซอนอาเซียน” และเพราะเป็นยุคที่สังคมกำลังใช้โซเชี่ยนมีเดียอย่างกว้างขวาง จึงทำให้ทะเลหมอกอัยเยอร์เวงได้เป็นที่รู้จักของสังคมในฐานะแหล่งท่องเที่ยวอันซีนอย่างรวดเร็ว 
                       ในที่สุดสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา ได้ก็แจ้งให้ องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง เสนอโครงการ พร้อมแบบแปลนที่สมบูรณ์ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวงเงินงบประมาณ 5 ล้าน (ปีงบประมาณ 2558)  ซึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวงก็ได้ดำเนินการตามแผน ขั้นตอนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 จนแล้วเสร็จ และ โครงการดังกล่าว ก็ได้รับการอนุมัติงบประมาณจำนวน 5 ล้านบาท ตามเป้าหมาย ตามด้วยโครงการพัฒนาซ่อมแซมแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 เป็นเงินงบประมาณ 2 ล้านบาท และ โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกละอองรุ้งเป็นเงิน 1 ล้านบาท  ซึ่ง 2 โครงการแรกอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนเบตง และโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกละอองรุ้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติบางลาง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยะลา
                       ในเหตุผลที่กล่าวถึงข้างต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา จึงมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยะลา เป็นผู้รับผิดชอบในการทำสัญญาก่อสร้างตามแบบแปลนโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง ตามระเบียบพัสดุฯแทนสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา 
                       ช่วงเวลาปลายปี 2557 ตั้งแต่ ตุลาคม – ธันวาคม 2557 จากการประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องขององค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวงผ่านโซเชียลมีเดีย จึงได้มีนักท่องเที่ยว เริ่มชักชวนกันมาท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้น ทั้งบุคคล และเป็นหมู่คณะ ทั้งยังกลับไปช่วยกันลงภาพประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย เฟสบุ๊ค จนนักท่องเที่ยวมามากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการ โดยเฉพาะระบบการจัดการความสะอาด ระบบจราจร การจำหน่ายอาหารและระบบรักษาความปลอดภัย จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง จะต้องดำเนินการใดๆโดยผ่านสภาสันติสุขตำบลอัยเยอร์เวง เทวีกลางของทุกภาคส่วน ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร อบต. ส่วนราชการ องค์กร กลุ่มอาชีพ สตรี เยาวชน และผู้นำศาสนา เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ ระหว่างรอการพัฒนาและบริหารจัดการจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง
                       ซึ่งในการดำเนินการนั้น ได้มีการจัดการระบบจราจรโดยคำแนะนำจาก สภ.อัยเยอร์เวง และมอบหมายให้ อาสาสมัครตำรวจท่องเที่ยว ร่วมกับ ชรบ. ม.4 เป็นผู้รับผิดชอบ  ในขณะที่การรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว ชรบ.ม.ที่ 2 และ ม.ที่ 4 จะร่วมกันรับผิดชอบ โดยมี จนท.ตำรวจ สภ.มาเป็นพี่เลี้ยง และรับผิดชอบ รปภ.ตามแนวถนน ส่วน จนท.ทหารพราน ดูแลรักษาความปลอดภัยรอบนอก โดย อบต.อัยเยอร์เวง สนับสนุนงบประมาณจ้างเหมา รปภ. หรือ อส.ทท.(อาสาสมัครช่วยเหลือนักท่องเที่ยว)สมทบ และการรักษาความสะอาด อบต.อัยเยอร์เวงจะเป็นดูแลร่วมกับ ราษฎรที่มาจำหน่ายสินค้า โดยจัดหานักการมาเสริมชั่วคราว ก่อนที่จะการก่อสร้างแล้วเสร็จ มีหน่วยงานผู้ดำเนินการบริหารจัดการเต็มระบบ
                       โดยมาตรการต่างๆที่ออกมาทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นมาตรการชั่วคราวที่ออกมาเพื่ออำนวยความสะดวกแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แก่นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ก่อนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการบริหารจัดการตามระบบมาตรฐานของอุทยานแห่งชาติ ต่อไป  
                       ซึ่งตามแผนการเดินทางมาท่องเที่ยวนั้น เริ่มต้นจากเมืองเบตง ในเวลา 5.00 น. เดินทางโดยรถยนต์ตามเส้นทาง 410 ยะลา-เบตง มาถึงแยกที่ กม.33 แล้วเลี้ยวซ้าย ขึ้นไปตามถนนลาดยางระยะทาง 5 กม. จะถึง 4 แยก แล้วเลี้ยวขวาอีก 1,000 ม. ก็จะถึง จุดชมทะเลหมอกที่ 2 และ 3 ขึ้นไปอีก 1,000 ม. ก็จะถึงจุดที่ 1 และจุดที่ 4 ซึ่งเป็นจุดชมหมอกที่สวยที่สุด สามารถชมทะเลหมอกได้ 270 องศา แล้วจึงลงมาชมทะเลหมอกที่ จุด 2 และ 3 พร้อมรับประทานอาหารเช้าแบบท้องถิ่น เป็นน้ำชา กาแฟ ข้าวยำ ข้าวหมก โรตี ข้าวต้ม ไก้ย่างข้าวเหนียวราคาถูก สามารถนั่งชมหมอกจนถึง เวลา 8.30 น.เลยทีเดียว        
                       หลังจากชมทะเลหมอก นักท่องเที่ยวก็มักนิยมลงมาถ่ายรูปตรงสะพานไม้แขวน แตปูซู ที่ กม.32 ซึ่งเป็นสะพานไม้เก่า ตั้งแต่ยุคตั้งถิ่นฐาน เสร็จก็เข้าไปอาบน้ำ เดินป่าธรรมชาติที่ น้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ที่อยู่ใกล้กัน เป็นน้ำตกที่สูง สวยงาม น้ำมากตลอดปี หรือจะไปเที่ยวน้ำตกละอองรุ้ง ที่อยู่ห่างไปอีก 8 กม. ตรงกม.40 ก็สวยไม่แพ้กัน  ต่อจากนั้นก็ไปชิมก๋วยจั๊บแข่ขา ก่อนจะล่องแก่งคายัคที่สุระทึกและสดชื่น จบด้วยการไปท่าเรือตาพะเยา อ.ธาโต ซึ่งห่างไปอีก 10 กม. ล่องเรือไปเล่นน้ำ พายเรือ ตกปลา รับประทานอาหารปลาสดๆที่เกาะทวด นอนพักที่บ้าน จุฬาภรณ์ฯ 9 เช้านั่งเรือไปชมฝูงกระทิง ดูฝูงนกเงือก พบปะชาวเผ่าซาไก ที่ปากคลองฮาลาเที่ยวน้ำตกฮาราซะห์ จุดชมหมอกหินโยก ที่พักสะอาดสะดวกสบาย ของพี่น้องผู้ร่วมพัฒนาชาติ  นับว่า ได้เข้าถึงพื้นที่ “อเมซอน แห่ง อาเซียน” ป่าที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยเลยทีเดียว