ผู้ใช้:Architect Council of Thailand
สภาสถาปนิก
[แก้]สภาสถาปนิก ชื่อภาษาอังกฤษ (Architect Council of Thailand ) เป็นองค์กรควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ได้ดำเนินงานภายใต้การบริหารของคณะกรรมการ สภาสถาปนิกซึ่งมาจากการเลือกตั้ง 15 ท่าน และแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย 5 ท่าน มีวาระชุดละ 3 ปี มีนายกสภาสถาปนิกเป็นผู้บริหารสูงสุดภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะสภานายกพิเศษแห่งสภาสถาปนิกและมีอํานาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
สภาสถาปนิกมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมของประเทศไทย เพื่อบริการแก่ประชาชนให้ได้รับมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่ดีพร้อมการเสนอแนะนโยบายด้านสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ
มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลรับรองหลักสูตรการศึกษา รับรองความรู้ความชำนาญ เพื่อออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมให้แก่สถาปนิกสาขาวิชาชีพ 4 สาขา รับรองหลักสูตรการศึกษารับรองความรู้ความชำนาญ เพื่อออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมประกอบด้วย 4 สาขาวิชาชีพ ดังนี้
[แก้]1.สาขาสถาปัตยกรรมหลัก
2.สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง
3.สาขาภูมิสถาปัตยกรรม
4.สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์
ทำเนียบนายกสภาสถาปนิก
[แก้]1.นายปรีดิ์ บุรณศิริ ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาปนิก วาระ พ.ศ. 2543-2546
2.นายมติ ตั้งพานิช ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาปนิก วาระ พ.ศ. 2547-2550
3.พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาปนิก วาระ พ.ศ. 2550-2553
4.รศ.ยุพยง เหมะศิลปิน ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาปนิก วาระ พ.ศ. 2553-2558
5.นายเจตกำจร พรหมโยธี ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาปนิก วาระ พ.ศ. 2558-2561
6.พลเรือเอก ฐนิธ กิตติอำพน ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาปนิก ( 12 กรกฎาคม 2561- 11พฤษภาคม 2562 )
7.พลอากาศตรีหม่อมหลวงประกิตติ เกษมสันต์ เป็นนายกสภาสถาปนิก วาระพ.ศ.2562-2564
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสถาปนิกปี 2543
[แก้]อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 6 ให้มีสภาสถาปนิก มีวัตถุประสงค์และอํานาจหน้าทีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้สภาสถาปนิกเป็นนิติบุคคล
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 7 สภาสถาปนิกมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
(2) ส่งเสริมความสามัคคีและไกล่เกลียข้อพิพาทของสมาชิก
(3) ส่งเสริมสวัสดิการและผดุงเกียรติของสมาชิก
(4) ควบคุมความประพฤติและการดําเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมให้ถูกต้องตามมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม
(5) ช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่ และให้บริการทางด้านวิชาการต่างๆ แก่ประชาชน และองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาการและเทคโนโลยีทางสถาปัตยกรรม
(6) ให้คําปรึกษา หรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายและปัญหาด้านสถาปัตยกรรมรวมทั้งด้านเทคโนโลยี
(7) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมของประเทศไทย
(8) ดําเนินการอื่นตามทีกําหนดในกฎกระทรวง
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 8 สภาสถาปนิกมีอํานาจและหน้าทีดังต่อไปนี้
(1) ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
(2) พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
(3) รับรองปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
(4) รับรองความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
(5) เสนอแนะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกําหนดและการเลิกสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
(6) ออกข้อบังคับสภาสถาปนิก
คณะกรรมการสภาสถาปนิก มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
[แก้]1.บริหารและดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาสถาปนิก
2.สอดส่องดูแลการดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติสถาปนิก
3.ออกระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยการใด ๆ ตามที่กำหนด ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัติสถาปนิก หรือตามที่ที่ประชุมใหญ่สภาสถาปนิกมอบหมาย
4.กำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณของสภาสถาปนิก
5.วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยาบรรณ อันอยู่ในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของสภาสถาปนิก หรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาสถาปนิกตามกฎหมายอื่น