ผู้ใช้:Alertz77/หน้าทดลอง
กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๓ (กองพันย่าโม)
[แก้]- ประวัติของหน่วย
๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ คือวันที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ เนื่องด้วยในวันนั้น เป็นวันที่กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๓ ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยสืบเนื่องมาจาก กรมทหารราบที่ ๓ ณ เมืองนครราชสีมา มีที่ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองข้างประตูตะวันออกซึ่งมีนามว่า “ประตูพลล้าน” หรือบริเวณวัดบูรพ์ในปัจจุบัน
เมื่อกรมทหารราบที่ ๓ ถือกำเนิดขึ้นได้ระยะหนึ่ง ได้เปลี่ยนนามเป็น กรมทหารราบที่ ๑๓ และ กรมทหารราบที่ ๑๕ ตามลำดับ และเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ หน่วยได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีฉลองพระบรมรูปทรงม้า
ต่อมา กรมทหารราบที่ ๑๕ ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น กรมทหารราบที่ ๖ และได้ยุบแปรสภาพเป็น ๑ กองพัน จนกระทั่งได้เปลี่ยนนามเป็น “กองพันทหารราบที่ ๑๖” ในวันที่๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ โดยมี ร.อ. หลวงขจรเดชะ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๑๖ ท่านแรก
เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๗ กองพันทหารราบที่ ๑๖ ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น กองพันทหารราบที่ ๒๐ โดยมี พ.ต. หลวงผจญอริพ่าย เป็นผู้บังคับกองพันในขณะนั้น และเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๙ หน่วยได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล อันเป็นมิ่งขวัญของหน่วย จนถึงปัจจุบัน
[แก้]ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๓
และเมื่อเดือนมกราคม ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ กรมทหารราบที่ ๓ ได้เปลี่ยนนามเป็น กรมผสมที่ ๓ กองพันทหารราบที่ ๒ คงขึ้นตรงต่อ กรมผสมที่ ๓ ตามสายการบังคับบัญชาเดิมเรื่อยมา
ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ ได้ปรับอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ใหม่ จากกองพันทหารราบที่ ๒ กรมผสมที่ ๓ เป็น “กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๓” ซึ่งใช้เป็นนามหน่วยมาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๓ หรือกองพันย่าโม มีที่ตั้งปกติอยู่ในค่ายสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และได้ยึดถือวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่หน่วยได้แปรสภาพจากกรมทหารราบเป็นกองพันทหารราบ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นวันครบรอบวันสถาปนาหน่วย
การปฏิบัติงานที่สำคัญภายในประเทศ
[แก้]๑. สงครามอินโดจีน
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๓ หน่วยได้เคลื่อนย้ายเข้าที่รวมพลที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยปฏิบัติการเข้าตีที่บ้านดู่ ได้ทำการรุกไล่ติดตามข้าศึกต่อไปถึงเมืองเก่า ฝั่งซ้ายปากเซ ทำการวางกำลังปิดตามแนวฝั่งน้ำโขง จนกระทั่งต่อมาได้มีการเจรจาและหยุดยิง ผลที่สุดสัญญาสงบศึกได้เกิดขึ้น หน่วยจึงได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังกลับ และเข้าสู่จังหวัดพระนครเพื่อเตรียมการสวนสนามฉลองชัยชนะในการรบ
๒. สงครามมหาเอเชียบูรพา
๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ หน่วยได้เคลื่อนย้ายกำลังจากที่ตั้งปกติ ไปยังจังหวัดเชียงราย โดยการนำของ พ.ต. ขุนเลื่อนรุกรบ ผู้บังคับกองพันในขณะนั้น หน่วยได้ปฏิบัติการเข้าตีลำน้ำหลวย อันเป็นชัยภูมิที่สำคัญที่ข้าศึกยึดครองอยู่ โดยมีกำลังพลเสียชีวิตจากการปฏิบัติการเพียง ๒ นาย ทำให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้มีวิทยุมาชมเชยทหารในกองพันนี้ว่า “...ปฏิบัติการข้ามลำน้ำต่อหน้าข้าศึกได้ด้วยความเรียบร้อย ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด นับว่าเป็นผลดีต่อทางราชการอย่างยิ่ง...”
๓. กบฏแมนฮัตตัน
๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๔ เกิดการจลาจลกรณีทหารเรือ (แมนฮัตตัน) หน่วยได้จัดกำลังสนธิกับ กองพันทหารราบที่ ๑ เป็นกองพันผสม เข้าควบคุมสถานการณ์ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระยะเวลา ๑ เดือน จึงได้เคลื่อนย้ายกลับที่ตั้งปกติ
๔. การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
หน่วยได้ปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย อำเภอนาแก กิ่งอำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม จนได้รับคำชมเชยจากผู้บังคับบัญชาตลอดมา ซึ่งต่อมา ร.ท. วีระพงศ์ คงเกษม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เข็มกล้ากลางสมร เนื่องจากปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้ผลดีเลิศ และปฏิบัติงานด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว
๕. การปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา (ช่องบก)
ในเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๐ พ.ท. สุชาติ ชื่นสมบูรณ์ ผู้บังคับกองพันในขณะนั้น ได้จัดกำลัง ๑ กองพันทหารราบ ในภารกิจป้องกันชายแดน ในพื้นที่ช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งภารกิจนั้น พ.ท. สุชาติ ชื่นสมบูรณ์ ได้เสียชีวิตในระหว่างปฏิบัติหน้าที่
๖. การปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา (ช่องโอบก)
ในเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๑ หน่วยได้จัดกำลัง ๑ กองร้อยทหารราบ เข้าร่วมกับกองพันทหารราบเฉพาะกิจที่ ๓๐๓ เข้าผลักดันข้าศึก ซึ่งได้รุกล้ำอธิปไตยของไทยที่บริเวณช่องโอบก อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในการปฏิบัติการครั้งนั้น หน่วยได้จัดกำลังเป็นชุดปฏิบัติการ เจาะสนามทุ่นระเบิดและสร้างที่กำบังเหนือศีรษะ เข้าประชิดถึงที่มั่นข้าศึกได้สำเร็จ หน่วยได้รับคำชมเชยจากกองกำลังสุรนารีและกองทัพภาคที่ ๒ เป็นอย่างมาก
๗. การปฏิบัติภารกิจป้องกัน และปราบปรามการก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต.
เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๘ รับผิดชอบพื้นที่ตำบลมะรือโบตก ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยมี ร.อ. ใหญ่ยิ่ง หาญสุทธิธรรม เป็นผู้บังคับกองร้อย
เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ รับผิดชอบในพื้นที่อำเภอปะนาเระ อำเภอยะหริ่ง อำเภอสายบุรี และอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ในนาม “ฉก.ปัตตานี ๒๒” โดยมี พ.ท. ชวรัชต์ ทรงสุนทร เป็นผู้บังคับกองพัน
เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ รับผิดชอบพื้นที่ตำบลประจัน ตำบลสะดาวา ตำบลสะนอ ตำบลระแว้ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี โดยมี ร.อ. วิทยา อินนาคกูล เป็นผู้บังคับกองร้อย
เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๔ รับผิดชอบพื้นที่ ตำบลตะลุโบะ ตำบลปูยุต ตำบลปะกาฮะรัง อ.เมือง จ.ปัตตานี โดยมี ร.อ. จักรพันธุ์ พุทธบุตร เป็นผู้บังคับกองร้อย
๘. การรักษาความสงบเรียบร้อย เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง
ในเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ หน่วยได้จัดกำลังกองร้อยรักษาความสงบเรียบร้อย เนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
๙. การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
ในเดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ ได้จัดกำลังกองร้อยช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และพื้นที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากเกิดวิกฤตมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทย
การปฏิบัติงานที่สำคัญในต่างประเทศ
๑. สงครามเวียดนาม
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๑ หน่วยได้ปฏิบัติราชการสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ในนามกองพันย่าโม) ได้สร้างวีรกรรมล็อกแอนไว้ เป็นเกียรติประวัติไว้กับกองพลทหารอาสาสมัครอย่างกล้าหาญ
๒. สงครามเกาหลี
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๒ หน่วยได้ร่วมทำการซักซ้อม เพื่อเตรียมตัวทำการรบ ณ ประเทศเกาหลี รุ่นที่ ๑๔
๓. การปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพที่ติมอร์ตะวันออก
เมื่อเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ หน่วยได้จัดกำลัง ๑ หมู่ปืนเล็กและฝ่ายอำนวยการ เดินทางไปปฏิบัติราชการ ในติมอร์ตะวันออก กกล.๙๗๒ ไทย/ติมอร์ ตอ. ผลัดที่ ๖ โดยมี ร.อ. ณรงค์ วิชญาณวรวุฒิ เป็นหัวหน้าคณะ
๔. การปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพที่ สาธารณรัฐซูดาน
หน่วยร่วมปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพ ณ เมืองมุกจาร์ แคว้นดาร์ฟูร์ตะวันตก สาธารณรัฐซูดาน โดยมี ร.ท. กฤษณพงศ์ เกิดทองคำ เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งในระหว่างปฏิบัติภารกิจนั้น หน่วยได้รับคำชมจากผู้บังคับบัญชา ทั้งจากกองทัพไทยและสหประชาชาติ จนเป็นที่ประจักษ์แก่หน่วยอื่นๆ ว่า “ทหารจากกองพันย่าโม มีระเบียบวินัยดี” และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เพื่อร่วมงานได้ ซึ่งแม้กระทั่งพลทหารยังได้รับมอบหมายหน้าที่สำคัญในการประสานงานต่างๆ แทนผู้บังคับบัญชาอีกด้วย
๒. การจัดหน่วย
ประกอบด้วยกองบังคับการกองพัน กองร้อยสนับสนุนการรบ กองร้อยสนับสนุนการช่วยรบ และกองร้อยอาวุธเบาจำนวน ๓ กองร้อย
๓. การปฏิบัติงานด้านต่างๆ
๑. การปลูกฝังและสร้างเสริมอุดมการณ์ทหาร
๒. การรักษาวินัย
๓. การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม
๔. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนารักษาขวัญ
๕. การดำรงสภาพความพร้อมรบ
๖. ด้านการใช้กำลัง
๗. ด้านการฝึก
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๓ ได้มีอดีตผู้บังคับบัญชาที่ได้เลื่อนตำแหน่งตามแนวทางรับราชการ อีกทั้งสร้างชื่อเสียงและเกียรติยศ แก่หน่วยไว้อย่างมากมาย ซึ่งกำลังพลของหน่วยในปัจจุบันได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเรื่อยมา
รายนาม ผบ.พัน.ของหน่วย ร.๓ พัน.๒
ลำดับ | ปี พ.ศ. | ยศ, นาม |
๑
๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๒๙ ๓๐ ๓๑ ๓๒ |
๒๔๗๕ - ๒๔๗๖
๒๔๗๖
๒๔๗๙ - ๒๔๘๒ ๒๔๘๒ - ๒๔๘๔ ๒๔๘๔ - ๒๔๘๖ ๒๔๘๖ - ๒๔๘๗ ๒๔๘๗ - ๒๔๘๙ ๒๔๘๙ - ๒๔๙๐ ๒๔๙๐ - ๒๔๙๒ ๒๔๙๒ - ๒๔๙๔ ๒๔๙๔ - ๒๔๙๖ ๒๔๙๖ - ๒๔๙๗ ๒๔๙๗ - ๒๕๐๐ ๒๕๐๐ - ๒๕๐๕ ๒๕๐๕ - ๒๕๐๗ ๒๕๐๗ - ๒๕๑๒ ๒๕๑๒ - ๒๕๑๓ ๒๕๑๓ - ๒๕๑๔ ๒๕๑๔ - ๒๕๑๖ ๒๕๑๖ - ๒๕๒๐ ๒๕๒๐ - ๒๕๒๓ ๒๕๒๓ - ๒๕๒๖ ๒๕๒๖ - ๒๕๓๐ ๒๕๓๐ - ๒๕๓๓ ๒๕๓๓ - ๒๕๓๙ ๒๕๓๙ - ๒๕๔๔ ๒๕๔๔ - ๒๕๔๘ ๒๕๔๘ - ๒๕๔๙ ๒๕๔๙ - ๒๕๕๔ ๒๕๕๔ – ปัจจุบัน |
ร.อ. หลวงขจรเดชะ ( เลื่อง นิติบุตร )
พ.ท. หลวงจรูญฤทธิไกร ( จรูญ โชติเสถียร ) พ.ต. หลวงขนบชำนาญยุทธ ( ทอง วรรณบูรณ์ ) พ.ต. หลวงผจญอริพ่าย ( หริ่ง เพ็ชรัตน์ ) พ.ต. หลวงจรูญพิทยายุทธ ( จรูญ เนตรวิจิตร ) พ.ต. ขุนวงศ์วิชิต ( วงศ์ สุทธิมณี ) พ.ต. ขุนเลื่อนรุกรบ ( เลื่อน ลีละชาติ ) พ.ต. พร บุญยรัตนพันธ์ พ.ต. ทุน เทียบศิลป์ชัย พ.ต.ปุ่น บุญฤทธิเสนีย์ พ.ท. สังคม วนะภูติ พ.ท. พิศิฏฐ์ ไกรจิตติ พ.ท. แช่ม อินทรสถิตย์ พ.ท. สงัด ปัจฉิมกุล พ.ท. ประภาส เวชภูติ พ.ท. กมล ภู่อารีย์ พ.ท. รณรงค์ เทพหัสดินทร์ พ.ท. อรุณ ศรีอุทัย พ.ท. ชัชย์ รัตนสมบูรณ์ พ.ท. อรุณ ศรีอุทัย พ.ท. จิระศักดิ์ ศาตราวาหะ พ.ท. เกียรติ อินทรกำแหง พ.ท. มาโนช บัวชุม พ.ท. ภาณุ โกศลสิทธิ์ พ.ท. สุชาติ ชื่นสมบูรณ์ พ.ท. ศักดิ์ศิลป์ กลั่นเสนาะ พ.ท. ชวลิต ชุนประสาน พ.ท. อรรถสิทธิ์ โชติรัตน์ พ.ท. เดชอุดม นิชรัตน์ พ.ท. ปราโมทย์ นาคจันทึก พ.ท. ชวรัตน์ ทรงสุนทร พ.ท. ณรงค์ วิชญาณวรวุฒิ |