ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Adisak Yodkaew/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติโรตารีตั้งแต่ชิคาโก จนถึงเกาะภูเก็ต (Brief History of The Rotary, from Chicago to Phuket)[แก้]

"โรตารี" ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2448 (ค.ศ.1905) ณ เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยคณะบุคคล 4 ท่านคือ พอล แฮริส (ทนายความ), ซิลเวสเตอร์ ชิลล์ (พ่อค้าถ่านหิน), ฮิแรม โชเลย์ (ช่างตัดเสื้อ) และกัสตาวัส โลห์ (วิศวกรเหมืองแร่) จากน้ำสโมสโรตารีแห่งที่ 2 ได้ก่อตั้งที่เมืองซานฟรานซิสโก เมื่อปีพ.ศ 2451 โรตารีได้ขยายไปประเทศใกล้เคียงคือ แคนาดา ในปี พ.ศ 2454 ตลอดจนอังกฤษและไอร์แลนด์

คำว่า "โรตารีสากล" (Rotary International) ได้เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ 2465 (ค.ศ. 1922)

ในดินแดน "แหลมทอง" โรตารีได้เริ่มต้นที่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ 2471 (ค.ศ 1928) โดยโรแทเรียน เจมส์ ดับบลิว เดวิดสัน จากสโมสรโรตารีแคลแกรี เมืองอัลเบอริต้า ประเทศแคนาดา เป็นผู้แทนพิเศษของโรตารี่สากล สำหรับการก่อตั้งสโมสรโรตารีในภูมิภาคตะวันออก

รทร.เดวิดสัน ได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) และเข้าเฝ้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมเพื่อกราบทูลเรื่องการก่อตั้งสโมสรโรตารีในประเทศไทย ในที่สุดจึงได้ก่อตั้งสโมสรโรตารีแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ 2473 (ค.ศ. 1930) โดยใช้ชื่อว่า "สโมสรโรตารี่กรุงเทพ" และได้รับสารตราตั้งจากโรตารีสากลเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930)

จากนั้นอีก 28 ปี จึงได้มีการก่อตั้งสโมสรโรตารีแห่งที่ 2 ในประเทศไทย คือ สโมสรโรตารีธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2501 สโมสรโรตารีแห่งแรกในภูเก็ต ได้รับการสถาปนา เมื่อปี พ.ศ. 2521 คือสโมสรโรตารีภูเก็ต และจากนั้นอีก 14 ปี จึงได้กำเนิดสโมสรโรตารีแห่งที่ 2 ของจังหวัดคือ "สโมสรโรตารี่ทุ่งคา" เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2535


สโมสรโรตารีทุ่งคา
สโมสรแห่งที่ 2 ของภูเก็ต

ผมเป็นนายกสโมสรโรตารีภูเก็ตในปี พ.ศ. 2534 - 2535 นับเป็นนายกสโมสรคนที่ 14 ตอนปลายสมัยปี ผมได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าการภาคบำรุง อดิพัฒน์ ให้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนว่าการภาคดูแลพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่

เมื่อผมสิ้นสุดตำแหน่งนายกสโมสรโรตารีภูเก็ตตามวาระแล้ว ในหน้าที่ของผู้แทนของผู้ว่าการภาค ผมคิดว่าผมควรจะทำผลงานอะไรสักอย่างให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรโรตารีระยะยาว และให้เป็นผลงานที่ยั่งยืน ผมเลยมีความที่จะก่อตั้งสโมสรใหม่อีกแห่งหนึ่งในภูเก็ต ด้วยมองเห็นว่าภูเก็ตเป็นจังหวัดที่จะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก จะมีนักธุรกิจใหม่เกิดขึ้นอีกเยอะ

โดยปกติ หลังเลิกประชุมสโมสรโรตารีภูเก็ตของคืนวันพุธ ผมกับคุณอนุรักษ์ ธารสิริโรจน์ อดีตนายกสโมสรโรตารีภูเก็ต และโรแทเรียนสาธิต อัศวธีระ มักจะลงมานั่งดื่มกันต่อในคอฟฟี่ช็อปโรงแรมเพิร์ล ซึ่งอยู่ชั้นล่างสุด ส่วนห้องประชุมสโมสรประจำสัปดาห์อยู่ห้อง CONFERENCE ชั้นที่ 12 ของโรงแรมแห่งเดียวกัน

มีอยู่คืนหนึ่ง ผมได้ยกเรื่องการก่อตั้งมาพูดคุยในเชิงหารือกับเพื่อนทั้งสอง ผมมีเหตุผลว่าเมื่อตอนสโมสรโรตารีภูเก็ตมีอายุครบ 10 ปี สโมสรของเราได้ก่อตั้งสโมสรโรตารีพังงา ขณะนี้สโมสรของเราจะอายุครบ 15 ปีแล้ว เราควรก่อตั้งสโมสรโรตารีในภูเก็ตแห่งที่ 2 ได้แล้ว

แต่การเสนอความคิดเห็นใดใดย่อมมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่สรุปว่าในที่สุดก็มีการก่อตั้งสโมสรโรตารีแห่งที่ 2 ในจังหวัดภูเก็ต (อ่านเบื้องหลังเรื่องนี้ในบทสัมภาษณ์เรื่อง "กว่าจะนับหนึ่งของสโมสรโรตารีทุ่งคา" ในวารสารฉบับนี้ได้)

ผมได้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมสภา อดีตนายกของสโมสรโรตารีภูเก็ต ที่โรงแรมถาวรแกรนด์พลาซ่า ในปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2535 และได้รับการอนุมัติจากสภา ตอนแรกผมรวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมายได้ร้อยกว่าชื่อเมื่อเป็นเช่นนี้ นายกสิทธิพงศ์ จิรายุศ นายกสโมสรภูเก็ตปี 2535 - 2536 จึงได้เสนอต่อผู้ว่าการภาคบำรุง อดิพัฒน์ ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2535 ผู้ว่าการภาคบำรุง อดิพัฒน์ จึงได้แต่งตั้งผมเป็นผู้แทนพิเศษอีกตำแหน่งหนึ่งนอกเหนือจากผู้แทนผู้ว่าการภาคเพื่อทำการก่อตั้งสโมสรแห่งที่ 2 ของภูเก็ต

แต่การหานายกก่อตั้งสโมสรไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องเพราะอดีตนายกบันลือ ตันติวิท ซึ่งเป็นนายกก่อตั้งสโมสรโรตารีภูเก็ต มีคุณสมบัติโดดเด่นหาคนเทียบเทียมได้ยาก ผมจึงขอร้องแกมบังคับให้เพื่อนสนิทผมคือโรแทเรียนสาธิต อัศวธีระ มาเป็นนายกก่อตั้ง และด้วยความที่ท่านเป็นคนขยัน เอาจริงเอาจัง และมีความตั้งใจทำงาน จึงทำให้การก่อตั้งสโมสรโรตารีทุ่งคาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย