ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Aa sutha/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แนวทางการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น[แก้]


แนวทางการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น


ความหมาย

  1. การกระจายอำนาจ หมายถึง การโอนกิจการสาธารณะบางเรื่องจากรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนกลางไปให้ชุมชนซึ่งตั้งอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศหรือหน่วยงานบางหน่วยรับผิดชอบจัดทำอย่างเป็นอิสระจากองค์กรปกครองส่วนกลาง[1]
  2. ส่วนกลางหรือราชการส่วนกลาง (ประเทศไทย) หมายถึง ราชการที่ดำเนินการและบริหารโดยหน่วยราชการในส่วนกลางของฝ่ายบริหาร เพื่อสนองความต้องการของประชาชนซึ่งจะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ
  3. ท้องถิ่นหรือการปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง รูปแบบการการบริหารจัดการบ้านเมืองระดับท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย ที่รัฐให้อิสระประชาชนในการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ

การกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น หมายถึง การที่รัฐบาลกลางมอบอำนาจในการบริหารจัดการกิจการสาธารณะบางประการให้ท้องถิ่นสามารถบริหารและจัดการได้เองแต่ยังคงอยู่ในขอบข่ายอำนาจที่รัฐบาลกลางสามารถตรวจสอบและกำกับดูแลได้


หลักการกระจายอำนาจและจุดแข็งจุดอ่อน
หลักการกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) คือ หลักการที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์การอื่นที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานการบริหารของส่วนกลางไปให้จัดทำบริการสาธารณะบางประการตามแต่สมควรซึ่งเป็นการมอบอำนาจให้ทั้งในด้านการเมืองและการบริหาร เป็นเรื่องที่ท้องถิ่นมีอำนาจที่จะกำหนดนโยบายและมีการควบคุมดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งจะมจุดแข็งและจุดอ่อนดังนี้

  • จุดแข็ง
  1. ตอบสนองความต้องการของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างตรงจุด
  2. แบ่งเบาภารtงานของส่วนกลาง
  3. ท้องถิ่นรู้จักการพึ่งพาและรับผิดชอบตนเองมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมและพัฒนาระบบการเมืองในระดับท้องถิ่นให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย
  • จุดอ่อน
  1. อาจเป็นการส่งเสริมให้มีการแก่งแย่งแข่งขันกันระหว่างท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อการปกครองที่ถือเป็นความมั่นคงของประเทศ
  2. การใช้อำนาจในทางที่ผิดของผู้ที่มีอำนาจในแต่ละท้องถิ่น
  3. สิ้นเปลืองงบประมาณ ในการจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นให้แต่ละท้องถิ่นซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก[2]


แผนการกระจายอำนาจ
แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณระรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ตามลำดับและแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2544 แล้วนั้น จึงนับได้ว่าแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543 เป็นแนวทางและจุดเริ่มต้นของพัฒนาการของการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างแท้จริง[3]


หลักการและสาระสำคัญของการกระจายอำนาจ

  1. หลักความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกำหนดนโยบายการปกครองการบริหารจัดการ การบริหารงานบุคคล และการจัดการการคลังขององค์การของตนเองได้
  2. หลักการบริหารการแผ่นดินและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เช่น การที่รัฐกระจายอำนาจให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาและตัดสินใจในการดำเนินงานหรือกิจการใดๆของตนเองได้มากยิ่งขึ้น
  3. หลักประสิทธิภาพการบริหารและการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การที่รัฐบาลกลางได้กระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่นท้องถิ่น เพื่อที่ให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่ดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต[4]


วัตถุประสงค์ของแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  1. เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชกำหนด
  2. กำหนดหลักการทั่วไปในการพิจจารณาการถ่ายโอนภาระกิจ รูปแบบในการถ่ายโอนภาระกิจ ระยะเวลาในการถ่ายโอน แนวทางการจัดแบ่งอำนาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะ แนวทางการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงิน การคลัง และบุคลากรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น[5]


เป้าหมายของแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  1. มีการถ่ายโอนภาระกิจในการจัดบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะต้องมีการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองให้มีความชัดเจน โดยหากมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีความพร้อมในการรับถ่ายโอนอำนาจหน้าที่และภาระกิจให้ดำเนินการถ่ายโอนภายใน 4 ปี และหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่ไม่พร้อมรับการถ่ยโอนอำนาจภายใน 4 ปี ให้ดำเนินการถ่ายโอนภายใน 10 ปี
  2. กำหนดการจัดการภาษีและอากร เงินอุดหนุนและรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม
  3. การจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการบริการสาธารณะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ ให้เป็นไตามความจำเป็นและความต้องการของแต่ละองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
  4. จัดระบบของการถ่ายโอนบุคลากรจากหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการถ่ายโอนภารกิจ
  5. ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการถ่ายโอนอำนาจและหน้าที่[6]


แนวทางการกระจายอำนาจ
การกำหนดนโยบายการกระจายอำนาจ ควรเริ่มด้วยการกำหนดภารกิจของรัฐบาลระดับชาติ-ระดับท้องถิ่นแต่ถ้ากิจกรรมใดควรมอบให้ท้องถิ่นดำเนินการเอง หรือกิจกรรมใดควรมอบให้ส่วนกลางเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งการแบ่งแยกหน้าที่ดังกล่าวนั้นควรอาศัยหลักผลประโยชน์สาธารณะ (public interest) และหลักประสิทธิภาพในการจัดการ (Management efficiency)

  • หลักผลประโยชน์สาธารณะ คือ กิจกรรมใดๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ภายในท้องถิ่นแห่งหึ่งแห่งใดโดยเฉพาะและไม่มีผลกระทบต่อท้องถิ่นอื่นๆ ให้ถือว่ากิจกรรมนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่น แต่ถ้ากิจกรรมใดเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติโดยส่วนรวม หรือระดับที่สูงขึ้นไปกว่าชุมชนย่อยๆเพื่อป้องกันปญหาการขัดแย้ง ในผลประโยชน์ระหว่างชุมชนต่างๆที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลระดับชาติจะมีหน้าที่ที่จะประสานประโยชน์และรักษาความเป็นธรรมในสังคม
  • หลักประสิทธิภาพ ถือว่าการจัดทำกิจกรรมใดๆควรต้องประหยัดโดยเฉพาะกิจการศาธารณะ (Public goods) บางประเภทต้องมีจำนวนผู้ใช้บริการมากๆหรือต้องเป็นชุมชนขนาดใหญ่จึงจะประหยัดต้นทุน ถ้าหากเป็นชุมชนเล็กๆนั้นอาจจะต้องจัดการผลิตบริการร่วมกัน เพื่อให้เกิดการประหยัดและสามารถใช้ประโยชน์จากบริการเหล่านั้นได้อย่าเต็มศักยภาพ
  • ลักษณะของการเลือกดำเนินกิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่น
  1. หน่วยการปกครองท้องถิ่นจัดผลิตบริการเองภายในชุมชน หรือร่วมกับชุมชนอื่นที่อยู่ไกล้เคียง เช่น กิจกรรมขนและทำลายขยะ ระบบระบายน้ำทิ้งและกำจัดน้ำเสีย ระบบประปาชุมชน
  2. หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นจัดผลิตบริการภายไต้มาตรฐานและการสนับสนุนรัฐบาลระดับชาติ เช่น การศึกษา สาธารณสุข
  3. หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมลงทุนกับรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน เช่น การจัดการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
  • แนวทางการปรับเปลี่ยน
  1. ถ่ายโอนอำนาจหน้าที่จากกระทรวง กรม ในส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาค โดยการมอบอำนาจหน้าที่ด้านการวางแผน การบริหารงบประมาณ การบริหารงานกลุ่มบุคคลต่างๆ
  2. การจัดสรรอำนาจหน้าที่ของจังหวัดให้แก่หน่วยการปกครองระดับท้องถิ่นต่างๆ[7]

ประเทศไทยกับการกระจายอำนาจ
ภายหลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศฉบับที่ 85/2557และ 86/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เกี่ยวกับการสรรหาสมาชิกสภาท้องถิ่นขึ้นทดแทนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่หมดวาระลง โดยกำหนดให้ใช้วิธีคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหานั้นก็ได้มีการกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวรวมทั้งได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า นี่อาจเป็นสัญญาณที่สะท้อนว่าจะมีการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางหรือไม่ บ้างก็กล่าวว่า คสช. ได้ประเมินสถานการณ์และความไม่พร้อมของท้องถิ่นที่จะให้มีการเลือกตั้ง จึงต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีการสรรหาหรือแต่งตั้งภายใต้อำนาจของข้าราชการส่วนภูมิภาคแทน ทั้งนี้ ในประกาศดังกล่าวได้ระบุว่าสถาการณ์ในปัจจุบันยังไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นได้โดยเรียบร้อย จึงต้องมีการออกประกาศฉบับนี้ขึ้นอย่างไรก็ตาม ประกาศดังกล่าวเป็นเพียงประกาศชั่วคราว ซึ่งได้ระบุว่าให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นไปก่อนจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง จึงยังไม่มีความชัดเจนว่าคนที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นจะต้องอยู่ในวาระนานเท่าใด อีกทั้งยังน่าเป็นห่วงว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องการกระจายอำนาจหรือการปกครองท้องถิ่นหรือไม่ แต่หาก คสช.ไม่มีแนวคิดที่จะกระจายอำนาจ ก็เป็นไปได้ว่าอาจเกิดกระแสต่อต้านขึ้นอย่างเงียบๆ ทั้งในแวดวงท้องถิ่นและนักวิชาการ รวมถึงประชาชนในพื้นที่ต่างๆด้วย ผู้เขียนจึงมีข้อสังเกตว่าการที่ คสช. ออกประกาศเช่นนี้ เพราะต้องการที่จะหยุดยั้งระบบการเมืองท้องถิ่นชั่วคราวเพื่อให้เกิดความราบรื่นในการเดินหน้าปฏิรูป หรือว่า คสช. มีแนวทางที่จะรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ประกาศ คสช. ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายใดและจะนำไปสู่อะไร จะมุ่งเน้นขับเคลื่อนการกระจายอำนาจหรือไม่ หรือมีแนวโน้มที่จะรวมศูนย์อำนาจหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่น่าติดตามกันต่อไป[8]

  1. ตระกูล มีชัย. (2538). การกระจายอำนาจ. หน้า 2
  2. รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม. (2550). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น : วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. หน้า 14-15
  3. รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม. (2550). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น : วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. หน้า 125
  4. รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม. (2550). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น : วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. หน้า 125
  5. รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม. (2550). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น : วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. หน้า 126
  6. รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม. (2550). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น : วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. หน้า 127
  7. ตระกูล มีชัย.(2538). การกระจายอำนาจ. หน้า 33-35
  8. แนวคิดเรื่องการรวมศูนย์อำนาจโดยละเอียดโปรดดู รายงานผลการศึกษาความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจในประเทศไทยและข้อเสนอ, สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หน้า 14 – 46