ผู้ใช้:AH Office/Documentation awaiting review amendments/ws-001
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ธรรมบท คือ พุทธพจน์ในรูปบทกวี[1] มีหัวข้อธรรมชั้นสำคัญรวบรวมเป็นหมวดหมู่ ธรรมบท หรือ ธมฺมปท เป็นเทศนาประเภทร้อยกรองของพระพุทธเจ้า ทรงแสดงแก่บุคคลตั้งแต่บรรพชิต คฤหัสถ์ นักปราชญ์ ตลอดชาวบ้านธรรมดา กระทั่งเด็กเล็ก ๆก็มีเนื้อหาการแสดงธรรมะ ธรรมบทมีทั้งหมด 423 คาถา แบ่งเป็น 26 วรรค นับเป็นหัวใจหรือสรุปคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นพระคัมภีร์บาลี คัมภีร์แรกที่ได้รับการแปลถ่ายทอดเป็นภาษาต่างประเทศมากที่สุด ธรรมบท ใช้เป็นหลักสูตรของพระสงฆ์ชั้นประโยค 3 - 6 ประโยค โดยเรียนควบคู่กับอรรถกถา ชื่อ " ธัมมปทัฏฐกถา " แต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 10 ธรรมบท มีลักษณะพิเศษ [2] สอนให้คิดเปรียบเทียบเป็นอุปมาอุปไมยดัดแปลงให้เป็นประโยชน์ เมื่อฝึกฝนตามข้อคิดจะได้บรรลุอรหันต์
หนังสือธรรมบท
[แก้]หนังสือธรรมบทเป็นหนังสือที่รู้จักกันดี นิยมกันอย่างแพร่หลาย เริ่มมาจากภาษาบาลีในพระไตรปิฎก, ซึ่งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ชื่อขุทกนิกาย ธรรมบท เป็นคำสอนที่ครอบคลุมทุกหลักการ เป็นคัมภีร์ที่นักปราชญ์มุ่งหมายให้ผู้คนทุกชั้นแปล เพื่อจุดมุ่งหมายของตนทางจิตใจ การแปลพระคัมภีร์ เป็นการนำเสนอ สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน การแปลเป็นฉบับตัวอย่าง ดังเช่น ฉบับของท่านขันติปาโล ภิกขุ ชาวอังกฤษ พระนารทเถระ แห่งศรีลังกา และศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิตไทย ก็อยู่ในทำเนียบผู้แปลที่สำคัญ ดังเป็นที่ทราบกันถึงประวัติ ว่าหนังสือธรรมบทเป็นบทร้อยกรองระดับคลาสสิคในวงวรรณกรรมทางศาสนา
ตัวอย่างการแปลธรรมบท บทที่ ๑
|
- ↑ ฉันทลักษณ์ทั้งหมดโดยมากเป็น ปัฐยาวัตรฉันท์
- ↑ ธรรมบท ได้รับการแปลเป็นสำนวนไทยมากหลายสำนวน รวมทั้งในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง
หมวดหมู่:แก้ไข ผู้ใช้:AH Office/Documentation awaiting review amendments