ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:ACCPR/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติโรงเรียน

    โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการเป็นโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 101 ซอยสาทร 13  ถนนสาทรใต้  แขวงยานนาวา  เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โรงเรียนได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2481  ผู้ก่อตั้ง คือ ภราดาโรเกชั่น (Bro. Rogation)  เนื่องจากขณะนั้นท่านสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก  ท่านมีความคิดที่จะฝึกเด็กให้มีความรู้ทางด้านวิชาชีพพิมพ์ดีดและวิชาชวเลข เพื่อว่าเมื่อจบการศึกษาแล้ว เด็กนักเรียนซึ่งไม่ประสงค์จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยจะสามารถเข้าทำงานในบริษัทของชาวยุโรปได้ ดังนั้น ท่านจึงจัดทำหลักสูตรสำหรับโรงเรียนพาณิชย์ขึ้นและขอเปิดโรงเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการสอนเมื่อวันที่  14  กรกฎาคม พ.ศ. 2481  ทำให้โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ เป็นโรงเรียนพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดทำการสอนโดยใช้สื่อการเรียนการสอนเป็น ภาษาอังกฤษ ภายใต้ชื่อ “อัสสัมชัญพาณิชย์”
    ในสมัยเริ่มแรกนั้น ทางโรงเรียนรับเฉพาะนักเรียนชายและมีการวางแนวนโยบายไว้อย่างชัดเจนในการฝึกฝนนักเรียนทางด้านธุรกิจและภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับสถาบันธุรกิจต่างชาติในประเทศไทย กลยุทธ์ทางด้านการวางแนวนโยบายเหล่านี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้ที่จบการศึกษามีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาและวิชาธุรกิจเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการธุรกิจต่างชาติ  ดังจะเห็นได้จากการที่นักเรียนชั้นปี 3 ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาถูกจองตัวล่วงหน้าจากสถานประกอบการธุรกิต่างชาติและองค์กรต่างประเทศ เช่น ยูเนสโก ESCAP และสถานทูตต่างๆ ฯลฯ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม นักเรียนเหล่านั้นก็ยัง ไม่สามารถเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้
    เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2511 โรงเรียนได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการให้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจ 4 ปีต่อมาได้พัฒนาเป็นวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (ABAC) หรือมหาวิทยาอัสสัมชัญ (AU)   ในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2516 โรงเรียนเริ่มเปิดรับนักเรียนหญิงเป็นปีแรกและกลายเป็นโรงเรียน สหศึกษาตั้งแต่นั้นมา เนื่องจากหลักสูตรของโรงเรียนที่เปิดสอนอยู่ถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับ ในวงการธุรกิจทั้งในและนอกประเทศ  แต่ยังมีข้อจำกัดในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากไม่ได้การรับรองความรู้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย กอรปกับถูกตัดสิทธิ์ในการเรียนวิชา  รักษาดินแดนโดยมีเหตุผลว่าเป็นโรงเรียนประเภท 15(2)	

ปีการศึกษา 2525 ทางโรงเรียนได้ขออนุญาตเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตร 3 ปี โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ" ทำให้นักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลายและได้สิทธิ์เรียนวิชารักษาดินแดนด้วย

    ปีการศึกษา 2530 โรงเรียนได้ขออนุญาตเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หลังจากโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการดำเนิน การสอนโดยใช้หลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นเวลา 9 ปี (2525 – 2533) นักเรียนที่สำเร็จการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้รับการยอมรับจากวงการธุรกิจ ศิษย์เก่า ผู้ปกครองว่ายังคงรักษาเอกลักษณ์และคุณภาพเดิมไว้ ผู้บริหารจึงได้ตัดสินใจขอปิดโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ โรงเรียนประเภท 15(2) ในปี พ.ศ. 2533
    ปีการศึกษา 2536 ขอเปลี่ยนแปลงการใช้หลักสูตรปวช. จากเดิมใช้หลักสูตรปวช. ของกรมอาชีวศึกษา มาใช้หลักสูตร ปวช. ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
    ปีการศึกษา 2539  
         -	โรงเรียนได้ขอเปิดแผนการเรียนการสอนที่ใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษโดยเรียกว่า แผนการเรียน A (Program A) และเรียกแผนการเรียนเดิมว่าแผนการเรียน B (Program B) โดยให้นักเรียนเลือกเรียนได้ตามความประสงค์ของผู้เรียน
         -	โรงเรียนสร้างความร่วมมือกับ Beijing Language Culture University จัดให้มีการสอนภาษาจีนกลางขึ้นนอกเหนือจากภาษาอังกฤษที่เปิดสอนมาแต่เดิม
         -	สร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการและบุคลากรในประเทศอังกฤษ Bromley College ในหลักสูตร Cambridge Business Skills (CBS) ซึ่งควบคุมโดย มหาวิทยาลัย Cambridge ปีการศึกษา 2540  
         -	สร้างความร่วมทางวิชาการกับสถาบันอินเตอร์เทคโนโลยี
         -	สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของรัฐ ประเทศออสเตรเลีย Chisholm Institute
         -	ได้รับเกียรติเข้าร่วมโครงการพระราชทานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยสอนภาษาจีนทางไกลผ่านดาวเทียม ณ โรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน ตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน ปีการศึกษา 2542  
         -	สร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยอีสเทิรน์ (14 มีนาคม 2542)
         -	สร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (8 มีนาคม 2542) โดยให้โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการเป็น  PRE – ABAC
         -	โรงเรียนได้รับการประกันคุณภาพและรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  
    ปีการศึกษา 2543 ขอเปลี่ยนแปลงหลักสูตรจากประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลมาใช้  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของกรมอาชีวะ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดสอน 3 สาขาวิชา  คือ  สาขางานการขาย  สาขางานการบัญชี  และสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    ปีการศึกษา 2544 ได้ลงนามทำสัญญาเพิ่มเติมกับมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมแห่งกรุงปักกิ่ง ร่วมมือกันในด้านวิชาชีพ โดยจะเปิดสอนภาษาจีนธุรกิจในระดับปริญญาตรีที่ ACC เป็นเวลา 3 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมกรุงปักกิ่ง
    ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมแห่งกรุงปักกิ่ง BLCU เรื่องการร่วมมือจัดทำหลักสูตรภาษาจีน ด้านบริหารธุรกิจสำหรับบุคคลทั่วไปในระดับปริญญาตรี และเปิดสำนักงานมหาวิทยาลัย และวัฒนธรรมแห่งกรุงปักกิ่ง BLCU สาขากรุงเทพฯ ณ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ เมื่อวันที่  10  เมษายน  2545
    ปีการศึกษา 2546 ฯพณฯ เอี้ยน ถิงอ้าย เอกอัครราชฑูตสาธารณรัฐประชาชนจีนแห่งประเทศไทย นำคณะแต่งตำราภาษาจีน เพื่อการสอนออกทางไกลผ่านดาวเทียม เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายตำราภาษาจีน โดยมี ACC และสมาคมหอการค้าไทยให้การสนับสนุน
    ปีการศึกษา 2548 ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยย้ายสำนักงานจากโรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพฯ มาอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการโดย ฯพณฯ เจิ้ง จิ้นกว๋อ อุปทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน  2548  
    ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้รับอนุมัติจากมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยให้ยกระดับเป็นวิทยาลัยโดยขยายหลักสูตรในระดับปริญญาตรี โดยทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากศิษย์เก่า
    ปีการศึกษา 2550 ทางมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ได้มีคำสั่งที่ 4/2550 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ มอบหมายให้ภราดา สุรสิทธิ์  สุขชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
    ปีการศึกษา 2551  โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้รับเกียรติให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน “ ห้องเรียนขงจื่อ” โดยมีพิธีลงนามเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ที่กระทรวงศึกษาธิการ  ระหว่างผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีนกับ ภราดาสุรสิทธิ์  สุขชัย  ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ  และในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551  โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการและสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญพาณิชย์  ได้จัดงานฉลองครบรอบ 70 ปี  โดยได้ทูลเชิญพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดดามาตุ  เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีงานกาล่าดินเนอร์ ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ชั้น 5  ศูนย์การค้าสยามพารากอน  เป็นการประกาศเจตนารมณ์ในการยกระดับวิทยฐานะของโรงเรียนเป็นวิทยาลัย  หลักสูตรปริญญาตรี BBA  (Bachelor of Business Administration)  สาขาบริหารจัดการ
    ปีการศึกษา 2552  เมื่อวันที่  29 – 31  มกราคม  2552  โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสอง จาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้รับการรับรองมาตฐานการศึกษา ระดับคุณภาพดีมาก   และเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2553 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ แถลงข่าวการเปิด “ACC School of Commerce ก้าวสู่พัฒนาการทางการศึกษาแนวใหม่” โดยเปิดหลักสูตรปริญาตรีบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์
    ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้จัดงานฉลองการสถาปนาโรงเรียนครบรอบ 72 ปี โดยมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองตลอดปีการศึกษา อาทิ มิสซาบูชาขอบพระคุณ ฉลองการสถาปนาครบรอบ 72 ปี โดยพระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์วีระ อาภรณ์รัตน์ ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี กิจกรรม 72 ปี ACC FAIR นอกจากนี้ ได้เปิดหลักสูตรปริญาตรีบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์ (ACC School of Commerce) เต็มรูปแบบ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญพาณิชย์ ได้จัดจนพิธีกรรมเสกและเปิดอาคารสำนักงานสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญพาณิชย์ ในวันที่ 2 มีนาคม 2555 โดยพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์เกรียงศักดิ์ โกวิทวานิช ประมุขอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นประธานในพิธี ปีการศึกษา 2555 เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ผู้อำนวยการลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยแต่งตั้ง ภราดาอรุณ เมธเศรษฐ รองผู้อำนวยการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแทน ปีการศึกษา 2556 เดือนพฤษภาคม 2556 ภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญพณิชยการ และภราดาวิจารณ์ แสงหาญ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการและผู้จัดการ และเมื่อวันที่ 7 – 9 มกราคม พ.ศ. 2557 โรงเรียนได้รับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) หน่วยงานต้นสังกัดและเมื่อวันที่ 20 – 22 มกราคม พ.ศ. 2557 โรงเรียนได้รับการการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) โดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ. จากอดีตถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 7 ทศวรรษ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการก็ยังคงเป็น โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการผลิตนักธุรกิจทั้งชายและหญิง จนเป็นที่ยอมรับของวงการ ธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ แต่ถึงกระนั้นโรงเรียนก็ยังมุ่งพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเพื่อความก้าวหน้าทางการศึกษาของเยาวชนไทยสืบไป

ปรัชญา จุดหมายของชีวีต คือ การรู้จักสัจธรรม ความจริงและการเข้าถึงธรรมอันสูงส่งอัน เป็นบ่อเกิดของชีวิต มนุษย์ทุกคนจะประสบความสำเร็จได้ด้วยการทำงานด้วยความอุตสาหะ วิริยะ ดังปณิธานที่ว่า “Labor Omnia Vincit”

วิสัยทัศน์ “คุณธรรมดี ภาษาเด่น เน้นธุรกิจสู่สากล”

อัตลักษณ์ของผู้เรียน ผู้เรียนมีคุณธรรม นำด้านภาษา มั่งหน้าสู่โลกธุรกิจ

เอกลักษณ์ของโรงเรียน เด่นภาษาอังกฤษและภาษาจีน