ผู้ใช้:แสงมณี
ผึ้ง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ชั้น: | Insecta |
อันดับ: | Hymenoptera |
อันดับย่อย: | Apocrita |
วงศ์ใหญ่: | Apoidea |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Anthophila ( = Apiformes) |
Families | |
Andrenidae |
บทนำ
[แก้]ชีววิทยา
[แก้]ผึ้งเป็นแมลงอันดับเดียวกันกับ ต่อ แตน ผึ้งเป็นแมลงที่อยู่ในวงศ์ Apidae ส่วนผึ้งที่สามารถเปลี่ยนรูปน้ำหวานจากดอกไม้ (nectar) มาเป็นน้ำผึ้ง (honey)ได้นั้นอยู่ในสกุล Apis ซึ่งมีหลายชนิด ผึ้งอาศัยอยู่รวมกันเป็นสังคม [1] ผึ้งไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นระยะเวลานาน โดยขาดความสัมพันธ์กับผึ้งวรรณะอื่นภายในสังคมเดียวกัน เพราะผึ้งเป็นแมลงสังคมที่มีวิวัฒนาการสูง มีระบบสังคมมาเป็นเวลาช้านานประมาณ 30 ล้านปี ผึ้งแต่ละรังเปรียบเสมือนครอบครัวหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย 3 วรรณะ คือ ผึ้งนางพญาหนึ่งตัว ผึ้งตัวผู้หลายร้อยตัว และผึ้งงานอีกจำนวนเป็นหมื่นตัว โดยเฉพาะผึ้งเลี้ยงอาจจะมีผึ้งงานได้หลายหมื่นตัว รังผึ้งรังหนึ่งๆ หรือสังคมหนึ่งๆ จะดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีระเบียบในระบบสังคมที่มีนางพญาเป็นศูนย์กลาง ทำหน้าที่ผสมพันธุ์สร้างประชากร ปกตินางพญาผึ้งโพรงไทยจะวางไข่ได้วันละ 1,000 ฟอง นางพญาผึ้งโพรงฝรั่งสามารถวางไข่ได้วันละ 3,000 ฟอง โดยมีผึ้งงานคอยรับใช้ ทำความสะอาด ให้อาหาร และนำของเสียทิ้งไป[2]
ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
- ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
- ตารวม มีอยู่ 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็ก ๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบทิศ
- ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัว ระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็ก ๆ 3 จุด อยู่ ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รับรู้ในเรื่องของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้งสามารถแยกสีต่าง ๆ ของสิ่งของที่เห็นได้ ฟริช ดาร์ล ฟอน ได้ทำการศึกษาและพบว่าผึ้งสามารถเห็นสีได้ 4 สี คือ สีม่วง สีฟ้า สีฟ้าปนเขียว และสีเหลือง ส่วนช่วงแสงที่มากกว่า 700 มิลลิไมครอน ผึ้งจะมองเห็นเป็นสีดำ
- หนวด ประกอบข้อต่อและปล้องหนวดขนาดเท่า ๆ กันจำนวน 10 ปล้อง ประกอบเป็นเส้นหนวด ซึ่งจะทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ไวมาก
- ส่วนอก จะกอบด้วยปล้อง 4 ปล้อง ส่วนด้านล่างของอกปล้องแรกมีขาคู่หน้า อมปล้องกลางมีขาคู่กลางและด้านบนปล้องมีปีกคู่หน้าซึ่งมีขนาดใหญ่หนึ่งคู่ ส่วนล่างอกปล้องที่ 3 มีขาคู่ที่สามซึ่งขาหลังของผึ้งงานนี้จะมีตระกร้อเก็บละอองเกสรดอกไม้ และด้านบนจะมีปีกคู่หลังอยู่หนึ่งคู่ที่เล็กกว่าปีกหน้า
- ส่วนท้อง ส่วนท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญาเราจะเห็นภายนอกเพียง 6 ปล้อง ส่วนปล้องที่ 8-10 จะหุบเข้าไปแทรกตัวรวมกันอยู่ในปล้องที่ 7 ส่วนผึ้งตัวผู้จะเห็น 7 ปล้อง
ความสำคัญ
[แก้]ผึ้งเป็นแมลงที่มีประโยชน์แก่มนุษย์ ทั้งในด้านช่วยเพิ่มผลิตผลของพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะการผสมให้ผลไม้ ผลไม้ในประเทศไทยที่ผึ้งสามารถผสมเกสรได้ดี คือ ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ มะม่วง ทุเรียน ชมพู่ ส้ม และมะนาว เป็นต้น นอกจากนี้ ผึ้งยังเป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสรพืช ตระกูลแตง เช่น แตงโม แตงกวา แตงไทย โดยเฉพาะแตงน้ำผึ้ง (honey dew) หรือแตงต่างประเทศ ที่ราคาแพงนั้น เหมาะสมมาก ที่จะใช้ผึ้งช่วยผลิตเมล็ดพันธุ์ในระดับอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ของผึ้ง ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ น้ำผึ้ง เกสร ไขผึ้ง นมผึ้ง พรอพอลิส และพิษของผึ้ง ส่วนการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ได้ผลิตผลเพียง 3 ชนิดเท่านั้น คือ น้ำผึ้ง เกสร และไขผึ้ง [4]
ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของผึ้งและญาติ
[แก้]จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของตัวผึ้งพบว่า อยู่ในยุคเริ่มแรกของ cretaceous [5] และทำให้ทราบว่า พวกมันมีส่วนเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับตัวต่อ หากมิใช่ญาติสนิทก็อาจจะเป็นการวิวัฒนาการข้ามสายพันธุ์กันมา แต่ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าตัวต่อกับตัวผึ้ง ตัวไหนกำเนิดมาในโลกนี้ก่อนกัน ในโลกปัจจุบันมีการค้นพบตัวผึ้งมากกว่า 16,000 สปีชีส์ ถูกจัดแบ่งเป็น 7 แฟมิลี่ (Family) แต่นักวิทยาศาสตร์ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าแฟมิลี่ไหนเก่าแก่ที่สุด แต่ที่แน่นอนที่สุด ก็คือ ผึ้งทุกตัวมีส่วนร่วมในการผสมเกสร([ http://www.youtube.com/watch?v=N8JHd0kT_MU วิดีโอแสดงพฤติกรรมการผสมเกสรของผึ้ง]) มันนำเกสรจากพืชต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง แต่บ่อยครั้งที่มันนำเกสรจากต้นพืชชนิดหนึ่งไปยังต้นพืชอีกชนิดหนึ่ง ทำให้เกิดวิวัฒนาการข้ามสายพันธุ์กันขึ้นมา เป็นพืชสปีชีส์ใหม่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์หลายนาย เชื่อว่า ผึ้งที่เก่าแก่ที่สุดเป็นแฟมิลี่คอลเลติแด (Colletidae) ซึ่งมีกำเนิดในเขตซีกโลกใต้ ซึ่งอาจจะเป็นออสเตรเลียหรืออเมริกาใต้ รายงานการศึกษาของ ศ. แดนฟอร์ด และคณะ พบว่าผึ้งที่มีความเก่าแก่มากที่สุดอยู่ในวงศ์ Melittidae อาจมีกำเนิดพร้อมๆกับพืชดอกในทวีปแอฟริกา และการเพิ่มจำนวนชนิดของผึ้งอาจสัมพันธ์กับการแพร่กระจายของพืชดอกไปทั่วโลก [6] และจากการศึกษาความสัมพันธ์ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหาอาหารของผึ้งโพรง (Apis cerana) กับพืชอาหารแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวระหว่างผึ้งโพรงและพืชอาหารซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการร่วมกันมาเป็นเวลานาน โดยผึ้งโพรงมีการปรับอวัยวะที่ใช้ในการหาอาหารให้เหมาะสมกับชนิดของพืชอาหารในขณะเดียวกันพืชก็มีการปรับตัวเพื่อให้มีแมลงเข้ามาช่วยผสมเกสรเช่นกัน ซึ่งความหลากหลายของขนาดและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืชและแมลงที่ช่วยผสมเกสรนี้เป็นการเพิ่มโอกาสให้ทั้งพืชและแมลงได้รับประโยชน์สูงสุดร่วมกัน [7]
การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของผึ้ง
[แก้]สีลำตัว
[แก้]ลำตัวของผึ้งประกอบไปด้วยลายเส้นสีเหลืองและสีดำ สีเหล่านี้จะช่วยให้ผึ้งกลมกลืนกับสีของดอกไม้ ทำให้ผึ้งสามารถหลบภัยจากผู้ล่า และมีโอกาสอยู่รอดมากขึ้น[8]
เหล็กใน
[แก้]บางส่วนของอวัยวะวางไข่จะดัดแปลงเป็นเหล็กใน มีลักษณะเป็นเข็มแหลม [9]เมื่อผึ้งรู้สึกว่ารังของมันถูกคุกคามมันจะปล่อยเหล็กในออกมาและมันก็จะตาย เพื่อช่วยให้พวกมันที่เหลือนั้นอยู่รอด[10]
สารฟีโรโมน
[แก้]สารฟีโรโมน เป็นสารที่ทำหน้าที่สื่อแมลง ทำให้พวกผึ้งสามารถติดต่อกันได้ เช่น การถ่ายทอดข่าวสารภายใน รับการสัมผัสโดยแบ่งปันอาหาร ซึ่งเป็นวิธีการส่งข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ฟีโรโมน ยังทำหน้าที่ดึงดูดผึ้งตัวผู้ให้ติดตามนางพญา ในขณะที่นางพญาบินออกจากรังเพื่อไปผสมพันธุ์ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการสืบพันธุ์พื่อเพิ่มจำนวนประชากรให้มากขึ้น [11]
References
[แก้]- ↑ http://www.agri.ubu.ac.th/information/insects/bee.html
- ↑ http://studentwork.srp.ac.th/Website/Science/The%20Biology%20Of%20The%20Bees/part2/p3.html
- ↑ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%87
- ↑ http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=15&chap=1&page=t15-1-infodetail06.html
- ↑ http://fossilinsects.net/pdfs/Poinar_Danforth_2006_MelittosphexBurmese.pdf
- ↑ http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9490000151547&TabID=2&
- ↑ http://sci.bsru.ac.th/e-magazine/9-1/chapter-14.pdf
- ↑ http://www.ehow.com/list_6834015_adaptations-honey-bee-need-survive_.html
- ↑ http://studentwork.srp.ac.th/Website/Science/The%20Biology%20Of%20The%20Bees/part1/p2.html
- ↑ http://www.ehow.com/list_6834015_adaptations-honey-bee-need-survive_.html
- ↑ www.k-center.doae.go.th/getKnowledge.jsp?id=545