ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:ส.22 ทภ.2/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กองพันทหารสื่อสารที่ 22 กองทัพภาคที่ 2

๑. ที่ตั้งหน่วย

                  กองพันทหารสื่อสารที่ ๒๒ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของ กองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๒ ติดกับถนนวีระโยธาในค่ายสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  รหัสไปรษณีย์  ๓๐๐๐๐

สามารถประสานงานและติดต่อราชการ ได้ทั้งทางไปรษณีย์, ทางโทรศัพท์ และทางวิทยุสื่อสาร

๒. ประวัติความเป็นมาของหน่วย

กองพันทหารสื่อสารที่ ๒๒ ได้แปรสภาพจาก "กองทหารสื่อสาร กองทัพภาคที่ ๒" (กอง ส.ทภ.๒) โดยจัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี  พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อ กองบัญชาการกองทัพ

ภาคที่ ๒ ได้รับงบประมาณจากกองทัพบกโครงการพัฒนายุทโธปกรณ์และกำลังพลมาโดยตลอด  ปัจจุบันถึงแม้ว่าโครงการจะเสร็จสิ้นลงแล้ว กำลังพลและยุทโธปกรณ์ ยังคงได้รับการบรรจุไม่เต็ม

อัตรา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๔  กองทัพบกได้มีคำสั่ง(เฉพาะ) ที่ ๑๒๒/๒๔ ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๔  ให้แปรสภาพ กองทหารสื่อสาร กองทัพภาคที่ ๒ เป็น กองพันทหารสื่อสารที่ ๒๒ ให้ใช้อักษร

ย่อว่า  “ส.พัน.๒๒”  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ยังคงได้รับมอบภารกิจและขึ้นการบังคับบัญชากับกองทัพภาคที่ ๒ จนถึงปัจจุบัน โดยมีกองร้อยหน่วยขึ้นตรง  ๓  กองร้อย ได้แก่

๑. กองร้อยกองบังคับการ  กองพันทหารสื่อสารที่ ๒๒ (ร้อย.บก.ส.พัน.๒๒)

๒. กองร้อยวิทยุและศูนย์ข่าว  กองพันทหารสื่อสารที่ ๒๒ (ร้อย.วศข.ส.พัน.๒๒)

๓. กองร้อยสายและวิทยุถ่ายทอด กองพันทหารสื่อสารที่ ๒๒ (ร้อย.สวถ.ส.พัน.๒๒)     

สรุปประวัติความเป็นมาตามปี พ.ศ.

                 - ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ กองทัพบกได้จัดตั้งหน่วย   กองทหารสื่อสารกองทัพภาคที่ ๒   ขั้นที่ ๑  ขึ้น ใช้ตัวอักษรย่อว่า กอง ส.ทภ.๒  จัดตั้งตามคำสั่ง  กองทัพบก (เฉพาะ) ที่  ๒๐/๒๐ ลงวันที่

๑๐  กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐  เพื่อสนับสนุนการสื่อสารทางวิทยุให้กับกองบัญชาการกองทัพภาคที่  ๒  ในขณะนั้นมี  ร้อยเอก  ชั้น   อินทร  เป็น  ผู้บังคับหมวดสื่อสาร

                 -  ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ กองทัพบกได้จัดตั้งให้เป็นกองทหารสื่อสาร กองทัพภาคที่ ๒ ขั้นที่ ๒  คงใช้อักษรย่อเดิม  โดยจัดตั้งตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่  ๘๘/๒๒  ลงวันที่  ๒๕ กรกฎาคม

๒๕๒๑   เพื่อให้มีประสิทธิภาพสนับสนุนการสื่อสารทางวิทยุ และทางโทรศัพท์ให้กับ  กองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๒  มากยิ่งขึ้น  โดยจัดตั้งหมวด, ตอนการสื่อสาร เพิ่มขึ้นอีกคือ จัดตั้งหมวดวิทยุ,

หมวดวิทยุถ่ายทอด, หมวดโทรศัพท์, ตอนศูนย์ข่าวและนำสาร และตอนซ่อมบำรุงยานยนต์   ในขณะนั้น  โดยมี  พันตรี ชาญ  ทัพวงษ์ (ตำแหน่งในขณะนั้น)  เป็น  ผู้บังคับกองทหารสื่อสาร กองทัพ

ภาคที่2

                 -  ปี พ.ศ.๒๕๒๔  กองทัพบกได้ปรับปรุงกองทหารสื่อสาร  กองทัพภาคที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพสนับสนุนการสื่อสารเพิ่มขึ้นอีก โดยแปรสภาพเป็น  กองพันทหารสื่อสารที่ ๒๒ กองทัพภาค

ที่ ๒  ใช้ตัวอักษรนำหน้าว่า  "ส.พัน.๒๒" จัดตั้งตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ ๑๒๒/๒๔  ลงวันที่ ๑ กันยายน  ๒๕๒๔  เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และได้แบ่งการจัดออกเป็น   ๓  กองร้อย  คือ กอง

ร้อยกองบังคับการ,  กองร้อยวิทยุและศูนย์ข่าว  และกองร้อยสาย และวิทยุ-ถ่ายทอด

๓. ภารกิจของหน่วย

             จัดวางการสื่อสารประเภทวิทยุ,  การสื่อสารประเภทสาย  และจัดตั้งศูนย์ข่าวสนับสนุนให้กับกองบัญชาการกองทัพภาคที่  ๒ รวมทั้งวางการสื่อสารทางสายด้วยวิทยุถ่ายทอดจากกอง

บัญชาการกองทัพภาค ไปยังหน่วยรองหลักของกองทัพภาค, หน่วยขึ้นสมทบ, หน่วยขึ้นควบคุมทางยุทธการ และหน่วยอื่น ๆ ที่ได้รับมอบ

๔. การปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วย

  ๔.๑   ภารกิจที่ได้รับมอบเพิ่มเติม จาก  กองทัพภาคที่

          ๔.๑.๑    จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ปฏิบัติงาน  ณ ศูนย์ปฏิบัติการทางยุทธวิธี  กองทัพภาคที่ ๒  ดำรงการสื่อสารกับหน่วยเหนือ,  หน่วยรอง, หน่วยข้างเคียง  และส่วนราชการอื่นๆ

๔.๑.๒   จัดตั้งศูนย์การสื่อสารกองอำนวยการร่วมถวายความปลอดภัย กองทัพภาคที่ ๒ วางระบบและดำรงการติดต่อสื่อสารให้กับ ผู้บังคับบัญชา  ในการอำนวยการถวายความปลอดภัย

แด่ พระบรมวงศานุวงศ์ ในการเสด็จฯ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่ กองทัพภาคที่ ๒  

๔.๑.๓  รับผิดชอบแผนกกรรมวิธีข้อมูล  ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๒  ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของ  กองทัพภาคที่ ๒   ซึ่งมีลูกข่าย

มากกว่า  ๒๐๐ สถานี    ตลอดจน  Website  กองทัพภาคที่ ๒  และ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ กองทัพภาคที่ ๒  รวมทั้งระบบ วิดีโอคอนเฟอเร้นท์ กองทัพบก  

๔.๑.๔  รับผิดชอบการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องรับสัญญาณผ่านดาวเทียม  ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  ในพื้นที่ เขต ๓  จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดบุรีรัมย์ , จังหวัดชัยภูมิ

และ  จังหวัดสุรินทร์

๔.๑.๕   ดำเนินการอบรมให้ความรู้เบื้องต้นด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์  รวมถึงการใช้งานโปรแกรมต่างๆ  ให้กับกำลังพลของ กองทัพภาคที่ ๒  และบุคคลทั่วไป

    ๔.๑.๖   รับผิดชอบแผนกสารสนเทศและการสื่อสาร  กองทัพภาคที่ ๒  จัดการระบบนำเสนอ, ระบบแสงสีเสียง และระบบมัลติมีเดียอื่นๆ ในห้องประชุม กองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๒

๔.๑.๗   รับผิดชอบศูนย์เคเบิ้ลทีวี  กองทัพภาคที่ ๒  ติดตั้งกระจายสัญญาณให้กับสมาชิก  จำนวน ๔,๒๐๐  จุด  ได้ชม จำนวน  ๔๑  ช่อง พร้อมทั้งดูแลและให้ บริการตรวจซ่อม

๔.๑.๘   รับผิดชอบงานของแผนกกรรมวิธีข้อมูลสนามกีฬาทหาร  กองทัพภาคที่ ๒

๔.๑.๙   รับผิดชอบสถานีวิทยุกระจายเสียง กองทัพภาคที่ ๒  ระบบเอเอ็ม  ค่ายสุรนารี  จังหวัดนครราชสีมา

๔.๑.๑๐ รับผิดชอบชุดรายงานข่าวผ่านดาวเทียมเคลื่อนที่ (SNG)  ศูนย์ข่าวภูมิภาค   สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๕  จังหวัดนครราชสีมา

๔.๑.๑๑ รับผิดชอบรถสื่อสารดาวเทียมภาคพื้น  กองทัพภาคที่ ๒  สนับสนุนภารกิจป้องกันชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร  จังหวัดศรีสะเกษ

๔.๑.๑๒ รับผิดชอบเครื่องบินตรวจการไร้คนขับขนาดเล็ก  (MINI  UAV)

๔.๑.๑๓ รับผิดชอบอุปกรณ์สนามยิงปืน  ทภ.๒ ในส่วนของเป้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งแบบเคลื่อนที่  และแบบประจำที่

๔.๑.๑๔ รับผิดชอบการจัดเครื่องขยายเสียงภายใน กองทัพภาคที่ ๒ ในแต่ละปี จัดเครื่องขยายเสียงสนับสนุนภารกิจของ กองทัพภาคที่ ๒  มากกว่า ๓๖๐ ครั้ง/ปี

๔.๑.๑๕ จัดกำลังพลสนับสนุนภารกิจ ประจำ หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดีย! หน้านี้เป็นหน้าทดลอง พื้นที่ให้คุณสามารถทดสอบได้อย่างเต็มที่ มีตัวอย่างง่าย ๆ เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ที่คุณจะพบต่อไปเมื่อเขียนวิกิพีเดีย

นี่คือพาดหัวส่วน[แก้]

นี่เป็นคำบรรยายภาพ

นี่เป็นตัวอย่างการอ้างอิงจากเว็บไซต์[1]

นี่เป็นตัวอย่างการอ้างอิงบทความข่าว[2]

นี่เป็นแม่แบบสำหรับข้อความที่ขาดแหล่งที่มา[ต้องการอ้างอิง]

จิมมี เวลส์ ← นี่เป็นลิงก์ไปยังผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย ข้อความที่แสดงสำหรับลิงก์สามารถปรับได้อย่างนี้ ถ้าลิงก์ชี้ไปหน้าที่ยังไม่มีคนสร้าง จะเห็นเป็นสีแดง แบบนี้

นี่เป็นพาดหัวส่วนย่อย[แก้]

  • รายการจุดนำ 1
  • รายการจุดนำ 2

ทำให้ข้อความเป็น ตัวเส้นหนา หรือ ตัวเอน ได้เมื่อต้องการ

  1. รายการเลขนำ 1
  2. รายการเลขนำ 2

ส่วนอ้างอิง[แก้]

  1. Smith, Jane. "Sample title". Sample website. Sample publisher. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2020.
  2. Jones, Bob (7 April 2020). "Sample headline". The Sample Times. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2020.

ส่วนแหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แหล่งข้อมูลเว็บไซต์ตัวอย่าง


กลับหน้าสอนการใช้งาน