ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:สุภาภรณ์ทำทอง/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความแตกต่างของการจัดการภาครัฐและเอกชน  

[แก้]

การบริหารเป็นการลงมือทำหลังจากที่ได้วางแผนวางหลักการบริหารเอาไว้แล้ว และยังต้องใช้ศาสตร์และศิลป์เพื่อที่จะนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งบุคลากร วัสดุ และงบประมาณมาจัดการตามหลักการหรือตามแผนที่วางไว้

 หัวใจหลักของการบริหาร คือ ผู้บริหารไม่ได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ แต่เป็นผู้ที่ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ตามวัตถุประสงค์หรือตามความคิดของผู้บริหาร

 การบริหารรัฐกิจ (public administration) พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน(พ.ศ.2493)ให้ความหมายว่า การบริหารรัฐกิจเป็นสามานยนาม หมายถึง "กิจกรรมการบริหารของรัฐ หรือ การบริหารราชการแผ่นดิน" และมีความหมายอีกอย่างคือ รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นวิสามานยนามอันหมายถึง "สาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวข้องกับการบริหารงานของรัฐ"[1][2]

การบริหารรัฐกิจ(public administration) หรือ การจัดการภาครัฐ(public management) คือ กิจกรรมหรือกระบวนการการดำเนินงานของภาครัฐที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ดำเนินการ(ไม่รวมถึงการใช้อำนาจของนิติบัญญัติและตุลาการ) โดยมีจุดมุ่งหมายให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน การบริหารรัฐกิจจะเน้นการบริหารให้ลูกค้าพึงพอใจสูงสุดและการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม(ลูกค้าของการบริหารรัฐกิจจะหมายถึงประชาชน) และการบริหารรัฐกิจจะใช้แนวความคิดคล้ายๆการบริหารงานของเอกชน เพราะได้นำเอาแบบบริหารงานของเอกชนมาปรับใช้ในการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นเหมือนเอกชน อาทิ การนำเทคนิคการวางแผนเชิงกลยุทธิ์ของเอกชนมาใช้ การนำระบบการประเมินผลงานของเอกชนมาปรับใช้ และภาครัฐได้เห็นถึงปัญหาต่างๆในการทำงานของหน่วยงาน และเห็นถึงความสำเร็จของการบริหารงานของเอกชนที่นำหลักการต่างๆของการบริหารมาใช้[3]

  การบริหารธุรกิจ(business administration) หรือ การจัดการภาคธุรกิจเอกชน(business management) คือ กระบวนการทำงานขององค์กรธุรกิจ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่การบริหารธุรกิจนั้นจะเน้นผลกำไรสูงสุด

ความเหมือนกันระหว่างการจัดการภาครัฐและการจัดการภาคธุรกิจเอกชน

[แก้]

 คือ กระบวนการทำงาน ความร่วมมือร่วมใจของคนในองค์กร หลักสำคัญเป็นเรื่องของการดำเนินงานและความสามารถที่จะรวมทรัพยากรการบริการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยการดำเนินการให้สำเร็จผลตามเป้าหมาย และการกำหนดเป้าหมายขององค์กร การจัดลำดับความสำคัญขององค์กร การวางแผนให้องค์กรบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดตั้งโครงสร้างขององค์กร การติดตามควบคุมการประเมินผล การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรรวมถึงสื่อมวลชนด้วย

ความแตกต่างกันระหว่างการจัดการภาครัฐและการจัดการภาคธุรกิจเอกชน

[แก้]

  คือ วัตถุประสงค์ในการทำงาน การบริหารภาครัฐจะมีวัตถุประสงค์ที่จะเน้นการบริการประชาชนที่มาใช้บริการให้พึงพอใจสูงสุดเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน แต่การบริหารธุรกิจนั้นจะเน้นกำไรสูงสุดเพื่อการอยู่รอดขององค์กรซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน รวมทั้งความแตกต่างในเรื่องของความรับผิดชอบต่อประชาชน ทุนในการดำเนินงาน การกำหนดราคาสินค้าและบริการ การมีคู่แข่ง และการคงอยู่ขององค์กร การบริหารรัฐกิจมีลักษณะเป็นระบบราชการ และมีการเมืองมาเกี่ยวข้อง กล่าวคือ นโยบายที่ใช้ในการบริหารรัฐกิจย่อมเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของรัฐบาลแต่ละชุด แต่การบริหารธุรกิจนั้นจะเป็นเรื่องของการทำธุรกิจของเอกชนไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะนโยบายของการบริหารธุรกิจก็ย่อมขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการธุรกิจนั้น การบริหารงานในภาครัฐจะมีความเร่งด่วนมาก สินค้าและบริกการที่รัฐจัดให้กับประชาชนก็จะมีลักษณะผูกขาด และไม่ถูกควบคุมโดยกลไกราคา[4]

ความแตกต่างระหว่างการจัดการภาครัฐและการจัดการภาคธุรกิจเอกชน (ในแนวความคิดของ John T. Dunlop) มี10ประการ คือ[5]
[แก้]

 1.แนวคิดเรื่องเวลา การบริหารภาครัฐจะมีระยะเวลาในการวางแผนการบริหารงานที่สั้น เนื่องจากผู้บริหารถูกจำกัดเวลาตามระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนักการเมือง แต่กลับกันการบริหารภาคเอกชนจะมีระยะเวลาในการวางแผนการบริหารงานที่ยาวนานกว่าในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆทางด้านเทคโนโลยี การลงทุน และการสร้างองค์กร

 2.ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารที่ถูกแต่งตั้งจากฝ่ายนักการเมืองมักจะมีระยะเวลาในการบริหารงานที่สั้นตามระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของฝ่ายนักการเมือง แต่ในขณะที่ผู้บริหารภาคเอกชนจะมีระยะเวลาในการบริหารงานที่ยาวนานกว่าส่วนมากภาคเอกชนเวลาจะเปลี่ยนผู้บริหารใหม่มักจะเป็นวิธีการสืบทอดมรดกของผู้บริหารองค์กรคนเก่า และจะมีการอบรมให้กับผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่ง

 3.การวัดผลการปฏิบัติงาน ภาครัฐจะไม่ค่อยมีมาตรฐานในการประเมินผลของการทำงานของผู้บริหาร แต่ภาคเอกชนก็จะมีการประเมินผลในด้านต่างๆของการทำงานของผู้บริหารอยู่บ่อยๆ

 4.ข้อจำกัดในเรื่องของบุคลากร การบริหารภาครัฐจะมีการกำหนดนโยบาย และการบริหารงานบุคคลโดยอิสระน้อยกว่าภาคเอกชน เพราะภาคเอกชนก็จะสามารถดูแลและบังคับบัญชาได้ตามสายงาน

 5.ความเป็นธรรมและประสิทธิภาพในการทำงาน ภาครัฐจะเน้นความเป็นธรรมให้กับประชาชน แต่ภาคเอกชนจะเน้นประสิทธิภาพในการทำงานและการแข่งขันเป็นที่ตั้ง

 6.กระบวนการทำงานของภาครัฐและเอกชน ภาครัฐจะนึกถึงผลกระทบต่อสาธารณชนและความโปร่งใสเป็นที่ตั้ง แต่ภาคเอกชนจะไม่เปิดเผยกับสาธารณชนเพราะจะถือว่าเป็นเรื่องภายในองค์กร

 7.บทบาทของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน ภาครัฐจะต้องแถลงข่าวเกี่ยวกับงานกับสื่อเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ภาคเอกชนจะไม่ต้องคอยแจ้งสื่อเกี่ยวกับการทำงาน

 8.ทิศทางของผู้บริหาร ผู้บริหารภาครัฐจะตัดสินใจไม่เด็ดขาด ส่วนมากจะเป็นการใช้วิธีประณีประนอมเพื่อตอบสนองกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อความอยู่รอดขององค์กร แต่การบริหารงานภาคเอกชนนั้นจะตอบสนองหัวหน้างานเพียงคนเดียว

 9.ผลกระทบจากกฎหมายและระเบียบ ผู้บริหารภาครัฐจะมีกฎหมายและระเบียบให้ปฏิบัติตามมากและความอิสระในการบริหารงานก็จะลดน้อยลงส่วนผู้บริหารภาคเอกชน จะมีอิสระในการบริหารงานมากกว่าเพราะมีกฎระเบียบให้ปฏิบัติตามน้อยกว่า

 10.เป้าหมายในการทำงาน เป้าหมายของผู้บริหารภาครัฐจะไม่ชัดเจน แต่เป้าหมายของผู้บริหารงานด้านเอกชนจะชัดเจนกว่านั้นคือ การทำกำไรให้กับองค์กรและการทำให้องค์กรนั้นอยู้รอด

 การเปรียบเทียบระหว่างการจัดการภาครัฐและเอกชนในทัศนคติของผู้เขียน[6]
[แก้]

การจัดการภาครัฐและการจัดการภาคธุรกิจเอกชนนั้นไม่ได้มีอันใดอันหนึ่งดีกว่าเสมอไป ทั้งการจัดการภาครัฐและการจัดการภาคธุรกิจเอกชนนั้นก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป การที่เราจะเลือกใช้แนวคิดของการจัดการภาครัฐหรือการจัดการภาคธุรกิจเอกชนนั้นก็ต้องดูเหตุผลหรือหน้าที่ขององค์กรประกอบ พร้อมทั้งนำแนวคิดของการจัดการภาครัฐหรือการจัดการภาคธุรกิจเอกชนมาผสมผสานกันแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร

ความเหมือนกันนั้นก็จะเป็นในเรื่องพื้นฐาน นั่นคือการบริหารงาน โดยทุกคนในองค์กรก็จะดำเนินงานตามหน้าที่ของตัวเองเพื่อให้องค์กรนั้นสำเร็จผลตามเป้าหมายหรือตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ความแตกต่างกันจะเป็นเรื่องของการดำเนินงาน การบริหารของภาครัฐจะมีการเปิดเผยต่อประชาชน มีความเป็นสาธารณะสูงกว่าการบริหารอื่นๆ[7]และมักจะถูกจับตามองโดยสังคมจากสื่อต่างๆ เวลาจะดำเนินการอะไรต้องคิดให้รอบคอบเพราะความสนใจจากประชาชนนั้นมีมาก หากพลาดขึ้นมาก็อาจจะทำให้องค์กรภาครัฐนั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์ การบริหารงานของภาครัฐจะมีการประเมินผลที่แตกต่างจากของเอกชน เพราะการบริหารงานของเอกชนจะมีเกณฑ์การประเมินผลที่สูงกว่า ความแตกต่างในเรื่องของอำนาจในการบริหาร เพราะผู้บริหารของภาครัฐจะถูกควบคุมโดยกฎหมายและมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด การดำเนินนโยบายก็จะมีกฎหมายมาควบคุมตลอดทำให้ดำเนินงานอย่างยากลำบากหรือหากไม่ทำตามกฎระเบียบก็อาจจะเป็นเหตุให้ถูกตรวจสอบหรือโดนลงโทษ แต่การบริหารงานของเอกชนนั้นผู้บริหารของเอกชนจะมีสิทธิหน้าที่อย่างเต็มที่ในการบริหารงานจัดการองค์กรของตัวเอง

อ้างอิง
[แก้]
  1. พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน(พิมพ์ครั้งที่10, พ.ศ.2493)
  2. รศ.เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง, การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น, (ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่1, พ.ศ.2528} หน้า1)
  3. http://elearning.aru.ac.th/3561101/soc16/tp1/linkfile/print5.htm
  4. อาจารย์ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์, การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบและการบริหารการพัฒนา (พ.ศ.2530, หน้า5)
  5. http://kantacandidate.blogspot.com/2012/02/blog-post_88.html
  6. https://sites.google.com/site/gaiusjustthink/nida-mpa/pa600/part1/publicmanagementkabprivatemanagementkhwamhemuxnlaeakhwamtang
  7. รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ (พ.ศ.2554, หน้า13)