ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:ศาสวัติ อรรควงษ์/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จิตนี้เป็นธรรมชาติ[แก้]

คำว่า " จิต " ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง สภาพรู้ อาการรู้ลักษณะรู้แจ้งอารมณ์ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ และคำว่า จิตนี้ยังมีชื่อที่ใช้แทนคำว่าจิตในบางแห่งอีกมาก เช่น ใจ มโน มานัส ปัณฑระ หทัย วิญญาณวิญญาณขันธ์ มนายตนะ เป็นต้น ในชีวิตประจำวันของเรา จะทราบได้ว่าผู้ที่ยังไม่ตายมีชีวิตอยู่ เป็นผู้มีจิตเกิดดับต่อเนื่องไปจนกว่าจะตาย ฉะนั้น จิตคือ สภาพรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

การกำหนดจิตให้เป็นธรรมชาติ[แก้]

ท่านจงกำหนดจิต ระลึกถึงคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์ ศีลอันดีงามของตน ทานที่ท่านสละแล้วและเทวดาที่แตกต่างกันในทาง ศีลและการปฏิบัติภาวนา เมื่อท่านกำหนดจิตระลึกถึงอยู่ดังนี้หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในคราวนั้น จิตของท่านย่อมไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ ย่อมเป็นจิตตรงโดยการระลึกถึงอยู่ ย่อมได้ความเข้าใจในอรรถธรรม ได้ความปราโมทย์อันประกอบกับธรรม ได้ความปราโมทย์แล้วปีติก็เกิด ปีติเกิดแล้วกายก็สงบ กายสงบแล้วก็ได้ความสุข ได้ความสุขแล้วจิตก็ตั้งมั่นอันนี้แหละเรียกว่า ผู้ถึงความสงบ ถึงความไม่มีทุกข์ ถึงกระแสธรรม

จิตเป็นธรรมชาติที่วิจิตร[แก้]

ในอัฎฐสาลินี  อรรถกถาธัมมสังคณีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายจิตตนิทเทส  มีข้อความว่า  ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต เพราะจิตเป็นธรรมชาติวิจิตร
ธาตุรู้มีมากไม่ใช่อย่างเดียวกันเลย  จิตเป็นธรรมชาติที่วิจิตร ความวิจิตรของจิตปรากฎเมื่อคิดนึกเรื่องต่างๆซึ่งไม่ว่าใครจะทำอะไรในวันหนึ่งๆนั้น  เมื่อพิจารณาแล้วย่อมรู้ว่าเป็นไปปตามความวิจิตรของจิตทั้งสิ้น
วันนี้ทำอะไรมาบ้างแล้ว และต่อไปเย็นนี้  พรุ่งนี้จะทำอะไร ถ้าไม่มีจิตก็ทำไม่ได้ เหตุที่ทุกคนมีการกระทำในวันหนึ่ง ๆ ต่าง ๆ กันตามวิถีชีวิตของแต่ละคนนั้น จะเห็นได้ว่าการกระทำทั้งหมดย่อมเป็นไปตามความวิจิตรของจิตของแต่ละคน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการกระทำทั้งทางกาย ทางวาจาต่าง ๆ กันในชีวิตประจำวัน  จิตเป็นธรรมชาติที่คิดซึ่งคิดมากเหลือเกิน แต่ละคนก็คิดต่างๆกันไป ในบรรดาผู้ที่สนใจศึกษาธรรมก็พิจารณาธรรมต่างๆกัน  ความคิดเห็นในขั้นของการประพฤติปฎิบัติธรรมก็ต่างกัน  และแม้แต่ในเรื่องของโลก  ความเป็นไปในกลุ่มบุคคลแต่กลุ่มแต่ละประเทศ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วก็เป็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ของโลก  แต่ละขณะนั้นก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นไปตามความวิจิตรของความคิดของแต่ละบุคคล   โลกยุคนี้เป็นอย่างนี้  ตามความคิดของแต่ละบุคคลในยุคนี้  สมัยนี้  แล้วต่อไปโลกจะเป็นอย่างไร พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไรนั้น  ก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นไปตามจิตซึ่งคิดวิจิตรต่าง ๆ นั้นเอง

ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นได้ว่า จิตเป็นธรรมชาติที่วิจิตร จิตที่เห็นทางตาเป็นจิตประเภทหนึ่ง ต่างกับจิตที่ได้ยินทางหูซึ่งเป็นจิตอีกประเภทหนึ่ง และต่างกับจิตที่คิดนึก เป็นต้น

ไฟล์:สามเณรศาสวัติ .jpg