ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:พลธสิทธิ์/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:ประวัติวัดอัมพวัน ความเป็นมาของวัด เดิมชื่อวัดอ่ำวัน เรียกในสมัยแรกของการก่อตั้งวัด ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดอัมพวัน จนถึงปัจจุบัน วัดอัมพวันเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของแขวงนครไชยศรี แต่ไม่มีลายลักษณ์อักษรยืนยันวันเดือนปีที่สร้าง แต่สันนิษฐานโดยประมวมจากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ว่า ได้สร้างขึ้นในสมันรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยุคที่ข้าราชบริพารนิยมสร้างวัดวาอารามเป็นอนุสรณ์ ในยุคแผ่นดินของ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ท่านพระยาราชชนะสงคราม หรือ"วัน" ได้สร้างวัดขึ้น ถวายเป็นสมบัติของพระพุทธศาสนา เพื่ออุทิศบุกุศลแด่มราดาของท่านชื่ิอ อ่ำ ต่อมานามของวัดว่า อ่ำวัน โดยตั้งตาม ชื่อมารดาและชื่อของผู้สร้าง นั้น เป็นการออกเสียงจึงเปลี่ยนเป็น อัมพวัน ตามภาษาบาลีซึ่งแปลว่า ป่ามะม่วง วัดอัมพวันตั้งเมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พุทธศักราช ๒๓๙๕ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร เป็นวัดราช สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย แม่แบบ:สถานที่ตั้งวัด ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๑๑๘๖ ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร หรือตั้งอยู่ชุมชนตลาดราชวัตร

แม่แบบ:การศึกษาวัดอัมพวัน สำนักเรียนวัดอัมพวัน ได้ส่งเสริมการศึกษา ทั้งการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนธรรม-บาลี วิชาสามัญแก่พระภิกษุสามเณรและจัดการศึกษาแก่เยาวชนทั่วไป ปัจจุบันสำนักเรียนวัดอัมพวัน ได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนแบ่งเป็นแผนก ดังต่อไปนี้ ๑.แผนกธรรม เปิดสอนระดับ นักธรรมชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก ๒.แผนกบาลี เปิดสอนระดับชั้นประโยค ๑-๒ และประโยค ๓ ๓.แผนกโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนวิชาทางพระพุทธศาสนา ในระดับ ป.๑-ม.๖ ๔.โรงเรียนอัมพวันศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์การกุศลของวัดจัดการศึกษาระดับปฐมวัยและชั้นประถมศึกษา แม่แบบ:ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน ๑.สมภารเพ็ง พ.ศ.๒๔๒๐-๒๔๓๐ ๒.สมภารจอน พ.ศ.๒๔๓๐-๒๔๕๖ ๓.พระครูวิริยานุกิจจารี(สรวง ธมฺมสูโร) พ.ศ.๒๔๕๖-๒๔๖๖ ๔.พระครูพิสิฐวิริยคุณ(บุปผา คุณสาโร) พ.ศ.๒๔๖๖-๒๔๙๓ ๕.พระมหาสังคม จิตฺติญาโณ ป.ธ.๙ (รักษาการเจ้าอาวาส)พ.ศ.๒๔๙๔-๒๕๑๘ ๖. พระครูวิริยานุกิจจารี(สรวง ธมฺมสูโร) พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๑ ๗.พระราชกิตติเมธี รักษาการเจ้าอาวาส (ก่อนมรณภาพดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมวรนายก เจ้าคณะเขตดุสิต) พ.ศ.๒๕๒๒ ๘.พระญาณโพธิ (บุญมี โคตฺตปญฺโญ)พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๔๖ ๙.พระครูสีลวิมลรัตน์ (บรรจง วชิรธมฺโม) พ.ศ.๒๕๔๗-ปัจจุบัน แม่แบบ:ของดีศรีอัมพวันและถาวรวัตถุ ๑.อุโบสถวัดอัมพวัน อุโบสถมีความกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๘ เมตร ก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๓ เป็นอาคารคอนกรตเสริมเหล็ก อุโบสถวัดอัมพวันมีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น คือ อุโบสถหันหน้าเข้าหาครองสามเสนซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของวัด มีพระประธาน ปางสะดุ้งมารหรือปางมารวิชัย และพระนาคปรก เป็นหินศิลาแลงซึ่งอดีตเจ้าอาวาสได้ทาสีทองกลบไว้ เพราะท่านกลัวมีคนมาขโมยไป ประดิษฐานอยู่อย่างสวยงาม ซึ่งพระประธานสององค์นี้มีอายุเก่าแก่มากองค์หนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ ๒.ศาลาธรรมจักรโสภณประชาสรรค์ เป็นอาคารสูง ๔ ชั้น ตั้งอยู่หน้าศาลาการเปรียญ ติดกับครองสามเสนบนดาดฟ้าหลังคาอาคารเป็นสิ่งก่อสร้างจำลองสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง ของประเทศอินเดีย ที่ได้ตั้งชื่อว่า "ศาลาธรรมจักรโสภณประชาสรรค์" เพราะอาคารทั้งหลังล้อมด้วยอิฐรูปธรรมจักร จุดมุ่งในการก่อสร้าง เพื่อเป็นศาสนสมบัติที่อำนวยประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชน ๓.ศาลาบูรพาจารย์ เป็นวิหารทรงไทยจตุรมุข เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานของบูรพาจารย์ที่เคารพนับถือ และเป็นเกจิดังของวัดอัมพวัน เช่นหลวงพ่อบุปผา หลวงปูหรุ่น (ยันต์เก้ายอด) หลวงพ่อโต หลวงพ่อทวด หลวงพ่อสอนสิน และหลวงพ่อบุญมี และก่อสร้างโดยพระพงษ์ศิกดิ์ โสภโณ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นจำนวนเงิน ๒๕๗๕๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน)