ผู้ใช้:บุญพฤทธิ์ ทวนทัย/ทดลองเขียน/กรุ 1
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
กรุ 1 | กรุ 2 | กรุ 3 |
ยังไม่มีกรุ (สร้าง) |
การลอบสังหารพัก จ็อง-ฮี (en:Assassination of Park Chung-hee)
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การลอบสังหารพัก จ็อง-ฮี | |
---|---|
พักในปี ค.ศ. 1975 | |
สถานที่ | บ้านสีฟ้า, กรุงโซล, สาธารณรัฐเกาหลีที่ 4 |
วันที่ | 26 ตุลาคม 1979 |
เป้าหมาย | พัก จ็อง-ฮี |
ประเภท | การลอบสังหาร |
อาวุธ | สมิตร์แอนด์เวสสัน เอ็ม 36 and วอลเทอร์ พีพีเค |
ตาย | 6 |
ผู้เสียหาย | พัก จ็อง-ฮี, ชา จี-ชยู |
ผู้ก่อเหตุ | คิม แจ-กยู, พัก ฮย็อง-จู, พัก ซ็อน-โฮ, ยู ซ็อง-อก, ลี คี-จู, โซ ย็อง-จุน |
ผู้โจมตี | คิม แจ-กยู |
พัก จ็อง-ฮี อดีตประธานาธิบดีคนที่ 3 ของประเทศเกาหลีใต้ ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1979 ที่บ้านพักประจำตำแหน่งประธานาธิบดี ณ กรุงโซล โดยคิม แจ-กยู ผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองกลางแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (KCIA) เป็นผู้ลงมือลอบสังหาร เหตุการณ์นี้ถูกเรียกอีกอย่างว่า เหตุการณ์ 10.26[1] และต่อมานายคิมถูกศาลตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ ในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1980[2] และเกิดการรัฐประหารโดยช็อน ดู-ฮวัน ในปีเดียวกัน[3]
เหตุการณ์ลอบสังหาร
เย็นวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1979 พักพร้อมคนติดตามและคนสนิทของพักได้ร่วมรับประทานอาหารเย็นที่บ้านพักประธานาธิบดี (บ้านสีฟ้า) หลังจากปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้น ขณะที่ร่วมรับประทานอาหารอยู่นั้น นายคิม แจ-กยู ผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองกลางแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เดินกลับมาพร้อมปืนสั้นวอลเทอร์ พีพีเค แล้วได้ยิงชา จี-ชยู คนสนิทของพักเข้าที่ต้นแขน จากนั้นนายคิมได้ยิงพักที่อกด้านซ้ายจนพักได้รับบาดเจ็บ ต่อมาคิมจะยิงนายชาอีกครั้งแต่ระสุนหมด นายคิมจึงเดินออกไป
นายชาหลบเข้าไปในห้องน้ำสักระยะจนกระทั่งเดินออกมา และนายคิมเดินกลับเข้ามาพร้อมปืนลูกโม่สมิตร์แอนด์เวสสัน เอ็ม 38 และได้ยิงนายชาจนเสียชีวิต จากนั้นคิมจึงเดินไปที่พักและดึงหัวพักขึ้นมา และได้ยิงพักเข้าที่ศีรษะจนเสียชีวิตในที่สุด
วัฒนธรรมสมัยนิยม
- เหตุการณ์นี้ถูกนำมาสร้างภาพยนตร์เรื่อง เดอะเพรอซิเดนท์ลาสแบง (그때 그사람들) เข้าฉายในปี ค.ศ. 2005[4][5] กำกับโดยอิม ซัง-ซู นำแสดงโดยซง แจ-โฮ (รับบทเป็นพัก จ็อง-ฮี) และแบ็ก ย็อน-ซิก (รับบทเป็นคิม แจ-กยู)
อ้างอิง
- ↑ "10·26사태". terms.naver.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2019-03-19.
- ↑ Jieun Choi (31 March 2017). "Pilgrimage to an Assassin's Grave". Korea Expose. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
- ↑ Newton, Michael (2014). Famous Assassinations in World History: An Encyclopedia. ABC-CLIO. p. 404. ISBN 978-1-61069-285-4.
- ↑ "Box office by Country: The President's Last Bang Box Office Mojo. Retrieved 2012-06-04
- ↑ "Box office by Country: The Men At That Time Box Office Mojo. Retrieved 2012-06-04
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติ (en:Order of Merit for National Foundation)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติ | |
---|---|
ประเภท | อิสริยาภรณ์ห้าชั้น |
วันสถาปนา | ค.ศ. 1949 |
ประเทศ | เกาหลีใต้ |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
ผู้สมควรได้รับ | ผู้ที่สร้างคุณงามความดีและสร้างบุญคุณอันเป็นที่ประจักษ์และสร้างชาติให้แก่สาธารณรัฐเกาหลี |
สถานะ | ยังมีการมอบ |
ประธาน | ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องอิสริยาภรณ์มกุฮวา |
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติ (อังกฤษ: Order of Merit for National Foundation, เกาหลี: 건국훈장) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งเกาหลีใต้ โดยประธานาธิบดีเกาหลีใต้จะมอบให้สำหรับ "ผู้ที่สร้างคุณงามความดีและสร้างบุญคุณอันเป็นที่ประจักษ์และสร้างชาติให้แก่สาธารณรัฐเกาหลี"[1] เครื่องอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1949[2]
ลำดับชั้น
เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้น 5 ชั้น[3] ได้แก่
ชั้นที่ | ชื่อชั้น | แพรแถบ |
---|---|---|
1st | เหรียญแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (대한민국장) | |
2nd | เหรียญแห่งประธานาธิบดี (대통령장) | |
3rd | เหรียญแห่งอิสรภาพ (독립장) | |
4th | เหรียญแห่งความรักชาติ (애국장) | |
5th | เหรียญแห่งชาติ (애족장) |
การมอบ
ในปี ค.ศ. 2005 มีผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ไปแล้วทั้งสิ้น 5,000 ราย[4] และส่วนใหญ่มักจะมอบให้แก่ชาวเกาหลีที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่ตอนที่พวกเขาเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศเกาหลีใต้มากมาย
อ้างอิง
- ↑ Awards and Decorations Act, Act มาตรา 11690 ประกาศใช้เมื่อ March 23, 2013(in English and Korean) Korea Legislation Research Institute. Retrieved 2018-02-14.
- ↑ 이경택, 박정민, 조성진 (2012-07-27). "임기말 '측근 챙기기용' 논란 훈·포장 A to Z". 문화일보. สืบค้นเมื่อ 2013-02-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "훈장과 포장" [Orders and Medals]. Decorations of the Republic of Korea (ภาษาเกาหลี). Ministry of Interior and Safety. 2015. สืบค้นเมื่อ 2018-02-14.
- ↑ "[보훈처] 3·1절 계기 독립유공자 포상 보도자료". Webzine Korean History (웹진 현대사). สืบค้นเมื่อ 2006-04-22.
หมวดหมู่:เครื่องอิสริยาภรณ์เกาหลีใต้
เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว (en:Order of Brilliant Star)
เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว | |
---|---|
ประเภท | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายพลเรือนเก้าชั้น |
วันสถาปนา | ค.ศ. 1941 |
ประเทศ | สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
ผู้สมควรได้รับ | ชาวไต้หวันและชาวต่างชาติที่กระทำคุณประโยชน์ต่อสาธารณรัฐจีน |
สถานะ | ยังมีการมอบ |
ผู้สถาปนา | เจียง ไคเช็ก |
ประธาน | ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องอิสริยาภรณ์เมฆมงคล |
เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว (อังกฤษ: Order of Brilliant Star, จีนตัวเต็ม: 景星勳章; จีนตัวย่อ: 景星勋章; พินอิน: Jǐng xīng xūnzhāng) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ของประเทศไต้หวัน มอบให้กับชาวไต้หวันที่กระทำคุณประโยชน์อย่างยิ่ง และยังมอบให้กับผู้มีเกียรติจากต่างปนะเทศอีกด้วย[1] โดยเครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีศักดิ์รองจากเครื่องอิสริยาภรณ์เมฆมงคล เครื่องอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1941
ลักษณะของดารา ดวงตรา และที่มาของชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์
ในดวงตราและดาราจะมีดวงดาวกระจายอยู่ 5 ดวง[1] โดยชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีที่มาจากบันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ ซึ่งกล่าวไว้ว่า "ดวงดางอันสุกสกาวซึ่งจะเฉิดฉายไปยังผู้มีคุณประโยชน์ต่อชาติ" (อังกฤษ: Brilliant star, which differs in appearance from time to time, shine upon the nations of the righteous)
ลำดับชั้น
เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้น 9 ชั้น[2]
สมาชิกอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง
- หลี่ อัน[3], ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไต้หวัน
- หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล[4], ข้าราชการพลเรือนชาวไทย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "Civilian orders". english.president.gov.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2017. สืบค้นเมื่อ April 28, 2013.
- ↑ Article of Decorations. Taipei, Taiwan: Ministry of Justice. 1981.
- ↑ AFP (10 May 2013). "Oscar-winning Ang Lee receives Taiwan medal". The Bangkok Post.
- ↑ ROC Government (11 December 1962), Certificate, awarding to Mom Luang Pin Malakul the Order of the Brilliant Star (Grand Cordon) (ภาษาชามอร์โร).
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (en:Panusaya Sithijirawattanakul)
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล | |
---|---|
เกิด | 15 กันยายน พ.ศ. 2541 จังหวัดนนทบุรี |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | รุ้ง (ชื่อเล่น) |
การศึกษา | คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ |
|
มีชื่อเสียงจาก | แกนนำการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 |
ญาติ | พี่น้อง 2 คน |
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (ชื่อเล่น : รุ้ง) (พ.ศ. 2541 –) เป็นนักเคลื่อนไหวและนักสิทธิมนุษยชนชาวไทย ทั้งนี้เธอยังเป็นโฆษกของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) อีกด้วย เธอเป็นที่รู้จักกันดีจากการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เธอยังเป็นแกนนำคนสำคัญในการประท้วงและการชุมนุมหลายครั้งอีกด้วย[1]
ชีวิตในวัยเด็ก
เธอเกิดเมือปี พ.ศ. 2541 ที่จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัวชนชั้นกลางที่ประกอบอาชีพค้าขาย[2] มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 2 คน ตอนเด็กเธอเป็นคนขี้อายและเก็บตัวเงียบ สมัยที่เธอเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาเธอมักจะถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนเสมอ จนกระทั่งเธอได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ทำให้เธอกล้าแสดงออกมากขึ้นและปรับตัวเข้ากับสังคมได้มากขึ้น[3]
เธอสนใจการเมืองมาตั้งแต่ยังเยาว์วัยโดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อของเธอ เธอเริ่มค้นคว้าและศึกษาเกี่ยวกับรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และเธอเริ่มสนใจการเมืองมากกว่าเดิมเมื่อตอนติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย[4] เธอมักจะสนทนากับเพื่อนเกี่ยวกับเรื่องการเมืองสมัยที่เธอกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันเธอกำลังศึกษาอยู่ที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เคลื่อนไหวทางการเมือง
เธอเริ่มสนใจทางการเมืองแบบเต็มตัวหลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่เธอศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3[5] ทั้งนี้ยังเข้าร่วมกับพรรคโดมปฏิวัติ และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เธอเป็นหนึ่งในผู้ประท้วงในการคัดค้านคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคอนาคตใหม่
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เธอถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมเนื่องจากฝ่าฝืนพระราชกำหนดในมาตรการสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 จากการที่เธอเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จากกรณีการบังคับให้สูญหายซึ่งวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์[4]
ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เธอได้ขึ้นปราศรัยจากการชุมนุม ธรรมศาสตร์จะไม่ทน และได้ปราศรัยเกี่ยวกับ 10 ข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย[6]ต่อหน้านักศึกษาที่มาร่วมชุมนุมนับร้อยคน[7] ด้วยเกิดวลีเด็ดที่ว่า "ทุกคนเกิดมาล้วนมีเลือดสีแดงไม่ต่างกัน ไม่มีใครเกิดมาเป็นเลือดสีน้ำเงิน" ซึ่งมีนัยยะแฝงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์[3] เป็นสาเหตุที่ทำให้เธอถูกทางการจับกุมในภายหลัง[8] ด้วยการปราศรัยที่กล้าหาญและตรงไปตรงมาของเธอทำให้เธอถูกนำไปเปรียบว่าเหมือนแอกเนส โชว นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกง นอกจากนี้เธอยังถูกทางการไทยออกหมายจับมาแล้วจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเธอ[9] ทั้งนี้เธอคือแกนนำคนสำคัญของการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563[10][11]
อ้างอิง
- ↑ "Mit Harry Potter gegen Militär und König". jungle.world (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ AFP (29 August 2020). "Student leader defies Thailand's royal taboo | New Straits Times". NST Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ 3.0 3.1 "The student daring to challenge Thailand's monarchy". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 17 September 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ 4.0 4.1 "Three activists who break Thailand's deepest taboo". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ "Thai protest icon is 'prepared' to cross kingdom's forbidden line". Nikkei Asian Review (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ ศาล รธน. รับวินิจฉัย ชุมนุมปราศรัย 10 ส.ค. ล้มล้างการปกครองหรือไม่
- ↑ "In Thailand, A 21-Year-Old Student Dares To Tackle A Taboo Subject". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ “รุ้ง ปนัสยา” แกนนำม็อบ มธ.โพสต์แล้ว “ปลอดภัยดี” บอกมาเรียนตามปกติ แต่เขาคงไม่ปล่อยเราไว้นานแน่
- ↑ "The students risking it all to challenge the monarchy". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ "รุ้ง" ไม่ขึ้นเวทีปลดแอก แกนนำย้ำ 3 ข้อเสนอเดิม
- ↑ ชุมนุม 19 กันยา : “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาผู้ยืนกรานปฏิรูปสถาบันฯ
แหล่งข้อมูลอื่น
หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2541 หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:บุคคลจากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมวดหมู่:นักเคลื่อนไหวชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดนนทบุรี
สุดโก้ เจียระไน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สุดโก้ เจียระไน | |
---|---|
เกิด | อุดม บุญประคม พ.ศ. 2500 จังหวัดหนองบัวลำภู |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | |
ช่วงปี | พ.ศ. 253X – ปัจจุบัน |
สุดโก้ เจียรไน (พ.ศ. 2500 –) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงคนหนึ่งของประเทศไทย โดยโด่งดังมาจากเพลง หมีแพนด้า เมื่อปี พ.ศ. 2549[1][2] นอกจากนี้ยังแต่เพลงให้กับศิลปินอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ ร็อคสะเดิด, จินตหรา พูนลาภ, ต่าย อรทัย, ดอกอ้อ ทุ่งทอง ฯลฯ
ประวัติและชีวิตในวงการ
เขามีชื่อจริงว่า อุดม บุญประคม เกิดปี พ.ศ. 2500 ที่จังหวัดหนองบัวลำภู เขาจบเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังจากนั้นก็ผนวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ชีวิตตอนเด็กเขาถือว่าลำบากเนื่องจากบิดาเสียชีวิต ต้องช่วยมารดาทำนา หลังจากนั้นเขาก็ไปเสี่ยงโชคในกรุงเทพฯ โดยทำงานที่โรงงานรองเท้าย่านเมืองทอง[3]
เขาเริ่มเข้าสู่ชีวิตวงการดนตรีจากการแต่งเพลง ครูเติ่งผิดหวัง ขับร้องโดยประสาน เวียงสีมา โดยเขาแต่งเพลงขณะที่ทำงานอยู่ในโรงงาน แล้วประสานก็เอาไปบันทึกเสียง[3] จนกระทั่งราช เมืองอุบล และนคร แดนสารคามมาได้ยินเพลงจากการประพันธ์ของเขา เขาจึงขายเพลงนี้ให้กับสองคนนั้นไป หลังจากนั้นประสาน เวียงสีมาก็ไปอยู่ในวงดนตรีของสาธิต ทองจันทร์ เขาจึงแต่งเพลงให้กับประสานอีกหลายเพลง เช่น ลำซิ่งไอ้เสือแดง หลังจากนั้นเขาก็ประพันธ์เพลงให้กับศิลปินอื่นมาแล้วและสร้างชื่อเสียงมาหลายคน อาทิ ร็อคสะเดิด, ดอกอ้อ ทุ่งทอง, ต่าย อรทัย, จินตหรา พูนลาภ แล้วมาใช้ชื่อว่า สุดโก้ เจียรไน ในที่สุด[3]
ผลงานเพลง
ของตัวเขาเอง
- หมีแพนด้า (2549)
ผลงานที่ประพันธ์ให้กับศิลปินท่านอื่นจนมีชื่อเสียง
- นัดรอบ่พ้ออ้าย[4] (จินตหรา พูนลาภ)
- เอิ้นสั่งหลังสงกรานต์ (ต่าย อรทัย)
- อกหักวันแห่เทียน (ดอกอ้อ ทุ่งทอง)
- ขาขาวสาวลำซิ่ง (หญิงลี ศรีจุมพล)