ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:ดุสิต สถาวร/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดุสิต สถาวร[แก้]

พันเอก นายแพทย์

ดุสิต สถาวร
Dusit's Photo taken by IDV staff
เกิด22 กุมภาพันธ์ 2506 (52 ปี)
จังหวัดตรัง
พลเมืองไทย
ศิษย์เก่าวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
องค์การโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
มีชื่อเสียงจากกุมารแพทย์ สาขาเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก และที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ
ผลงานเด่นPediatrics; Critical care; Quality & safety; Ethics



พันเอก นายแพทย์ ดุสิต สถาวร กุมารแพทย์อนุสาขาเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก และหัวหน้าศูนย์บริหารยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ประวัติ[แก้]

เกิดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 ที่โรงพยาบาลชาตะสงเคราะห์ อำเภอทับเที่ยง จังหวัดตรัง เมื่ออายุ 3 ปี บิดามารดาได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาชั้นปนะถามตอนปลายจากโรงเรียนราชวินิต และชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังสอบเทียบชั้นมัธยมปลายได้เข้าศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 1 ปี ก่อนที่จะมาศึกษาต่อที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (2523-29) โดยศึกษาเตรียมแพทย์ที่คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากนั้นไปเป็นแพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 1 ปี และกลับมาเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชกรรม ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 1 ปี ก่อนจะเดินทางไปฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์ทั่วไปและอนุสาขากุมารเวชวิกฤตที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 6 ปี จากนั้นมารับราชการเป็นอาจารย์กุมารแพทย์ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ กองการศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และกองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จนถึงปัจจุบัน

การศึกษา[แก้]

  • แพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
  • Residency training in Pediatrics; State University of New York Health Science Center at Brooklyn & Kings County Hospital Center, Brooklyn, New York, USA (1988-1991)
  • Fellowship training in Pediatric critical care; University of Texas Southwestern Medical Center & Children’s Medical Center of Dallas, Dallas, Texas, USA (1991-1994)
  • หลักสูตรชั้นนายพัน รร.เสนารักษ์ พบ. รุ่นที่ 42
  • หลักสูตรผู้บริหารสายแพทย์ พบ. รุ่นที่ 6 พ.ศ. 2547
  • หลักสูตรหลักประจำวิทยาลัยการทัพบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง ชุดที่ 54

ผลงาน[แก้]

ตลอดระยะเวลา 21 ปี พันเอกนายแพทย์ ดุสิต สถาวร ได้ทุ่มเทให้กับงาน 4 ด้านหลัก ได้แก่

การเรียนการสอนนักเรียนแพทย์ทหารและแพทย์ประจำบ้าน[แก้]

เป็นอาจารย์สอนนักเรียนแพทย์ทหารของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าทุกชั้นปี ในวิชาต่อไปนี้ วิชาสรีรวิทยา (ระบบหายใจ) วิชาสังคมพฤติกรรมศาสตร์ (จริยธรรม ความปลอดภัยผู้ป่วย) วิชาการเรียนรู้ทางการแพทย์โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (เดิมชื่อวิชาบทนำทางคลินิก) วิชากุมารเวชศาสตร์ 1-3 (review of pediatric physical examination, basic concepts of pediatric critical care, ethics I,II, III) วิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (ในส่วนของภาควิชากุมารเวชศาสตร์) สำหรับการสอนแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดนั้นได้พัฒนาการฝึกอบรม Advanced pediatric resuscitation สำหรับแพทย์ประจำบ้านและพยาบาลของแผนกพยาบาลกุมารเวชกรรม (ที่ base on หลักสูตร Pediatric advanced life support, PALS) การฝึกใช้เครื่องช่วยหายใจในเด็ก (Pediatric ventilator workshop) แนวทางการดูแลผู้ป่วยในหออภิบาลผู้ป่วยเด็กแบบ organ system-oriented approach สำหรับวิชาในระดับก่อนปริญญา ริเริ่มการสอน Medical ethics สำหรับแพทย์ประจำบ้าน บรรณาธิการตำรากุมารเวชวิกฤต หนังสือคู่มือการสัมภาษณ์และตรวจร่างกายเด็ก (Manual of pediatric history taking and physical examination)

การพัฒนาระบบคุณภาพ[แก้]

เริ่มต้นจากการเข้าอบรมหลักสูตร ISO 9001: Documentation and Implementation ในปี 2542 ที่โรงพยาบาลเซนหลุยส์ โดยคำแนะนำของท่านอาจารย์สุรีย์พร คุณาไทย หลังจากนั้นท่านได้ชวนมาช่วยงานด้านการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยเข้าอบรมหลักสูตรผู้ประสานงานคุณภาพของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล รุ่นที่ 10 หลังจากนั้นได้มาช่วยงานสำนักงานพัฒนาคุณภาพ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์บริหารคุณภาพ โดยได้ริเริ่มให้มีการจัดอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับระบบคุณภาพขึ้นภายในโรงพยาบาล (Basic HA, Facilitator, ระบบยาของโรงพยาบาลคุณภาพ การพัฒนาคุณภาพงานบริการสำหรับผู้บริหารการพยาบาล HA สำหรับอาจารย์แพทย์ การพัฒนาคุณภาพสำหรับงานสนับสนุนบริการ การบริหารความเสี่ยงสำหรับผู้จัดการความเสี่ยงระดับหน่วยงาน การนำแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพสู่การปฏิบัติของ รพ.รร.๖ การจัดการความรู้สำหรับหน่วยงาน การเป็นผู้เยี่ยมสำรวจภายใน คุณภาพและความปลอดภัยทางคลินิก) เป็นที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ในปัจจุบัน) เป็นผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (EdPEx) และผู้ตรวจประเมินในโครงการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (EdPEx 200) ครั้งที่ 2 ล่าสุดเป็นผู้ตรวจประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานสากล (Basic Medical Education WFME Global Standards for Quality Improvement)

จริยธรรมวิชาชีพ[แก้]

เริ่มต้นจากงานในหน้าที่หลัก คือ การดูแลรักษาผู้ป่วยในหออภิบาลผู้ป่วยเด็กหรือไอซียูกุมารที่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคและการเจ็บป่วยที่รุนแรง ทำให้หันมาสนใจเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในไอซียู และร่วมกับอาจารย์พรเลิศ ฉัตรแก้ว (จุฬาฯ) จัด workshop เรื่องนี้ให้ทางสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย ต่อมางานด้านการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล ทำให้ต้องเข้าไปรับผิดชอบการจัดทำสรุปการรักษาผู้ป่วยที่มีผู้ป่วยร้องเรียนแพทยสภา จนกระทั่งอาจารย์ประสบศรี อึ้งถาวร ได้ขอให้ไปช่วยเป็นเลขานุการของคณะอนุกรรมการจริยธรรม ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กรรมการในคณะอนุกรรมการจริยธรรมและคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ของแพทยสภา ต่อมาในปี 2550 ท่านอาจารย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ได้แต่งตั้งให้เป็นประธานฝ่ายจริยธรรมของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และทำหน้าที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ความรู้และประสบการณ์จากการทำหน้าที่ดังกล่าวทำให้มีข้อมูลมาจัดทำเป็นกรณีศึกษาเพื่อสอนนักเรียนแพทย์ทหารและแพทย์ประจำบ้าน รวมทั้งผู้เข้าประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

งานบริการทางวิชาการของสมาคมวิชาชีพ[แก้]

มีโอกาสได้ทำงานให้กับสมาคมวิชาชีพ 3 สมาคมและ 1 ชมรม

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย[แก้]

เริ่มจากการช่วยงานสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทยในฐานะ scientific committee ของการประชุม 5th Congress of Asia Pacific Association for Respiratory Care (APARC) ณ กรุงเทพฯ ในปี 2539 โดยการชักนำของท่านอาจารย์สุภรี สุวรรณจูฑะ ต่อมาได้เป็นกรรมการบริหารของสมาคมฯ และนายกสมาคมฯ ระหว่าง พ.ศ. 2553-55

สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย[แก้]

เริ่มจากการช่วยงานในฐานะฝ่าย audio-visual จนกระทั่งท่านอาจารย์อุษาชักชวนให้เข้าไปช่วยในคณะอนุกรรมการวิชาการของสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยในปี 2547 จนกระทั่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปเป็นกรรมการบริหารของทั้งสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ทำให้มีโอกาสจัดการประชุมใหญ่กุมารเวชศาสตร์ปีละ 2 ครั้ง และการอบรมระยะสั้นประจำปี (เปลี่ยนเป็นการอบรม Intensive review in Pediatrics ตั้งแต่ปี 2551) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน

สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย[แก้]

เริ่มต้นจากการทำงานในลักษณะเครือข่าย คือ เครือข่าย palliative care ในโรงเรียนแพทย์ (MS-PCARE) เพื่อสร้างเครือข่ายและแกนนำผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแสวงหาความรู้ ความต้องการและแนวทางการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวแบบองค์รวมในบริบทของสังคมไทย โดยนำไปปรับใช้กับหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของแต่ละสถาบัน เพื่อนำไปสู่วัฒนธรรมการดูแลที่ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการและชุมชนมีส่วนร่วมและพึงพอใจ จนกระทั่งผลักดันให้มีการจัดตั้งสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายขึ้น เพื่อเป็นเจ้าภาพจัดกาปรระชุมนานาชาติ The 10th Asia Pacific Hospice Conference (APHN Conference) ในปี 2556

ชมรมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย[แก้]

ทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานฝ่ายวิชาการ (เวชบำบัดวิกฤต) ตั้งแต่ก่อตั้งชมรมฯ เมื่อปี พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน

จากการที่ได้ทำงานในทั้ง 3 สมาคม และ 1 ชมรม ทำให้มีโอกาสเป็นบรรณาธิการของหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสที่มีการประชุมวิชาการมากกว่า 30 เล่ม จัดการประชุมระดับชาติมากกว่า 40 ครั้ง และการประชุมนานาชาติ 9 ครั้ง

ตำแหน่งในปัจจุบัน[แก้]

  • นายแพทย์ประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (ชกท.๐๐๐๒)
  • หัวหน้าศูนย์บริหารยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ประธานฝ่ายจริยธรรม ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  • คณะกรรมการกลาง สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  • ประธานฝ่ายจัดการความรู้ สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย
  • ประธานฝ่ายวิชาการ (เวชบำบัดวิกฤต) ชมรมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย
  • ฝ่ายปฏิคม สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย
  • คณะอนุกรรมการรับรองกระบวนการคุณภาพ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
  • ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ
  • ผู้ตรวจประเมินในโครงการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
  • ผู้ตรวจประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานสากล

เกียรติประวัติและผลงานดีเด่น[แก้]

รางวัล[แก้]

  • โล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้สอบได้ลำดับที่หนึ่งตลอดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • โล่ประกาศเกียรติคุณ แพทย์ประจำบ้านต่อยยอด แพทย์ดีเด่น (Outstanding Fellow Award, Department of Pediatrics, UT Southwestern Medical Center/ Dallas, USA 1993)
  • โล่ประกาศเกียรติคุณ อาจารย์แพทย์ดีเด่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • โล่ประกาศเกียรติคุณ ศิษย์เก่าดีเด่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • โล่ประกาศเกียรติคุณ ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนราชวินิต

ทุน[แก้]

  • ทุนศึกษาต่อต่างประเทศ กองทัพบก พ.ศ. 2531-37

บรรณาธิการหนังสือและตำรา[แก้]

  1. Essential of Mechanical Ventilation for Infants and Children. อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์, ดุสิต สถาวร, ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: หจก. ภาพพิมพ์ 2543
  2. What You Should Know In Critical Care. ดุสิต สถาวร, อดิศร วงษา บรรณาธิการ กรุงเทพมหานคร: หจก. ภาพพิมพ์ 2543
  3. Critical Care Medicine in the Era of Limited Resources. ดุสิต สถาวร, อดิศร วงษา บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: หจก. ภาพพิมพ์ 2544
  4. Pediatric Pulmonology and Respiratory Care. อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์, ดุสิต สถาวร, จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์ ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2544
  5. ตำรากุมารเวชวิกฤต. ดุสิต สถาวร, ชลิดา เลาหพันธ์, ปรียาพันธ์ แสงอรุณ, สุรีย์พร คุณาไทย บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2545
  6. Current Management in Critical Care Medicine. ดุสิต สถาวร, อดิศร วงษา บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2545
  7. New Insights in Pediatric Critical Care. จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, ดุสิต สถาวร, นวลจันทร์ ปราบพาล บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2546
  8. Practical Points in Critical Care. ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, ดุสิต สถาวร บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2546
  9. Pediatric Respiratory and Critical Care. จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, ดุสิต สถาวร, นวลจันทร์ ปราบพาล บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2547
  10. Update in Critical Care 2004. ดุสิต สถาวร, ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ บรรณาธิการ กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2547
  11. Critical Care: Guidelines and Standards. ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, ดุสิต สถาวร บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2547
  12. Update in Pediatric Critical Care. ดุสิต สถาวร, จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, นวลจันทร์ ปราบพาล บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2548
  13. Disaster: Role of Critical Care. ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, ดุสิต สถาวร บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2548
  14. Best practices in critical care. ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, เอกรินทร์ ภูมิพิเชฐ, ดุสิต สถาวร บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2549
  15. Critical advances in pediatrics. ดุสิต สถาวร, ชิษณุ พันธุ์เจริญ, อุษา ทิสยากร บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2550
  16. Pediatric respiratory diseases: Integration of clinical sciences into practice. จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, ดุสิต สถาวร, นวลจันทร์ ปราบพาล บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2550
  17. New trend in pediatric practice 2008. ดุสิต สถาวร, ชิษณุ พันธุ์เจริญ, อุษา ทิสยากร บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2551
  18. New horizons in the management of critically ill children. ดุสิต สถาวร, จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, นวลจันทร์ ปราบพาล บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2551
  19. Current practice in pediatrics: Current practice. ดุสิต สถาวร, อังกูร เกิดพาณิช บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2551
  20. Pediatric pulmonology 2009: Current knowledge and practice. จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, ดุสิต สถาวร, นวลจันทร์ ปราบพาล บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2552
  21. Clinical practice in pediatrics: Challenging issues. ดุสิต สถาวร, พิรังกูร เกิดพาณิช, แสงแข ชำนาญวนกิจ, ชลิดา เลาหพันธ์, ฤดีวิไล สามโกเศศ. บรรณาธิการ กรุงเทพมหานคร: บ.นำอักษรการพิมพ์ จำกัด 2552
  22. Advances in Pediatrics. ดุสิต สถาวร, ฤดีวิไล สามโกเศศ, สมศักดิ์ โล่ห์เลขา บรรณาธิการ กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2552
  23. Pediatric critical care: Evolving concepts and practice. ดุสิต สถาวร, จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, นวลจันทร์ ปราบพาล บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2553
  24. คู่มือการสัมภาษณ์และตรวจร่างกายเด็ก. ดุสิต สถาวร, แสงแข ชำนาญวนกิจ, ประไพพิมพ์ ธีรคุปต์, ชลิดา เลาหพันธ์ บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2553
  25. Advances in Pediatrics II. ดุสิต สถาวร, ฤดีวิไล สามโกเศศ, สมศักดิ์ โล่ห์เลขา บรรณาธิการ กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2553
  26. Optimizing practice in pediatric respiratory diseases. อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์, ดุสิต สถาวร, หฤทัย กมลาภรณ์, พนิดา ศรีสันต์ บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด, 2554
  27. Manual of Pediatric Mechanical ventilation. ดุสิต สถาวร, จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, นวลจันทร์ ปราบพาล บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด, 2554.
  28. Critical Care: Make it easy. ดุสิต สถาวร, อนันต์ วัฒนธรรม, เอกรินทร์ ภูมิพิเชษฐ บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: หจก.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์, 2554.
  29. Patient Safety in the ICU. ดุสิต สถาวร. บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: หจก.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์, 2554.
  30. Critical Care: From basic to bedsides. ดุสิต สถาวร, สหดล ปุญญญถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์ บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: หจก.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์, 2555
  31. The Dawn of Palliative Care in Thailand. ลักษมี ชาญเวชช์ ดุสิต สถาวร บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: หจก.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์, 2556
  32. Critical Care: From Global Perspective to Every Day Practice. ดุสิต สถาวร, สหดล ปุญญญถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์ บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: หจก.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์, 2556
  33. Who care, we do. ดุสิต สถาวร บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2557
  34. Critical Care Medicine: The smart ICU. ดุสิต สถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์. บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2557
  35. Pediatric critical care: The essentials. ดุสิต สถาวร, เฉลิมไทย เอกศิลป์, รุจิพัฒน์ สำราญสำรวจกิจ. บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: บ.บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2558


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]