ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:ช่างฝีมือในวัง(หญิง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนช่างฝีมือในวัง(หญิง) ROYAL TRADITIONAL THAI CRAFTS SCHOOL FOR WOMEN

ความเป็นมา

สืบเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เกี่ยวกับงานช่างประดิษฐ์ของสตรี   อันเป็นประณีตศิลป    ซึ่งมีอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ว่า  สมควรที่จะมีการถ่ายทอดความรู้ในวงกว้าง  เพื่อให้ตระหนักในคุณค่า และช่วยกันอนุรักษ์ไว้  เพราะผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางช่างนับวันจะหมดไป ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นผู้สูงอายุเป็นส่วนมาก  การถ่ายทอดความรู้และทักษะ  จะเป็นการอนุรักษ์  ส่งเสริมและเผยแพร่  ให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบ  ชึ่งจะเป็นประโยขน์อย่างยิ่งนับอเนกประการ  สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ผู้เรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้อีกด้วย  ประกอบกับขนาดนั้น  อาคารพระตำหนักและ เรือนหลวงต่างฯ  ในพระบรมมหาราชวัง  ได้รับการบูรณะช่อมแชม   ให้คงสภาพใกล้จะเสร็จเรียบร้อยแล้ว

 จึงมีพระราชประสงค์ให้จัดตั้งวิทยาลัยในวังหญิงขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อ สอนวิชาช่างประดิษฐ์ของสตรีดังกล่าว  และพระราชทานพระราชาอนุญาต ให้คัดแปลงอาคารเรือน ห้องเครื่องสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นอาคารเรียน

สำนักพระราชวังได้สนองพระราชประสงค์  โดยติดต่อกับ กรมการศึกษานอกโรงเรียนกระทรวงศึกษาธิการขอให้  จัดตั้งโรงเรียน ผู้ใหญ่พระตำหนักสวนกุหลาบ วิทยาลัยในวัง กรมการศึกษานอนโรงเรียน จึ งได้ประกาศจัดตั้ งโรงเรียนดังกล่าวขึ้น เมื่อวันที่  ๒๕  เมษายน พ.ศ ๒๕๒๙  เพื่อเปิดสอนวิชาช่างสตรี  เป็นวิชาชีพ หลักสูตรระยะสั้น ระยะเวลาเรียน 1 ปี และเริ่มเปิดทำการสอน  เมื่อวันที่  ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ ๒๕๒๙  เป็นต้นมา

ต่อมาเมื่อนักศึกษามากขึ้นสถานที่ ก็ดูคับแคบลงสำนักพระราชวัง  ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ให้ย้ายวิทยาลัยในวังมาอยู่ ณ  สถานที่ปัจจุบัน คือ ตำหนักพระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา  ตั่งแต่วันที่  ๒๒  พฤษภาคม  ๒๕๓๒

เกี่ยวกับครูผู้สอน ครูผู้สอนส่วนใหญ่เป็น ผู้ชำนาญการในวัง  ผู้ชำนาญการเหล่านี้  ปฏิบัติราชการ อยู่ในแผนกพระราชฐานชั้นใน  สำนักพระราชวังทั้งสิ้น  ผลัดเปลี่ยนมาสอน ในช่วงเวลาที่ออกเวรยาม

เกี่ยวกับนักศึกษาผู้เรียน   โรงเรียนแห่งนี้  เปิดรับสอนเฉพาะ นักศึกษาหญิง ไม่จำกัดความรู้และสถานที่อยู่  แต่ต้องมีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป  จะเปิดรับสมัคร  ประมาณต้นเดือน มกราคมของทุกปี แขนงวิชาละ ๓๐ คน  หากมีผู้สมัครมากเกินจำนวนที่ต้องการ  จะคัดเลือกโดยวิธี  การสัมภาษณ์ หรืออื่นๆตาม ที่เห็นสมควร


สำหรับค่าใช้จ่ายนั้น  โรงเรียนไม่เรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียน  ค่าบำรุง หรือ ค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น ชึ่งนักศึกษาจะต้องจัดหาวัสดุในการเรียนมาเอง

ลักษณะการเรียนการสอน

โรงเรียนเปิดสอนวิชาชีพ  ๓  แขนง วิชา คือ  วิชาอาหารและขนม   วิชาช่างดอกไม้สด   วิชาช่างปักสะดึง   วิชาต่างๆมีหลักสูตร  โดยย่อดังนี้  

วิชาอาหารและขนม  

นักศึกษาจะได้เรียน ในเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารและขนม  อาหารคาว ประเภท แกง ต้ม ตุ๋น  ผัด   และอาหารจานเดียว  อาหารหวาน  ก็มีประเภท อบ กวน เชื่อม ประเภทใส่น้ำหวาน น้ำเชื่อม ไอศกรีม  เครื่องดื่ม และ อาหารว่าง  นอกจากนี้ยังมี การแกะสลักผักและผลไม้ ตลอดจนการถนอมอาหาร  ประเภทต่างๆ  ให้รู้ถึงประโยชน์  วิธีการ และ การบริการอาหารในโอกาสต่างๆ

วิชาช่างดอกไม้สด

นักศึกษาได้เรียนรู้ตั่งแต่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ วิชาช่างดอกไม้สด การร้อยมาลัยแบบต่าง ๆ การจัดพานดอกไม้สด   การปักพุ่ม    การจัดทำเครื่องห้อยเครื่องแขวน   การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากดอกไม้สด งานประดิษฐ์ใบตอง การทำส่วนประกอบงานตกแต่งดอกไม้สด เช่น ร้อยอุบะ ร้อยตาข่าย  ร้อยเฟื่อง  และ การจัดดอกไม้สดในงานพิธีต่าง ๆ

วิชาช่างปักสะดึง

นักศึกษาต้องความเรียนความรู้เบื้องต้น ของวิชาช่างปักสะดึง ตั้งแต่การรู้จัก การทำแม่สะดึง ทำขาสะดึง การขึงผ้า  การวางผ้า การลอกลาย การหนุนลาย  การปักไหม การปักไหมทอง การปักดิ้น  การปักเลื่อม ปักมุก การปักโดยใช้วัสดุหลายอย่างประกอบกัน และการประดิษฐ์เครื่องใช้เครื่องประดับประกอบการปัก

การฝึกงาน นักศึกษาทุกแผนกวิชา ต้องฝึกงาน นอกเหนือวิชาเวลาเรียน  อีกคนละ ๒๐๐ ชั่วโมง


นอกจากฝึกงานแล้ว นักศึกษาทุกคน  ต้องเลือกเรียนวิชาเลือกต่อไปนี้อีกคนละ ๑ วิชา เป็นเวลา ๔๐ ชั่วโมง  คือ   การพับผ้าเช็ดหน้าเป็นรูปตัวสัตว์   การประดิษฐ์ใบตอง   การประดิษฐ์บายศรีจากใบตอง เครื่องหอมไทย  การทำเบกอรี่


โรงเรียนเปิดทำการสอนปีละ ๒ ภาคเรียน คือ

ภาคเรียนที่ ๑ ตั่งแต่วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ถึง ๑๙ ตุลาคม

ภาคเรียนที่ ๒ ตั่งแต่วันที่  ๑ พฤศจิกายน ถึง ๓๑ มีนาคม

เวลาเรียน ตั่งแต่เวลา ๘.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. ทุกวันราชการ  หยุดเรียนวันเสาร์  อาทิตย์  และวันหยุดตามนักขัตตกฤษ์

ที่ตั้งของโรงเรียน ที่เขตพระราชฐานชั้นในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรงเทพฯ10200

โทร ๐-๒๒๔-๙๔๗๑