ผู้ใช้:กองบัญชาการช่วยรบที่ 2/หน้าทดลอง
ประวัติความเป็นมาของ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒
จัดตั้งขึ้น ตามคำสั่ง กองทัพบกที่ ๒๖๑/๑๐ ลง ๑๓ กันยายน ๒๕๑๐ เรื่องการจัดตั้งหน่วยส่งกำลังบำรุง โดยให้จัดหน่วย กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ ตาม อัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ เพื่อพราง หมายเลข ๕๔-๒ และ ให้เรียกชื่อย่อว่า “บชร.๒” และได้ทำการเปิดกองบังคับการ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๐ ณ ที่ตั้งชั่วคราวในอาคารชั้นล่าง กองร้อยกองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๒
บชร. ๒ เมื่อแรกตั้ง ณ ที่ทำการชั่วคราว อาคาร ร้อย.บก.ทภ.๒ ในปี ๒๕๑๐ มี พ.อ.จักรชัย ศุภางคเสน เป็น ผบ.บชร.๒
ต่อมา ได้แปรสภาพหน่วย ตามคำสั่ง กองทัพบก (เฉพาะ) ที่ ๑๓๔/๒๗ เรื่อง ปรับการจัดหน่วย กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ เป็นแบบพันธกิจ ประกอบด้วยหน่วยรองหลักคือ
๑.ศูนย์ควบคุมการส่งกำลังบำรุง
๒. กองพันส่งกำลังและบริการ
๓. กองพันซ่อมบำรุง
๔. กองพันทหารขนส่ง
๕. กองพันทหารเสนารักษ์
๖. กองพันสรรพาวุธกระสุน
ที่ตั้งปกติถาวร ที่ค่ายสุรนารี ต.หนองไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครราชสีมา
การแบ่งมอบ เป็นหน่วยในอัตราของกองทัพภาคที่ ๒
ภารกิจ
สนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงให้แก่หน่วยในอัตราบรรจุมอบ หน่วยขึ้นสมทบกองทัพภาคที่๒ และอาจรับภารกิจให้การสนับสนุนกำลังกึ่งทหารอื่นๆ อีกได้
ขีดความสามารถ ให้การสนับสนุนหน่วยได้ ๒ กองพล และสามารถสนับสนุนหน่วยได้ ๔ กองพล เมื่อบรรจุในอัตราเต็ม
เกียรติประวัติของหน่วย
ได้จัดส่วนแยกกองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ สนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุง ให้กับหน่วยตามแผนงานป้องกันประเทศ , การรักษาความมั่นคงภายในดังนี้
๑. จัดหน่วย ส่วนแยก ๒๐๑ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ ออกสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงให้กับหน่วยที่ ปราบปราม ผกค. ในพื้นที่ กองทัพภาคที่ ๒ ส่วนหน้า ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๖ ถึง พ.ศ.๒๕๒๕
๒. จัด ส่วนแยก ๒๐๒ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ ออกสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงเป็นส่วนรวมให้กับ จังหวัดทหารบกอุดรธานี ส่วนแยกที่ ๑ สกลนคร , จังหวัดทหารบกอุดรธานี ส่วนแยกที่ ๒ นครพนม และ ส่วนแยก ๒๐๒ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ ที่ค่ายเป็ปเปอร์ไกรเดอร์จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๑ ถึง พ.ศ.๒๕๓๔
๓. จัด ส่วนแยก ๒๐๓ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ ออกสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงให้กับหน่วยที่ ออกป้องกันประเทศ และปราบปราม ผกค. ในพื้นที่ ๔ จังหวัดตอนใต้ของภาคอีสาน คือ บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี โดยมีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๕ ถึง พ.ศ.๒๕๓