ผักเสี้ยน
ผักเสี้ยน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | อันดับผักกาด |
วงศ์: | วงศ์ผักเสี้ยน |
สกุล: | Cleome L. |
สปีชีส์: | Cleome gynandra |
ชื่อทวินาม | |
Cleome gynandra L. | |
ขอบเขต[1] | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
ผักเสี้ยน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cleome gynandra) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของทวีปยุโรป, แอฟริกาและเอเชีย[3] เป็นวัชพืชที่พบได้ตามท้องนาและริมลำธาร ผักเสี้ยนเป็นไม้ล้มลุก สูง 30-150 เซนติเมตร ตามลำตันและใบมีขนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปใบหอกกลับ 3-5 ใบ ยาว 2.5-5 เซนติเมตร ใบประดับ 3 ใบย่อย ยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 5-20 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1-2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร กลีบดอกรูปรีหรือรูปไข่ สีขาวหรืออมม่วง ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ก้านกลีบยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูเกสรร่วมยาว 0.8-2.3 เซนติเมตร ก้านชูอับเรณูสีม่วง ยาว 1-2 เซนติเมตร อับเรณูรูปขอบขนาน สีเขียวอมน้ำตาล ยาว 1-3 มิลลิเมตร รังไข่มีก้านสั้น ๆ ยาว 1-1.4 เซนติเมตร ผลยาว 4-9.5 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลแดงปนดำ ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร[4]
ทั้งต้นผักเสี้ยนมีกรดไฮโดรไซยานิก แต่จะลดลงเมื่อนำไปหมักดองหรือถูกความร้อน[5] ผักเสี้ยนนิยมนำไปดอง กินเป็นผักแกล้มหรือกินกับขนมจีนน้ำยา[6] ใบมีสรรพคุณตำพอกฝีและแก้ปวดเมื่อย น้ำคั้นจากใบผสมกับน้ำมัน ใช้แก้ปวดหู[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Cleome gynandra - L." pfaf.org. 1996–2012. สืบค้นเมื่อ 19 March 2019.
- ↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ January 26, 2014.
- ↑ "Cleome gynandra L. - Plants of the World Online". Kew Science. สืบค้นเมื่อ April 8, 2019.
- ↑ สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 284, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
- ↑ "Cleome gynandra L." Japan International Research Center for Agricultural Sciences. สืบค้นเมื่อ April 8, 2019.
- ↑ "ผักเสี้ยน (Cleome gynandra L.)". บ้านและสวน. สืบค้นเมื่อ April 8, 2019.
- ↑ ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน, นิดดา หงษ์วิวัฒน์ และคณะ, หน้า 163, พ.ศ. 2548, สำนักพิมพ์แสงแดด กรุงเทพฯ