ผักจินดา
ผักจินดา | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Gentianales |
วงศ์: | Asclepiadaceae |
สกุล: | Gymnema |
สปีชีส์: | G. inodorum |
ชื่อทวินาม | |
Gymnema inodorum (Lour.) Dec | |
ชื่อพ้อง | |
|
ผักจินดา หรือ ผักเชียงดา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnema inodorum) เป็นไม้เถาเลื้อยพบได้ในประเทศแถบทวีปเอเซีย เช่น อินเดีย พม่า ในประเทศไทยนิยมนำมารับประทานเป็นผักหรือใช้ปรุงอาหาร มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้เป็นเบาหวานทั้งสองชนิดได้[1] [2] [3]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]เป็นไม้เถาเลื้อยยาว ใบและเถามีสีเขียวเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 - 5 ซม. มักเลื้อยเลื้อยพาดตามต้นไม้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 5 -10 เมตร ในทุกส่วนของผักจินดาจะมีน้ำยางสีขาวลักษณะเหมือนน้ำนม ใบเดี่ยวเป็นรูปกลมรี ฐานใบจะมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ด้านของใบจะสีเขียวเข้ม (upper epidermis) กว่าหลังใบ (lower epidermis) ใบจะออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ออกดอกเป็นช่อแน่น มีสีขาวอมเขียวอ่อน กลม เล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 มม. ส่วนผลจะออกเป็นฝักคู่[1]
การขยายพันธ์
[แก้]ผักจินดานิยมขยายพันธ์โดยการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินร่วน ในฤดูฝนจะให้ผลผลิตมาก พบมากในภาคเหนือของไทย[4]
การใช้ประโยชน์
[แก้]ในภาคเหนือของไทยนิยมนำผักจินดามาประกอบอาหารต่าง ๆ มีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าผักจินดาสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 นอกจากนี้ยังพบว่าการทดลองในสัตว์ยังทำให้ระดับอินซูลินมีปริมาณสูงขึ้น[2]
คุณค่าทางโภชนาการ
[แก้]ใน 100 กรัม ของผักจินดาประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 82.9 พลังงาน 60 แคลอรี ให้คุณค่าทางโภชนาการดังนี้
สารอาหาร | ปริมาณ |
โปรตีน | 5.4 กรัม |
ไขมัน | 1.5 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 6.2 กรัม |
ใยอาหาร | 1.6 กรัม |
แคลเซียม | 78 มิลลิกรัม |
ฟอสฟอรัส | 98 มิลลิกรัม |
สังกะสี | 2.3 มิลลิกรัม |
วิตามิน เอ | 5905 (I.U.)[5] |
วิตามินบี1 | 981 มิลลิกรัม |
วิตามินบี2 | 0.32 มิลลิกรัม |
Niacin | 1 มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 153 มิลลิกรัม |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญท้องถิ่นบนที่สูงข้อมูลของ ผักเชียงดา
- ↑ 2.0 2.1 Manager Online เก็บถาวร 2013-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน“เชียงดา” ผักฆ่าน้ำตาล ช่วยรักษา “เบาหวาน”
- ↑ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง เก็บถาวร 2014-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนผักเชียงดาผักสมุนไพรพื้นบ้านรักษาโรคเบาหวาน
- ↑ 4.0 4.1 "ผักเชียงดา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-18. สืบค้นเมื่อ 2013-04-26.
- ↑ ราชเทวีคลีนิคI.U. (หน่วยสากล)