ข้ามไปเนื้อหา

ป้ายหวีด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ป้ายหวีด เป็นป้ายที่ติดตั้งบริเวณรางรถไฟ มีความหมายให้พนักงานขับรถไฟหรือผู้ควบคุมหัวรถจักรกดหวีดรถไฟ[1]

ประเทศไทย

[แก้]

ในประเทศไทยมักเรียกว่า ป้าย ว เป็นป้ายวงกลมสีขาวมีตัวอักษร สีดำอยู่ตรงกลาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. และจะมีสัญลักษณ์พิเศษแยกออกไปตามแต่ละชนิด[1] โดยป้ายหวีดรถจักรในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 ชนิด ดังนี้:

ป้ายหวีดรถจักรทั้วไป

เป็นป้ายวงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. มีตัวอักษร ว สีดำอยู่ตรงกลาง[1]

ป้ายหวีดรถจักรสำหรับถนนผ่านเสมอระดับทางไม่มีเครื่องกั้นถนน

เป็นป้ายวงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. มีตัวอักษร ว สีดำอยู่ตรงกลาง มีเส้นสีดำขนาดกว้าง 5 ซม. ด้านหลังสีขาวใต้ตัว ว[1]

ป้ายหวีดรถจักรสำหรับถนนผ่านเสมอระดับทางมีเครื่องกั้นถนนแต่ไม่มีสัญญาณผ่านถนนเสมอระดับทาง

เป็นป้ายวงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. มีตัวอักษร ว สีดำอยู่ตรงกลาง ใต้ตัว ว มีเส้นสีดำขนาดกว้าง 5 ซม. ด้านล่างป้ายวงกลมจะมีป้ายสีเหลี่ยมผืนผ้าสีขาวขนาด 25x50 ซม. และมีสัญลักษณ์กากบาททะแยงมุมกว้าง 5 ซม.[1]

ป้ายหวีดรถจักรสำหรับถนนผ่านเสมอระดับทางมีเครื่องกั้นถนนและสัญญาณผ่านถนนเสมอระดับทาง

เป็นป้ายวงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. มีตัวอักษร ว สีดำอยู่ตรงกลาง ใต้ตัว ว มีเส้นสีดำขนาดกว้าง 5 ซม. ด้านล่างป้ายวงกลมจะมีป้ายสีเหลี่ยมผืนผ้าสีดำขนาด 25x50 ซม. และมีสัญลักษณ์วงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงละ 10 ซม. 5 วง โดยอยู่ตรงมุม 4 วง ตรงกลาง 1 วง[1]

ป้ายหวีดรถจักรสำหรับถนนผ่านเสมอระดับทางมีเครื่องกั้นถนนสัมพันธ์กับสัญญาณประจำที่ไม่มีสัญญาณผ่านถนนเสมอระดับทาง

เป็นป้ายวงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. มีตัวอักษร ว สีดำอยู่ตรงกลาง ใต้ตัว ว มีเส้นสีดำขนาดกว้าง 5 ซม. ด้านล่างป้ายวงกลมจะมีป้ายสีเหลี่ยมผืนผ้าสีดำขนาด 30x50 ซม. จัดวางในแนวตั้ง และมีสัญลักษณ์วงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงละ 10 ซม. 2 วงเรียงตามแนวดิง[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ พ.ศ. 2549 (A regulation and order on railway operation in Thailand, 2006). Department of Traffic, State Railway of Thailand. October 2, 2008.