ป้ายทะเบียนรถของประเทศไทย
ป้ายทะเบียนมาตรฐานตามกฎหมาย | |
ประเทศ | ไทย |
---|---|
รหัสประเทศ | T |
รูปแบบปัจจุบัน | |
ขนาด | 150 มม. × 340 มม. (5.9 นิ้ว × 13.4 นิ้ว) |
รูปแบบตัวเลข | ไม่ได้กำหนดมาตรฐาน |
สี (ด้านหน้า) | สีดำบนพื้นขาว |
สี (ด้านหลัง) | สีดำบนพื้นขาว |
ป้ายทะเบียนรถของประเทศไทย ออกโดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ซึ่งจะต้องแสดงบนรถยนต์ทุกคัน (ยกเว้นของราชวงศ์ ตำรวจ และทหาร) ตามที่พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 กำหนด ลักษณะของป้ายทะเบียนมีลักษณะ สี และขนาดที่แตกต่างกันไปตามประเภทของรถ แต่โดยทั่วไปจะมีหมายเลขทะเบียน (ปกติเป็นตัวอักษรสองตัวหรือตัวเลขนำหน้าและตัวเลขสี่หลัก) และจังหวัดที่จดทะเบียนรถ ข้อกำหนดต่าง ๆ นั้นถูกระบุไว้ในกฎกระทรวงคมนาคม ป้ายทะเบียนรูปแบบปัจจุบันเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 สำหรับรถยนต์ส่วนใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในปี พ.ศ. 2540
ลักษณะ
[แก้]ป้ายทะเบียนรถทุกประเภทมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่มีขนาดและสีแตกต่างกันไปตามประเภทของรถ ป้ายส่วนใหญ่จะแสดงหมายเลขทะเบียนรถซึ่งมักประกอบด้วยตัวอักษรไทยและหมายเลขอารบิก ส่วนจังหวัดที่จดทะเบียนรถจะแสดงอยู่ด้านล่าง[a] พื้นป้ายมีลักษณะสะท้อนแสง ตัวอักษรและตัวเลขถูกปั๊มนูนออกจากผิวหน้าของป้ายทะเบียน และป้ายทั้งหมดมีการปั๊มนูนด้วยตราประทับที่มีตัวอักษรย่อของกรมการขนส่งทางบก คือ "ขส" ป้ายทะเบียนรูปแบบปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมของประกาศกรมการขนส่งทางบก ลงวันที่ พ.ศ. 2554 สำหรับรถโดยสารและรถบรรทุก และตามกฎกระทรวงออกเมื่อ พ.ศ. 2554 สำหรับรถยนต์ประเภทอื่น[1][2]
- ↑ ยกเว้นอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่เป็นแห่งเดียวซึ่งสามารถจดทะเบียนป้ายเป็นชื่ออำเภอได้
ป้ายทะเบียนรถส่วนบุคคล
[แก้]ป้ายทะเบียนรถยนต์ รถตู้ รถกระบะ รถสามล้อ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม ล้วนใช้รูปแบบเดียวกัน คือมีขนาด 15 × 34 เซนติเมตร (5.9 × 13.4 นิ้ว) พื้นป้ายมีลักษณะสะท้อนแสง ตัวอักษรและตัวเลขถูกปั๊มนูนออกจากผิวหน้าของป้ายทะเบียน
หมายเลขทะเบียนประกอบด้วยตัวอักษรไทยหมวดละ 2 ตัว ตามด้วยหมายเลขอารบิกสูงสุด 4 หลัก ตั้งแต่ 1 ถึง 9999 โดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ตัวอย่างเช่น "กข 1" หรือ "กข 1234" ในกรณีที่หมายเลขทะเบียนรูปแบบนี้ถูกออกใช้จนหมด อาจมีการเพิ่มตัวเลขด้านหน้าตัวอักษรได้ เช่น ในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา ป้ายทะเบียนจะใช้รูปแบบ "1กข 1234" ส่งผลให้ขนาดตัวอักษรของป้ายทะเบียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 มีขนาดเล็กลง เพื่อคงขนาดของป้ายทะเบียนไว้
จังหวัดที่จดทะเบียนรถจะแสดงเป็นภาษาไทยใต้หมายเลขทะเบียน ยกเว้นจังหวัดยะลา ที่สามารถนำรถไปจดทะเบียนที่อำเภอเบตงได้ เนื่องจากมีระยะทางที่ห่างไกลจากอำเภอเมืองยะลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานขนส่ง
สีของตัวอักษรและพื้นหลังขึ้นอยู่กับประเภทของรถ โดยมีรายละเอียดตามตารางด้านล่าง:[1]
ประเภทรถ | สีพื้นหลัง | สีตัวอักษร | ภาพตัวอย่าง |
---|---|---|---|
รถรับจ้างระหว่างจังหวัด | เหลือง | แดง | |
รถรับจ้าง | ดำ | ||
รถสามล้อเครื่อง (ตุ๊กตุ๊ก) | เขียว | ||
รถกระป๊อ | ฟ้า | ||
รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร และรถยนต์บริการให้เช่า | เขียว | ขาว | |
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง และรถกระบะ 4 ประตู | ขาว | ดำ | |
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง | ฟ้า | ||
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) | เขียว | ||
รถสามล้อ | แดง | ||
รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม | แสด | ดำ |
ป้ายทะเบียนกราฟิก (ประมูล)
[แก้]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546[3][4] กรมการขนส่งทางบกได้ริเริ่มนำป้ายทะเบียนหมายเลขลักษณะพิเศษ ออกจำหน่ายผ่านระบบการประมูล โดยหมายเลขที่เปิดประมูล ได้แก่ เลขตัวเดียว (เช่น 1) เลขเรียงกัน (เช่น 11, 111, 1111) เลขลงท้ายด้วยเลขศูนย์ (เช่น 1000) เลขเรียงกันสามหรือสี่หลัก (เช่น 123, 1234) เลขคู่เหมือนกันสองคู่ (เช่น 1122, 1212, 1221)[3] ป้ายทะเบียนประเภทนี้จะมีลักษณะพิเศษ คือ มีพื้นหลังป้ายทะเบียนที่ออกแบบเฉพาะสำหรับแต่ละจังหวัด ป้ายทะเบียนเหล่านี้เรียกว่า "ป้ายประมูล" หรือ "ป้ายทะเบียนรถเลขสวย"[5] ทั้งนี้ ในช่วงแรก ป้ายทะเบียนประมูลมีเฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 กรมการขนส่งทางบกได้อนุญาตให้รถกระบะส่วนบุคคลและรถตู้ส่วนบุคคล สามารถเข้าร่วมประมูลป้ายทะเบียนพิเศษได้เช่นกัน[6][7]
ในปี พ.ศ. 2557 ป้ายทะเบียน "1กก 1111 กรุงเทพมหานคร" ประมูลได้ในราคา 25,000,000 บาท[8][9] ซึ่งถือเป็นราคาที่สูงมากจนกรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้ผู้ซื้อออกแบบพื้นหลังป้ายทะเบียนเองได้[10] ต่อมาในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ป้ายทะเบียน "8กก 8888 กรุงเทพมหานคร" ได้ทำลายสถิติราคาประมูลไปด้วยราคา 28,100,000 บาท[11] และล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2565 การประมูลป้ายทะเบียนรถเลขสวยหมวด 9 กก คือ "9กก 9999 กรุงเทพมหานคร" ได้กลายเป็นป้ายทะเบียนประมูลที่ราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ด้วยราคา 45,090,000 บาท[12]
ในปี พ.ศ. 2564 กรมการขนส่งทางบกได้เปิดเผยแผนการออกป้ายทะเบียนอักษรส่วนบุคคลสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลประเภทประมูล โดยตัวอักษรชุดพิเศษนี้สามารถเป็นคำหรือชื่อบุคคลที่เขียนด้วยอักษรไทย ซึ่งมีความยาวมากกว่าป้ายทะเบียนมาตรฐาน 2-3 ตัวอักษร และสามารถใช้วรรณยุกต์ได้อีกด้วย[13][14] การประมูลป้ายทะเบียนอักษรส่วนบุคคลครั้งแรก จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565 โดยมีป้ายทะเบียนกรุงเทพมหานครจำนวน 84 ชุด ส่วนใหญ่เป็นคำมงคลและหมายเลขมงคล นอกจากนี้ ยังมีป้ายทะเบียนที่มีชื่อหรือชื่อเล่นผสมกับหมายเลขอีกด้วย[15]
หมวดอักษร
[แก้]ป้ายทะเบียนรถยนต์ของประเทศไทยมีการกำหนดหมวดอักษรเพื่อระบุประเภทของรถ เมื่อกรมการขนส่งทางบกจดทะเบียนรถยนต์ประเภทนั้น ๆ จนครบทั้งหมด 9,999 หมายเลขแล้ว ก็จะเริ่มต้นใช้หมวดอักษรชุดใหม่ ในกรณีที่หมวดอักษรชุดเดิมหมดลง กรมการขนส่งทางบกก็จะใช้ตัวเลขนำหน้าตัวอักษรชุดเดิม เช่น 1กก, 1กข...
รถยนต์ส่วนบุคคล เริ่มต้นด้วย ก, ข, ง, จ, ฉ, ธ, ฐ, พ, ภ, ว, ศ, ษ, ส, ช, ฌ, ญ, ฎ และ ฆ (กรุงเทพมหานครใช้ กก (1ก ของป้ายทะเบียนแบบเก่า) – พล (9ณ ของป้ายทะเบียนแบบเก่า) สำหรับการเปลี่ยนจากป้ายทะเบียนแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่)
ป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลแบบเก่า เริ่มต้นด้วย ก, ข, ค, ง, จ, ฉ, ช, ธ, ว, อ, ฮ, ฐ, ศ, ฬ, ษ, ณ.
รถกระบะส่วนบุคคล เริ่มต้นด้วย ฒ, ณ, ต, ถ, บ, ป, ผ, ย, ร และ ล
รถตู้ เริ่มต้นด้วย น, ฬ, อ และ ฮ.
รถแท็กซี่สาธารณะ เริ่มต้นด้วย ท (เรียงตามลำดับ ทค, ทง, ทจ, ทฉ, ทต, ทท, ทธ, ทน, ทพ, ทม, ทย, ทร, ทล, ทว, ทศ, ทษ, ทส, ทห, ทฬ, ทอ และ ทฮ), (ทก, ทข ใช้สำหรับรถแท็กซี่ส่วนบุคคลแบบไม่ติดมิเตอร์ ที่ได้รับใบอนุญาตแบบถาวร ปัจจุบันหยุดการออกใบอนุญาตประเภทนี้แล้ว)
รถแท็กซี่สีเหลือง–เขียวสาธารณะ เริ่มต้นด้วย ม (เรียงตามลำดับ มก, มข, มค, มง, มจ, มฉ, มช, มฎ, 1มก, 1มข, 1มค, 1มฆ)
รถสองแถวสาธารณะ เริ่มต้นด้วย ฟ
รถตุ๊ก ๆ เริ่มต้นด้วย ศ (เฉพาะ ศข) และ ส (เฉพาะ สก และ สข)
ป้ายทะเบียนรถบางประเภทที่มีเริ่มต้นด้วย ฌ, ณ บนพื้นหลังสีเขียว ตัวอักษรสีขาว ใช้สำหรับรถบริการ
รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม เริ่มต้นด้วย ซ หรือ ฆ สำหรับบางจังหวัด
กรมการขนส่งทางบกจะประกาศหมวดอักษรประจำป้ายทะเบียนรถใหม่เป็นชุด ๆ นายทะเบียนประจำจังหวัดแต่ละแห่งจะทำการจดทะเบียนรถใหม่ตามหมวดอักษรชุดล่าสุดที่ได้รับแจ้งจนกว่าจะครบ 9,999 หมายเลข จากนั้นจึงจะเปลี่ยนไปใช้หมวดตัวอักษรชุดถัดไป ทั้งนี้ ตัวอักษรที่มีลักษณะคล้ายกันจนอาจทำให้เกิดความสับสน รวมถึงหมวดอักษรที่มีความหมายไม่สุภาพจะถูกยกเว้นการใช้ เช่น ชน ตด
ป้ายทะเบียนในอดีต
[แก้]ป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์
[แก้]ป้ายทะเบียนรถทางการฑูต
[แก้]ป้ายทะเบียนรถโดยสารและรถบรรทุก
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 กฎกระทรวง กำหนดขนาด ลักษณะ และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2554 [Ministerial regulation specifying the dimensions, appearances and colors of vehicle registration plates and the display of vehicle registration plates and annual tax payment marks, B.E. 2554] (PDF). Royal Thai Government Gazette. 128 (45 A): 6–12. 8 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ November 13, 2017.
- ↑ ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะ ขนาด สีของแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถ และการแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี พ.ศ. 2554 [Notification of the Department of Land Transport on specification of dimensions, appearances and colors of vehicle registration plates and the display of vehicle registration plates and annual tax payment marks, B.E. 2554] (PDF). Royal Thai Government Gazette. 128 (44 D special): 52–53. 19 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 4, 2016.
- ↑ 3.0 3.1 กฎกระทรวง กำหนดหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่ต้องการหรือเป็นที่นิยม เพื่อนำออกเปิดประมูลเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2546 [Ministerial regulation specifying registration numbers of high demand or popularity for general auction, B.E. 2546] (PDF). Royal Thai Government Gazette. 120 (75A): 1–4. 8 August 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 19, 2014.
- ↑ เลขมงคลทำเงินพันล้าน [Auspicious numbers makes billions]. Post Today. 2014-10-05. สืบค้นเมื่อ 2014-10-10.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข่าวประชาสัมพันธ์. the Department of Land Transport (DLT) of the Ministry of Transport (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-14. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
- ↑ "Home" เปิดประมูลทะเบียนรถตู้-รถกระบะ [Pick-up and van plates auction opened]. Daily News (Thailand). 2014-08-13. สืบค้นเมื่อ 2014-10-10.
- ↑ ขนส่งฯ เปิดประมูลทะเบียนรถตู้-กระบะ เริ่ม 13 ส.ค. [DLT open pick-up and van plates auction in August 13]. Thai Rath. 2014-08-12. สืบค้นเมื่อ 2014-10-10.
- ↑ Amornrat Mahitthirook (2014-09-30). "Student pays B25m for 'lucky' licence plate". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2014-10-02.
- ↑ "Real estate heir wins car licence plate bid at 25 million baht". Thai PBS. 2014-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2014-10-02.
- ↑ รถ5แสนติดทะเบียน25ล้าน หนุ่มเจ้าของโอ่ไม่แพง [A 500,000 baht car use 25 million baht license plate. Young man, the owner, said it's not expensive.]. Thai Rath. 2014-10-01. สืบค้นเมื่อ 2014-10-02.
- ↑ "ทุบสถิติแพงสุด! "แพทย์หญิง"ควัก 28 ล้าน ซื้อทะเบียนรถ "8กก8888"" [Break the record for the most expensive! "Female physician" pays 28 million, buys car license plate "8กก8888"]. Matichon. 2020-10-10. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
- ↑ "สถิติใหม่ เกิดขึ้นแล้ว! ประมูลป้ายทะเบียนเลขสวย '9กก 9999' กทม. จบที่ 45 ล้านบาท" [A new record has been set! Auction of beautiful number plate '9กก 9999' Bangkok ended at 45 million baht]. Matichon. 2022-12-10. สืบค้นเมื่อ 2022-12-10.
- ↑ "Personalized license plates coming to Thailand". Coconuts Bangkok. 2021-02-03. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
- ↑ "ป้ายทะเบียนรถ ให้ใส่ชื่อเจ้าของ มาพร้อม "เลขสวย" ผ่านวิธีการประมูล". Thairath. 2021-02-03. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
- ↑ "เปิด10 อันดับป้ายทะเบิยนพิเศษ ประมูล 7 เม.ย "รวย9999"ฮอตสุด ลงชื่อชิง 18 ราย" [Revealed the top 10 special license plates, auction 7 April. "รวย9999" (Rich9999) is the hottest, with 18 registered bidders.]. ASTV Manager. 2021-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-04-07.